Commercial Space Archives - room

Haps – Brunch & More คาเฟ่บรันช์ จำลองบรรยากาศภายใต้แนวคิดคอร์ตยาร์ดในบ้านหลังน้อย

คาเฟ่บรันช์ ย่านสุขุมวิท 49 Haps – Brunch & More ที่นี่ขอเสิร์ฟความสุขได้ทุกวันกับคาเฟ่เพ็ทเฟรนด์ลี่ ที่เชื่อมโยงคนและสัตว์เลี้ยงในบรรยากาศคอร์ตยาร์ดกลางบ้าน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Anatomy Architecture + Atelier / AA+A คาเฟ่และร้านอาหารสไตล์บรันช์ Haps – Brunch & More แห่งนี้ มีชื่อย่อที่มาจากคำว่า Happiness โดยพื้นที่ความสุขนี้ เริ่มต้นมาจากเจ้าของร้านที่ต้องการตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงแล้วอยากพาไปพักผ่อนนอกบ้านร่วมกับตน การออกแบบของทีมนักออกแบบจาก AA+A จึงนำโจทย์นั้นมาถ่ายทอดสู่คอนเซ็ปต์คาเฟ่เพ็ทเฟรนด์ลี่ที่สามารถพาสัตว์เลี้ยงมาได้ จนกลายเป็นคอมมูนิตี้เล็ก ๆ ให้คนที่มีเลี้ยงทั้งหลายได้มาแลกเปลี่ยนและมีประสบการณ์ร่วมกัน เชื่อมโยงคนกับสัตว์เลี้ยงในบรรยากาศคอร์ตยาร์ดกลางบ้าน เมื่อเข้ามายังพื้นที่จะสัมผัสได้ถึงความอบอุ่น เหมือนได้หยุดเวลาที่เร่งรีบไปกับอาหารมื้อสายและเมนูกาแฟแสนอร่อย จะมาชาร์จพลังยามเช้า หรือหอบงานมาทำก็ไม่ว่ากัน และในบางวันก็อาจมีน้องหมาน่ารัก ๆ เข้ามาใช้พื้นที่ด้วย เรียกว่าต้องถูกใจคนรักน้องหมาสุด ๆ ซึ่งสิ่งนี้เองได้กลายเป็น Core Concept Design ว่าจะทำอย่างไรให้คนมีเวลาร่วมกันกับสัตว์เลี้ยงได้ กระทั่งตกผลึกออกมาเป็นไอเดียการสร้างพื้นที่ให้คล้ายกับคอร์ยาร์ด “Courtyard” เชื้อเชิญให้ผู้ที่เข้ามาใช้งานได้นั่งอยู่ในพื้นที่ที่ล้อมรอบพื้นที่ตรงกลางร้าน แล้วค่อยๆใช้เวลาร่วมกับสัตว์เลี้ยง ราวกับอยู่ในบ้านหลังน้อยร่วมกัน แก้ไขข้อจำกัดพื้นที่สู่สเปซพิเศษ […]

Piccolo Vicolo คาเฟ่ริมคลองโอ่งอ่าง เติมเต็มสีเขียวเยียวยาใจกลางเมืองคอนกรีต

ที่นี่คือคาเฟ่ลำดับที่ 2 ของ Piccolo Vicolo สาขาวังบูรพาฯ – สามยอด ที่เกิดจากการรีโนเวตตึกเก่าริมคลองโอ่งอ่าง สู่คาเฟ่สีเขียวเยียวยาใจกลางเมืองคอนกรีต โดยขยับจากสาขาแรกที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “GalileOasis” ย่านตรอกวัดพระยายัง ราชเทวี ผ่านมา 3 ปี Piccolo Vicolo ก็ได้ฤกษ์ก้าวสู่สาขาใหม่ล่าสุด ซึ่งมีความพิเศษของสถานที่เพราะเป็นเสมือน Hidden Gem แห่งย่านวังบูรพา-สามยอด ซึ่งตั้งอยู่ในตึกเก่าปิดทึบอายุ 50 ซึ่งเดิมใช้เก็บอะไหล่และศูนย์เซอร์วิสเครื่องจักรกลการเกษตร สู่คาเฟ่รีโนเวตที่ยังคงเก็บร่องรอยและรายละเอียดแห่งกาลเวลาไว้ พร้อมกับคอนเซ็ปต์การเติมเต็มพื้นที่สีเขียว เปลี่ยนกล่องอาคารคอนกรีตให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง คุณลัดดา และคุณนารา โลจนาทร เจ้าของคาเฟ่ เล่าว่า จุดเด่นของแบรนด์ Piccolo Vicolo ไม่ว่าจะตั้งอยู่ ณ ที่ไหน พวกเขาต้องการให้ธรรมชาติหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับพื้นที่ เพื่อให้เป็นเสมือนโอเอซิสขนาดย่อมกลางเมืองคอนกรีตซึ่งหาพื้นที่สีเขียวได้ยาก บวกกับความหลงใหลในเสน่ห์ของอาคารเก่า ทำให้ทั้งสาขาแรกและสาขานี้ได้เห็นการรีโนเวตอาคารเก่าที่ตั้งใจเก็บรักษาโครงสร้างเดิมและร่องรอยที่เล่าถึงที่มาของสถานที่ตั้งไว้ เพื่อเชื่อมโยงระหว่างยุคสมัยเก่ากับใหม่ รวมถึงยังมีการนำวัสดุเก่ากลับมาใช้ใหม่ ราวกับมีชีวิตที่สองพร้อมฟังก์ชั่นที่ช่วยเพิ่มคุณค่าขึ้นมาอีกครั้ง จุดเด่นของคาเฟ่สาขาวังบูรพา – สามยอดนี้ คือการตั้งอยู่ริมคลองโอ่งอ่าง พื้นที่โบราณสถานขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากร จึงส่งผลดีเรื่องทัศนียภาพ ด้านหน้าดูเป็นระเบียบเรียบร้อยไร้รถยนต์จอดบดบัง […]

Copine ร้านอาหารแคชวลไดนิ่งผสานประสบการณ์เชฟส์ เทเบิล อบอุ่นด้วยบรรยากาศยูโรเปียน

Copine (โคปีน) ร้านอาหารสาทรซอย 9 มีชื่อหมายถึงแฟน หรือเพื่อน (ชาย/หญิง) ในภาษาฝรั่งเศส เกิดจากเชฟเจย์-สายนิสา แสงสิงแก้ว ที่เคยเปิดร้าน Stage (สตาช) ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่งฝรั่งเศสย่านเอกมัย ก่อนหมดสัญญาเช่า จึงต้องการมองหาทำเลใหม่ จนมาพบกับบ้านเก่าอายุราว 60 ปี หลังนี้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Tastespace   โดยก่อนจะได้รับการรีโนเวตให้กลายเป็นร้าน Copine เดิมที่นี่เคยถูกเช่าและเปิดเป็นเนิร์สเซอรี่มาก่อน เมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการรีโนเวต ทีมนักออกแบบจาก Tastespace ได้เก็บตัวอาคารของบ้านเดิมไว้ เพื่อเปิดเป็นร้านอาหาร Copine เน้นเสิร์ฟอาหาร Casual Dining ขณะที่ร้าน Stage ถูกซ่อนอยู่ด้านหลังครัว รองรับลูกค้าแบบไพรเวตได้ 12 ท่าน กับประสบการณ์แบบ Chef’s Table จากความชำนาญของเชฟเจย์ซึ่งเคยทำงานในร้านอาหารในตำนานอย่าง L’Aterlier de Joel Robuchon จึงบ่มเพาะทั้งความชำนาญด้านอาหาร และความหลงใหลในสไตล์ยุโรป คุณฮิม-กิจธเนศ ขจรรัตนเดช จึงหยิบมาถ่ายทอดผ่านงานออกแบบให้ที่นี่สะท้อนสไตล์ยูโรเปียน โดยตัวอาคารของบ้านยังคงรูปแบบดั้งเดิมไว้ […]

Fernpresso Flagship Store at Suandok คาเฟ่ตึกแถวเชียงใหม่ ผสานหลากฟังก์ชันในอาคารเก่า

เปลี่ยนโฉมตึกแถว 2 คูหา ย่านสวนดอก ให้เป็นคาเฟ่แฟล็กชิบสโตร์ Fernpresso Flagship Store at Suandok คาเฟ่ในเครือ Fernpresso ที่ดึงธรรมชาติเข้าสู่บริบทเมืองเชียงใหม่ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 ที่นี่เป็นคาเฟ่ลำดับที่ 5 ของ Fernpresso โดยขยับขยายจากสาขาทั้ง 4 ที่มีจุดเด่น คือเป็นคาเฟ่นอกเมืองเน้นแลนด์สเคปวิวธรรมชาติ โดยสาขานี้มีคอนเซ็ปต์ที่ต่างออกไป ด้วยการเลือกเช่าตึกแถว 2 คูหา แล้วรีโนเวตให้กลายเป็นคาเฟ่ที่ผสมผสานโรงคั่ว เพื่อนำเสนอเรื่องราวของกาแฟที่จริงจังมากกว่าสาขาอื่น ๆ พร้อมกับพื้นที่ที่ใช้งานได้หลากหลายฟังก์ชันต่าง ๆ มากขึ้นในฐานะที่เป็นสาขาแฟล็กชิบสโตร์ blankstudio กล่าวว่าที่นี่ออกแบบจากข้อจำกัดทั้งงบประมาณและความท้าทายเรื่องโครงสร้างของอาคารพาณิชย์เก่า พร้อมกันนั้นก็ยังต้องการเล่าเรื่องให้ แฟล็กชิบสโตร์แห่งนี้นำเสนอเรื่องราวการเดินทางของร้านกาแฟทั้ง 4 สาขา และแม้ว่าจะเป็นสาขาที่เป็นบริบทในเมือง เจ้าของก็ยังต้องการให้ลูกค้าได้มีพื้นที่นั่งจิบกาแฟชิล ๆ ในบรรยากาศสบาย หรือสามารถนั่งพูดคุยทำงานกันได้โดยไม่แออัดจนเกินไป เนื่องจากที่นี่เป็นพื้นที่เช่าชั่วคราวข้อจำกัดแรกสุดจึงเป็นเรื่องของการใช้งบประมาณที่สมเหตุสมผลเมื่อคาเฟ่ต้องหมดสัญญาลงในเวลาอันสั้น อันถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกแบบข้อสำคัญที่สุดก็ว่าได้ โดยผู้ออกแบบได้แบ่งสัดส่วนพื้นที่ภายในให้มีฟังก์ชันที่จำเป็นเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น บาร์ พื้นที่นั่ง โรงคั่ว พื้นที่เวิร์กชอป และเชลฟ์สำหรับวางขายสินค้า ให้ทุกพื้นที่มีขนาดพอเหมาะและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เน้นออกแบบลำดับเข้าถึงพื้นที่แต่ละส่วนโดยเฉพาะพื้นที่ที่ต้องการความเป็นส่วนตัว […]

Curvy.Dining เดซี่สีขาวสู่แรงบันดาลใจคาเฟ่ฟรีฟอร์ม

คาเฟ่ฟรีฟอร์ม แลนด์มาร์กใหม่แห่งย่านกรุงเทพกรีฑา กลางสนามหญ้าสีเขียวโดดเด่นด้วยตัวอาคารของ Curvy.Dining ที่มีความเป็น Futuristic อย่างน่าสนใจ สร้างคาแรกเตอร์เป็นดั่งงานศิลป์บนสนามหญ้าสีเขียว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Unknown Surface Studio Curvy.Dining ได้รับการตีความมาจากธรรมชาติ ก่อนจะออกมาเป็นรูปทรงนามธรรม เด่นด้วยอาคารสีขาวรูปทรงฟรีฟอร์มเน้นใช้เส้นสายโค้งเว้าสวยงามดั่งการผลิบานของดอกเดซี่ จากที่ดินรกร้างขนาด 1.5 ไร่ สถาปนิกเลือกวางตำแหน่งอาคาร Curvy.Dining ให้อยู่ชิดที่ดินติดริมถนน เพื่อให้สามารถมองเห็นคาเฟ่ที่อยู่ลึกเข้าไป 150 เมตร จากปากซอยศรีนครินทร์ – ร่มเกล้า 19 ได้ชัด โดยเผื่อพื้นที่โล่งที่เหลือไว้สำหรับสร้างอาคารหลังใหม่ที่อาจเพิ่มเติมในอนาคต สำหรับการออกแบบสถาปัตยกรรมเน้นสร้างให้เกิดคาแรกเตอร์ไม่เหมือนใคร โดยที่มาของแรงบันดาลใจมาจากการสำรวจไซต์ก่อสร้าง พบว่ามีดอกไม้เล็ก ๆ ขึ้นแซมไปกับหญ้ารกชัฏ สถาปนิกจึงหยิบภาพนั้นมาเป็นจุดเริ่มต้นในการออกแบบไดอะแกรม จากจุดเล็ก ๆ ค่อย ๆ ขยายออกไปเป็นเส้นสายเรขาคณิต โดยลากจากกึ่งกลางออกไปเป็นเส้นรัศมี แล้วปรับเส้นเป็ยฟอร์มโค้งมนของกลีบดอกไม้ ซึ่งมีขนาดสั้น-ยาวแตกต่างกันไปเลียนแบบดอกเดซี่ เพื่อสะท้อนถึงการเจริญเติบโตของดอกไม้ที่กำลังเบ่งบาน รูปทรงฟรีฟอร์มที่สื่อสารผ่านเส้นสายโค้งเว้า อันเปรียบเสมือนกลีบดอกไม้ ซึ่งมีขนาดความกว้างและความยาวไม่เท่ากัน จึงส่งผลในแง่มุมมองของอาร์คโค้งที่เหลื่อมซ้อนกันดูมีมิติสวยงาม แล้วเจาะคว้านให้เกิดพื้นที่ใช้สอยภายในซึ่งใช้เป็นทั้งทางเดิน และที่นั่งแบบไพรเวตที่ซ่อนตัวอยู่ตรงตำแหล่งปลายกลีบขนาดใหญ่ ปล่องด้านบนเหนือที่นั่งเจาะเป็นวงกลมเพื่อรับลมเย็นสบาย การที่กรอบอาคารชั้นนอกมีลักษณะเป็นวงกลมโอบล้อมพื้นที่สี่เหลี่ยมของคาเฟ่เอาไว้ด้านใน ได้ส่งผลดีในการช่วยสกรีนความร้อนไม่ให้ปะทะกับพื้นที่คาเฟ่ภายในโดยตรง […]

โรงไม้ มหาชัย จากโรงไม้เก่า สู่คาเฟ่พร้อมที่พักริมแม่น้ำท่าจีน

โรงไม้ มหาชัย มีจุดเริ่มต้นมาจากบ้านไม้อายุราว 80 ปี ของเจ้าของผู้ประกอบธุรกิจโรงไม้ในตัวเมืองมหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร ที่ต้องการปรับปรุงสถานที่ซึ่งมีศักยภาพด้านทำเลที่อยู่ติดกับแม่น้ำท่าจีน เพื่อเปลี่ยนเป็นพื้นที่ธุรกิจใหม่ของครอบครัว ด้วยการเปิดเป็นคาเฟ่พร้อมที่พักใกล้กรุงเทพฯ ซ่อนกลิ่นอายบ้านไม้เก่ารีโนเวตเชื่อมกับบริบทของย่านผ่านโมเดลธุรกิจคาเฟ่ผสมที่พักในอาคาร 3 ชั้น โดยตั้งชื่อให้เข้ากับบริบทและเรื่องราวเบื้องหลังว่า “โรงไม้ มหาชัย” ชื่อเรียกง่าย ๆ และเปี่ยมความพิเศษอย่างทิวทัศน์ของแม่น้ำท่าจีน ช่วยส่งเสริมให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งพักใจของนักท่องเที่ยว ควบคู่ไปกับการรักษาเสน่ห์และความทรงจำของอาคารไม้เก่าตามที่เจ้าของตั้งใจไว้ รีโนเวตใหม่โดยใช้ทำเลดันพื้นที่ธุรกิจ นาวาโท ไตรวัฒน์ วิรยศิริ และ คุณวีระพงษ์ ทองปิยะภูมิ สองสถาปนิกผู้รับหน้าที่ในการรีโนเวตบ้านไม้เก่าบนพื้นที่ใช้สอย 609 ตารางเมตร ทั้งสองเล่าความน่าสนใจของการออกแบบและรีโนเวตอาคารครั้งนี้ว่า เป็นการดีดอาคารทั้งอาคารเพื่อหนีน้ำจากที่หนึ่ง แล้วยกทั้งอาคารมาตั้งในตำแหน่งใหม่บนพื้นที่ติดริมแม่น้ำท่าจีนในปัจจุบัน พร้อมกั้นนั้นยังจำเป็นจะต้องเสริมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กให้มีความแข็งแรง เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเป็นคาเฟ่และที่พักนอกจากจะมีข้อได้เปรียบด้านทำเลที่รับกับวิวแม่น้ำที่สวยงามแล้ว ทำเลของที่นี่ยังอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ ลูกค้าจากเมืองใหญ่สามารถมาพักผ่อนเปลี่ยนบรรยากาศในวันหยุดได้อย่างสบาย นอกจากการย้ายตำแหน่งอาคารแล้ว การรักษาโครงสร้างและวัสดุเดิมไว้ก็ทำให้พื้นที่ธุรกิจแห่งนี้มีเอกลักษณ์ และสื่อถึงโรงไม้เก่าซึ่งเป็นธุรกิจเดิมของเจ้าของที่ยังอยากรักษาไว้ให้ปรากฏยังพื้นที่ด้านหน้าทางเข้าคาเฟ่ นอกจากนี้ ยังได้เลือกใช้วัสดุเสริมเสน่ห์ให้อาคารในจุดต่าง ๆ เช่น อิฐบล็อกช่องลมใช้เป็นกำแพงบริเวณทางเข้า ช่วยสร้างสัมพันธ์กับโรงไม้เก่าที่ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าได้ กำแพงนี้จะนำพาเข้าไปยังอาคารภายในที่ใช้วัสดุไม้เป็นโครงสร้างหลัก ที่เข้ากับเฟอร์นิเจอร์และของตกแต่งต่าง ๆ โดยได้รับการเรียบเรียงให้สะท้อนถึงเรื่องราวของเจ้าของและบริบทที่ตั้งได้อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน อาคารไม้เก่าที่ออกแบบฟังก์ชั่นให้รองรับธุรกิจใหม่ อาคารโรงไม้มหาชัย มีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 3 […]

CEDAR Thai Restaurant ร้านอาหารเอกมัย สไตล์ไทยเยาวราช

หากใครมีภาพจำถึงบ้านตึกแถวยุคเก่าในเยาวราช ต้องบอกว่าถ้ามา สีดา CEDAR Thai Restaurant แล้ว อาจทำให้อดีตในวันวานหวนคืนกลับมาอีกครั้ง เพราะมีบรรยากาศอบอุ่นเหมือนกินข้าวในบ้านตึกแถวของอาม่า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: SpaceLAB architects ร้านอาหาร สีดา CEDAR Thai Restaurant ในโครงการ Earth Ekamai มีแนวคิดการตั้งชื่อภาษาไทยให้พ้องเสียงกับคำว่า Cedar ในภาษาอังกฤษ เพื่อให้ลูกค้าต่างชาติในย่านอ่านออกเสียงได้ง่าย มาพร้อมคอนเซ็ปต์จัดเสิร์ฟอาหารแบบ “เยาวราชสไตล์ไทยฟู้ด” โดยเน้นอาหารไทยแต่มีกลิ่นอายของความเป็นเยาวราชสูง นั่นจึงนำมาสู่แนวทางการออกแบบของ SpaceLAB เพื่อให้ที่นี่ให้เจือกลิ่นอายทั้งโมเดิร์นและดั้งเดิมเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ที่ตั้งของร้านนี้ มีหน้ากว้างเพียง 5 เมตร ลึก 15 เมตร ประกอบกับมีระดับฝ้าเพดานที่สูงแบบ Double Height การออกแบบของทีม SpaceLAB จึงมาพร้อมโจทย์การแก้ปัญหาพื้นที่เพื่อลดทอนพื้นที่ว่างระหว่างสเปซให้เกิดมุมมองน่าสนใจ แทรกทั้งความ Modern และ Traditional ได้อย่างลงตัว ภายใต้แนวทางการออกแบบที่อยากให้ลูกค้าเมื่อเข้ามาแล้ว สัมผัสได้ถึงความเป็นกันเอง ไม่แฟนตาซีจนเกินไป แต่กลับอบอุ่นเหมือนได้มานั่งกินข้าวอยู่ที่บ้าน จากสเปซที่แคบและยาวดังกล่าว การใช้งานพื้นที่จึงต้องแบ่งเป็นฝั่งขวาและซ้าย มีทางเดินตรงกลางยาวไปจนสุดห้องครัวด้านหลัง […]

Flying Fish Coffee Company ร้านกาแฟ ที่รวมทุก Serious Hobby ไว้ด้วยกัน

คาเฟ่ที่เราเคยคุ้นชิน ร้านกาแฟปากซอยที่ไปนั่งเล่นกับกลุ่มเพื่อน พูดคุย พบเจอคนแปลกหน้าเป็นบางคราว หอบงานไปทำได้อย่างสบายใจ ด้วยความเชื่อเช่นนั้นของสองพาร์ทเนอร์ จึงเกิดเป็น Flying Fish Coffee Company พื้นที่ที่พวกเขาเรียกว่าเป็น “คาเฟ่เพื่อนบ้านของชาวเอกมัย” ที่ผสานความสนใจที่หลากหลายไว้อย่างลงตัว “อยากมีคาเฟ่แบบสมัยก่อนที่เราเคยชอบหอบงานไปนั่งทำ และได้เจอเพื่อนใหม่ ๆ และบ่อยครั้งที่นั่งเล่นยืดยาวจากเช้าไปจนบ่าย จริง ๆ คือเราอยากทำคาเฟ่ของเราเอาไว้เป็นเหมือนออฟฟิศของเราเองด้วย” วุฒิกร สุทธิอาภา บรรณาธิการ/นักเขียน หนึ่งในผู้ก่อตั้งร่วมกับนิรดา วิทยาเวช ศิลปินเซรามิกที่ผันตัวมาทำอาชีพบาริสต้าด้วยความสนใจในศาสตร์ของกาแฟเล่าว่า กว่าจะรู้ตัวก็ผ่านเวลามากว่า 7 ปีแล้วที่ทั้งคู่เคยทำงานในคาเฟ่ชั้นนำ และออกร้านในนามของ Flying Fish Coffee Company “ที่เราตั้งชื่อว่าปลาบิน เพราะปลามันต้องว่ายน้ำ แล้วเราสองคนเป็นพวกชอบทำอะไรเกินตัว เป็นปลา แต่อยากจะบิน อยากทำหลายอย่าง ก็เลยคิดว่าเราทำสถานที่ที่รวมความชอบของคนหลาย ๆ คนเอาไว้ด้วยกัน มาเล่าสู่กันฟัง ไว้แชร์ความชอบให้คนอื่นๆ ด้วย ก็คงจะเป็นเรื่องที่ดี” วุฒิกรกล่าว #คาเฟ่ที่รวมสารพัดPassionเอาไว้ในที่เดียวลำโพงขนาดยักษ์(ที่ใช้ได้จริง) กล้องวินเทจ หนังสือดีไซน์ เกมกระดาน เครื่องปั้นดินเผา อุปกรณ์กาแฟ […]

Double Slash // Coffee Space คาเฟ่แฟล็กชิบสโตร์สาขาพระราม 2 คงคอนเซ็ปต์เรียบเฉียบสไตล์มินิมัล

คาเฟ่ลำดับที่ 4 ของ Double Slash // Coffee Space แบรนด์กาแฟที่มีเอกลักษณ์ด้วยรูปลักษณ์ที่เรียบง่ายสไตล์มินิมัลในทุกสาขา DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Naive Studio โดยครั้งนี้เลือกทำเลที่กว้างขวางขึ้นเพื่อให้เป็นเสมือนฐานบัญชาการใหญ่ มีทั้งโซนคาเฟ่ โรงคั่วและครัวกลางในพื้นที่ชั้น 1 ของโครงการ The Clix คอมมูนิตี้มอลล์ใหม่แกะกล่องบนถนนพระราม 2 ศูนย์บัญชาการใหม่ที่คงไว้ซึ่งตัวตน คุณวี – กรณ์พงษ์ วิวัฒน์ชัยกมล เจ้าของร้านที่พ่วงดีกรีแชมป์ Thailand National Barista Championship 2023 เล่าเหตุผลการขยายสาขามายังพื้นที่ใหม่นี้ว่า เขาต้องการพื้นที่การทำงานที่มากขึ้นจากเดิมที่สาขาพระราม 3 ซึ่งมีพื้นที่เพียง 60 ตารางเมตร ทำให้คับแคบไม่เหมาะกับใช้เป็นโรงคั่วและครัวกลาง จึงมองหาทำเลใหม่เพื่อให้การผลิตกาแฟของแบรนด์มีความเหมาะสมและสะดวกมากขึ้น จนมาพบกับทำเลที่เป็นห้องเปล่าชั้นล่างของโครงการรวม 2 ห้อง พื้นที่ 160 ตารางเมตร เพื่อออกแบบให้มีทั้งส่วนของคาเฟ่ ครัวเบเกอรี่ และห้องคั่วกาแฟ เรียกว่าเป็นเซ็นเตอร์หลักของแบรนด์ก็ว่าได้ก่อนจะกระจายสินค้าออกไปสู่สาขาอื่น ๆ ตัวร้านแม้จะอยู่ใต้อาคาร แต่กลับสว่างราวกับกล่องไฟสี่เหลี่ยม มองเห็นบรรยากาศและงานตกแต่งภายในได้ชัดเจน ออกแบบโดย […]

“นิลกาล” ที่พักกลางเมืองเชียงใหม่ สัมผัสประสบการณ์ความสงบในความมืดสีดำ

ส่วนหนึ่งของ NIN BAR & CAFÉ ในย่านช้างเผือก เลือกฉีกสไตล์ด้วยการตกแต่งอย่างตรงไปตรงมาด้วยโทนสีดำสนิท DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: บริษัท สถาปนิก ไตรสิกข์ (เชียงใหม่) จำกัด NIN BAR & CAFÉ ขอเชื้อเชิญให้ผู้เข้าพักมาสัมผัสประสบการณ์ความสงบในความมืด กับทุกองค์ประกอบต่าง ๆ ในโรงแรมที่ถูกใจคนชอบสีดำเท่ ๆ แน่นอน โดยที่นี่มีจุดเริ่มต้นมาจาก คุณต้น – ผศ.ดร.ศราวุฒิ ปิ่นทอง เจ้าของ ผู้ออกแบบ และควบตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ชอบทดลองเรื่องของ “สีดำ” นิลกาล ถือเป็นสถานที่ทดลองเชิงออกแบบว่า หากที่พักจะตกแต่งด้วยสีดำทั่วทั้งพื้นที่ และทุก ๆ องค์ประกอบจะมีรูปแบบออกมาเป็นอย่างไร หรือลักษณะแบบไหนได้บ้าง จึงได้ที่มาของคอนเซ็ปต์ว่า “ความงามในความมืด” ที่นี่เกิดจากการรีโนเวตอาคารพาณิชย์ห้องหัวมุมพื้นที่หน้ากว้างประมาณ 8 เมตร ความลึก 16 เมตร ตอบรับการใช้งาน 4 ฟังก์ชั่น คือ ออฟฟิศสำหรับสตูดิโอออกแบบบาร์ผสมคาเฟ่ […]

Ratchaburi Dairy Farm Café Flagship Store คาเฟ่ราชบุรี สไตล์โรงนา สนุกไปกับไอเดียทะยานสู่อวกาศ

ต่อยอดผลิตภัณฑ์นมวัวคุณภาพดีจากฟาร์ม สู่ คาเฟ่ราชบุรี Ratchaburi Dairy Farm Café Flagship Store สาขาแฟล็กชิบสโตร์ นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ได้จากฟาร์มโคนมอบอุ่นสไตล์โรงนา เติมความสนุกด้วยไอเดียฐานปล่อยจรวดอวกาศ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: party/space/design จากการชิมลางเปิดคาเฟ่เล็ก ๆ ที่ศาลายาในชื่อ Ratchaburi Dairy Farm Café Salaya วันนี้ Ratchaburi Dairy Farm (ราชบุรีแดรี่ฟาร์ม) ได้เปิดตัว คาเฟ่ราชบุรี ต่อยอดสู่ธุรกิจคาเฟ่ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่และขยายฐานลูกค้า โดยไว้วางใจให้ party / space / design ช่วยออกแบบแบรนดิ้งใหม่ พร้อมการออกแบบร้านให้อยู่ในตึกแถวกลางเมืองราชบุรี ซึ่งเป็นย่านที่ตั้งของโรงเรียน โรงพยาบาล ซูเปอร์มาร์เก็ต และโรงเรียนกวดวิชา ทำเลทองดึงดูดกลุ่มลูกค้าเหมาะนำพาแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เข้าถึงง่ายทั้งราคาและบรรยากาศ แนวทางการออกแบบได้รับการตีความจากกิจการฟาร์มโคนมที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยมีมาตรฐานสูง ผสานกับแพสชั่นของเจ้าของอย่าง คุณสุรพงษ์ ทักษะปิยบุตร ที่เห็นคุณค่าด้านงานออกแบบในการต่อยอดธุรกิจ ทีมผู้ออกแบบจาก party / space / design […]

Raydus.Thailand คาเฟ่ใต้โรงแรม 5 ดาว ที่ดีไซน์ภาพลักษณ์แบรนด์จากวงล้อรสกาแฟ

เปิดจุดเช็กอินใหม่ ณ Raydus.Thailand คาเฟ่ผสมบาร์ในย่านถนนกิ่งแก้ว ใกล้สนามบินสุวรรณภูมิ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: STUDIO VILAA โดยพื้นที่ของคาเฟ่ Raydus.Thailand ขอยึดชั้นล่างของโรงแรม 5 ดาว สยาม แมนดาริน่าเป็นที่ตั้ง คุมธีมดีไซน์ด้วยสีขาว-เทา-ดำ ร่วมกับการทดลองเล่นกับคุณสมบัติของวัสดุ กลายเป็นการผสมผสานกันระหว่างงานออกแบบกับแบรนดิ้ง เพื่อผลลัพธ์ของธุรกิจที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ วาดตัวตนให้ร้านผ่านฝีมือดีไซเนอร์ โจทย์แรกเริ่มของที่นี่ คือการออกแบบคาเฟ่ให้ฉีกภาพลักษณ์จากสไตล์ของที่ตั้งอย่าง โรงแรม สยาม แมนดาริน่า ที่เน้นความเรียบนิ่งและหรูหรา โดยออกแบบมาด้วยการใช้เส้นสายโค้งมนและโทนสีขาว- เทา- ดำ ที่คุณบอส – ฐิติ พนาจรัส สถาปนิกแห่ง สตูดิโอ VILAA สื่อสารผ่านการใช้วัสดุแบบต่าง ๆ ทั่วร้าน ทำให้คาเฟ่เหมือนเป็นพื้นที่ทดลองกลาย ๆ สำหรับผู้ออกแบบ เพราะในเวลาเดียวกัน คุณเป้-เปเป้ อรุณานนท์ชัย เจ้าของร้านและทายาทของโรงแรมที่ตั้งก็ยินดีเปิดอิสระให้สเปซขนาด 150 ตารางเมตรแห่งนี้ สามารถบรรจุไอเดียจากผู้ออกแบบได้ไม่จำกัด ตรงกับวิสัยทัศน์ของคุณเป้ที่อยากรีเฟรชให้พื้นที่ของโรงแรมกลายเป็นศูนย์รวมทุกไลฟ์สไตล์ของคนทุกคน โดยเฉพาะการสอดใส่คาแรกเตอร์สดใหม่ผ่านร้านกาแฟของเขา Raydus แสดงความหมายแบรนด์ด้วยดีไซน์ จุดเด่นแรกของคาเฟ่ Raydus […]

Phuffle Cafe คาเฟ่รังสิต โชว์สัจวัสดุ สีโมโนโครม

คาเฟ่รังสิต แห่งนี้ เน้นโชว์เอกลักษณ์สถาปัตยกรรมคอนกรีตดิบเท่ ตั้งใจให้ไม่ได้เป็นเพียงแค่ร้านอาหาร หรือคาเฟ่ แต่เป็นการผสมผสานระหว่างงานออกแบบสถาปัตยกรรมกับพื้นที่ภายใน เพื่อมอบประสบการณ์ที่ผสานศิลปะ สถาปัตยกรรม พื้นที่ และผู้คนเข้าด้วยกัน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Too Architects โดยสถาปนิกจาก Too Architects ตั้งใจในการออกแบบ Phuffle Cafe ด้วยการสื่อสารผ่านพื้นที่อันถือเป็นหัวใจหลักที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงทุกอย่างเข้าด้วยกันอย่าง บันไดคอนกรีต ที่มีรูปทรงเป็นเอกลักษณ์ เสมือนลอยอยู่กลางอากาศ สร้างแพลตฟอร์มสำหรับการเชื่อมต่อและมีปฏิสัมพันธ์ที่ไม่เหมือนใคร องค์ประกอบอย่าง บันได ที่ว่านี้ เป็นดังสะพานเชื่อมโยงระหว่างชั้นล่างกับชั้นบน และถือเป็นองค์ประกอบสำคัญของการออกแบบร้าน ทำหน้าที่สะท้อนถึงจุดเชื่อมต่อระหว่างจุดเริ่มต้นกับจุดสิ้นสุด รวมถึงความต่อเนื่องระหว่างพื้นที่กับเวลา บันได ไม่เพียงแต่เป็นโครงสร้างสำคัญ แต่ยังสร้างมุมมองใหม่เชิงพื้นที่ และสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างแสงกับการเคลื่อนไหว อันเกิดจากการเปิดรับธรรมชาติภาพนอกให้เข้ามามีส่วนร่วมกับงานออกแบบ การออกแบบพื้นที่ ใช้ช่องว่าง (Void) 3 จุด เชื่อมต่อกันระหว่างพื้นที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ของผู้ใช้งาน ช่องว่างแรก คือพื้นที่บันไดหลักใช้เป็นทางเชื่อมไปยังชั้นบน ช่องว่างที่ 2 เปิดเป็นลานกลางพื้นที่เชื่อมต่อธรรมชาติให้เข้ามาภายในร้าน ช่วยกรองแสงแดด ลดความร้อน และสร้างบรรยากาศให้กับพื้นที่ ส่วนช่องว่างที่ 3 เชื่อมต่อพื้นที่นั่งชั้นบน กับ […]

ถอดรหัสศิลปะสุโขทัย ใน “The Sukhothai Spa”

ค้นหาคำตอบ สถาปัตยกรรมไทยจะสามารถอยู่ในบริบทในปัจจุบันได้อย่างไร กับการถอดรหัสงานออกแบบใน The Sukhothai Spa สปาร่วมสมัย ณ บริบทใจกลางเมือง DESIGNER DIRECTORYออกแบบสถาปัตยกรรม: Palai Studio ออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม: REDLAND-SCAPE ออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน: SIXSEVENSออกแบบแสงสว่าง: Atelier AT Lighting ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทรนด์ด้านสปาและการดูแลสุขภาพ (Wellness) กำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน “โรงแรมสุโขทัย กรุงเทพ” โรงแรมหรูกลางย่านสาทร ที่เปิดให้บริการมาแล้วยาวนานกว่า 20 ปี จึงเล็งเห็นถึงกระแสดังว่า ประจวบเหมาะกับการมีอาคารเรือนไทยดั้งเดิมตั้งอยู่ในพื้นที่โรงแรม จึงเกิดแรงบันดาลใจในการปรับปรุงสถานที่ให้กลายมาเป็นสปาโฉมใหม่ ในชื่อ The Sukhothai Spa ที่ถอดรหัสความงามแบบศิลปะสุโขทัยมาใช้กับสถาปัตยกรรมไทยดีไซน์ร่วมสมัย “Reborn: The Redefining of Ruean Thai” คือคอนเซ็ปต์ของการออกแบบสปาแห่งใหม่นี้ นำโดยรศ. ประชา แสงสายัณห์ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ตั้งต้นจากการศึกษากลุ่มอาคารพักอาศัยเรือนไทยในที่ตั้งเดิม ตั้งใจปรับเปลี่ยนให้ใช้เป็นสปา อันเป็นเปลี่ยนฟังก์ชันการใช้งานที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง นอกจากนั้น รูปแบบของงานออกแบบก็ยังได้อ้างอิงไปถึงสถาปัตยกรรมของโรงแรมสุโขทัย กรุงเทพเอง […]

Machue Bar & Eatery Nimman บาร์เชียงใหม่ บรรยากาศราวกับอยู่ในโอเปร่าเฮ้าส์

มอบบรรยากาศแห่งการกินดื่มใหม่ให้กับย่านนิมมานฯ ผ่านบาร์ที่ออกแบบสเปซตามอย่างกับโอเปร่าเฮาส์ ที่ Machue Bar & Eatery Nimman หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “มาชู” ที่พร้อมอ้าแขนต้อนรับผู้คนที่มาแวะเวียนมาเมืองเชียงใหม่ ตอบโจทย์ยุคนี้ที่การดื่มด่ำรสชาติเครื่องดื่มและเสียงเพลงในบาร์ ต้องมาพร้อมบรรยากาศที่สนุกและธีมการนำเสนอที่แตกต่าง เพื่อให้นักท่องราตรีได้สัมผัส “ Machue Bar ” บาร์เชียงใหม่ แห่งนี้ จึงขอดึงดูดสายตาทุกคนตั้งแต่แรกเห็นด้วยอาคารรูปทรงคล้ายดอกเห็ด ก่อนจะเข้ามาพบกับความหวือหวาสุดเซอร์ไพรส์โอบล้อมสเปซแบบโถงโอเปร่า เชิดชูเหล่านักดนตรีและเปิดประสบการณ์การกินดื่มในอาคารที่ดีไซน์แสนพิเศษ คุณเมย์ – วรวิทย์ นนทิกรนารีรัตน์ สถาปนิกอิสระสายเลือดเชียงใหม่ ผู้เคยฝากผลงานไว้กับบาร์ที่ตั้งใจใช้งานออกแบบเสิร์ฟเสียงเพลงให้กับลูกค้าอย่าง Mahoree City of Music และ The A ter คือผู้ที่มาต่อยอดไอเดียจาก คุณหมอแมงมุม – ภรต หอมดอก หมอฟันผู้สวมหมวกผู้ประกอบการบาร์มาชู โดยคุณแมงมุมได้ตั้งใจวางทิศทางของร้านจากคอนเซ็ปต์ของการให้ร้านสร้างความน่าจดจำและเชิดชูความสุขเล็ก ๆ ที่หลายคนมองข้ามระหว่างทางของการใช้ชีวิต ซึ่งเปรียบได้กับดอกเห็ดที่ซ่อนตัวในสภาพแวดล้อมธรรมดา ๆ ไม่เป็นที่มองเห็น แต่กลับเติบโตได้ดี ประกอบกับที่เจ้าของมีความชื่นชอบในโอเปร่าเฮาส์ จึงกลายเป็นที่มาของคอนเซ็ปต์ที่สถาปนิกได้นำมาต่อยอดสร้างสรรค์จนกลายเป็นองค์ประกอบของบาร์ที่หยิบยืมเสปซแบบโอเปร่าเฮ้าส์มาใช้ได้อย่างสวยงาม จากทำเลของบาร์ซึ่งเป็นบ้านเก่าตั้งอยู่ในนิมมานเหมินท์ […]

THOMAS CHIEN Restaurant เล่าวิถีชายทะเล เสิร์ฟเมนูฤดูกาล ที่ร้าน รางวัลดาวมิชลินรักษ์โลก

ร้านอาหารฝรั่งเศส รางวัลดาวมิชลินรักษ์โลก (MICHELIN Green Star) แห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือเกาสง ซึ่งเป็นท่าเรือขนส่งขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก และเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวัน จากทำเลชายทะเลและเป็นเมืองท่าสำคัญ สองดีไซเนอร์จาก TaG Living จึงนำเรื่องราวนี้ มาถ่ายทอดสู่งานออกแบบของพวกเขา โดยจับประเด็นที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นของไต้หวันมาใช้ ราวมกับคอนเซ็ปต์ ของร้าน THOMAS CHIEN Restaurant ที่เน้นการนำวัตถุดิบที่หาได้ตามฤดูกาลในท้องถิ่นมาใช้ในการรังสรรค์เมนู จนทำให้ที่นี่ได้รับ รางวัลดาวมิชลินรักษ์โลก 2023 และเหนืออื่นใดคือการให้คุณค่าแก่ส่วนผสมและวัตถุดิบท้องถิ่นตามฤดูกาล เชื่อมโยงสู่รูปแบบความสัมพันธ์แบบห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ถ่ายทอดสู่ชาวประมงและเกษตรกรท้องถิ่นเพื่อสร้างความยั่งยืนทางอาหาร ไปพร้อม ๆ กับการสร้างประสบการณ์ระหว่างการรับประทานอาหารที่น่ารื่นรมย์ และจากที่จุดเด่นด้านภูมิศาสตร์ของเมืองท่าเกาสง ดีไซเนอร์จึงหยิบสิ่งนี้มาคลี่คลายสู่การออกแบบที่ต้องสอดคล้องกับเรื่องความยั่งยืน โดยเฉพาะประเพณีวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของชาวเมืองเกาสง จนนำมาสู่การออกแบบโซนที่นั่งได้ถึง 6 โซนภายในพื้นที่ 198 ตารางเมตร อาทิ โซน “Classic French Vault”, “Sail”, “Yacht Cabin”, “Deck Canopy”, “Coastal […]

Another Smith ตำนานบทใหม่ของร้าน “กระเพาะปลาริมเมย”

ที่นี่มีที่มาจากร้านอาหาร “ กระเพาะปลาริมเมย ” ซึ่งเป็นร้านดังในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ขายอาหารไทย-จีน มาตั้งแต่รุ่นคุณอากงอาม่า จนสืบทอดมาถึงรุ่นหลาน ในวาระครบ 62 ปี ทายาทรุ่นปัจจุบันจึงมองเห็นโอกาสในการพัฒนาร้านอาหารของครอบครัวให้เป็นเวอร์ชันใหม่ที่ตอบโจทย์ลูกค้าหลากหลายกลุ่มมากขึ้น DESIGNER DIRECTORYออกแบบภายใน: Tastespace  ออกแบบสถาปัตยกรรม: ธ.ไก่ชน THAI Bamboo Architecture เพื่อให้ร้าน ” กระเพาะปลาริมเมย ” เป็นหน้าเป็นตาสำหรับผู้มาเยือนจังหวัดตาก จึงเลือกสร้างร้านที่ 2 ขึ้นในโลเกชั่นใหม่ไม่ไกลจากร้านเดิม โดยสร้างสรรค์ให้เป็นร้านอาหารเวอร์ชันใหม่ ในชื่อ “Another Smith” ที่ตอบโจทย์ลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมจีนโมเดิร์น ผสมผสานเอกลักษณ์ท้องถิ่นและการออกแบบที่ทันสมัย ชื่อร้าน “Another Smith” มีที่มาจากนามสกุลของเจ้าของร้านคือ สมิทธิกร คำว่า “Another Smith” จึงหมายถึง “สมิทธ์อีกแห่งหนึ่ง” หรือ “ร้านสมิทธ์เวอร์ชันใหม่” สะท้อนถึงการต่อยอดธุรกิจครอบครัวให้เข้าสู่ยุคใหม่ และมีการเพิ่มฟังก์ชันอื่น ๆ เข้ามาในร้านให้พิเศษมากขึ้นได้แก่ คาเฟ่ และร้านจิเวลรี่ซึ่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจของครอบครัว เพื่อให้ร้านสมบูรณ์มากขึ้น และใช้ต้อนรับแขกได้ตลอดทั้งวัน […]

CAPA Dance Studio สตูดิโอสอนเต้น ออกแบบตามจังหวะการเคลื่อนกายของนักเต้น

ที่นี่คือพื้นที่ปลดปล่อยพลังของนักเต้น CAPA Dance Studio แห่งนี้ ได้รับการออกแบบให้มีจังหวะของสเปซลื่นไหลตามการโยกย้ายของร่างกาย อาคารตั้งอยู่อย่างถ่อมตนใต้ร่มเงาไม้ บนที่ดินผืนหนึ่งในตำบลสันผีเสื้อ จังหวัดเชียงใหม่ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: MITR ARCHITECTSตกแต่ง: Studio Sifah โดยผู้ริเริ่มโปรเจ็กต์นี้คือเจ้าของโครงการอย่าง คุณไฟฟ้า เปรมประชา ครูสอนเต้นผู้เก็บประสบการณ์การสอนมายาวนานในกรุงเทพฯ ที่ใฝ่ฝันอยากเปิดสตูดิโอสอนเต้นของตัวเอง เพื่อถ่ายทอดทักษะการเต้นให้คนทุก ๆ วัย พร้อม ๆ กับการได้กลับคืนบ้านเกิดที่จังหวัดเชียงใหม่ และดูแลพ่อแม่อย่างใกล้ชิด สถาปนิกจากเชียงใหม่ Mitr Architects ร่วมด้วยนักออกแบบภายใน Studio Sifah เริ่มร่างงานออกแบบด้วยการเรียนรู้การเคลื่อนไหวของนักเต้น และสัมผัสความรู้สึกที่ส่งออกมาจากท่าทางของการขยับร่างกาย เพื่อดีไซน์สู่อาคารที่มีฟังก์ชันในการรองรับการเต้นทุกสไตล์ ทั้งบอร์ดเวย์ บัลเล่ต์ แจ๊ส เคป๊อป ฮิปฮ็อป และโยคะ ขณะเดียวกันบรรยากาศและอารมณ์ที่อบอวลภายในอาคารต้องส่งความรู้สึกให้ผู้เต้นเกิดความมั่นใจและสบายใจ จนสามารถปล่อยปลอยพลังได้อย่างไม่เคอะเขิน ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถแบบใดก็ตาม ทิวทัศนธรรมชาติที่แวดล้อมและต้นไม้เดิมที่มีในไซต์ คือข้อได้เปรียบในแง่บริบทที่ตั้งของสตูดิโอแห่งนี้ ขณะเดียวกันการออกแบบอาคารให้เคารพต่อบริบทและดูไม่แข็งกร้าวกลืนไปกับธรรมชาติรอบ ๆ ได้กลายเป็นความท้าทายที่ผู้ออกแบบต้องนำมาขบคิดร่วมกับการออกแบบฟังก์ชั่นอาคารให้สอดคล้องกับลักษณะการเต้น จึงได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอาคารในลักษณะแนวราบขนานไปกับวิวภูเขาด้านหลังที่อยู่ไกลออกไป ตัดองศาของหลังคาให้ลาดเอียงเพื่อไม่ให้อาคารดูเทอะทะ โดยยังดึงจุดเด่นและเพิ่มมิติด้วยไดนามิกที่สูง-ต่ำของอาคารซึ่งตีความมาจากจังหวะการเต้น เจาะช่องเปิดที่กรอบอาคารและสกายไลท์ให้ต้นไม้และธรรมชาติได้ไหลเข้ามาสอดประสานพื้นที่ภายใน ร่วมกับการใช้ร่มเงาของต้นไม้ในการกำหนดบรรยากาศที่ทำให้ความรู้สึกผ่อนคลายเมื่อกำลังเต้น ก่อนจะฉาบอาคารทั้งหลัง […]