Restaurant & Bar Archives - room

CEDAR Thai Restaurant ร้านอาหารเอกมัย สไตล์ไทยเยาวราช

หากใครมีภาพจำถึงบ้านตึกแถวยุคเก่าในเยาวราช ต้องบอกว่าถ้ามา สีดา CEDAR Thai Restaurant แล้ว อาจทำให้อดีตในวันวานหวนคืนกลับมาอีกครั้ง เพราะมีบรรยากาศอบอุ่นเหมือนกินข้าวในบ้านตึกแถวของอาม่า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: SpaceLAB architects ร้านอาหาร สีดา CEDAR Thai Restaurant ในโครงการ Earth Ekamai มีแนวคิดการตั้งชื่อภาษาไทยให้พ้องเสียงกับคำว่า Cedar ในภาษาอังกฤษ เพื่อให้ลูกค้าต่างชาติในย่านอ่านออกเสียงได้ง่าย มาพร้อมคอนเซ็ปต์จัดเสิร์ฟอาหารแบบ “เยาวราชสไตล์ไทยฟู้ด” โดยเน้นอาหารไทยแต่มีกลิ่นอายของความเป็นเยาวราชสูง นั่นจึงนำมาสู่แนวทางการออกแบบของ SpaceLAB เพื่อให้ที่นี่ให้เจือกลิ่นอายทั้งโมเดิร์นและดั้งเดิมเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ที่ตั้งของร้านนี้ มีหน้ากว้างเพียง 5 เมตร ลึก 15 เมตร ประกอบกับมีระดับฝ้าเพดานที่สูงแบบ Double Height การออกแบบของทีม SpaceLAB จึงมาพร้อมโจทย์การแก้ปัญหาพื้นที่เพื่อลดทอนพื้นที่ว่างระหว่างสเปซให้เกิดมุมมองน่าสนใจ แทรกทั้งความ Modern และ Traditional ได้อย่างลงตัว ภายใต้แนวทางการออกแบบที่อยากให้ลูกค้าเมื่อเข้ามาแล้ว สัมผัสได้ถึงความเป็นกันเอง ไม่แฟนตาซีจนเกินไป แต่กลับอบอุ่นเหมือนได้มานั่งกินข้าวอยู่ที่บ้าน จากสเปซที่แคบและยาวดังกล่าว การใช้งานพื้นที่จึงต้องแบ่งเป็นฝั่งขวาและซ้าย มีทางเดินตรงกลางยาวไปจนสุดห้องครัวด้านหลัง […]

Machue Bar & Eatery Nimman บาร์เชียงใหม่ บรรยากาศราวกับอยู่ในโอเปร่าเฮ้าส์

มอบบรรยากาศแห่งการกินดื่มใหม่ให้กับย่านนิมมานฯ ผ่านบาร์ที่ออกแบบสเปซตามอย่างกับโอเปร่าเฮาส์ ที่ Machue Bar & Eatery Nimman หรือเรียกง่าย ๆ ว่า “มาชู” ที่พร้อมอ้าแขนต้อนรับผู้คนที่มาแวะเวียนมาเมืองเชียงใหม่ ตอบโจทย์ยุคนี้ที่การดื่มด่ำรสชาติเครื่องดื่มและเสียงเพลงในบาร์ ต้องมาพร้อมบรรยากาศที่สนุกและธีมการนำเสนอที่แตกต่าง เพื่อให้นักท่องราตรีได้สัมผัส “ Machue Bar ” บาร์เชียงใหม่ แห่งนี้ จึงขอดึงดูดสายตาทุกคนตั้งแต่แรกเห็นด้วยอาคารรูปทรงคล้ายดอกเห็ด ก่อนจะเข้ามาพบกับความหวือหวาสุดเซอร์ไพรส์โอบล้อมสเปซแบบโถงโอเปร่า เชิดชูเหล่านักดนตรีและเปิดประสบการณ์การกินดื่มในอาคารที่ดีไซน์แสนพิเศษ คุณเมย์ – วรวิทย์ นนทิกรนารีรัตน์ สถาปนิกอิสระสายเลือดเชียงใหม่ ผู้เคยฝากผลงานไว้กับบาร์ที่ตั้งใจใช้งานออกแบบเสิร์ฟเสียงเพลงให้กับลูกค้าอย่าง Mahoree City of Music และ The A ter คือผู้ที่มาต่อยอดไอเดียจาก คุณหมอแมงมุม – ภรต หอมดอก หมอฟันผู้สวมหมวกผู้ประกอบการบาร์มาชู โดยคุณแมงมุมได้ตั้งใจวางทิศทางของร้านจากคอนเซ็ปต์ของการให้ร้านสร้างความน่าจดจำและเชิดชูความสุขเล็ก ๆ ที่หลายคนมองข้ามระหว่างทางของการใช้ชีวิต ซึ่งเปรียบได้กับดอกเห็ดที่ซ่อนตัวในสภาพแวดล้อมธรรมดา ๆ ไม่เป็นที่มองเห็น แต่กลับเติบโตได้ดี ประกอบกับที่เจ้าของมีความชื่นชอบในโอเปร่าเฮาส์ จึงกลายเป็นที่มาของคอนเซ็ปต์ที่สถาปนิกได้นำมาต่อยอดสร้างสรรค์จนกลายเป็นองค์ประกอบของบาร์ที่หยิบยืมเสปซแบบโอเปร่าเฮ้าส์มาใช้ได้อย่างสวยงาม จากทำเลของบาร์ซึ่งเป็นบ้านเก่าตั้งอยู่ในนิมมานเหมินท์ […]

THOMAS CHIEN Restaurant เล่าวิถีชายทะเล เสิร์ฟเมนูฤดูกาล ที่ร้าน รางวัลดาวมิชลินรักษ์โลก

ร้านอาหารฝรั่งเศส รางวัลดาวมิชลินรักษ์โลก (MICHELIN Green Star) แห่งนี้ ตั้งอยู่ใกล้กับท่าเรือเกาสง ซึ่งเป็นท่าเรือขนส่งขนาดใหญ่อันดับ 3 ของโลก และเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดของไต้หวัน จากทำเลชายทะเลและเป็นเมืองท่าสำคัญ สองดีไซเนอร์จาก TaG Living จึงนำเรื่องราวนี้ มาถ่ายทอดสู่งานออกแบบของพวกเขา โดยจับประเด็นที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นของไต้หวันมาใช้ ราวมกับคอนเซ็ปต์ ของร้าน THOMAS CHIEN Restaurant ที่เน้นการนำวัตถุดิบที่หาได้ตามฤดูกาลในท้องถิ่นมาใช้ในการรังสรรค์เมนู จนทำให้ที่นี่ได้รับ รางวัลดาวมิชลินรักษ์โลก 2023 และเหนืออื่นใดคือการให้คุณค่าแก่ส่วนผสมและวัตถุดิบท้องถิ่นตามฤดูกาล เชื่อมโยงสู่รูปแบบความสัมพันธ์แบบห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ถ่ายทอดสู่ชาวประมงและเกษตรกรท้องถิ่นเพื่อสร้างความยั่งยืนทางอาหาร ไปพร้อม ๆ กับการสร้างประสบการณ์ระหว่างการรับประทานอาหารที่น่ารื่นรมย์ และจากที่จุดเด่นด้านภูมิศาสตร์ของเมืองท่าเกาสง ดีไซเนอร์จึงหยิบสิ่งนี้มาคลี่คลายสู่การออกแบบที่ต้องสอดคล้องกับเรื่องความยั่งยืน โดยเฉพาะประเพณีวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของชาวเมืองเกาสง จนนำมาสู่การออกแบบโซนที่นั่งได้ถึง 6 โซนภายในพื้นที่ 198 ตารางเมตร อาทิ โซน “Classic French Vault”, “Sail”, “Yacht Cabin”, “Deck Canopy”, “Coastal […]

Another Smith ตำนานบทใหม่ของร้าน “กระเพาะปลาริมเมย”

ที่นี่มีที่มาจากร้านอาหาร “ กระเพาะปลาริมเมย ” ซึ่งเป็นร้านดังในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ขายอาหารไทย-จีน มาตั้งแต่รุ่นคุณอากงอาม่า จนสืบทอดมาถึงรุ่นหลาน ในวาระครบ 62 ปี ทายาทรุ่นปัจจุบันจึงมองเห็นโอกาสในการพัฒนาร้านอาหารของครอบครัวให้เป็นเวอร์ชันใหม่ที่ตอบโจทย์ลูกค้าหลากหลายกลุ่มมากขึ้น DESIGNER DIRECTORYออกแบบภายใน: Tastespace  ออกแบบสถาปัตยกรรม: ธ.ไก่ชน THAI Bamboo Architecture เพื่อให้ร้าน ” กระเพาะปลาริมเมย ” เป็นหน้าเป็นตาสำหรับผู้มาเยือนจังหวัดตาก จึงเลือกสร้างร้านที่ 2 ขึ้นในโลเกชั่นใหม่ไม่ไกลจากร้านเดิม โดยสร้างสรรค์ให้เป็นร้านอาหารเวอร์ชันใหม่ ในชื่อ “Another Smith” ที่ตอบโจทย์ลูกค้าหลากหลายกลุ่ม ด้วยแนวคิดสถาปัตยกรรมจีนโมเดิร์น ผสมผสานเอกลักษณ์ท้องถิ่นและการออกแบบที่ทันสมัย ชื่อร้าน “Another Smith” มีที่มาจากนามสกุลของเจ้าของร้านคือ สมิทธิกร คำว่า “Another Smith” จึงหมายถึง “สมิทธ์อีกแห่งหนึ่ง” หรือ “ร้านสมิทธ์เวอร์ชันใหม่” สะท้อนถึงการต่อยอดธุรกิจครอบครัวให้เข้าสู่ยุคใหม่ และมีการเพิ่มฟังก์ชันอื่น ๆ เข้ามาในร้านให้พิเศษมากขึ้นได้แก่ คาเฟ่ และร้านจิเวลรี่ซึ่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจของครอบครัว เพื่อให้ร้านสมบูรณ์มากขึ้น และใช้ต้อนรับแขกได้ตลอดทั้งวัน […]

Rab-a-bit เปลี่ยนโฉมอาคารเก่าสู่ร้านอาหารกลิ่นอายงานคราฟต์ท้องถิ่น

Rab-a-bit (แรบ.อะ.บิท) ร้านอาหารเล็ก ๆ ในบริบทชุมชนแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ที่นำอาคารคาเฟ่เดิมมาปรับโฉมให้มีคาแรกเตอร์ถ่อมตนเข้ากับบริบททุ่งนา ชูวัสดุท้องถิ่น เน้นใช้สเปซอย่างคุ้มค่า ไม่หวือหวา แต่ยั่งยืนในระยะยาว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Housescape Design Lab Housescape Design Lab ได้นำอาคารเดิมซึ่งเป็นผลงานของอาจารย์จุลพร นันทพานิช สถาปนิกผู้มีผลงานสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและท้องถิ่นมาปรับปรุงใหม่ ให้เป็นร้าน Rab-a-bit โดยคงความดั้งเดิมของอาคารเก่าที่มีคุณค่าไว้ โดยผู้ออกแบบจึงปรับเปลี่ยนสเปซบางส่วนเท่านั้น เพื่อให้สอดคล้องกับฟังก์ชั่นการใช้งานอาคารเพื่อเปิดเป็นร้านอาหาร และปรับแก้ไขปัญหาเดิมของอาคารเก่า เช่น ออกแบบเปิดสเปซให้โล่งขึ้น เพิ่มพื้นที่ใช้งานภายใน และแก้ปัญหาหลังคารั่วที่เกิดจากอายุของการใช้งาน งานออกแบบปรับปรุงทั้งหมดเกิดในช่วงเวลาที่จำกัดและใช้กระบวนการที่ลดระยะเวลาการก่อสร้าง เพื่อให้ไม่กระทบต่อธุรกิจ เช่น การใช้โครงสร้างไม้ที่มีอยู่เดิม แล้วใช้โครงสร้างเหล็กมาเสริมเพิ่มความแข็งแรง โดยไม่ต้องรื้อโครงสร้างใหม่ทั้งหมด เตรียมวัสดุที่ต้องการใช้ไว้ล่วงหน้าเพื่อให้การก่อสร้างเป็นไปตามกำหนดเวลา และตรงแบบแผนที่วางไว้ให้มากที่สุด โดยมีส่วนฟังก์ชั่นการใช้งานหลัก ๆ ที่เพิ่มเข้ามา อย่างเช่นการเพิ่มพื้นที่นั่งรองรับลูกค้าในร้าน ไปจนถึงการแก้ปัญหาเรื่องฝุ่น ฝน และสภาพอากาศที่ต้องเตรียมรับมือ ความเรียบง่าย ตอบโจทย์ลูกค้า และทำให้ธุรกิจร้านอาหารยืนระยะได้ในระยะยาว คือปัจจัยหลักของที่นี่ การออกแบบจึงมุ่งเน้นพื้นที่ที่ใช้งานหลักได้จริงจังตลอดเวลา เช่น พื้นที่นั่ง ครัว […]

Kopihub Korat ร้านติ่มซำโชว์เสน่ห์อีสาน ภายใต้แนวคิดอาคารรูปทรงมัดไหม

ที่นี่ถือเป็น Flagship Building ประจำภาคอีสาน กับตัวร้านที่มีขนาดใหญ่แบบสแตนด์อโลน ริมถนนปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา อันเป็นจุดเริ่มต้นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของแบรนด์ “โกปี๊ฮับ l KopiHub” DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Does studio โดยร้านสาขานี้เป็นอีกพาร์ทหนึ่งของการทำธุรกิจเฟรนด์ไชส์ของแบรนด์ โกปี๊ฮับ โดยสาขานี้มีความน่าสนใจตรงที่เป็นการขยายสาขามายังภาคอีสานครั้งแรก ซึ่งสร้างความท้าทายไม่น้อยทั้งในแง่ธุรกิจและการทำงานออกแบบของทีม Does studio ที่เคยฝากฝีมือการออกแบบร้านโกปี๊ฮับมาแล้วเกือบทุกสาขา สถาปัตยกรรมมีแรงบันดาลใจมาจากมัดไหม ด้วยลักษณะที่ดินเป็นแนวแคบยาว หรือคล้ายเส้นก๋วยเตี๋ยว ทำให้รูปแบบการจัดวางโซนนิ่งของร้าน โกปี๊ฮับ | Kopihub โคราช ต้องเป็นแนวยาวตามที่ดิน จนเกิดเป็นตัวอาคาร หรือสถาปัตยกรรมที่ได้แรงบันดาลใจมาจากกรรมวิธีการทำผ้าไหมของภาคอีสาน หนึ่งในขั้นตอนนั้น คือกระบวนการสาวไหม จนได้เป็นเส้นไหมดิบ ก่อนนำมามัดเป็นไจไหม หรือมัดไหม ผู้ออกแบบจึงหยิบเรื่องราวที่ได้จากการเวิร์กชอปดังกล่าวมาใช้เป็นไอเดีย ด้วยการนำรูปทรงของมัดไหมมาต่อยอดสู่แมสของอาคารที่แบ่งฟังก์ชั่นออกเป็น 3 ก้อน ทั้งยังมีลักษณะคล้ายสัญลักษณ์ “infinity” ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นความหมายในทางที่ดีเช่นเดียวกัน แบ่งฟังก์ชันการใช้อาคารออกเป็นสามก้อน อาคารก้อนที่ 1 หรือโซนที่ 1 กำหนดให้เป็นส่วนหน้าร้านใช้ต้อนรับลูกค้าและที่นั่งภายใต้พื้นที่ทรงกลม มีฉากหลังตกแต่งด้วยบรรดา “อักไหม” สีแดง ซึ่งเป็นสี […]

Shinbashi Barbeque ร้านยากินิคุ เชื่อมโยงกิจกรรมระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติเข้าด้วยกัน

ที่นี่คือร้านยากินิคุ ในไต้หวัน ผลงานการออกแบบโดย Soar Design Studio มาพร้อมแนวคิดด้วยการเชื่อมโยงมนุษย์เข้ากับธรรมชาติ ร้านยากินิคุ บรรยากาศดีน่านั่งแห่งนี้ มีคอนเซ็ปต์งานออกแบบที่น่าสนใจ ด้วยการหยิบองค์ประกอบอันสื่อถึงธรรมชาติ เข้ามามีบทบาทในพื้นที่ เพื่อช่วยเสริมบรรยากาศการรับประทานอาหารให้ผู้คนและธรรมชาติถูกเชื่อมโยงเข้าหากันและกัน “ธรรมชาติ” จึงเป็นคำที่นำมาใช้ตีความในเชิงงานออกแบบสถาปัตยกรรมภายในร้าน โดยเห็นได้จากการใช้เสาเหล็กสีขาววางสุ่มไปทั่วทั้งร้าน คล้ายกับลักษณะของต้นไม้ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เสาเหล็กเหล่านี้ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างรองรับอาคารเพียงเท่านั้น แต่ยังออกแบบให้เป็นองค์ประกอบที่ช่วยกำหนดและจัดระเบียบพื้นที่สัดส่วนโต๊ะรับประทานอาหารภายในร้านด้วย การจัดเรียงเสาเหล็กในลักษณะสุ่มเหมือนต้นไม้ได้ช่วยสร้างความรู้สึกของป่าไม้ หรือทุ่งหญ้า ที่ผู้ใช้งานสามารถสัมผัสถึงความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งปลูกสร้างกับธรรมชาติ รวมถึงการใช้วัสดุสีขาวยังช่วยให้เสามีความเบาและโปร่งใสในเชิงสายตา ทำให้ไม่รู้สึกทึบตัน หรืออึดอัดเกินไป เพราะเสานี้ช่วยให้การแบ่งโซนได้อย่างไร้ขอบเขต ไม่จำเป็นต้องใช้ผนังทึบ หรือกำแพงกีดขวางการมองเห็น ช่วยให้ร้านได้มีพื้นที่มากขึ้น เปิดโอกาสให้แสงธรรมชาติภายนอกส่องเข้ามาในพื้นที่ของร้าน เกิดความรู้สึกที่เชื่อมโยงระหว่างภายนอกกับภายใน การจำลองภาพป่าธรรมชาติภายในร้าน นอกจากใช้แสงธรรมชาติแล้ว ไลท์ติ้งดีไซน์ยังได้รับการนำมาใช้ในการดีไซน์เพดานด้านบนที่มีช่องเปิดให้แสงลอดผ่าน แถบไฟประดิษฐ์ต่าง ๆ ทำหน้าที่เป็นตัวเน้นแสง ซึ่งตกกระทบลงมาที่ต้นไม้ภายในร้าน ช่วยเสริมบรรยากาศ และให้ความรู้สึกเหมือนแสงแดดที่ลอดผ่านต้นไม้ในป่า โดยเฉพาะในช่วงเวลายามเย็นที่พระอาทิตย์เริ่มตกดิน แสงจะสะท้อนจากแผ่นทองแดงภายในอาคารสร้างทิวทัศน์ที่มีเสน่ห์คล้ายกับการชมพระอาทิตย์ตกดินจริง ๆ อย่างไรอย่างนั้น โดยใช้วัสดุที่สะท้อนแสงเพื่อสร้างสีและบรรยากาศชวนอบอุ่นและนุ่มนวล ส่วนบนของอาคารเลือกใช้แผ่นกระจกโปร่งใสทำหน้าที่เป็นตัวกรองแสงจากธรรมชาติ สร้างการมองเห็นจากช่วงเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลา เช่น ในยามเช้าที่หมอกลอยฟุ้งอยู่เหนือทิวทัศน์ของเมือง หรือป่า การออกแบบนี้ยังช่วยสร้างประสบการณ์ที่หลากหลายสำหรับผู้ที่ใช้งานในแต่ละช่วงเวลา หรือแม้แต่ในสภาพอากาศที่แตกต่างกัน ตัวกระจกไม่เพียงแค่เป็นฟังก์ชั่นการปิดกั้นพื้นที่ แต่ยังทำให้ผู้ใช้งานสามารถสัมผัสการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติจากภายในในอาคารได้อย่างต่อเนื่อง โดยการรับแสงและการเปลี่ยนแปลงของแสงในแต่ละวันนี้ได้สร้างความรู้สึกที่หลากหลายและมีชีวิตชีวา […]

KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมน้ำกลืนกับบริบท เด่นด้วยกำแพงกันดินจากกรวด

KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมแม่น้ำแคว สะท้อนแรงบันดาลใจบริบทท้องถิ่น จากกำแพงกันดินหินกรวดที่ผสานไปกับรสอาหารในอาคารที่ถ่อมตนต่อบริบทของจังหวัดกาญจนบุรี DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PHTAA Living Design ท่ามกลางบรรยากาศของป่าไม้ที่เรียงรายอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ซึ่งไหลผ่านตัวเมืองกาญจนบุรี จะสังเกตเห็น KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมแม่น้ำโครงสร้างสีน้ำตาลที่ได้รับการออกแบบโดย PHTAA living design อันเกิดจากการประกอบขึ้นของเหล็กและไม้จากที่มีในพื้นที่ ชวนต้อนรับแต่ยังซ่อนตัวในบริบทด้วยกรวดสีน้ำตาลซ้อนกันเป็นกำแพงด้านฝั่งริมแม่น้ำ ก่อเกิดภาพลักษณ์อันโดดเด่นแต่ยังอ่อนน้อมต่อสายน้ำที่ไหลผ่านและแมกไม้สีเขียวที่โอบล้อม องค์ประกอบทั้งหมดนั้นเกิดจากการตีความอย่างละเอียดลออโดยสตูดิโอออกแบบที่คอยมองหาและพลิกแพลงวัสดุรอบตัว ให้กลายมาเป็นภาษาการออกแบบอันแปลกใหม่ เช่นเดียวกับร้านอาหารพื้นที่ใช้สอย 800 ตารางเมตร แห่งนี้ ซึ่งก่อร่างจากวัสดุท้องถิ่นและเอกลักษณ์ของบริบทของที่ตั้งโดยการผสานตัวอาคารให้เชื่อมต่อกับแม่น้ำแควใหญ่ที่เป็นเส้นทางผ่านด้านหน้า ทำให้อาคารแห่งนี้สร้างประสบการณ์ใหม่ในการเข้าถึงนอกเหนือจากการเข้าถึงที่ถนนจากอีกฝั่ง ที่ตั้งซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ มีลักษณะพื้นดินเป็นตลิ่งไล่ระดับความสูง 3 เมตร สถาปนิกจึงริเริ่มตั้งโจทย์จากตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งเป็นทั้งความท้าทาย ในอีกแง่ก็เป็นการใช้ประโยชน์จากทิวทัศน์ธรรมชาติเสริมให้อาคารมีความน่าสนใจ อาคารมีแนวคิดป้องกันการกัดเซาะจากแม่น้ำด้วยกำแพงกันดินที่สร้างด้วยวัสดุท้องถิ่นอย่างกรวดแม่น้ำที่หาได้โดยรอบ จากที่แต่เดิมมักเป็นเพียงกำแพงคอนกรีตหนาหนักไม่เป็นหนึ่งเดียวกับสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นทัศนอุจาดริมฝั่งที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง สถาปนิกพลิกแพลงกำแพงกันดินนี้ให้เป็นหนึ่งเดียวกับสถาปัตยกรรม โดยการใช้กรวดให้เกิดเป็นฟังก์ชันที่น่าสนใจจากคุณสมบัติ อันได้แก่ ความคงทน น้ำซึมได้ยาก และมีสีเฉพาะตัวแต่ยังเป็นเนื้อเดียวกันกับบริบท วางซ้อนสร้างความเป็นส่วนตัวและรองรับน้ำหนักของอาคารที่มีโครงสร้างหลักเป็นเหล็กและไม้ ในขณะเดียวกันกำแพงก็ถูกออกแบบให้ยังคงความโปร่งโล่งให้กับภายในร้านอาหารเพื่อความเย็นสบาย โอบกอดให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาจากวัสดุมุงหลังคาแบบโปร่งแสง ทว่ามีแผงระแนงไม้อยู่ใต้หลังคาช่วยกรองปริมาณแสงไม่ให้ภายในร้อนมากเกินไป นอกจากนั้น เพื่อให้อาคารกลืนไปกับผืนป่าโดยรอบจึงออกแบบความสูงของหลังคาให้อยู่ระดับที่พอดี ส่งผลให้มีพื้นที่ระเบียงยื่นออกมาจากแนวหลังคา […]

Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่ง ที่เชียงใหม่ เสิร์ฟอาหารจากวัตถุดิบของดีทั่วไทย

Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่ง ของเชฟแบล็ก-ภานุภณ บุลสุวรรณ กับร้านบรรยากาศเป็นกันเองเหมือนมากินข้าวที่บ้านเชฟ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 โปรเจ็กต์รีโนเวตร้านอาหารกลางเมืองเชียงใหม่ กับร้าน Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารของเชฟแบล็ก-ภานุภณ บุลสุวรรณ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงทำอาหาร ด้วยชื่อเสียงและความถนัดด้านการนำวัตถุดิบท้องถิ่นทั่วไทยมาสร้างสรรค์เป็นเมนูพิเศษ กับเชฟเบียร์-อโณทัย พิชัยยุทธ เชฟทำขนมหวาน หลังจากที่ร้านอาหารของทั้งคู่เป็นที่รู้จักและเป็นขวัญใจของเหล่านักชิมมาระยะหนึ่ง เชฟทั้งสองท่านจึงตัดสินใจรีโนเวตร้านของตนเองใหม่ โดยมอบหน้าที่ให้สตูดิโอออกแบบ 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 มาช่วยถ่ายทอดบรรยากาศและความเป็นตัวตนของเชฟลงไปในพื้นที่ กับการเปลี่ยนโฉมร้านอาหารที่แม้จะอยู่ในตึกแถวขนาด 3 ชั้น แต่กลับโดดเด่นกว่าร้านอื่นในละแวกใกล้เคียง เริ่มตั้งแต่ฟาซาดที่ดูคล้ายกับกล่องสีขาว ติดป้ายชื่อร้านสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีตัวแทนประจำร้านให้เห็นเด่นชัด ร่วมกับองค์ประกอบงานไม้เพื่อสื่อถึงบรรยากาศที่น่าเชื้อเชิญ ไม่ต่างจากกำลังเดินเข้ามาในบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งเป็นธีมที่เจ้าของร้านอยากให้มีมู้ดราวกับกำลังเข้ามากินข้าวที่บ้านของเชฟแบบเป็นกันเอง ฉีกแนวเหมือนไม่ได้เดินเข้ามาในตึกแถว อย่างประตูทางเข้าที่ไม่ใช่ประตูทางเข้าตึกแถวทั่วไป แต่เป็นประตูที่ให้อารมณ์เหมือนเดินเข้าบ้าน ขณะที่ด้านข้างมีช่องหน้าต่างไม้กรุกระจกเล็กมีความเป็นไทยผสมญี่ปุ่น ชั้น 1 เป็นพื้นที่เคาน์เตอร์ทำขนมของเชฟเบียร์ ในวันที่มีคอร์สทำขนม ลูกค้าสามารถนั่งชมการทำขนมของเชฟ และรับประทานขนม พร้อมพูดคุยกับเชฟได้ เดินถัดเข้ามาจะพบกับส่วนที่เปรียบเสมือนพื้นที่แสดงผลงานการถนอมอาหารและโชว์วัตถุดิบที่เชฟแบล็กทำเอง ซึ่งถูกตีความว่าเป็นงานคราฟต์ของการทำอาหาร โดยทุกคนจะได้เห็นโถหมักดองเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ มีที่มาจากวัตถุดิบในท้องถิ่นหลากหลาย ก่อนนำมาใช้ประกอบอาหารจนเป็นเอกลักษณ์ จากพื้นที่โชว์ผลงานผ่านโหลเครื่องปรุงที่ชั้น 1 ขึ้นสู่ชั้น […]

Navan Navan ประสบการณ์แปลกใหม่ ในร้านฟีลถ้ำ

นี่คือร้านใหม่ของ “เชฟแวน” เจ้าของร้าน Escapade Burgers & Shakes, ราบ และ DAG ผู้มีคาแรกเตอร์ชัดเจน ดูแข็งแกร่ง กำยำ ดุดัน รวมทั้งเมนูอาหารที่จัดจ้านในความครีเอทีฟ นั่นจึงทำให้ร้านมีภาพลักษณ์ดูลึกลับคล้ายถ้ำ ชวนให้เกิดความสงสัยว่าภายในร้านจะรังสรรค์อาหารแบบไหนให้ลูกค้า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Godmother Studio ร้านแห่งนี้เป็นหนึ่งในช่วงเวลาของการเลือกที่จะกลับสู่บ้านที่แม่ริมของเชฟแวน ซึ่งพื้นที่ตรงนี้ก็เป็นบริเวณบ้านชองครอบครัวอยู่แล้ว ที่มีทั้ง Homestay ร้านกาแฟ สวนดอกไม้ ในทุ่งที่ชื่อ “Amaze l at Themyth ” ซึ่งตั้งในอยู่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ล้อมรอบด้วยทุ่งนา และทิวเขา มีวิวอาทิตย์ตกอันงดงาม เพราะแก่การยกถ้ำส่วนตัวมาตั้งไว้อย่างเหมาะเจาะ การเลือกใช้วัสดุที่แสดงออกถึงสัจวัสดุไร้การเติมแต่งคือหัวใจของการออกแบบในครั้งนี้ ภายนอกนั้นเป็นการก่ออิฐฉาบปูนโดยทำผิวด้วยเทคนิคโบราณอย่างการ “สลัดดอกปาดเรียบ” ซึ่งก่อให้เกิดเท็กซ์เจอร์ที่ดูเหมือนธรรมชาติมากกว่าเทคนิคสมัยใหม่ ส่วนภายในนั้นใช้การฉาบเรียบ เคลือบใส โดยไม่ใช้การทาสี และใช้ไม้เป็น Subroog ให้กับฝ้า เพื่อลดความดิบของปูน แต่ยังโชว์ถึงโครงสร้างไว้อย่างชัดเจน จากภายนอกนั้นออกแบบให้เดินเข้าสู่ภายในด้วยความสูงที่ค่อยๆลดหลั่นลงไปยังบาร์ และส่วนประกอบอาหาร เพื่อเน้นถึงจุดสนใจบริเวณบาร์อาหาร ตัวอาคารมีการแบ่งเป็นส่วนเซอร์วิส และห้องอาหารหลักที่เชฟเอาไว้เตรียมอาหาร […]

The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์

โปรเจ็กต์รีโนเวตอาคารพาณิชย์เก่าสภาพทรุดโทรม สู่ บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์ เปรียบการค้นหาคำตอบของชีวิต ผ่านความหมายของไพ่ และรสชาติของเครื่องดื่ม ที่สร้างสรรค์โดย Mixologist นักดีไซน์เครื่องดื่มผู้ชำนาญ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: MOMstudio จากภายนอก The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต ดูสะดุดตาแตกต่างจากอาคารที่อยู่ใกล้เคียง ซ่อนความลึกลับไว้ภายในซึ่งอยู่เบื้องหลังเปลือกอาคารที่ทำจากแผงวัสดุสีโลหะรูปทรงเหมือนไพ่ โดยติดตั้งแบบบิดองศาเหมือนไพ่กำลังเคลื่อนไหวยามถูกเปิดออก กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าเชื้อเชิญให้อยากเข้ามาหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ภายใน บาร์ลับในรูปลักษณ์ที่ดูคล้ายวิหารแห่งคำทำนายนี้ ผู้ออกแบบจาก MOMstudio ได้แรงบันดาลใจมาจากป้อมปราการในอารยธรรมโลกเก่า หรือยุคกลาง ที่สร้างขึ้นด้วยอิฐ และหิน ฉาบหุ้มด้วยวัสดุ หรือสีสันจากธาตุธรรมชาติอย่าง ดินแดง หรือโลหะอย่าง ทองแดง ดูแล้วศักดิ์สิทธิ์ ปนลึกลับอยู่ในที เชื่อมต่อกับแนวคิดการออกแบบที่ทีมออกแบบได้ตีความคอนเซ็ปต์ของร้านมาจากการเปิดไพ่ทาโรต์ ที่ผู้เปิดไพ่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังไพ่แต่ละใบได้ การเปิดไพ่แต่ละครั้งจึงเปรียบเหมือนการเดินเข้าไปสู่พื้นที่ที่คาดเดาไม่ได้ของ The Fool Speakeasy Bar โดยเรียงลำดับการรับรู้ของผู้ใช้งานตั้งแต่ก่อนเข้าบาร์ที่ลูกค้าจะได้สัมผัสกับการบริการเป็นกันเองของ Mixologist ระหว่างที่กำลังรังสรรค์เครื่องดื่มค็อกเทล จนถึงการได้รับรสจากเครื่องดื่ม เสมือนการเดินทางที่เริ่มต้นจากความไม่รู้ เพื่อพบเจอสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ แล้วจึงค่อย ๆ คลี่คลายในคำตอบที่เลือกด้วยตนเอง ผู้ออกแบบใช้องค์ประกอบของไพ่รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการเล่าเรื่องราวของไพ่ทาโรต์ที่สอดคล้องกันตั้งแต่สถาปัตยกรรมภายนอกไปจนถึงภายใน สถาปัตยกรรมภายนอกทำหน้าที่ปกปิดอาคารถูกห่อหุ้มด้วยผิวของอาคาร 2 […]

BLESSING SHOPHOUSE รีโนเวตตึกแถวสู่ค็อกเทลบาร์ หรูหราร่วมสมัยในสไตล์โลกตะวันออก

ท่ามกลางตึกแถวเก่าและความพลุกพล่านของสังคมเมือง Blessing Shophouse หยิบยกเรื่องราวของโชค พร และมงคลตามวิถีจีน มานำเสนอผ่านซิกเนเจอร์ค็อกเทลทั้ง 9 เมนู ทั้งยังถ่ายทอดสัญลักษณ์แห่งความโชคดี และพรประทาน (Blessing) ผ่านบรรยากาศการตกแต่งออกแบบที่ผสมผสานระหว่างมนต์เสน่ห์ของโลกเก่า กับกลิ่นอายสมัยใหม่อย่างลงตัว ชุบชีวิตตึกเก่าด้วยการรีโนเวตจากตึกแถวเก่าที่รายล้อมไปด้วยห้างร้านธุรกิจรายย่อยและที่พักอาศัยในซอยสุขุมวิท 14 ย่านอโศก ซึ่งเป็นศูนย์กลางธุรกิจของประเทศ ทายาทของครอบครัวชาวไทยเชื้อสายจีน ผู้สืบทอดแบรนด์ Royaltique ธุรกิจค้าขายเฟอร์นิเจอร์เก่าจากเมืองจีน ได้ชุบชีวิตตึกแถวของครอบครัวให้กลับมามีสีสันอีกครั้ง และเนื่องด้วยความชอบจิบค็อกเทลเป็นทุนเดิม ประกอบกับการเป็นสถาปนิก จึงลงมือออกแบบและเนรมิต Blessing Shophouse ให้พื้นที่ตึกแถวแปรสภาพเป็นถ้ำค้างคาวที่มีค็อกเทลบาร์ด้านล่าง โดยมีพื้นที่สังสรรค์สำหรับผู้ต้องการความเป็นส่วนตัวบนชั้น 2 ค็อกเทลบาร์แห่งนี้ ยึดโยงกับคอนเซ็ปต์ Ancient Modernism ซึ่งหยิบยกการออกแบบ และภูมิปัญญาตะวันออกของคนรุ่นก่อน มาจับคู่เข้ากับความร่วมสมัย ขณะเดียวกันก็สัมผัสได้ถึงความโมเดิร์นในองค์ประกอบของบาร์ ตั้งแต่ประตูทางเข้าที่ย้ายมาหลังบ้าน โดดเด่นด้วยสัญลักษณ์บาร์ที่มีลักษณะเงาค้างคาวทั้งสี่มุม ผสมผสานกับลวดลายดอกบ๊วยแบบดั้งเดิม มองผิวเผินอาจเห็นแค่ลายดอกบ๊วยทั่วไป แต่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนจะพบค้างคาวซึ่งค่อย ๆ เผยตัวออกมา ยังไม่รวมถึงแสงเงารูปค้างคาวบริเวณมุมขวาบน เปรียบดังการพุ่งทะยานไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง สัญลักษณ์นำโชคของชาวจีนล้วนแต่แฝงไว้ด้วยคติและกุศโลบาย เช่นเดียวกับสัญลักษณ์ค้างคาวทั้ง 4 มุม สื่อถึงพร 4 ประการของชาวจีน […]

ATELIER KAMPOT รีโนเวทตึกแถว กัมพูชา สไตล์โคโลเนียลทรุดโทรม สู่ช็อปเฮ้าส์ร่วมสมัย

โปรเจ็กต์ รีโนเวทตึกแถว กับการคงเอกลักษณ์อาคารโคโลเนียลในประเทศกัมพูชา สู่พื้นที่ร้านอาหารและบ้านพักอาศัย รีโนเวทตึกแถว สไตล์โคโลเนียล ซึ่งตั้งอยู่ในย่านการค้าเก่าแก่ริมแม่น้ำในเมืองกำปอต ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชา จากที่เคยปิดร้างและมีสภาพทรุดโทรมให้กลายเป็นช็อปเฮ้าส์ เปิดทำธุรกิจร้านอาหารที่ชั้นล่าง และทำพื้นที่พักอาศัยที่ชั้นบน ออกแบบและรีโนเวทโดย Bloom Architecture สะท้อนถึงแนวคิดการให้คุณค่าต่อสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ และอีกด้านหนึ่งยังถือเป็นเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี เล่าย้อนไปที่นี่เคยเป็นร้านค้าดำเนินกิจการของครอบครัวของเจ้าของมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อความเจริญของเมืองท่าเริ่มลดความสำคัญลง อาคารแห่งนี้ได้ทิ้งร้างมานานหลายปี ก่อนได้รับการฟื้นคืนชีวิตชีวาอีกครั้งในฐานะที่กลายเป็นร้านอาหารและบ้านพักอาศัย เพื่ออนุรักษ์สถาปัตยกรรมเก่าแก่ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก และรักษาความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่กัมพูชาเคยเป็นเมืองอาณานิคมฝรั่งเศส จากการรู้คุณค่าดังกล่าวสถาปนิกจึงมุ่งเน้นที่การรักษาลักษณะดั้งเดิมของอาคารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขั้นตอนของการนำพาอาคารเก่าข้ามเวลาสู่ยุคสมัยใหม่ สถาปนิกเน้นแผนการปรับปรุงอาคารโดยยังคงลักษณะดั้งเดิมของอาคารไว้ เริ่มจากภายนอกที่คงเก็บช่องเปิดโค้งขนาดใหญ่ที่ระเบียงชั้นสอง ลายปูนปั้นวิจิตรบรรจง ร่องรอยและคราบสีเก่าบนผิวอาคาร เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านของวันเวลาจากอดีตถึงปัจจุบัน ผสมกับไม้รีไซเคิลที่รื้อถอนจากตัวบ้านบางส่วน แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ส่วนหน้าต่างของบ้านเป็นการสั่งทำขึ้นมาใหม่ แสดงถึงการเข้ากันได้ระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ได้อย่างลงตัว พื้นที่ภายในมีขนาดพื้นที่ใช้สอย 319 ตารางเมตร แม้รูปลักษณ์ของอาคารจะเป็นอาคารพาณิชย์สไตล์โคโลเนียล แต่ฟังก์ชันภายในกลับบรรจุด้วยความสะดวกสบายเข้ากับวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบัน ชั้นล่างเปิดโล่งมีที่นั่งให้เลือกหลากหลาย จัดวางโต๊ะและเก้าอี้ไม้หลายรูปทรงสำหรับเป็นพื้นที่รับประทานอาหาร ฝ้าเพดานดูสูงโปร่งเผยให้เห็นคานไม้ ผนังอิฐโชว์ลายเผยให้เห็นเท็กซ์เจอร์วัสดุดั้งเดิม ประดับตกแต่งบรรยากาศด้วยภาพศิลปะแอ๊บสแตร็กต์สีสันสดใส ส่วนพื้นเป็นกระเบื้องลายโบราณที่โดดเด่นเป็นเอกลัษณ์และนิยมใช้กันในสมัยก่อน รับแสงและอากาศให้ไหลเวียนถ่ายเทได้ดี ผ่านการออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดซึ่งมีบันไดวนโลหะขนาดใหญ่สีขาวทอดผ่านลานตรงกลางนี้ สูงขึ้นไปจนถึงห้องนั่งเล่นส่วนตัวที่อยู่ชั้นบนสุด ซึ่งเป็นพื้นที่พักอาศัยของเจ้าของบ้าน โดยบันไดวนนี้มีความสำคัญต่อการออกแบบอย่างมาก ใช้ในการนำพาแสงธรรมชาติให้ส่องลงมาถึงระดับพื้นที่ใช้งานชั้นล่าง และช่วยระบายอากาศตามธรรมชาติ ทำให้ภายในอาคารเย็นสบายแม้ในช่วงฤดูร้อนที่ร้อนระอุ […]

161 CAFETERIA AND CRYPT ร้านอาหารและคาเฟ่เอกมัย อบอุ่นในบ้านหลังใหญ่ยุค70’s

161 Cafeteria and Crypt ร้านอาหารและคาเฟ่ในธีมเมดิเตอร์เรเนียน บรรยากาศเหมือนพาตัวเองมานั่งกินข้าวในบ้านอบอุ่นยุคเจ็ดศูนย์ ร้านอาหารและคาเฟ่ในธีมเมดิเตอร์เรเนียน พร้อมบาร์ลับที่ซ่อนตัวอยู่ในชั้นใต้ดิน กับร้านที่มีชื่อว่า 161 Cafeteria and Crypt โดยมีที่มาจากเลขที่บ้าน ต่อด้วยคำว่า Cafeteria ซึ่งแปลว่า “โรงอาหาร” เปรียบเสมือนสถานที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ มาพร้อมกับความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมบ้านโมเดิร์นรูปทรงเรขาคณิตหลังใหญ่ที่ผ่านกาลเวลามานาน ซึ่งนับเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นยุคแรกของกรุงเทพฯ ที่เริ่มหาดูยาก เมื่อบ้านรุ่นเดียวกันหลาย ๆ หลังในย่าน เริ่มทยอยถูกแทนที่ด้วยอาคารสมัยใหม่ และตึกสูงระฟ้า การนำพาสถาปัตยกรรมโมเดิร์นยุคเก่าย่านเอกมัยให้คืนชีพกลับมาครั้งนี้ มาจากเจ้าของร้าน คุณส้ม-กัญญ์ณพัชร์ นุ่มประสิทธิ์ ที่อยากให้สถานที่นี้เป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้ามาพักผ่อน ปรับอารมณ์ลงจากความเร่งรีบภายนอก เพื่อมาพบกับบรรยากาศสงบภายใน ชวนให้รู้สึกเหมือนได้กลับมากินข้าวที่บ้าน หลังจากที่ตัวบ้านไม่มีคนอยู่อาศัย และถูกปล่อยให้เช่า เมื่อคุณส้มมาพบกับทำเลนี้ เธอรู้สึกชอบในบรรยากาศ และสตอรี่ของบ้าน จึงตัดสินใจเช่า และรีโนเวตบ้านนี้ใหม่ โดยไม่ต้องการทุบอาคารออก แต่เลือกที่จะเก็บรักษาอาคารนี้ไว้ เพื่อดึงเสน่ห์ และความงดงามของสถาปัตยกรรมยุคเก่า ให้คนยุคใหม่ได้รู้จัก และเข้ามาใช้งานพื้นที่ จากถนนภายในซอยเมื่อมองเข้ามาจะเจอกับภาพอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ กั้นพื้นที่สวนข้างบ้าน และลานจอดรถด้วยแนวกำแพงอิฐที่ทำขึ้นมาใหม่ ให้กลายเป็นผนังอิฐจัดเรียงแพตเทิร์นสวยงาม ล้อไปกับแนวขอบอาคารที่ทาสีใหม่เป็นสีส้มอิฐ ก่อนเข้าสู่พื้นที่ภายในร้านที่ได้รับการแบ่งเป็นโซนคาเฟ่ด้านหน้า มีเคาน์เตอร์บาร์ทำกาแฟ […]

Nusara ร้านอาหารไทยไฟน์ไดนิ่ง เล่าความทรงจำถึงคุณยายนักตัดเสื้อ

Nusara – นุสรา ร้านอาหารไทยไฟน์ไดนิ่ง ของเชฟต้น-ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร ที่ขอย้ายทำเลใหม่จากร้านนุสราเดิม เพื่อนำเสนอประสบการณ์การรับประทานอาหารรูปแบบใหม่ พร้อมเสพบรรยากาศวิวที่แสนอลังการสวยงามของวัดโพธิ์ฯ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Tastespace.co ร้านอาหารไทยโมเดิร์น นามว่า “Nusara – นุสรา” กับชื่อที่ตั้งขึ้นเกิดจากการนำความทรงจำ และความรักที่มีต่อคุณยาย “นุสรา” คุณยายของเชฟต้น-ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร และคุณตาม-ชัยสิริ ทัศนาขจร น้องชาย มาถ่ายทอดผ่านบรรยากาศที่เล่าเรื่องราว และคาแร็กเตอร์สนุกสนานของคุณยายช่างตัดเสื้อ มีทีมออกแบบจาก Tastespace.co นำโดยคุณฮิม-กิจธเนศ ขจรรัตนเดช รับหน้าที่นำเสนอประสบการณ์ใหม่ในการรับประทานอาหารผ่านการใช้สอยพื้นที่ต่าง ๆ ภายใต้การออกแบบที่คลี่คลายมาจากคาแร็กเตอร์ และอาชีพของคุณยายในบรรยากาศแบบ Fabric Library รีโนเวทโฮสเทลเก่าสู่ร้านอาหารไทยเสิร์ฟวิววัดโพธิ์ จากร้านนุสราเดิมที่อยู่ในซอยท่าเตียน ได้ย่านทำเลใหม่มาอยู่ที่ปากซอย ติดถนนมหาราช กับความพิเศษของวิววัดโพธิ์ฯ ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามพอดี ย้อนกลับไป อาคารนี้เคยเป็นโฮสเทลปิดร้างมานานกว่า 3 ปี ก่อนได้รับการรีโนเวทใหม่ในครั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงอยู่ที่การเปลี่ยนดีไซน์ของโฮสเทลเดิม จากที่ต้องมีความเป็นส่วนตัว มีหน้าต่าง และผนังเปิดบ้าง-ทึบบ้าง ให้กลายเป็นร้านอาหารเน้นวิวอลังการของวัดโพธิ์ฯ รวมถึงต้องทุบห้องพักที่ถูกซอยเป็นห้องย่อย ๆ […]