Commercial Archives - Page 5 of 79 - room

MINIMALIST CAFÉ ออกแบบ คาเฟ่มินิมอล ให้เด็ดขาดด้วยรายละเอียด

คาเฟ่มินิมอล ยังคงเป็นสไตล์การออกแบบ-ตกแต่ง ที่ได้รับความนิยมทั้งจากเจ้าของกิจการและลูกค้าสายคาเฟ่ฮ็อปปิ้ง ที่ชื่นชอบในความเรียบง่าย แค่เพียงมีแสงธรรมชาติสาดกระทบลงผนังเปลือยเปล่าก็ดูมีเสน่ห์ชวนให้โพสต์ท่าถ่ายรูป หากภายใต้ความเรียบง่ายนั้น กลับซ่อนไว้ด้วยรายละเอียดทั้งในแง่ของสเปซ องค์ประกอบ โทนสี และการเลือกใช้วัสดุที่ขับเน้นให้เกิดความพิเศษ คอลัมน์นี้ room จึงขอรวมไอเดียการออกแบบ-ตกแต่ง คาเฟ่มินิมอล ที่นอกจากจะมีความสวยงามเชิงสุนทรียะแล้ว ยังสามารถตอบโจทย์การใช้งาน และสะท้อนตัวตนของแบรนด์เชิงธุรกิจได้ชัดเจนอีกด้วย Fermenti ความขาวคลีนของแป้งครัวซองต์ที่ถูกถ่ายทอดผ่านผืนผ้าใบขนาดใหญ่ในส่วนของฟาซาดอาคาร ทำหน้าที่สร้างความเป็นส่วนตัวและช่วยกรองแสงก่อนผ่านกระจกเต็มบานเข้าไปสู่พื้นที่ภายใน  ส่งผลให้สเปซภายในดูมีชีวิตชีวา อยู่ในสภาวะน่าสบาย เพิ่มความนุ่มนวลและความน่าสนใจด้วยการกรุลามิเนตผิวสัมผัสคล้ายโลหะมันวาวในส่วนของบันไดโค้งที่ต่อเนื่องไปกับเคาน์เตอร์ และเฟอร์นิเจอร์บิ้ลด์อิน ตัดกับพื้นทรายล้างและผนังหินพ่น ภาพ: JINNAWAT B.ติดต่อร้าน: โทร. 06-4839-9965  / FB: Fermentiออกแบบ : party / space / design _________________________ F.I.X. PRADIPHAT คอมมูนิตี้ขนาดย่อมในโครงการ Somewhere ใจกลางประดิพัทธ์ที่ประกอบไปด้วยอาคารทรงกล่องขาวคลีนสามหลังอย่างคาเฟ่ ร้านอาหาร และสำนักงาน ดูคอนทราสต์กับบริบทโดยรอบที่เป็นบ้านพักอาศัย หากแต่ดูเข้าถึงง่ายและเป็นกันเองผ่านการสร้างจังหวะการเข้าถึงและขนาดอาคารเพื่อเชื่อมต่อกับเพื่อนบ้าน  “สีขาว” ถูกใช้ทั้งภายนอกและภายในดูต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน รวมไปถึงแผงระแนงสีขาวบนฝ้าเพดาน และเคาน์เตอร์ผนังดินอัดที่เลือกโชว์ชั้นดินสีอ่อนสลับกับหินเกล็ดสีขาวดูขัดแย้งและกลมกลืนในเวลาเดียวกัน ติดต่อร้าน: โทร. […]

Building A Cafe เปลี่ยนตึกเก่าย่านถนนเจริญเมือง เป็นคาเฟ่ร่วมสมัยฉบับเชียงใหม่แต้ๆ

คาเฟ่ลับในตึกเก่าของย่านค้าขายดั้งเดิมของจังหวัดเชียงใหม่ ตกแต่งอย่างถ่อมตนอบอุ่นร่วมสมัยประสานบรรยากาศ Mid-Century ร่วมกับสไตล์ Futuristic ได้อย่างลงตัว Building A Cafe เป็นบาร์ลับที่ไม่ได้ตั้งใจจะลับ แต่เนื่องจากพื้นที่แห่งนี้คือ ห้างอนุสารฯ อาคารเก่าแก่ของเมืองเชียงใหม่จากยุคแรกเริ่มของวัฒนธรรมสมัยใหม่ในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยทำเลถนนเจริญเมือง ย่านสันป่าข่อย จึงเปรียบได้กับเส้นทางเชื่อมระหว่างรถไฟ ยานพาหนะแห่งความเจริญจากเมืองกรุง สู่ทางออกที่ท่าเรือบริเวณแม่น้ำปิง โดยอาคารแห่งนี้ได้ผ่านยุคสมัยมามากมาย นับตั้งแต่เป็นห้างขายของเบ็ดเตล็ดจากกรุงเทพฯ เป็นสำนักงานของนายฝรั่งที่มาสำรวจเหมืองแร่ เป็นที่ทำการของชมรมเรือพายแคนู และเป็นอู่รถเก่าในปัจจุบัน ชื่อ Building A จึงตั้งตามชื่ออาคาร อนุสารฯ ที่มีที่มาจาก หลวงอนุสารสุนทร เจ้าของดั้งเดิมนั่นเอง #เชื่อมโยงอดีตสู่ปัจจุบันด้วยไลฟ์สไตล์สมัยใหม่คุณวสิน อุ่นจะนำ หนึ่ง Founder ของ Building A ได้เล่าให้เราฟังว่า “ด้วยประวัติศาสตร์ และเรื่องราวของตึกแห่งนี้ หลังจากที่ตึกได้ปิดเงียบมานาน เราจึงคิดว่าเราอยากจะพาทุกคนกลับไปพบกับบรรยากาศดี ๆ ของเชียงใหม่ในยุคที่น่าสนใจอีกยุคหนึ่ง แต่จะทำให้เป็นร้านสไตล์โอลด์ทาวน์เฉย ๆ อาจจะไม่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน การออกแบบให้กลายเป็นคาเฟ่ที่มีพื้นที่สำหรับหย่อนอารมณ์ ค่อย ๆ ซึมซับบรรยากาศ ทั้งการตกแต่งที่เลือกเก็บบรรยากาศของอาคารเอาไว้ และการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์แบบลอยตัว และบาร์กึ่งลอยตัว […]

Harudot Chonburi by Nana Coffee Roasters ให้ประสบการณ์กาแฟได้ผลิบาน

พื้นที่พิเศษของคนรักกาแฟที่สถาปัตยกรรมเปรียบได้กับภาชนะ คล้ายแก้วกาแฟ ที่ช่วยพาให้ประสบการณ์ของกาแฟที่ดีอยู่แล้ว ดียิ่งขึ้นไปอีกระดับ เมื่อสถาปัตยกรรม และวัฒนธรรมกาแฟต่างส่งเสริมซึ่งกันและกัน สิ่ง ๆ นั้นจึงเกิดออกมาเป็น Harudot Chonburi by Nana Coffee Roasters DESIGNER DIRECTORYออกแบบสถาปัตยกรรม: IDIN Architects Harudot by Nana Coffee Roasters เป็นแบรนด์ที่เกิดขึ้นมาจาก NANA Coffee Roasters แต่จะแยกย่อยออกไปอยู่ตามหัวเมืองใหญ่ การสร้างภาพจำ และแนวทางของการสื่อสารจึงอาจมีความแตกต่างไปจาก Nana Coffee Roasters อยู่บ้าง เพราะการอยู่ในพื้นที่ที่ต้องเดินทางไป ความเป็น Destination จึงเป็นสิ่งจำเป็น สถาปัตยกรรม และบรรยากาศที่สามารถสร้างให้ผู้คนสามารถนึกออกแม้จะเพียงภาพถ่ายเดียวนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ประกอบกับความตั้งใจที่อยากให้ลูกค้าที่เข้ามาได้ใช้เวลากับกาแฟของทางร้าน การออกแบบที่ไม่เน้นจุดถ่ายรูป แต่ตั้งใจใส่บรรยากาศไปในทุกพื้นที่ จึงทำให้ Harudot เป็นคาเฟ่ที่สวยไปทุกจุด แบบไม่เฉพาะเจาะจง แต่คือบรรยากาศโดยรวมที่สร้างให้แม้เพียงเสี้ยวเดียว ก็กล่าวได้ว่าที่นี่คือ Harudot Chonburi คำว่า Haru นั้นหมายถึงการผลิบาน และฤดูใบไม้ผลิ […]

UNTITLED.Thonglor บาร์ล้ำย่านทองหล่อบรรยากาศในโรงรับจำนำที่คนทุกคนต่างไร้ซึ่งชนชั้น

คอนเซ็ปต์ที่ตั้งใจเคลือบไว้ภายนอกบาร์สไตล์ Scifi Luxury แห่งนี้ Untitled.thonglor คือบาร์แห่งใหม่โดย“กันต์ ลีฬหะสุวรรณ” จากทีม “YOLO GROUP” ที่สร้างสรรค์มาแล้วทั้ง Teens of Thailand, Asia Today TAX และ Independence Cocktail Bar จึงรับประกันได้ถึงความเด็ด อย่างไม่ต้องสาธยายให้มากความ เพื่อสร้างบรรยากาศที่รับกับความเป็นทองหล่อ พื้นที่ที่มีความโดดเด่นในไลฟ์สไตล์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย การสร้างสัญลักษณ์ที่ทั้งโดดเด่น และกลมกลืนไปกับบริบทได้อย่างดี จึงทำให้ภาพภายนอกบาร์แห่งนี้จะมาในลุค AMERICAN PAWNSHOP จากยุค 1960s-1970s ที่ตั้งอยู่ติดๆ กัน มีการใส่ลูกเล่นกับป้ายร้านโดยเป็นฝีมือของดีไซเนอร์ไทยนามว่า “SKETCHEDBUK” (สุชาล ฉวีวรรณ) เป็นผูที่ทำ artwork ด้วยเทคนิค Glass Gilding และเพ้นต์มือทั้งหมด สร้างความย้อนแย้งว่าแท้จริงแล้วพื้นที่แห่งนี้คือบาร์ หรือโรงรับจำนำจริงๆ กันแน่? แต่เมื่อเดินเข้าสู่ภายใน รูปแบบพื้นที่จะแตกต่างไปอย่างสิ้นเชิง บรรยากาศล้ำยุคแต่คงร่วมสมัยไว้ด้วยวัสดุอย่างท่อทองแดง เบาะหนัง และกรอบรูปขนาดยักษ์ที่ให้อารมณ์แบบศิลปะจากยุค Renaissance ท่อทองแดงนั้น ทำหน้าที่ร้อยรัดทุกพื้นที่เข้าด้วยกันในคอนเซ็ปต์ […]

SAP’ON HEARTFULNESS CENTRE บูติกโฮเทลเวียดนาม กับการเอาชนะพื้นที่แคบลึกแบบสะใจ

Sep’on Heartfulness Centre บูติกโฮเทลเวียดนาม ในพื้นที่แคบลึก กับโจทย์การสร้างสุนทรียภาพด้านมุมมองและการพักผ่อนที่เต็มอิ่ม บูติกโฮเทลเวียดนาม ขนาด 600 ตารางเมตร กับอาคารโชว์โครงสร้างสัจวัสดุที่เรียงตัวไปตามแนวที่ดินนี้ เลือกเชื่อมต่อมุมมองเข้ากับวิวทิวทัศน์ และวิถีชีวิตของผู้คนของเมืองญาจาง เมืองท่องเที่ยวสำคัญริมชายฝั่งทางใต้ของประเทศเวียดนาม ผ่านการสร้างสรรค์สถาปัตยกรรมให้มีทั้งความเรียบง่าย และกลมกลืนไปกับบริบทของเมือง แม้จะอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดก็ตาม สตูดิโอออแบบ 324Praxis architects จึงเอาชนะความท้าทายนั้นด้วยการดึงข้อด้อยด้านพื้นที่ให้กลายเป็นจุดเด่น สร้างภาพจำผ่านเปลือกอาคารให้แก่ผู้ได้พบเห็น อย่างระเบียงขนาดเล็กตรงมุมอาคาร รวมถึงการเน้นใช้วัสดุที่เอื้อต่อการเปิดกว้างด้านพื้นที่ เพื่อเปิดมุมมองไปยังฝั่งที่ไร้ซึ่งอาคารใด ๆ มาบดบังสายตาให้กลายเป็นจุดเด่น และนำพาแสงธรรมชาติ และลมให้เข้ามาภายในอาคารมากที่สุด พื้นที่ใช้งานจึงสว่างปลอดโปร่ง ทั้งยังมอบประสบการณ์การพักผ่อนผ่านมุมมองเพื่อผู้ใช้งานภายในอาคารได้มีปฏิสัมพันธ์ และเชื่อมต่อถึงกันได้ผ่านพื้นที่เปิดโล่ง โดยสามารถมองเห็นทิวทัศน์จากด้านล่างจรดด้านบน หรือจากสวนด้านล่างแล้วมองขึ้นไปเห็นมวลเมฆบนท้องฟ้า พื้นที่เปิดโล่งนี้ประกอบด้วยฟังก์ชันที่กระจายตัวในแนวตั้ง อันเป็นการจัดการพื้นที่อย่างชาญฉลาดภายใต้ข้อจำกัดของรูปทรงที่ดิน ตัวอาคารโครงสร้างคอนกรีต 5 ชั้น ชั้นล่างออกแบบให้มีพื้นที่นั่งเล่นแบบคาเฟ่ และบาร์ 6 ที่นั่ง ยินดีต้อนรับทั้งคนในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวให้เข้ามาใช้เวลาร่วมกัน ท่ามกลางบรรยากาศสบาย ๆ ในวงล้อมของแมกไม้สีเขียว ไหลขึ้นไปยังพื้นที่ชั้นลอย ผ่านบันไดเหล็กที่ช่วยให้พื้นที่ดูโปร่ง สำหรับขึ้นไปอ่านหนังสือ และพักผ่อน ช่วยให้แขกได้ดื่มด่ำกับบรรยากาศเปิดโล่ง และเชื่อมต่อกับสภาพแวดล้อมในมุมสูง ขณะที่ชั้น 3 […]

สถาปัตยกรรม ไม้ไผ่ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากขุนเขา และผืนน้ำ

Bamboo Light เป็นภัตตาคารแพลอยน้ำแบบที่หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นชินกับคำว่า สวนอาหาร แต่ด้วยการออกแบบของ ธ.ไก่ชน ผู้ชำนาญในด้านการใช้ ไม้ไผ่ จึงทำให้แพไม้ไผ่แห่งนี้มีความพิเศษไม่เหมือนใคร DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: ธ.ไก่ชน THAI Bamboo Architecture “ภูเขา และผืนน้ำ” เป็นนิยามของรูปลักษณ์ และรูปทรงที่เกิดขึ้นของโครงสร้าง ไม้ไผ่ในครั้งนี้ การออกแบบตั้งใจสร้างภาพเงาสะท้อนบนผืนน้ำ สอดคล้องไปกับภาพจำของภูเขาที่เรียงรายผ่านการออกแบบโครงสร้างหลังคาทำให้แพไม้ไผ่แห่งนี้มีภาพจำที่แตกต่างไปจากแพไม้ไผ่ในที่อื่น ๆ ปลายยอดแหลมที่เหมือนกับยอดเขา เปิดช่อง Sky Light เพื่อรับแสงธรรมชาติสู่พื้นที่ใช้งาน และยังช่วยขับเน้นความงามของโครงสร้างเหล็ก และไม้ไผ่ ที่ทำงานรับล้อกันไปตลอดทั้งโครงการ เสากลมขนาดเล็กที่ตั้งใจออกแบบบนผังแบบฟรีฟอร์มนั้น ทำให้เส้นสายที่เกิดขึ้นรับกันได้ดีกับแนวชายคาที่มีความโค้งพลิ้ว บรรจบกับบรรยากาศของวงกระเพื่อมบนผืนน้ำอย่างลงตัว และไม่กวนสายตา โครงสร้างเหล็กทาสีขาว และไม้ไผ่ที่ทำสีธรรมชาติ รวมทั้งหลังคาไม้ไผ่ที่ปล่อยเปลือย เป็นความตั้งใจเพื่อให้มองเห็นความงามของวัสดุที่สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา และในส่วนของที่นั่งได้มีการจัดวางโค้งรับไปกับแนวชายคาด้วยเช่นกัน การออกแบบคำนึงถึงคุณลักษณะของไม้ไผ่ในช่วงองศาของการดัดโค้ง เพื่อให้การทำงานร่วมกับวิศวกรเป็นไปได้โดยสะดวก และมีการคำนวณยื่นขออนุญาตก่อสร้างอย่างถูกต้องอีกด้วย นอกจากนี้ โครงสร้างไม้ไผ่ในโครงการ ยังมีการเลือกใช้โครงสร้างเหล็กเข้ามาช่วยในการจบงานระบบปรับอากาศ และปิดช่องว่างเพื่อกันแมลง และนี่คืออีกหนึ่งโครงการที่ท้าทายการใช้วัสดุพื้นถิ่นในรูปแบบใหม่ ๆ ได้อย่างลงตัว และน่าสนใจเป็นอย่างมาก ที่ตั้งBamboo Light […]

AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค

Akanee ร้านอาหารไทยโบราณ แรงบันดาลใจจากเตาไฟ ตั้งอยู่ภายในโครงการ Earth Ekamai โดยมีเชฟเป่าเป้ – เจสสิก้า หวัง และเชฟเอียน – พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย มาช่วยกันสร้างสรรค์เมนูอาหารจากสูตรตำรับดั้งเดิม เพื่อนำพาผู้คนยุคนี้ให้ได้สัมผัสกับรสชาติอาหารที่ไม่คุ้นเคย หรือหารับประทานยาก อิ่มอร่อยในบรรยากาศแบบ Casual Dining DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Tastespace.co จากชื่อ Akanee (อัคนี หรือไฟ) เป็นการตั้งชื่อร้านและสื่อสารอย่างตรงมาตรงไป เพราะไฟถือเป็นสิ่งสำคัญของการประกอบอาหาร จุดกำเนิดเมนูต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปิ้ง ย่าง ผัด ทอด ต้ม นึ่ง ฯลฯ ที่ล้วนแต่ต้องใช้ไฟทั้งสิ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการนำมาสู่การตีความในแง่ของการออกแบบ ทีมผู้ออกแบบจาก Tastespace.co จึงหยิบประเด็นของการใช้เตาไฟหรือ “เตาอั้งโล่” ที่ต้องควบคุมไฟโดยใช้พัดโบกเตาเครื่องจักสานไม้ไผ่ทรงสี่เหลี่ยมเพื่อใช้เร่งไฟ จากองค์ความรู้ดังกล่าว จึงถูกเลือกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์และแรงบันดาลใจในการออกแบบตกแต่งร้าน ดังนั้นเพื่อเน้นสื่อสารถึงความเป็นครัวไทย และบอกเล่าถึงเมนูเด่นของร้านที่เน้นการย่าง โดยคุณฮิม-กิจธเนศ ขจรรัตนเดช จึงได้ทำการรีเสิร์ชข้อมูลต่าง ๆ หลังจากทราบความพิเศษของอาหารที่เชฟทั้งสองท่านตั้งใจรังสรร ก่อนตกตะกอนจนกลายเป็นร้านที่มีบรรยากาศหรูหรา แต่มีความแคชวลสบาย […]

neera retreat hotel โรงแรมดีต่อโลกและดีต่อใจ นิยามการพักผ่อนใหม่ริมแม่น้ำท่าจีน

neera retreat hotel ทอดใจไปกับวิวริมแม่น้ำท่าจีน อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม กับโรงแรมที่ให้ความสำคัญกับกาย ใจ และโลกไปพร้อมกัน neera retreat hotel โรงแรมที่มีแนวทางการสร้างสถานที่พักผ่อนให้เป็นมากกว่าแค่โรงแรม แต่เป็นเสมือนสถานที่สร้างแรงบันดาลใจแห่งการใช้ชีวิต คู่กับแนวคิด Eco-conscious เพื่อสร้างความเป็นไปได้ใหม่ให้แก่ธุรกิจโรงแรม ลดการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้ง และลดขยะเหลือทิ้งจากงานภาคบริการต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด กับภารกิจสำคัญที่อยากส่งต่อและแบ่งปันเรื่องราวดี ๆ ให้ผู้เข้าพักได้รับกลับไป จากชื่อ neera ซึ่งแปลว่า หยดน้ำ ที่นี่จึงเชื่อเรื่องการส่งต่อเปรียบดังหยดน้ำที่กระทบลงบนผิวน้ำ ก่อนกระเพื่อมเป็นวงกลมขนาดใหญ่แผ่กว้างออกไป จากจุดเริ่มต้นเล็ก ๆ ที่สามารถสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้นี้จึงสมกับสโลแกนของโรงแรมที่ว่า “be the start of the ripple.” โดยเฉพาะด้านการตระหนักรู้ที่มีต่อโลกและจิตใจของตนเอง แนวคิดดังกล่าวมาจาก 3 พี่น้อง ผู้ร่วมก่อตั้ง neera retreat hotel อย่างคุณซอย – วริวรรณ์ วิทยฐานกรณ์ คุณซาน – วิชฌ์ วิทยฐานกรณ์ […]

PETRICHOR CAFE คาเฟ่เพ็ทเฟรนด์ลี่ ฟีลอบอุ่น แทรกตัวอย่างแยบยลใต้บ้านเรือนไทย

Petrichor cafe (เพททริเคอร์ คาเฟ่) คาเฟ่เพ็ทเฟรนด์ลี่ ตอบโจทย์คนชอบท่องเที่ยวพักผ่อนไปกับเพื่อนรักสี่ขาในบรรยากาศริมน้ำ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Anatomy Architecture + Atelier / AA+A คาเฟ่เพ็ทเฟรนด์ลี่ ย่านฝั่งธนฯ ที่แบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งให้เป็นโซน Pets Grooming บริการรับอาบน้ำ-ตัดขนสุนัข และสนามหญ้าเอ๊าต์ดอร์ขนาดกว้างให้เจ้าขนฟูได้วิ่งเล่นแบบจุใจ ในบรรยากาศร่มรื่นริมคลองทวีวัฒนา จดจำง่ายด้วยภาพอาคารเรือนไทยหลังคาทรงจั่ว กว่าจะเป็นคาเฟ่อย่างที่เห็น คุณเต้-ณัฐธิภา วารีศรศักดิ์ เจ้าของ เล่าว่า เธอมีโปรเจ็กต์เปิดคาเฟ่ไปพร้อมกับ Pets Grooming แบบครบวงจร เพื่อเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนชอบเที่ยวคาเฟ่ โดยสามารถพาสัตว์เลี้ยงมาใช้เวลาพักผ่อนร่วมกันได้ หลังจากมองหาทำเลที่เหมาะสมอยู่ก็ได้มาพบกับบ้านเรือนไทยริมน้ำซึ่งเดิมทำธุรกิจให้เช่าสถานที่สำหรับจัดงานแต่งงาน แล้วเปิดพื้นที่ระเบียงชั้นล่าง หรือใต้ถุนบ้านให้เช่า จากข้อดีด้านทำเลที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ และอยู่ติดกับวิวริมน้ำ คุณเต้จึงตัดสินใจเช่าแล้วส่งต่อคอนเซ็ปต์ให้ AA+A มาช่วยออกแบบคาเฟ่ในฝัน พร้อมโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้อาคารเรือนไทยมีความน่าสนใจ ไปพร้อม ๆ กับการสอดประสานฟังก์ชันใหม่เข้าไปในอาคารเก่า หรือที่ผู้ออกแบบเรียกว่าเป็น Parasite Architecture ได้อย่างลงตัว ภายใต้ความคอนทรานส์กันระหว่างความโมเดิร์นของคาเฟ่ กับอาคารเรือนไทยหลังคาทรงจั่ว ซึ่งสามารถเป็นหนึ่งเดียวกันได้อย่างแยบยล ด้วยความหมายของชื่อ PETRICHOR ซึ่งแปลว่า […]

TAMNI HOSTEL เมื่อตำหนิ คือ เสน่ห์

“ตำหนิ” คือร่องรอยอันเป็นสิ่งยืนยันการข้ามผ่านกาลเวลาของสิ่งหนึ่งๆ เป็นร่องรอยที่สร้างเอกลักษณ์อันแตกต่างให้กับสิ่งๆนั้น เพราะฉะนั้น “Tamni Hostel” จึงเหมือนเป็นภาพแทนของร่องรอยสิ่งที่เป็นชุมชนในพื้นที่ซอยพระยาสิงหเสนีแห่งนี้นั่นเอง เดิมทีพื้นที่แห่งนี้เป็นที่ดินของเจ้าของโรงแรม Tamni Hostel ในปัจจุบัน แต่หากย้อนกลับไป 30-50 ปีที่แล้ว การแบ่งพื้นที่เพื่อปล่อยเช่าคือคำตอบของธุรกิจในตอนนั้น จนกระทั่งผ่านกาลเวลา และพื้นที่ในซอยพระยาสิงหเสนี ได้ตกมาถึงคุณ ธัญ สิงหเสนี เจ้าของโรงแรมแห่งนี้ การนำพาพื้นที่แห่งนี้ให้ไปสู่ยุคสมัยถัดไปจึงเป็นเหมือนโจทย์สำคัญที่ทำให้ Tamni Hostel เกิดขึ้น การออกแบบ Tamni Hostel นั้น มีขึ้นเพื่อสร้างให้ชุมชนได้กลับมาคึกคักดังเช่นวันวานมากกว่าจะเป็นในแง่ของธุรกิจ เพราะเมื่อลักษณะของชุมชนที่ทำธุรกิจโรงกลึงขนาดเล็ก และค้าเหล็กเป็นสำคัญ เริ่มที่จะตามยุคสมัยไม่ทัน การเพิ่มความเป็นไปได้ใหม่ๆจึงเป็นเหมือนทางออกหนึ่งที่จะสร้างให้ชุมชนกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง Hostel, Cafe และพื้นที่สำนักงานผสมกับ AirBnb เป็นเหมือนกับห้องรับแขกของชุมชนที่ทำให้คนจากพื้นที่ต่างๆเดินทางเข้ามามากขึ้น เมื่อพื้นที่แห่งนี้กลับมาเป็น Destination ที่น่าสนใจ การต่อยอดไปในอนาคตก็คงไม่ไกลเกินจะเกิดขึ้นได้จริง ในส่วนของงานออกแบบนั้น อาคารทั้งหมดได้ถูกออกแบบจากโครงสร้างเดิมของ “หมู่ตึกแถว” ในซอยพระยาสิงหเสนี แห่งนี้ ผสานกับการเลือกใช้องค์ประกอบอาคารเดิมมาผสมผสานในการใช้งานใหม่ ซึ่งคอนเซปต์ในคำว่า “ตำหนิ” นั้นยังคงมีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม ไม่ว่าจะการปรับใช้องค์ประกอบอาคารเดิมในรูปแบบใหม่นั้น เปรียบเสมือนชุมชนที่ต้องมีการปรับตัวไปตามยุคสมัย และมากกว่านั้น […]

PUSAYAPURI HOTEL จากประวัติศาสตร์เมืองอู่ทอง ต่อยอดสู่โรงแรมใหม่สุพรรณบุรี

เพราะประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง นั่นจึงมีความหมายอย่างยิ่งกับผู้คนในท้องถิ่นอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ก่อนนำมาสู่โปรเจ็กต์การออกแบบ ปุษยปุรี Pusayapuri HOTEL เพื่อให้เป็นมากกว่าแค่ที่พัก แต่เป็นเสมือนสัญลักษณ์ประจำเมือง เพื่อช่วยเชื่อมโยงไปสู่ประวัติศาสตร์ของเมืองอู่ทองที่มีอายุยาวนานกว่าสองพันปี สู่ที่มาของการออกแบบโรงแรม ปุษยปุรี Pusayapuri HOTEL ผู้รับหน้าที่ออกแบบอย่าง EKAR Architects นำโดยคุณหนึ่ง-เอกภาพ ดวงแก้ว ทีมสถาปนิกได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลอย่างจริงจัง ก่อนนำมาซึ่งแนวคิดและเอกลักษณ์ด้านงานดีไซน์ ที่สร้างสรรค์จนเกิดเป็นอาคารสถาปัตยกรรมอันมีเอกลักษณ์น่าจดจำแห่งนี้ ต่อยอดจากประวัติศาสตร์ที่หลงเหลือ จากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลก่อนเริ่มต้นโปรเจ็กต์การออกแบบ คุณหนึ่ง-เอกภาพ ดวงแก้ว แห่ง EKAR Architects ได้เล่าถึงจุดเริ่มต้นและกระบวนการทำงานของทีมสถาปนิกให้ฟังว่า “การออกแบบครั้งนี้ ว่าด้วยเรื่องของเมือง และเรื่องราวของประวัติศาสตร์ ซึ่งอำเภออู่ทองเคยเป็นเมืองก่อนประวัติศาสตร์มาก่อน แต่คล้าย ๆ เป็นเมืองเก่าที่ถูกมองข้ามไป เป็นประวัติศาสตร์ที่คนหลงลืม คนในท้องถิ่นจึงช่วยกันเล่าเรื่องราวในท้องถิ่นของตนเอง จะเห็นว่ามีทั้งพิพิธภัณฑ์ มีสถานที่ท่องเที่ยวอย่าง พระพุทธปุษยคีรีศรีสุวรรณภูมิ พระแกะสลักจากหน้าผาหิน แลนด์มาร์กใหม่ของสุพรรณฯ มีซากเจดีย์ลำดับต่าง ๆ ที่เราไปตระเวนดู พอไปถึงแต่ละที่ ก็จะเห็นว่าบางที่ดูเผิน ๆ ก็เหมือนเป็นสนามหญ้าเฉย ๆ พอดูดี ๆ ถึงจะเห็นกองอิฐที่เหลืออยู่ไม่มาก […]

NAYA CAFE AYUTTHAYA คาเฟ่อิฐรับวิวทุ่งนา พาให้เห็นวิถีชุมชนชนบท

นาย่า คาเฟ่ – NAYA Cafe Ayutthaya คาเฟ่อิฐที่อยากชวนคุณมาชื่นชมฤดูกาลผ่านผืนนา บอกเล่าความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ของอาคารกึ่งสาธารณะกลางชุมชนชนบท DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: BodinChapa Architects นาย่า คาเฟ่ – NAYA Cafe Ayutthaya ตั้งอยู่ในตำบลข้าวเม่า อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดดเด่นด้วยรูปทรงสถาปัตยกรรมแปลกตาก่อสร้างจากอิฐสีส้มรับกับวิวทุ่งนาสีเขียว ซึ่งตอนนี้ต้นข้าวกำลังแตกกอหลังจากผ่านช่วงเวลาปักดำมาไม่นาน โดยเป็นผืนนามรดกของครอบครัวเจ้าของโครงการที่ยังคงหมุนเวียนทำนาปลูกข้าวกันทุกปี หลังจากคุณดรีม-พัชชาดา พึ่งกุศล เจ้าของ เปิดร้านเบเกอรี่ออนไลน์ของตนเองมาสักพักก็ถึงคราวต้องขยับขยายธุรกิจด้วยการมองหาทำเลเพื่อเปิดร้านแบบจริงจัง ก่อนมาลงตัวกับทำเลที่มีศักยภาพตอบโจทย์ทั้งธุรกิจ และสร้างความแปลกใหม่ให้แก่ชุมชนแห่งนี้ การออกแบบคาเฟ่ได้รับการถ่ายทอดโดยทีมออกแบบจาก BodinChapa Architects ผ่านสถาปัตยกรรมรูปทรงแปลกตากลางผืนนา ใช้อิฐแดงมาเป็นพระเอกเพื่อบอกเล่าความเป็นอยุธยา ภายใต้รูปทรงอาคารวงรีที่ตีความมาจากรูปทรงของเมล็ดข้าว อันสื่อความหมายถึงผลผลิตจากท้องนา และเป็นตัวแทนเพื่อให้เข้ากับชื่อ ตำบลข้าวเม่า ตามพิกัดที่ตั้งของคาเฟ่ จากถนนหลักด้านหน้าเข้าสู่ตัวคาเฟ่ ได้ออกแบบทางเดินไม้กั้นขอบทางเดินด้วยอิฐ เพื่อใช้เป็นเส้นทางที่ค่อย ๆ เปลี่ยนผ่านอารมณ์เข้าสู่คาเฟ่ โดยระหว่างทางจะได้มองเห็นวิวและต้นไม้ซึ่งมีทั้งที่ปลูกและขึ้นเองตามธรรมชาติ ก่อนจะพบกับพื้นคอนกรีตรูปวงรี เสิร์ฟให้เห็นบริบทต่าง ๆ ด้วยทางเดินที่เชื่อมถึงกันได้รอบอาคาร การสร้างรูปทรงอาคารให้เข้ากับร้านกาแฟกลางนาข้าว ส่วนหนึ่งมาจากที่ตั้งซึ่งอยู่ในตำบลข้าวเม่า สถาปนิกจึงมองว่าน่าจะใช้รูปทรงของเมล็ดข้าว หรือข้าวเม่ามาขยายต่อจนกลายเป็นรูปทรงอาคาร […]

Wongar บาร์ลับ บนชั้น 8 ย่านอารีย์ ที่ใส่ใจในบรรยากาศเป็นกันเอง ด้วยวิวเมือง และงานศิลปะ

งานออกแบบในพื้นที่แห่งนี้ เลือกใช้วัสดุที่คุ้นชินอย่างคอนกรีตเปลือย และสังกะสี เป็นเหมือนแบ็คกราวน์ของพื้นที่ มีการเลือกใช้หินสีเขียวในส่วนบาร์เพื่อสร้างความแตกต่าง และเน้นความสำคัญให้กับพื้นที่ จากนั้นส่วนที่มีอิทธิพลต่อพื้นที่มากที่สุดกลับเป็นกล่องแสงเหนือบาร์ที่สามารถเปลี่ยนสีเพื่อย้อมบรรยากาศให้กับพื้นที่ได้ในโอกาสต่าง ๆ กัน เข้ากับความตั้งใจที่จะทำให้บาร์แห่งนี้เป็นมากกว่าแค่พื้นที่รับประทานอาหาร แต่คือความเป็นไปได้ในการสร้างพื้นที่สังคมของคนที่ชอบศิลปะ และได้พบปะกับคนที่น่าสนใจในแนวทางเดียวกัน ด้วยเพราะเหล่าหุ้นส่วนของร้านก็เป็นนักออกแบบกราฟิกที่ตั้งออฟฟิศอยู่ติดกับร้านแห่งนี้นั่นเอง การเลือกใช้วัสดุที่คุ้นชินนั้น เป็นการเชื่อมโยงบรรยากาศเป็นกันเองของความเป็น “ร้านอาหารแบบไทยสตรีทฟู้ด” สู่ “บาร์ลับลอยฟ้าสไตล์ญี่ปุ่น” ให้เข้ากันอย่างแนบเนียน ข้อดีของวัสดุเหล่านี้คือช่วยให้แขกที่มาใช้บริการไม่รู้สึกเกร็ง ผ่อนคลาย และเป็นกันเอง ในขณะที่รายละเอียดของวัสดุอย่าง อิฐดินเผา บาร์หินจริง และการใช้วัสดุไม้ Plywood ก็เสริมรายละเอียดในบรรยากาศละเมียดแบบญี่ปุ่นเอาไว้ได้อย่างดี และนี่คือบาร์ที่ตั้งใจเป็นแหล่งรวมตัวหลังเลิกงาน ทั้งมานั่งทานอาหารเย็น หรือจะต่อยาวไปตลอดค่ำคืนกับ Vibe อันน่าสนใจของพื้นที่แห่งนี้ก็เข้าที ที่ตั้งWongarชั้น 8 โครงการ The Hub พหล-อารีย์พิกัด https://goo.gl/maps/Ldi1dM7uyUj5QjiZA?coh=178571&entry=ttเปิดวันอังคาร-พฤหัสบดี 17.00-23.00 น. และวันศุกร์-อาทิตย์ 17.00-24.00 น.โทร.08-4096-5551 ออกแบบ: space+craftภาพ: Thanapol Jongsiripipatเรียบเรียง: Wuthikorn Sut