room - Design Experience for Modern Living.

Navan Navan ประสบการณ์แปลกใหม่ ในร้านฟีลถ้ำ ของเชฟแวน ในวันที่พาใจกลับบ้านที่แม่ริม

01.

“เชฟแวน” เจ้าของร้าน Escapade Burgers & Shakes, ราบ และ DAG ผู้มีคาแร็กเตอร์ชัดเจน ดูแข็งแกร่ง กำยำ ดุดัน รวมทั้งเมนูอาหารที่จัดจ้านในความ Creative นั่นจึงทำให้ร้านเห็นนี้ มีภาพลักษณ์ที่ดูลึกลับ คล้ายถ้ำ เผื่อชวนให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ว่าภายในนั้นจะรังสรรค์อาหารแบบไหนให้กับลูกค้า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Godmother Studio ร้านแห่งนี้เป็นหนึ่งในช่วงเวลาของการเลือกที่จะกลับสู่บ้านที่แม่ริมของเชฟแวน ซึ่งพื้นที่ตรงนี้ก็เป็นบริเวณบ้านชองครอบครัวอยู่แล้ว ที่มีทั้ง Homestay ร้านกาแฟ สวนดอกไม้ ในทุ่งที่ชื่อ “Amaze l at Themyth ” ซึ่งตั้งในอยู่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ล้อมรอบด้วยทุ่งนา และทิวเขา มีวิวอาทิตย์ตกอันงดงาม เพราะแก่การยกถ้ำส่วนตัวมาตั้งไว้อย่างเหมาะเจาะ การเลือกใช้วัสดุที่แสดงออกถึงสัจวัสดุไร้การเติมแต่งคือหัวใจของการออกแบบในครั้งนี้ ภายนอกนั้นเป็นการก่ออิฐฉาบปูนโดยทำผิวด้วยเทคนิคโบราณอย่างการ “สลัดดอกปาดเรียบ” ซึ่งก่อให้เกิดเท็กซ์เจอร์ที่ดูเหมือนธรรมชาติมากกว่าเทคนิคสมัยใหม่ ส่วนภายในนั้นใช้การฉาบเรียบ เคลือบใส โดยไม่ใช้การทาสี และใช้ไม้เป็น Subroog ให้กับฝ้า เพื่อลดความดิบของปูน แต่ยังโชว์ถึงโครงสร้างไว้อย่างชัดเจน จากภายนอกนั้นออกแบบให้เดินเข้าสู่ภายในด้วยความสูงที่ค่อยๆลดหลั่นลงไปยังบาร์ และส่วนประกอบอาหาร เพื่อเน้นถึงจุดสนใจบริเวณบาร์อาหาร […]

Read more

160°C pastry & specialty coffee ตีความการเปลี่ยนรูปของสสาร สู่สถาปัตยกรรมโมเดิร์นแปลกตา

02.

160°C Pastry & Specialty Coffee เกิดจากความหลงใหลในการทำเบเกอรี่ของลูกสาวเจ้าของร้าน ที่เปิดร้านขนมมาตั้งแต่อายุ 16 กับชื่อ Sixteen Croissant Cafe จนประสบความสำเร็จ ก่อนนำมาสู่ร้านใหม่ขนาดใหญ่กว่าเดิมร้านนี้ ซึ่งมีชื่อมาจาก 160 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของเตาอบที่อบครัวซองต์ได้ออกมาอร่อยที่สุด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Anatomy Architecture + Atelier / AA+A สี่แยกพลับพลา ชลบุรี คือที่ตั้งของ 160°C Pastry & Specialty Coffee โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมแปลกตา เป็นผลงานออกแบบโดย AA+A ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากความสนใจในเรื่องราวการเปลี่ยนสถานะของสสาร จากสถานะหนึ่งไปสู่อีกสถานะหนึ่ง ผ่านแรงกระทำบางอย่าง อันเป็นความกำกวมที่ไม่สามารถคาดเดาได้ ระหว่างส่วนผสมที่อาจมีสถานะเป็นของแข็งแล้วกำลังจะกลายเป็นของเหลว หรือจากของเหลวกำลังจะกลายเป็นของแข็ง จนนำมาสู่แรงบันดาลใจของฟอร์มอาคารดีไซน์โมเดิร์นสีขาวสุดล้ำ มีความเป็น Out of Context Architecture หรืออาจเรียกว่าเป็น Alien Architecture แตกต่างไปจากอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยมทั่วไป อันมีผลต่อมุมมองและสร้างความสนใจของผู้คนในละแวก แม้สถาปัตยกรรมภายนอกจะหวือหวาแปลกตาไปกับรูปทรงของคาโนปี้ทางเข้า […]

Read more

Sunny Beach House คาเฟ่พัทยา รับวิวทะเลพานอรามา อาบแสงตะวันยามเย็น

03.

หลายคนอาจเคยไปพักผ่อน หรือคุ้นหูกับชื่อโรงแรมเอเชียพัทยาโฮเทล วันนี้เขามีจุดแลนด์มาร์กใหม่ให้ลองไปเยี่ยมเยือนกับ Sunny Beach House คาเฟ่พัทยา และร้านอาหารริมหน้าผาเปิดใหม่แห่งพัทยาใต้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Studio Moonshot ด้วยพื้นที่ที่มีความพิเศษในเรื่องของที่ตั้ง และวิวแบบ Panorama Sunset ซึ่งมีเกาะล้านเป็นฉากหลัง จึงเป็นที่มาของคาเฟ่พัทยา แห่งนี้ ภายใต้คอนเซ็ปต์ Cafe and Comfort Dining อันมีจุดขายในเรื่องของวิวพระอาทิตย์ตกดินที่สวยที่สุด ความท้าทายในการจัดการพื้นที่ด้วยลักษณะโครงสร้างพื้นเก่ามีส่วนที่ยื่นออกไปนอกหน้าผาและถูกไอทะเลกัดกร่อนมาเป็นเวลานาน ทำให้ไม่สามารถสร้างอาคารได้ทั้งหมด พื้นที่จึงถูกแบ่งออกเป็น 2 โซนหลัก คือ Café Indoor Zone และ Outdoor Diningโดยทั้งสองโซนยังคงสามารถมองเห็นวิวได้เต็มที่ Café Indoor Zone ออกแบบตกแต่งภายในโดย Studio Moonshot โดยใช้ “SUN”เป็นคีย์เวิร์ดหลักสื่อสารผ่านการออกแบบองค์ประกอบที่บอกเล่าที่มาของสถานที่ รวมถึงบริบทอันงดงามผ่านรูปทรงสังเกตได้จากการใช้เส้นโค้ง หรือ วงกลม รวมถึงการเลือกใช้โทนสี ที่มาจากช่วงสีของแสงตามเวลาระหว่างที่พระอาทิตย์ตกดิน ผ่านการเรียงกระเบื้องผนัง-พื้น อีกหนึ่งความน่ารักของ Sunny Beach House คือ […]

Read more
Studio Moonshot

Ruen Lek เรือนเล็ก บ้าน และคาเฟ่แบบเรือนไทยโครงสร้างเหล็ก บรรยากาศโฮมมี่ในเมืองจันท์

04.

Ruen Lek เรือนเล็ก  คือบ้าน คือออฟฟิศ คือคาเฟ่ของ Baan Lek Villa โฮมสเตย์ขนาดเล็กในเมืองจันท์ โดยคนจันท์ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวจันท์ GLA Design Studio DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: GLA DESIGN STUDIO ‘Ruen Lek เรือนเล็ก‘ เป็นอาคารที่ออกแบบอย่างเรือนพื้นถิ่น มีการเปิดรับภูมิอากาศทรอปิคัลใต้ถุนสูง ถูกแทนที่ด้วยฟังก์ชันของคาเฟ่ ทำเพื่อรับแขกที่ไม่ได้มาค้างคืน ณ บ้านเล็กวิลล่า แต่อยากมาเสพบรรยากาศสบาย ๆ ของเมืองจันทบุรีในแบบชั่วครั้งชั่วคราว “อยากกลับไปบ้าน หอบงานไปทำแบบสบาย ๆ ในพื้นที่ที่เราออกแบบเอง ตอนแรกก็ทำบ้านเล็กวิลล่า แต่พอถึงเวลาก็เต็มตลอด รับแขกตลอด ก็เลยทำเรือนเล็กขึ้นมา ชั้นบนเป็นพื้นที่ส่วนตัวของเรา ส่วนชั้นล่างก็ให้น้องชายทำคาเฟ่ที่ตอบโจทย์กับแขกของบ้านเล็กวิลล่าไปพร้อมกัน” – รินระดา นิโรจน์ (สถาปนิก) บ้านบ้านที่ชอบในความทรงจำ ‘เรือนเล็ก’ ออกแบบชั้นล่างให้เป็นระดับเดียวกับพื้นดินของบริเวณโดยรอบ เช่นเดียวกับ บ้านเล็กวิลล่า ส่วนหนึ่งก็เพราะต้องการคงความเป็นใต้ถุนบ้านเอาไว้ แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมนั้นทำงานร่วมกัน เรือนทั้งสองหลังก่อให้เกิดพื้นที่ตรงกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แขกที่มาคาเฟ่ชอบไปนั่งเล่น […]

Read more

Latest

Horme Cafe Rangsit คาเฟ่ในสวน ล้อมคอร์ต เอ็นจอยกลางพื้นที่สีเขียว

คาเฟ่ที่ออกแบบสวนล้อมคอร์ต ให้ทุกคนได้มาใช้เวลาร่วมกัน ในพื้นที่สีเขียวDESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Supar Studio คาเฟ่ในสวน แห่งใหม่ในรังสิต ออกแบบโดย Supar Studio ดีไซน์อาคาร ให้เป็นเหมือนการปั้นภาชนะดิน ให้เกิดเป็นรูปทรงโค้ง โอบรับพื้นที่ที่ตัวอาคารตั้งอยู่ ให้เส้นสายอาคารโค้งต่อเนื่องกันทั้งภายนอก และภายใน ทำให้ได้ทรงอาคาร ที่กลมกลืนไปกับบริบทรอบข้าง ให้ผู้ที่อยู่อาศัยโดยรอบรู้สึกว่าอาคารหลังนี้เป็นส่วนหนึ่ง ไม่แปลกแยก และเป็นมิตรสำหรับการเข้ามาใช้งาน พื้นที่สวน ออกแบบเป็นเนินหญ้ายกสูง สลับกับพื้นเรียบ เป็นพื้นที่ที่สถาปนิกพัฒนาการออกแบบมาจากร้านในสาขาอื่น ๆ ที่เปิดมาก่อนหน้านี้ ซึ่งทำเป็นสวนตกแต่ง แล้วมีลูกค้าเข้าไปเดินใช้งานจริง ๆ สำหรับสาขานี้จึงออกแบบให้สวนเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรม ให้ลูกค้าเข้ามาเดินเล่น หรือพาลูก ๆ มาวิ่งเล่นบนเนินหญ้าได้ เป็นสวนที่ใช้งานได้ เป็นเหมือนพื้นที่สีเขียวส่วนกลางสำหรับพื้นที่บริเวณโดยรอบ ซึ่งเป็นที่พักอาศัยแบบคอนโดมิเนียม และยังได้มาดื่มกาแฟ และยังมีร้านอาหารตั้งอยู่ที่อาคารด้านข้าง เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่พักผ่อนครบรูปแบบในพื้นที่เดียว จากภายในร้าน เปิดโปร่งด้วยกระจกใส เมื่อมองออกไป จะเห็นสวนที่อยู่ตรงกลาง สถาปนิกออกแบบสวนให้เป็นพื้นที่เชื่อมต่อ ระหว่างตัวร้าน กับสถานที่ตั้งด้านนอก มีช่องเปิด ที่มองออกไปเห็นอาคารที่พักอาศัย ที่อยู่ด้านนอก และจากอาคารภายนอกมองเข้ามาก็เห็นสวน และร้านคาเฟ่ ทำให้พื้นที่ทั้งหมดกลายเป็นเรื่องเดียวกัน […]

PAKK TAII DESIGN WEEK 2024 เทศกาลออกแบบปักษ์ใต้ ผสานไอเดียใหม่ใส่ย่านเมืองเก่าสงขลา

PAAK TAII DESIGN WEEK 2024 เทศกาลสร้างสรรค์ พื้นที่ปล่อยของสุดครีเอทของคนใต้ ที่ควรค่าแก่การมาชม! ตั้งแต่วันนี้ ไปจนถึงสุดสัปดาห์ (วันนี้ – 25 สิงหาคม 2567) room ขอแนะนำเทศกาลที่สร้างสรรค์ที่สุดในเวลานี้แห่งเมืองปักษ์ใต้ ที่จะมาปลุกเสน่ห์น่ห์ของเมืองเก่าสงขลาให้มีชีวิตชีวาด้วยความครีเอทีฟในงาน PAKK TAII DESIGN WEEK 2024 กับแนวคิด “The South’s Turn ถึงทีใต้ ได้แรงอก” จัดแสดงในหลายเมือง ทั้งย่านตัวเมืองเก่าสงขลา หาดสมิหลา อำเภอหาดใหญ่ อำเภอจะนะ และยังขยายไปยัง อำเภอเมืองฯ จังหวัดปัตตานี เกิดเป็นส่วนผสมอันลงตัวระหว่างของดั้งเดิมกับไอเดียใหม่ ๆ ของทั้งคนในพื้นที่ร่วมกับกลุ่มดีไซเนอร์จากที่ต่าง ๆ จนออกมาเป็นเทศกาลสุดเจ๋ง รวบรวมทั้งนิทรรศการงานออกแบบ ศิลปะจัดวาง กิจกรรมเวิร์กชอป และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะทำให้คุณรู้ว่าของดีแบบชาวใต้เป็นอย่างไร room จึงขอรวบรวมจุดไฮไลต์ สำคัญ ๆ ในพื้นที่จัดแสดงย่านเก่าของเมืองสงขลาที่น่าสนใจมาให้ชม นอกจากจะเป็นงานออกแบบที่สวยน่าชมแล้ว […]

Don't Miss

หลากหลายเรื่องราวน่าสนใจที่ room แนะนำ

20 ปี KOKUYO THAILAND สิ่งดี ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับจุดมุ่งหมายใหม่ของ Workplace Design ที่ใส่ใจในทุกพื้นที่การทำงาน

นับตั้งแต่ KOKUYO (โคคูโย) เปิดสำนักงานและโชว์รูมแห่งแรกของประเทศไทยในปี 2004 ปีนี้ถือเป็นโอกาสครบรอบ 20 ปี KOKUYO Thailand แบรนด์เฟอร์นิเจอร์อันดับ 1 ที่ครองใจใครหลาย ๆ คน จากทั้งความสวยงาม มีเอกลักษณ์ และยังเป็นเฟอร์นิเจอร์คุณภาพดี มาตรฐานญี่ปุ่นที่ขึ้นชื่อเรื่องความใส่ใจ  เบื้องหลังความสำเร็จที่เป็นหัวใจหลักของกลุ่ม KOKUYO  ผู้พัฒนาและผลิตเฟอร์นิเจอร์สำนักงานในระยะเวลาเกินกว่า 100 ปี ถ่ายทอดมาถึง KOKUYO Thailand มาจากแนวคิดที่ยึดมั่นอยากสร้างสุขภาวะที่ดี ให้ผู้คนมีความสุขและสนุกกับการทำงาน โดยคำนึงการออกแบบจากแนวคิดที่ว่า Design with Empathy อย่างจริงใจ ใส่ใจในรายละเอียดที่เป็นความต้องการของผู้ใช้งาน แนวทางนี้เป็นดั่ง DNA ของทีมที่ส่งต่อกันอย่างเหนียวแน่นตลอดมา  ในโอกาสนี้ บ้านและสวน จึงอยากพาทุกคนไปรู้จักกับแบรนด์ที่ออกแบบเฟอร์นิเจอร์อย่างเข้าอกเข้าใจเพื่อดูแลเราทุกคน รวมถึงวิสัยทัศน์ต่อไปที่ KOKUYO อยากดูแล Design with Empathy การออกแบบจากความใส่ใจในทุกประสบการณ์ ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา KOKUYO Thailand เป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนาและผลิตเฟอร์นิเจอร์สำนักงานชั้นนำด้วยประสบการณ์ที่ KOKUYO […]

มิติใหม่ของการอาบน้ำแบบดิจิทัล กับ CRAVE Series จาก MEX ด้วยดีไซน์สวยงาม เปี่ยมฟังก์ชั่น การันตีด้วยรางวัลจากเวทีระดับโลก iF Design Award 2024

MEX CRAVE Series จากแสงสะท้อนของแผ่นกระเบื้องสู่ เครื่องทำน้ำอุ่น ที่มีดีไซน์ ได้คว้ารางวัล iF Design Award 2024 สาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ทั้งยังเป็นครั้งแรกของแบรนด์ เครื่องทำน้ำอุ่น จากไทยที่ได้รับรางวัลระดับโลกนี้  ซึ่งไม่เพียงไม่สร้างแรงกระเพื่อมแก่เวทีดีไซน์นานาชาติเท่านั้น เครื่องทำน้ำอุ่น รุ่นล่าสุดจาก MEX ยังได้รับรางวัล DEmark Design Award 2024 การันตีงานดีไซน์ที่ยกระดับให้ เครื่องทำน้ำอุ่นกลายเป็นหนึ่ง Gadget ภายในห้องน้ำได้อย่างลงตัว นี่จึงเป็นครั้งแรกที่เครื่องทำน้ำอุ่นจะกลายมาเป็นหนึ่งใน Gadget ตกแต่งห้องน้ำ ด้วยแนวคิดที่ต้องการนำเสนอให้เครื่องทำน้ำอุ่นมีมากกว่าฟังก์ชั่นการใช้งาน แต่เป็น Recollection Item เปี่ยมเรื่องราว ผู้ออกแบบจึงหยิบยืมภาษาของการตกแต่งกระเบื้องมาใช้และนำแสงสะท้อนของแผ่นกระเบื้องมาเป็นไอเดีย แล้วถ่ายทอดเรื่องราวเหล่านั้นออกมาเป็นเครื่องทำน้ำอุ่นรุ่น MEX CRAVE Series ที่ไม่เพียงเปี่ยมด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และความปลอดภัยสูงสุดตามมาตรฐานของ MEX ยังให้บริบทของงานออกแบบที่ส่งเสริมให้ MEX CRAVE Series กลายเป็นหนึ่งในเฟอร์นิเจอร์ชิ้นเด่นประจำห้องน้ำ การทำงานร่วมกันในครั้งนี้ มาจากความตั้งใจของ MEX […]

Commercial

More

lei ơi càphê ร้านกาแฟตึกแถว เวียดนาม สัมผัสความสงบและธรรมชาติจากภายใน

lei ơi càphê บ้านกึ่ง ร้านกาแฟตึกแถว สีส้มอิฐ ที่ชวนทุกคนทิ้งความวุ่นวายไว้ภายนอก เพื่อมาสัมผัสความสงบและธรรมชาติจากภายใน ท่ามกลางย่านชุมชนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ที่ห้อมล้อมไปด้วยบ้านตึกแถว หรือบ้านหน้าแคบ นับเป็นบริบทที่ท้าทายนักออกแบบจาก TRAN TRUNG Architects ในการออกแบบพื้นที่ ร้านกาแฟตึกแถว ให้ผสมผสานไปกับพื้นที่พักอาศัยที่อยู่ชั้น 2 และ3 มีมุมมองจากภายในที่ดูเปิดโปร่ง ชักนำแสงและลมให้สามารถไหลเวียนได้อย่างทั่วถึงทุกชั้น เมื่อมองเข้ามาจากพื้นที่หน้าร้าน นับเป็นโชคดีของที่นี่ที่มีต้นไม้ใหญ่จากฟุตบาทคอยช่วยสร้างร่มเงาดูร่มรื่น โดยสีเขียวของต้นไม้ดูตัดกันดีกับผนังอาคารสีส้ม และฟาซาดสังกะสีสีสนิมที่นำมาใช้ปิดบังมุมมองเพื่อความเป็นส่วนตัว ชักชวนให้อยากละทิ้งจังหวะที่เร่งรีบของเมืองภายนอก ก่อนจะค่อย ๆ ชะลอจังหวะให้ช้าลง จนสัมผัสได้ถึงความนิ่ง สงบ และกลิ่นกาแฟอันหอมกรุ่น รอต้อนรับอยู่ภายใน การออกแบบมาจากแนวคิดที่ต้องการเปิดพื้นที่ตรงกลางให้เปิดทะลุถึงด้านบน โดยมีเส้นทางสัญจรอย่างบันไดเหล็กเจาะรูที่ดูโปร่งเบาทำหน้าที่แจกจ่ายผู้คนไปยังแต่ละชั้น แถมยังยอมให้แสงและลมลอดผ่านลงมาถึงชั้นล่าง ซึ่งมีคอร์ตยาร์ด หรือพื้นที่สีเขียวปลูกต้นไม้เขียวชอุ่มสดชื่น เคล้าไปกับกลิ่นหอมหวนของกาแฟ ตัวอาคารไม่เพียงแต่ผสมผสานกับสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่โดดเด่นเป็นของตัวเอง ซึ่งสามารถรับรู้ได้ของการเคลื่อนไหวของลมและแสงที่ปรับทิศทางไปตามช่วงเวลา สังเกตได้จากการตกกระทบของแสงเงาที่ปรากฏบนผนัง นอกจากนี้ การออกแบบของสถาปนิกยังสะท้อนถึงแนวคิด “Reviving the Life Cycle” จากการก่อสร้างและใช้วัสดุที่ถูกทิ้ง หรือถูกมองข้ามให้ได้รับการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ไม่ว่าจะเป็นแผงสังกะสีลอนลูกฟูก […]

Odeum Cafe คาเฟ่ระยอง สไตล์โมเดิร์นเรโทร เชื่อมโยงความหลงใหลในดนตรีและกาแฟเข้าด้วยกัน

คาเฟ่ระยอง ย่านมาบตาพุด มีแรงบันดาลใจมาจากเจ้าของผู้หลงใหลในดนตรี Alternative Rock ผสมกับความคลั่งไคล้ในเรื่องราวของกาแฟ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ:  SA-ARD architecture & construction Odeum Cafe เริ่มต้นมาจากความหลงใหลในกาแฟและเสียงดนตรี จึงนำชื่อ “Odeum” ซึ่งหมายถึง “โรงแสดงดนตรี” มาใช้ตั้งชื่อคาเฟ่ระยองแห่งนี้ ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบร้านโดย SA-ARD architecture & construction ที่ตีความภาษาดนตรีสู่ภาษางานออกแบบ จนกลายเป็นอาคารโมเดิร์นลอยโดดเด่นจากบริบท ใช้บันไดที่นำพาผู้คนจกระดับถนนไปสู่ทางเข้าอาคารด้านบน สร้างภาพจำให้แก่งานออกแบบในแนวทางที่เรียกว่า Modern Retro มีเอกลักษณ์ด้วยเปลือกอาคาร หรือฟาซาด ที่มีไอเดียมาจาก Piano Keyboard Diagram เพิ่มความเชื้อเชิญในการเข้าถึงภายในอาคาร สถาปนิกเลือกใช้วัสดุปิดผิวอาคารจากแผ่นเมทัลชีทผิวด้าน สามารถช่วยลดการสะท้อนของแสง และสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมให้กับพื้นที่โดยรอบ นอกจากนี้ยังทำการเพิ่มช่องแสงด้านหน้าอาคาร เพื่อให้เกิดการเชื่มต่อของพื้นที่ทางสายตาระหว่างนอกกับในอาคาร การวางผังใช้งานเป็นไปตามแนวยาวของอาคาร แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน Café และ Back of house ออกจากกันด้วยห้องน้ำที่กั้นอยู่ตรงกลาง และเชื่อมต่อกับหลังอาคารและห้องพักพนักงาน โดยจัดให้ห้องน้ำสามารถเข้าถึงได้จากภายในคาเฟ่ โดยตรง โดยไม่ทำลายบรรยากาศภายในร้าน การตกแต่งภายในของ […]

Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่ง ที่เชียงใหม่ เสิร์ฟอาหารจากวัตถุดิบของดีทั่วไทย

Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่ง ของเชฟแบล็ก-ภานุภณ บุลสุวรรณ กับร้านบรรยากาศเป็นกันเองเหมือนมากินข้าวที่บ้านเชฟ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 โปรเจ็กต์รีโนเวตร้านอาหารกลางเมืองเชียงใหม่ กับร้าน Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารของเชฟแบล็ก-ภานุภณ บุลสุวรรณ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงทำอาหาร ด้วยชื่อเสียงและความถนัดด้านการนำวัตถุดิบท้องถิ่นทั่วไทยมาสร้างสรรค์เป็นเมนูพิเศษ กับเชฟเบียร์-อโณทัย พิชัยยุทธ เชฟทำขนมหวาน หลังจากที่ร้านอาหารของทั้งคู่เป็นที่รู้จักและเป็นขวัญใจของเหล่านักชิมมาระยะหนึ่ง เชฟทั้งสองท่านจึงตัดสินใจรีโนเวตร้านของตนเองใหม่ โดยมอบหน้าที่ให้สตูดิโอออกแบบ 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 มาช่วยถ่ายทอดบรรยากาศและความเป็นตัวตนของเชฟลงไปในพื้นที่ กับการเปลี่ยนโฉมร้านอาหารที่แม้จะอยู่ในตึกแถวขนาด 3 ชั้น แต่กลับโดดเด่นกว่าร้านอื่นในละแวกใกล้เคียง เริ่มตั้งแต่ฟาซาดที่ดูคล้ายกับกล่องสีขาว ติดป้ายชื่อร้านสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีตัวแทนประจำร้านให้เห็นเด่นชัด ร่วมกับองค์ประกอบงานไม้เพื่อสื่อถึงบรรยากาศที่น่าเชื้อเชิญ ไม่ต่างจากกำลังเดินเข้ามาในบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งเป็นธีมที่เจ้าของร้านอยากให้มีมู้ดราวกับกำลังเข้ามากินข้าวที่บ้านของเชฟแบบเป็นกันเอง ฉีกแนวเหมือนไม่ได้เดินเข้ามาในตึกแถว อย่างประตูทางเข้าที่ไม่ใช่ประตูทางเข้าตึกแถวทั่วไป แต่เป็นประตูที่ให้อารมณ์เหมือนเดินเข้าบ้าน ขณะที่ด้านข้างมีช่องหน้าต่างไม้กรุกระจกเล็กมีความเป็นไทยผสมญี่ปุ่น ชั้น 1 เป็นพื้นที่เคาน์เตอร์ทำขนมของเชฟเบียร์ ในวันที่มีคอร์สทำขนม ลูกค้าสามารถนั่งชมการทำขนมของเชฟ และรับประทานขนม พร้อมพูดคุยกับเชฟได้ เดินถัดเข้ามาจะพบกับส่วนที่เปรียบเสมือนพื้นที่แสดงผลงานการถนอมอาหารและโชว์วัตถุดิบที่เชฟแบล็กทำเอง ซึ่งถูกตีความว่าเป็นงานคราฟต์ของการทำอาหาร โดยทุกคนจะได้เห็นโถหมักดองเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ มีที่มาจากวัตถุดิบในท้องถิ่นหลากหลาย ก่อนนำมาใช้ประกอบอาหารจนเป็นเอกลักษณ์ จากพื้นที่โชว์ผลงานผ่านโหลเครื่องปรุงที่ชั้น 1 ขึ้นสู่ชั้น […]

Design

More

Win-Win Situation ปรับดีไซน์ให้วินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง แบบสร้างจริงใช้จริง!

วินมอเตอร์ไซค์ พื้นที่กึ่งสาธารณะที่พบได้มากมายในกรุงเทพมหานครแห่งนี้ บ้างก็มีการจัดการที่ดี แต่ส่วนใหญ่แล้วมักถูกก่อร่างขึ้นแบบตามมีตามเกิด วันนี้ ในวิชา Design Build ของหลักสูตร INDA Summer Programs คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์หลักสูตรนานาชาติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ thingsmatter ได้ลงพื้นที่ ออกแบบวินมอเตอร์ไซค์ หน้าปากซอยเอกมัย 4 เพื่อเป็นตัวอย่าง และทดลองดีไซน์แบบใช้งานจริงไปพร้อมกัน! เชื่อหรือไม่ว่า มีมอเตอร์ไซค์วินในกรุงเทพฯกว่า 5,000 คัน และพวกเขาเหล่านั้นล้วนใช้ชีวิตส่วนใหญ่บนสถาปัตยกรรมที่ไร้การออกแบบควบคุม นิสิตจาก INDA จึงได้เริ่มสำรวจ และเลือกพื้นที่แห่งนี้เป็นพื้นที่แรกในการ “ทดลอง” สิ่งที่พวกเขาทำนั้นไม่ใช่การ “แก้ไข” หรือชี้ผิดถูกว่าอะไรคืองานออกแบบ หรือดีไซน์ที่ดี แต่แท้จริงแล้วคือการแยกส่วน และประกอบสิ่งสำคัญของการเป็น “วินมอเตอร์ไซค์ที่ดี” ลงไปในพื้นที่ใหม่เท่านั้น พื้นที่ที่แตกต่าง กฏระเบียบ และลักษณะเฉพาะของกรุงเทพฯ ได้พาให้นิสิตจาก INDA ได้เผชิญความจริงอันยุ่งเหยิงของเมืองแห่งนี้ การต้องลงพื้นที่ ทำความเข้าใจกับกายภาพของเมือง ของสิ่งปลูกสร้างที่ไม่ได้เป็นเหลี่ยมมุมตรงไปตรงมา แต่กลับเป็นสิ่งที่เกาะเกยกันเกิดเป็นพื้นที่เฉพาะหนึ่งๆ การต้องสื่อสารกับมอเตอร์ไซค์รับจ้าง เจ้าของพื้นที่ เจ้าหน้าที่เขต และแน่นอนที่สุด เหล่าเพื่อนบ้านในละแวก […]

SMEG GALILEO สเมก กาลิเลโอ เตาอบเจเนอเรชั่นใหม่

จากประสบการณ์กว่า 70 ปี ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัว จนถึงปัจจุบัน สเมกได้นำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ล่าสุดอย่าง SMEG GALILEO เตาอบเจเนอเรชั่นใหม่ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ โดยได้รับการถ่ายทอดออกมาให้เห็นถึงความเป็นเลิศในการออกแบบ นวัตกรรม และศิลปะการทำอาหารของอิตาลี SMEG GALILEO “Made in Italy” หรือ “ผลิตภัณฑ์จากอิตาลี” เป็นสิ่งที่แบรนด์ให้คุณค่าและให้ความสำคัญมาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นอัตลักษณ์และรากฐานของแนวคิดในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในครัว พร้อมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและความเป็นเลิศในอุปกรณ์ทำอาหารของสเมก เตาอบกาลิเลโอ โดดเด่นด้วยเทคโนโลยีการทำความร้อนแบบเทอร์โมฟลูอิดไดนามิก (thermo-fluid-dynamic) ที่ได้รับการออกแบบใหม่ รวมถึงอัลกอริทึมใหม่ที่ถูกปรับเปลี่ยนมาเพื่อยกระดับการทำอาหารที่บ้านให้ได้รับประสบการณ์และผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพและสะดวกสบายที่สุด เตาอบกาลิเลโอ ถูกออกแบบมาเพื่อให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมภายในบ้านและเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ระดับมืออาชีพ ซึ่งได้พัฒนาและปรับเปลี่ยนระบบภายในใหม่ทั้งหมด ผ่านการผสมผสานเทคโนโลยีการทำอาหารทั้ง 3 โหมดเข้าด้วยกัน ภายในเตาอบเครื่องเดียว คือ การปรุงอาหารแบบดั้งเดิม (traditional) การปรุงอาหารผ่านไอน้ำ (Steam) และไมโครเวฟ (Microwave) เพื่อให้อาหารออกมามีประสิทธิภาพ และผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เตาอบ “Omnichef”  : เตาอบที่เป็นไฮไลท์ในซีรีส์กาลิเลโอ โดดเด่นด้วยการปรุงอาหารแบบใหม่ที่ผสมผสานการปรุงอาหารแบบดั้งเดิม (traditional) การปรุงอาหารผ่านไอน้ำ (Steam) และไมโครเวฟ (Microwave)  เข้าด้วยกัน พร้อมด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงที่จะช่วยให้คุณทำอาหารหลากหลายเมนูได้พร้อมกันในผลิตภัณฑ์เดียว […]

ต่อยอดอาคารปฏิบัติการหลังเก่า สู่พื้นที่เรียนรู้ใหม่ ในคณะสถาปัตยกรรมฯ พระจอมเกล้าฯ ลาดกระบัง

Material Innovation Lab เป็นอาคารเรียนอเนกประสงค์ ของคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง รีโนเวตอาคารปฏิบัติการหลังเดิมอายุ 50 ปี ให้ไปต่อในยุคสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว  DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Teerachai Leesuraplanon (ธีรชัย ลี้สุรพลานนท์) และคณะผู้ออกแบบจากคณะสถาปัตยกรรม ศิลปะและการออกแบบ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง ผสานไอเดียเก่าและใหม่เพื่อมุ่งสู่อนาคต “แนวทางการออกแบบ เราผสานของเก่ากับของใหม่ ซึ่งอาคารเดิมของคณะ วางรากฐานที่ดีไว้อยู่แล้ว การรีโนเวตอาคารใหม่ ก็เอาไอเดียที่ดีจากของเดิม คือ การออกแบบอาคารให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติ มาผสานกับการออกแบบใหม่ วัสดุใหม่ ออกมาให้ไปต่อได้”  ข้อความจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีรชัย ลี้สุรพลานนท์ หัวหน้าภาควิชาสถาปัตยกรรมและการวางแผน และสถาปนิกผู้นำในการออกแบบรีโนเวตอาคารหลังนี้ ข้อความนี้เป็นเหมือนการสรุปไอเดียภาพรวมการปรับปรุงอาคารหลังเดิม ที่ยังคงโครงสร้างเดิม สัดส่วนของอาคารเดิมเอาไว้ ในจุดที่ใช้งานได้ดีอยู่ รวมถึงไอเดียจากอาคารหลังอื่นภายในคณะ ที่ใช้งานได้ดี ที่สร้างขึ้นในยุคเมื่อราว 50 ปีก่อน ที่อาจจะไม่ได้คิดถึงการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ กล่าวคือ เป็นยุคสถาปนิกออกแบบอาคารมาเพื่อรองรับการเรียนการสอน ในสภาพแวดล้อม และสภาพอากาศธรรมชาติแท้จริง โดยไม่ได้ใช้เครื่องปรับอากาศช่วย อย่างเช่น การเรียงอิฐผนังอาคารให้มีช่องระบายอาคาร […]

Online Program

Highlight

More

10 โปรดักต์ สีจากธรรมชาติ ยั่งยืน ปลอดภัย ไร้สารเคมี

Read more

Betterism

More

BLOCK WALL HOUSE บ้านบล็อกช่องลมกลางป่า ที่สร้างด้วยคอนกรีตรักษ์โลก

บ้านช่วยโลก เมื่อบ้านของเราสร้างจากวัสดุที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ได้! นี่คือบ้านท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นแบบของวัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืนแห่งอนาคตอันใกล้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: nendo บล็อกช่องลมที่สร้างจากวัสดุ CO2-SUICOM จำนวน 2,050 ก้อน ได้รับการนำมาใช้ในการสร้างแนวผนังของบ้านหลังนี้ โดยวัสดุนี้เป็นส่วนผสมครึ่งต่อครึ่งระหว่างปูนซีเมนต์กับวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสร้างให้เกิดกระบวนการดักจับ CO2 ในขั้นตอนของการแข็งตัวของซีเมนต์ เป็นผลให้วัสดุ CO2-SUICOM สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี โดยวัสดุนี้เป็นการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมือของบริษัท Kajima, The Chugoku Electric Power Co., Denka, และ Landes Co. จนเกิดเป็นคอนกรีตที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นครั้งแรกของโลก บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดนากาโนะ ประเทศญี่ปุ่น ท่ามกลางธรรมชาติอันไร้ซึ่งสิ่งรบกวน ความโดดเด่นของบ้านหลังนี้ คือแนวผนังที่ใช้อิฐบล็อกก่อเป็นบล็อกช่องลมที่มีการหันแนวช่องเปิดแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของอาคาร สัมพันธ์ไปกับรูปแบบการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ทั้งยังช่วยพรางอาคารทั้งหลังให้กลมกลืนไปกับผืนป่ารอบด้านได้อย่างดี ช่องเปิดเหล่านี้ เป็นตัวกำหนดมุมมอง และแนวลมที่ไหลผ่านตัวบ้านไปพร้อมกัน ในส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวจะมีแนวกำแพงซ้อนกันสองชั้นเพื่อให้มุมมองที่ดูเหลื่อมซ้อนกัน สร้างให้เกิดความจำเพาะของตำแหน่งที่มองทะลุผ่านได้ แม้จะช่วยปิดกั้นสร้างความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังรู้สึกปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด แม้วัสดุ CO2-SUICOM ที่นำมาใช้ก่อสร้างบ้านหลังนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา แต่คาดว่าจะสามารถออกสู่ท่องตลาดได้จริงก่อนปี 2030 อย่างแน่นอน เพื่อแก้ปัญหามลพิษจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง […]

อาคารชีวานามัย ออกแบบอาคารจัดการขยะอย่างไร? ให้เป็นมิตรต่อบริบทเมือง

อาคารจัดการขยะ? เป็นมิตรต่อพื้นที่โดยรอบได้จริงหรือ? นี่คือตัวอย่างการออกแบบอาคารจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อหน่วยงานโดยรอบ ทั้งยังมีความโดดเด่นในแง่ของรูปลักษณ์ที่สดใส และมีต้นไม้ช่วยปรับทัศนียภาพ รวมทั้ง การออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดกลิ่นรบกวนออกไป และทำให้ขยะแห้งไวขึ้น ซึ่งหมายถึงการจัดการขยะที่ง่ายขึ้น กับ “อาคารชีวานามัย” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย Waste Management Building, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok โดย ARCHITECTS 49 LIMITED โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีขยะที่เกิดขึ้นและต้องจัดการในปริมาณที่มากถึง 16 ตันต่อวัน และมีปริมาณถังขยะหมุนเวียนมาทำความสะอาด ตากถังขยะ และส่งออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมากถึง 600 ถังต่อวัน รวมทั้งมีการปฏิบัติงานภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง และเนื่องจากพื้นที่อาคารจัดการขยะเดิม มีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการ จึงมีความต้องการจัดสรรพื้นที่ และอาคารหลังใหม่ที่มีการออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยพื้นที่จัดการขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะพิษ ขยะรีไซเคิล มีพื้นที่สำนักงาน พื้นที่พักผ่อน สำหรับเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บพัสดุของหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาล […]

Room Books

More

100 Best Design Small Hotels and Hostels

100 Best Design Cafes 2

Minimalist House บ้านมินิมัล วิถีทรอปิคัล

Condominium & Apartment