Living Archives - room

Sanctuary Villa บ้านโมเดิร์นเปิดโปร่งรับธรรมชาติ

Sanctuary Villa คือที่พักอาศัยของเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรมในกรุงพนมเปญ ที่มีข้อจำกัดคือสถานที่ตั้งซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับพื้นที่โรงงานของตัวเอง จึงกลายเป็นโจทย์ที่ต้องการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อหลบเลี่ยงจากเขตโรงงาน แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องให้มีพื้นที่เปิดออกสู่ธรรมชาติภายนอกเพื่อคุณภาพของการอยู่อาศัย จากโจทย์ดังกล่าว สถาปนิกจาก BLOOM Architecture ได้คลี่คลายและสร้างสรรค์ให้เป็นบ้านโมเดิร์นที่หลีกหนีจากความวุ่นวายของชีวิตการทำงาน เป็นเหมือนพื้นที่ซี่งตั้งอยู่ระหว่างเส้นแบ่งของโลกคู่ขนาน ตั้งใจออกแบบให้สมาชิกในบ้านรู้สึกเชื่อมโยงกับวิวธรรมชาติ แม้ที่ตั้งจะอยู่ใกล้เขตโรงงานก็ตาม ตัวอาคารมีขนาดพื้นที่ใช้สอย 600 ตารางเมตร ตั้งอยู่บนเนินดินถมเตี้ย ๆ ปิดล้อมด้วยกำแพงให้แยกตัวจากโรงงานด้านหลัง ด้านหน้าได้รับการออกแบบให้เป็นพื้นที่ลานหญ้าและลานจอดรถไว้คั่นจังหวะก่อนเข้าสู่ตัวบ้าน สถาปนิกตั้งใจสร้างบรรยากาศให้อยู่สบายและเป็นส่วนตัวแตกต่างจากบริบทภายนอก เน้นการใช้องค์ประกอบของบ้านดึงให้ธรรมชาติเข้ามามีส่วนร่วมกับการอยู่อาศัยให้มากที่สุด ตั้งแต่ห้องนั่งเล่นกลางบ้านที่เปิดโล่งเชื่อมต่อภายนอกด้วยประตูบานกระจกสูง สอดคล้องกับการออกแบบพื้นที่ภายในที่เน้นความยืดหยุ่นด้วยการจัดผังแบบโอเพ่นแปลน (Open Plan) เสริมคุณภาพการอยู่อาศัยด้วยแสงแดดที่ลอดผ่านกันสาดระแนงไม้ภายนอกที่ปกคลุมเฉลียงยื่นยาวต่อจากพื้นที่ส่วนกลาง ส่งผลให้เกิดลวดลายของแสงเงาเมื่อแสงอาทิตย์ตกกระทบบนพื้นคอนกรีตขัดมัน ปีกซ้ายและขวาของบ้านเป็นพื้นที่ส่วนตัว ออกแบบให้เป็นห้องนอนหลัก ห้องนอนแขก และห้องอเนกประสงค์ แต่ละห้องมีระเบียงยื่นออกมาเชื่อมกับพื้นที่สีเขียว นอกจากจะเป็นพื้นที่กลางแจ้งให้คนได้ผ่อนคลายแล้ว ยังเปิดโล่งเพื่อสัมผัสธรรมชาติและช่วยสร้างการไหลเวียนของลมในวันที่ไม่ได้ใช้งานเครื่องปรับอากาศ บ้านในชานเมืองของกรุงพนมเปญหลังนี้ จึงสะท้อนให้เห็นถึงที่อยู่อาศัยในบรรยากาศของธรรมชาติที่เป็นความพยายามสร้างบรรยากาศแห่งการพักผ่อนแยกขาดจากโรงงาน ทำให้บ้านซึ่งตั้งอยู่บนเส้นแบ่งระหว่างพื้นที่ส่วนตัวและพื้นที่ทำงานกลายเป็นโลกอันแสนสงบของครอบครัว โดยมีธรรมชาติและงานออกแบบเป็นเครื่องมือนั่นเอง ออกแบบสถาปัตยกรรม: BLOOM Architectureออกแบบภูมิสถาปัตยกรรม: Tropi-green Landscapingภาพ: Robert Kleinerเรียงเรียง: Kangsadan K. อ่านเพิ่มเติม ATELIER KAMPOT รีโนเวทตึกแถว กัมพูชา สไตล์โคโลเนียลทรุดโทรม […]

TNOP House บ้านตากอากาศ เสพวิวลดหลั่นในชนบทเชียงราย

บ้านต่างจังหวัด ใช้ตากอากาศหลังนี้ เป็นของกราฟิกดีไซน์เนอร์ที่มีความต้องการสร้างบ้านพักตากอากาศเป็นของตนเอง เพื่อค้นหาแรงบันดาลใจใหม่ ๆ ในการทำงาน และสำหรับไว้ใช้พักผ่อนหนีความวุ่นวายจากเมืองใหญ่ สู่อ้อมกอดของธรรมชาติในเมืองแห่งขุนเขา DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: IS Architects โดยเจ้าของได้เลือกทำเลสร้าง บ้านต่างจังหวัด ที่ค่อนข้างท้าทายอยู่ไม่น้อย กับสถานที่ซึ่งตั้งอยู่ติดกับทางหลวง และมีลักษณะเป็นเนินเขาลาดเอียงจากทิศตะวันออกไปตะวันตก กับวิวที่มองเห็นทุ่งนาสีเขียวในฤดูฝนก่อนจะเปลี่ยนเป็นรวงข้าวสีทองในฤดูหนาวเพื่อรอการเก็บเกี่ยว เปรียบเสมือนภาพวาดศิลปะแนวธรรมชาติที่มีชีวิต แม้สถานที่จะเป็นทำเลน่าประทับใจ แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีอุปสรรคให้สถาปนิกจาก IS Architects ในการออกแบบสถาปัตยกรรมเพื่อลดอุปสรรคด้านการใช้งานอาคารที่ต้องมาพร้อมกับความสวยงาม ความปลอดภัย สอดประสานการอยู่อาศัยในรูปแบบสมัยใหม่เข้ากับวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม เนื่องจากตัวบ้านต้องตั้งอยู่ตามลักษณะของเนินดินที่มีความลาดชันสูง แนวอาคารจึงต้องขนานไปกับระดับความลาดชัน เพื่อควบคุมงานโครงสร้างไม่ให้เกิดความซับซ้อนในด้านวิศวกรรม แล้วจัดเรียงฟังก์ชันตามลำดับความสำคัญ จากทางเข้าหลักสิ่งแรกที่จะได้พบเห็น ก็คือสวนเล็ก ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการอยู่ติดกับถนนทางหลวง การวางตำแหน่งของอาคารจึงต้องออกแบบให้เว้นระยะห่างประมาณ 1 เท่าของความสูงอาคาร แล้วเว้นพื้นที่ไว้ให้กับงานออกแบบภูมิทัศน์และการปลูกต้นไม้ เพื่อช่วยกรองมลภาวะทางเสียงและฝุ่นควัน และทำหน้าที่ยืดระยะทางการเดินเข้าสู่ตัวบ้าน ปรับสภาวะจิตใจก่อนเข้าสู่พื้นที่ภายในบ้าน พร้อมกันนั้นยังสร้างกำแพงแนวยาวช่วยให้เกิดความเป็นส่วนตัวจากภายนอก และบังคับทิศทางลมในการนำพากลิ่น หรือควันจากการทำอาหารให้พัดออกไปตามทิศทางลมประจำถิ่น ช่วยไม่ให้รบกวนพื้นที่อยู่อาศัย นับเป็นการใช้ลมธรรมชาติให้เป็นประโยชน์เกิดสุขภาวะที่ดี ด้านการออกแบบทางสัญจรของบ้าน มีทั้งบันไดด้านนอกที่สามารถเดินลงมายังพื้นที่สวนหลังบ้านได้เลยโดยไม่ต้องเดินผ่านภายในบ้าน สำหรับทางสัญจรในบ้านสถาปนิกได้วางตำแหน่งเส้นทางสัญจรทั้งทางราบและทางสัญจรทางตั้งให้สัมพันธ์กัน โดยมีบันไดทอดยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ แล้วขึ้นไปยังชั้น 2 โดยมีการออกแบบพื้นที่ไว้เพื่อให้ความรู้สึกคล้ายกับทางเดินในห้องจัดแสดงงานศิลปะ เป็นพื้นที่สำหรับพักความรู้สึกต่าง ๆ สู่การพักผ่อนที่ต้องการความสงบนิ่ง […]

House 3.5 x 7 บ้านหน้าแคบ สานสัมพันธ์ ด้วยพื้นที่กิจกรรมโปร่งสบาย

บ้านหน้าแคบ ขนาด 5 ชั้น ในกรุงโฮจิมินห์ ที่มีรูปลักษณ์แสนคับแคบเมื่อมองจากภายนอก แต่ภายในกลับโปร่งโล่งโอบอุ้มสมาชิกทั้ง 4 คน ให้สามารถใช้ชีวิตส่วนตัวอย่างมีความสุข ขณะเดียวกัน บ้านหน้าแคบ หลังนี้ ยังได้สร้างพื้นที่ผ่อนคลายให้ทุกคนในครอบครัวได้มานั่งจิบชาและกาแฟร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนบทสนทนา ทั้งยังสามารถมีปฏิสัมพันธ์มองเห็นทุก ๆ คนในบ้านผ่านสเปซที่เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งบรรยากาศที่แสนอบอุ่นเหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดโดย Story Architecture สตูดิโอออกแบบสัญชาติเวียดนาม บนที่ดินขนาด 59.5 ตารางเมตร กว้าง 3.5 เมตร ลึก 17 เมตร ตามชื่อบ้าน ที่นี่ได้รับการออกแบบให้เป็นบ้านขนาด 5 ชั้น เพื่อให้เพียงพอต่อการบรรจุฟังก์ชันแก่สมาชิกทุก ๆ คน มีทั้งพื้นที่ส่วนตัวอันประกอบด้วยห้องนอน 3 ห้อง รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางที่เชื่อมให้ทุกคนได้พบปะและทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ห้องครัว และห้องรับประทานอาหาร ห้องรับแขก สระว่ายน้ำ และห้องสักการะบรรพบุรุษ นอกจากนี้ บ้านก็จำต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกอย่าง ลิฟต์ ที่ติดตั้งให้สามารถเดินทางขึ้น-ลงบ้านได้ โดยการจัดสัดส่วนให้บ้านมีพื้นที่ใช้สอยเหล่านี้ทั้งหมด นับว่าเป็นเป็นโจทย์ที่ท้าทายไม่น้อยสำหรับสถาปนิกที่ต้องแทรกไอเดียลงไปในบ้านหน้าแคบหลังนี้ แนวคิดหลักของการออกแบบ […]

Lasalle House ออกแบบบ้านแคบให้น่าอยู่ เรียบง่าย สไตล์โมเดิร์น

ออกแบบ บ้านแคบ ให้น่าอยู่ บนที่ดินแค่ 37 ตารางวา หรือ 17X8 เมตร ในย่านลาซาล หลังนี้ ได้รับการออกแบบโดยสตูดิโอ VILAA ที่มาพร้อมโจทย์ด้านฟังก์ชันและการสร้างบรรยากาศที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์เจ้าของบ้าน เหมาะสำหรับการใช้ชีวิตที่ยืดหยุ่นและสามารถสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีได้แม้ในพื้นที่จำกัด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: STUDIO VILAA บ้านโมเดิร์นดีไซน์เรียบง่ายทรงกล่องสีขาว 2 ชั้น มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 180 ตารางเมตร กับวางตำแหน่งพื้นที่อยู่อาศัยตามฟังก์ชัน โดยชั้นล่างออกแบบให้เป็นพื้นที่พับลิคเชื่อมต่อกันระหว่างห้องนั่งเล่น พื้นที่รับประทานอาหารและครัวในลักษณะโอเพ่นแปลน สามารถรองรับกลุ่มเพื่อน ๆ นักดนตรีที่มักแวะเวียนมาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ เนื่องจากตั้งอยู่ติดกับถนนใหญ่ แต่ยังต้องการความเป็นส่วนตัว จึงออกแบบให้มีพื้นที่คอร์ตขนาดเล็กตรงกลางบ้าน โดยอยู่ตรงตำแหน่งหลังแนวรั้วที่สร้างจากอิฐลอนวัสดุธรรมดาแบบบ้านสมัยก่อน เพื่อสร้างความรู้สึกแตกต่างจากฟอร์มของบ้านสีขาวที่เรียบคลีน การออกแบบให้มีพื้นที่คอร์ตเป็นอีกวิธีหนึ่งทีช่วยเพิ่มความโปร่งให้บ้านแล้ว แถมยังช่วยให้พื้นที่ภายในได้รับแสงจากมุมที่เป็นส่วนตัว โดยที่หน้าต่างและช่องเปิดของบ้านออกแบบให้หันเข้าหาคอร์ตพอดี มีไม้ยืนต้นคอยสร้างร่มเงาและลดความร้อนจากแสงแดดในทิศตะวันตกที่กระทบกับบ้านในช่วงบ่าย แถมยังช่วยเสริมความเป็นส่วนตัวให้กับห้องนอน ตัวบ้านดูแปลกตาตัดขอบชั้นบนด้วยแนวโค้งขนาดใหญ่ ทำให้บ้านมีความนุ่มนวล ไม่เป็นรูปทรงกล่องแข็งกระด้างเกินไป แถมยังเสริมมิติของแสงเงาที่เปลี่ยนแปลงไปตามเวลาของวัน เมื่อก้าวเข้าสู่ภายในจะพบว่าได้แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ฝั่ง คือส่วนพื้นที่นั่งเล่น และส่วนรับประทานอาหารกับครัวที่จัดแบบโอเพ่นแปลน โดยไม่มีผนังกั้นระหว่างพื้นที่ดังกล่าว การใช้พื้นที่แบบนี้ช่วยให้บ้านดูโล่งและใช้งานได้หลากหลาย ในส่วนของครัวมีเพียงแพนทรี่เล็ก ๆ และโต๊ะรับประทานอาหารที่เพียงพอต่อการใช้งาน ส่วนพื้นที่ด้านข้างบ้านได้ขยับผนังไปชนขอบ […]

Forest Villa บ้านโมเดิร์น กลางธรรมชาติ ที่พลิกมุมมองการอยู่อาศัยของครอบครัวจีนยุคใหม่

บ้านโมเดิร์น กลางธรรมชาติ ตั้งอยู่ย่านชานเมืองเหอเฝย์ (Hefei) เมืองหลวงของมณฑลอานฮุย (Anhui) ทางฝั่งตะวันออกของจีน โดยที่ตัวบ้านอยู่ไม่ไกลนักจากวนอุทยานแห่งชาติต้าซู (Dashu Mountain National Forest Park) จึงโอบล้อมด้วยบรรยากาศธรรมชาติของเทือกเขาหวงซานอันงดงามราวภาพวาด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: HAS design and research กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ทีมสถาปนิกจาก HAS design and research (HAS) สร้างสรรค์พื้นที่อยู่อาศัย ที่สะท้อนวิถีชีวิต และจิตวิญญาณแห่งวัฒนธรรมจีนในยุคสมัยใหม่ได้อย่างน่าสนใจ บ้านโมเดิร์นกลางธรรมชาติ สร้างประสบการณ์ที่แตกต่างด้วยพื้นที่เปลี่ยนผ่าน จากบ้านสำเร็จรูปเดิมมี 3 ชั้น พร้อมชั้นใต้ดินอีก 2 ชั้น ได้รับการออกแบบใหม่ให้รองรับการอยู่อาศัยของครอบครัวขนาดกลาง โดยมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใช้สอยโดยอิงกับโครงสร้างเดิม ภายใต้โจทย์ที่ต้องการหลอมรวมภูมิประเทศธรรมชาติโดยรอบให้เชื่อมโยงกับสเปซภายใน ผนวกกับแรงบันดาลใจจากบ้านจีนโบราณ ที่มักมีพื้นที่เปลี่ยนผ่าน เช่น โถงหรือคอร์ตก่อนจะเข้าสู่พื้นที่ใช้สอย สถาปนิกจึงให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่เปลี่ยนผ่านหรือเชื่อมต่อ (transition space) ระหว่างพื้นที่ใช้สอยต่าง ๆ โดยใช้องค์ประกอบหลักอย่างเปลือกหุ้มอาคาร (shell) ช่องทางเดิน (hole) และช่องเปิด (void) […]

Yellow House บทกวีที่เรียกว่า “บ้าน”

Yellow House บ้านที่ออกแบบสร้างเพื่อเชื่อมโยงบริบทโดยรอบสู่การใช้ชีวิต โดยคงไว้ซึ่งลักษณะของพื้นที่ รวมถึงต้นไม้ดั้งเดิม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: JOYS Architects บ้าน Yellow House หลังนี้ เป็นเสมือนเป็นภาคต่อของ Yellow Submarine และ Yellow Mini คาเฟ่เรียบเท่ในพื้นที่เขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา นั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ต้องมีการออกแบบที่ทั้งเปิดรับบริบทธรรมชาติโดยรอบเพื่อการอยู่อาศัยที่ดี แต่ก็ยังต้องสร้างความเป็นส่วนตัวจากพื้นที่คาเฟ่ไปพร้อมกัน โดยได้รับการออกแบบที่เน้นการเปิดรับธรรมชาติผ่านมุมมองทางสถาปัตยกรรมในหลากรูปแบบ ซึ่งล้วนแต่งดงามดั่งบทกวีที่เรียงร้อยขึ้นด้วยสถาปัตยกรรม จัดวางธรรมชาติร่วมกับการอยู่อาศัย การออกแบบบ้านในระบบกริดตาราง ทำให้บ้านหลังนี้มีการจัดวางพื้นที่อยู่อาศัย สลับกับคอร์ตที่แตกต่างไปในแต่ละส่วน บ้างก็เป็นสวน บ้างก็เป็นต้นไม้ เนินดิน หรือสระน้ำ คอร์ตเหล่านี้จัดวางทั้งสี่ทิศของผังอาคาร ทำให้ในทุกห้องที่เหลือ สามารถมองเห็นทิวทัศน์ และรับบรรยากาศในแต่ละคอร์ตได้อย่างทั่วถึง โดยมีห้องนอนที่ส่วนกลางบ้านเป็นห้องที่รับวิวทุกคอร์ตได้ในห้องเดียว บ้านเล่นระดับร่วมกับธรรมชาติ ตัวบ้านเลือกที่จะอยู่ร่วมกับระดับที่ต่างกันของผืนที่ดินแต่เดิม โดยไม่ได้ปรับเปลี่ยนระดับของพื้นที่มากนัก ขั้นตอนการออกแบบจึงต้องทำการบ้านกับระดับที่ต่างกันไปในแต่ละส่วน เป็นผลให้ทั้งช่องเปิด หรือการใช้งานมีลักษณะเฉพาะที่น่าสนใจ แทบไม่ซ้ำกันในแต่ละส่วนเลย ร่องรอยที่เชื่อมโยงภายนอกและภายใน เมื่อพิจารณาถึงวัสดุของบ้านหลังนี้ คอนกรีตเปลือย และไม้ ทำหน้าที่เป็นเหมือนภาพสะท้อนบริบท หิน และต้นไม้โดยรอบ หากแต่คือการแปรความผ่านภาษาทางสถาปัตยกรรม โดยถูกกำหนดหน้าที่ใช้งานทั้งโครงสร้าง หรือองค์ประกอบที่กลายเป็นผนัง […]

Sherutā 108 บ้านเปิดโปร่ง ออกแบบอย่างเรียบง่าย ดื่มด่ำ ธรรมชาติ ผ่านบ้านกระจกใส

บ้านเปิดโปร่ง ออกแบบอย่างเรียบง่าย ให้ผู้อยู่ได้เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติรอบตัว ผ่านผนังกระจกใส DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INLY STUDIO บ้านตากอากาศ ที่อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบโดย INLY STUDIO ที่เจ้าของต้องการสร้างเป็นบ้านหลังที่สองสำหรับพักผ่อน ที่อยู่ห่างออกมาจากตัวเมือง อีกทั้งยังออกแบบเพื่อรองรับการเปิดให้คนภายนอกได้เข้ามาพักในรูปแบบ Air Bnb เพื่อเปิดประสบการณ์สุดพิเศษ ณ สถาปัตยกรรม บ้านกระจกใส กลางพื้นที่โล่งรายล้อมด้วยภูเขา ซึ่งออกแบบมาให้สัมผัสธรรมชาติได้อย่างเต็มอิ่ม ชื่อ Sherutā 108 มีที่มาจากคำว่า Shelter ในภาษาอังกฤษ หมายถึง หลุมกลบภัย หรือที่ซ่อนตัว สถาปนิกได้ตีความการออกแบบบ้านจากแนวคิดนี้ ต่อยอดเป็นอาคารที่ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นที่พักได้มาหลบซ่อนตัวจากตัวเมือง เพื่อผ่อนคลายท่ามกลางบรรยากาศธรรมชาติของภูเขาที่อำเภอแม่ออน บริบทรอบข้างอาคารรายล้อมด้วยภูเขาและแปลงเกษตรและภูเขา มีบ่อน้ำเดิมที่ขุดไว้แล้วตั้งอยู่ด้านข้าง ที่ดินซึ่งมีลักษณะเป็นลานโล่งกว้าง เปิดรับวิวน้ำ และภูเขาที่อยู่ห่างออกไปทำให้เกิดความรู้สึกเปิดโล่ง สถาปนิกจึงออกแบบทรงอาคารเป็นแนวราบ ให้สอดคล้องไปกับบริบทรอบข้าง ที่เป็นแปลงเกษตร ซึ่งทั้งหมดเป็นแนวราบ ไม่มีอาคารแนวตั้งอยู่ในพื้นที่เลย จึงออกแบบอาคารลักษณะราบขนาบไปกับพื้นดิน และยังให้ความรู้สึกของที่น่าพักผ่อน สงบ ผ่อนคลาย ด้วยความที่อยู่ใกล้ชิดติดกับผืนดิน อาคารมีการยกสเต็ปขึ้นมาจากพื้นดิน ให้รู้สึกว่าอาคารตั้งลอยอยู่จากพื้น ลดทอนความหนักแน่น ทำให้อาคารดูเบาและบางลง […]

House C กึ่งกลางระหว่างธรรมชาติกับพื้นที่ส่วนตัว

จะเป็นอย่างไรเมื่อ “บ้าน” อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และผืนดินอย่างแท้จริง นี่คือ บ้านเชียงใหม่ ที่ตั้งใจสัมผัสธรรมชาติอย่างไร้รอยต่อ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Bangkok Tokyo Architecture House C บ้านเชียงใหม่ หลังนี้ เกิดขึ้นจากความต้องการของเจ้าของบ้านที่อยากให้การอยู่อาศัยนั้นมีอิสระ และผสานเข้ากับความเป็นธรรมชาติโดยรอบผ่านองค์ประกอบเรียบง่ายของตัวอาคาร บ้านหลังนี้มีห้องรับแขกที่พื้นเป็นดินอัด มีห้องทุกห้องที่เห็นกันได้หมด มีโครงสร้างที่แทบไร้การปรุงแต่ง และนั่นคือหน้าที่ของสถาปัตยกรรมที่เลือกจะทำหน้าที่ในการเป็นที่อยู่อาศัยที่ปรุงแต่งน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้อย่างถึงที่สุด บ้านหลังนี้มีโจทย์ตั้งแต่แรกเริ่มคือการออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยผสานไปกับธรรมชาติโดยรอบ การออกแบบโครงสร้างทั้งหมดจึงถูกคิดขึ้นโดยไม่ยัดเยียดองค์ประกอบที่มาจนไปกลบความสัมพันธ์โดยรอบเกินไป ทั้ง ผืนดิน ร่มไม้ สัตว์น้อยใหญ่ และธรรมชาติโดยรอบล้วนเป็นองค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรมหลังนี้ด้วยเช่นกัน เป็นที่อยู่อาศัยที่สามารถปรับตัวไปตามสภาวะอากาศได้ ด้วยความเรียบง่ายของโครงสร้าง และความยืดหยุ่นของผังการใช้งานอาคาร บ้านหลังนี้จึงช่วยสร้างความเป็นไปได้ที่น่าสนใจให้การใช้ชีวิตของผู้อยู่อาศัย เรียงร้อยไปกับสิ่งแวดล้อมโดยรอบตามที่ตั้งใจไว้ เพราะเมื่อมองจากภายนอก บ้านหลังนี้จะดูแอบซ่อนเรียบเกลี้ยงเหมือนกล่องที่ถูกปิดไว้ แต่เมื่อเปิดผนังที่ทำหน้าที่เป็นประตูใหญ่ออก พื้นดินลานกลางบ้าน แม่น้ำ ธรรมชาติ และถนนจะต่อเชื่อมหลอมรวมเป็นพื้นที่เดียวกันอย่างไร้รอยต่อเลยทีเดียว ห้องรับแขก หรือพื้นที่อเนกประสงค์ ณ ลานกลางบ้าน อาจเรียกได้ว่าเป็น Gathering Space ตามศัพท์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ และในบ้านหลังนี้นั้น พื้นที่ระหว่าง สองปีกของตัวบ้าน คือพื้นดินที่ใช้เทคนิคการอัดดินให้กลายเป็นชานบ้านแบบญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า โดมะ พื้นดินนี้เป็นทั้งห้องรับแขก […]

S Wall House รีโนเวตบ้างครึ่งตึกครึ่งไม้ย่านลาดพร้าวให้กลายเป็น บ้านโมเดิร์นลอฟท์

บ้านโมเดิร์นลอฟท์ หลังนี้ ได้เก็บโครงสร้างเดิมไว้ ทั้งคอนกรีต และไม้บางส่วน เพื่อนำมาใช้บอกเล่าเรื่องราวที่ยังคงดำเนินต่อไป เพราะเดิมทีบ้านหลังนี้เป็นบ้านที่คุณพ่อของเจ้าของบ้านได้ออกแบบสร้างเอาไว้ โดยยังคงไว้ซึ่งโครงสร้างตามที่คุณพ่อเคยก่อสร้าง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ : Collage Design Studio การรีโนเวท บ้านโมเดิร์นลอฟท์ หลังนี้ จึงเปรียบเสมือนการคงไว้ซึ่งจิตวิญญาณดั้งเดิมของบ้านเอาไว้ ก่อนจะนำพาสู่บทใหม่ด้วยการออกแบบตกแต่งและปรับเปลี่ยนการใช้งานในหลาย ๆ ส่วน แนวทางการปรับปรุง คือการผสานกลิ่นอายร่วมสมัยเข้ากับโครงสร้าง สร้างที่พักอันทันสมัยสำหรับเจ้าของบ้าน พร้อมด้วยสระว่ายน้ำ และบาร์กลางแจ้งสำหรับการสังสรรค์ จึงทำให้การปรับบ้านหลังนี้ เป็นบ้านล้อมคอร์ตซึ่งเป็นสระว่ายน้ำ มีใต้ถุนเป็นพื้นที่ที่สามารถเปิดหากันได้ตลอด ส่วนชั้นบนก็ยังคงความเป็นส่วนตัวอย่างที่ต้องการ ในด้านองค์ประกอบโครงสร้างนั้น ผู้ออกแบบได้เลือกใช้โครงไม้ดั้งเดิมที่ส่วนใหญ่ยังคงสภาพสมบูรณ์อย่างน่าทึ่ง โดยมีแผ่นพื้นกว้างและทนทานซึ่งหาได้ยากในปัจจุบัน ด้วยการใช้โอกาสในการอนุรักษ์องค์ประกอบอันเป็นที่รักเหล่านี้ จึงตัดสินใจย้ายบันไดออกไปด้านนอก และเปลี่ยนสำนักงานเก่าที่ทรุดโทรมของคุณพ่อให้กลายเป็นบริเวณสระว่ายน้ำ เมื่อการรื้อถอนเริ่มต้นขึ้นก็มีสิ่งปรากฏออกมา นั่นคือเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็กคงสภาพแข็งแรง ซึ่งออกแบบโดยผู้เป็นพ่อเอง โดยมีทั้งความทนทาน และเต็มไปด้วยร่องรอยของเรื่องราวในอดีต ด้วยแรงบันดาลใจจากการค้นพบที่ไม่คาดคิด การออกแบบจึงพัฒนาเพื่อรวมองค์ประกอบของโครงสร้างดั้งเดิม โดยมีสระว่ายน้ำอยู่ใต้ส่วนโค้งอันสง่างาม ในส่วนของความเป็นส่วนตัว อันเป็นที่มาของชื่อบ้านนั้น เกิดจากข้อกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวกระตุ้นให้เกิดการสร้างแนวกั้นป้องกัน ซึ่งเป็นแนวกำแพงที่เพิ่มขึ้นจากส่วนที่เหลือของสำนักงานเดิม ผนังไฟเบอร์ซีเมนต์พับเก็บอย่างสวยงามเป็นรูปตัวเอส (s) พร้อมปกปิดและเปิดเผยให้เห็นในคราวเดียวกัน ทำหน้าที่เป็นสัญลักษณ์ด้านหน้าบ้านสำหรับบ้านที่มีชีวิตชีวา พาร์ทิชั่นคดเคี้ยวนี้แบ่งพื้นที่ในขณะที่ช่วยเสริมการเชื่อมต่อ โดยผสมผสานระหว่างความเก่ากับใหม่ ผนังชั้นล่างเป็นอิฐและปูนฉาบแข็งในสมัยก่อน ช่วยให้พื้นที่อยู่อาศัยเปิดโล่งและสว่าง […]

PG HOUSE ผืนฟ้า ขุนเขา และประติมากรรมที่เรียกว่า บ้าน

ทุกวันอันแสนรื่นรมย์ เมื่อได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติของเขาใหญ่ ที่บ้าน ทั้งหลังยังออกแบบมาอย่างหมดจด ไม่ต่างอะไรกับงานศิลป์ประติมากรรมที่อยู่อาศัยได้กับ PG HOUSE หลังนี้ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: AAd – Ayutt and Associates Design  บ้านเขาใหญ่ หลังนี้ มีโจทย์เริ่มต้นจากความต้องการในการสร้างเรือนสำหรับงานอดิเรกเพิ่มขึ้นอีกหลังในที่ดินเดิมของเจ้าของบ้าน การสะสมรถซุปเปอร์คาร์ งานศิลปะ สตูดิโอสำหรับซ้อมเต้น และมิกซ์เพลง รวมทั้งยังเป็นเหมือนห้องรับแขกไปในตัวอีกด้วย และนั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ มีความพิเศษที่แตกต่างอย่างลงตัว ซุปเปอร์คาร์และงานศิลป์ท่ามกลางทิวเขา “เราตั้งใจให้การขับรถเข้ามานั้น จะรู้สึกว่าได้เข้ามาจอดท่ามกลางวิวทิวเขา ในบรรยากาศที่พิเศษ ในพื้นที่พิเศษ” นั่นจึงทำให้บ้านหลังนี้ดูแตกต่างจากความเป็นอู่รถ หรือโชว์รูม แต่คือเวทีที่รถทุกคันจะได้มีพื้นที่พิเศษของตัวเอง การเปิดพื้นที่วิวรับกับจุดจอดรถแต่ละคันล้วนถูกคิดคำนึงมาเป็นอย่างดี ทั้งการให้แสง และจังหวะของการจอดก็เช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองบ้านหลังนี้จึงต้องใส่ใจกับความเป็นศิลป์ในพื้นที่เป็นพิเศษ เพื่อให้ในทุกจังหวะของมุมมอง สามารถเชื่อมโยงความชอบ บ้านสีดำที่รับเอาวิวทิวทัศน์เข้าไว้กับตัว สังเกตได้ว่า การออกแบบบ้านหลังนี้มีการใช้สีในโทนมืดมากกว่าสว่าง ซึ่งสาเหตุที่เลือกใช้โทนดำเป็นหลักก็เพื่อให้บรรยากาศภายในบ้านนั้น ไม่รบกวนทิวทัศน์โดยรอบของบ้านหลังนี้ เมื่อมองจากภายในสู่ภายนอก ทัศนียภาพโดยรอบจึงมีความสว่างมากกว่าพื้นที่ภายใน อีกทั้งการที่บ้านมีการเปิดรับมุมมองในรอบทิศทางด้วยกระจกใส หากตกแต่งด้วยโทนสว่างอาจทำให้แสงสว่างที่เข้าสู่ภายในเจิดจ้าจนเกินสภาวะน่าสบายได้ โทนสีดำนี้จึงเป็นเหมือนการคุมความสบายให้อยู่ในระดับที่พอดีไปพร้อมกัน นอกจากนี้ การที่พื้นที่ภายในออกแบบให้เป็นโทนดำ ยังทำให้เมื่อมองจากภายนอกแล้ว วิวเขาจะเกิดการสะท้อนกับอาคาร เป็นทั้งการนำธรรมชาติเข้ามาไว้กับอาคาร และยังช่วยพรางขนาดของอาคารให้กลมกลืนไปกับบริบทธรรมชาติได้เป็นอย่างดีอีกด้วย […]

BLOCK WALL HOUSE บ้าน บล็อกช่องลม กลางป่า ที่สร้างด้วยคอนกรีตรักษ์โลก

บ้านบล็อกช่องลม ช่วยโลก จาก nendo เมื่อบ้านของเราสร้างจากวัสดุที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์เอาไว้ได้! นี่คือบ้านท่ามกลางธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นแบบของวัสดุก่อสร้างที่ยั่งยืนแห่งอนาคตอันใกล้ บล็อกช่องลมที่สร้างจากวัสดุ CO2-SUICOM จำนวน 2,050 ก้อน ได้รับการนำมาใช้ในการสร้างแนวผนังของบ้านหลังนี้ โดยวัสดุนี้เป็นส่วนผสมครึ่งต่อครึ่งระหว่างปูนซีเมนต์กับวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะสร้างให้เกิดกระบวนการดักจับ CO2 ในขั้นตอนของการแข็งตัวของซีเมนต์ เป็นผลให้วัสดุ CO2-SUICOM สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อนได้เป็นอย่างดี โดยวัสดุนี้เป็นการพัฒนาที่เกิดจากความร่วมมือของบริษัท Kajima, The Chugoku Electric Power Co., Denka, และ Landes Co. จนเกิดเป็นคอนกรีตที่สามารถดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ได้เป็นครั้งแรกของโลก บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในจังหวัดนากาโนะ ประเทศญี่ปุ่น ท่ามกลางธรรมชาติอันไร้ซึ่งสิ่งรบกวน ความโดดเด่นของบ้านหลังนี้ คือแนวผนังที่ใช้อิฐบล็อกก่อเป็นบล็อกช่องลมที่มีการหันแนวช่องเปิดแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงของอาคาร สัมพันธ์ไปกับรูปแบบการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ทั้งยังช่วยพรางอาคารทั้งหลังให้กลมกลืนไปกับผืนป่ารอบด้านได้อย่างดี ช่องเปิดเหล่านี้ เป็นตัวกำหนดมุมมอง และแนวลมที่ไหลผ่านตัวบ้านไปพร้อมกัน ในส่วนที่ต้องการความเป็นส่วนตัวจะมีแนวกำแพงซ้อนกันสองชั้นเพื่อให้มุมมองที่ดูเหลื่อมซ้อนกัน สร้างให้เกิดความจำเพาะของตำแหน่งที่มองทะลุผ่านได้ แม้จะช่วยปิดกั้นสร้างความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังรู้สึกปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด แม้วัสดุ CO2-SUICOM ที่นำมาใช้ก่อสร้างบ้านหลังนี้ ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา แต่คาดว่าจะสามารถออกสู่ท่องตลาดได้จริงก่อนปี 2030 อย่างแน่นอน […]

บ้านล้อมคอร์ต ที่สร้างพื้นที่รื่นรมย์ด้วยไม้ใหญ่ และกำแพงช่องลม

บ้านล้อมคอร์ต ชานเมืองที่เลือกสร้างพื้นที่ส่วนตัวล้อมสวนทรงชะลูดที่ทำงานกับการอยู่อาศัยในแนวสูงได้เป็นอย่างดี DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: INchan atelier บ้านหลังนี้ ออกแบบโดย INchan Atelier เป็นบ้านขนาด 4 ชั้น ที่สร้างบนที่ดินติดกับบ้านของพ่อแม่เจ้าของบ้าน ด้วยลักษณะพื้นที่เป็นที่ดินจัดสรรย่านชานเมืองทำให้ต้องคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวของการอยู่อาศัยเป็นพิเศษ แต่ก็ยังต้องสร้างความรู้สึกปลอดโปร่ง สบายตา ไม่อึดอัดทึบตันให้แก่ผู้อยู่อาศัยไปพร้อมกันด้วย โดยผู้ออกแบบได้เลือกใช้บล็อกช่องลมในการสร้างพื้นที่กึ่งปิดเพื่อให้เกิดเป็นคอร์ตสวนทรงชะลูดที่กลางบ้าน และแจกพื้นที่สีเขียวไปยังทุกส่วนของบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ โครงสร้างที่ก่อตัวขึ้นสูงจากพื้นจนถึงชั้น 3 เป็นกรอบคอนกรีตที่ช่วยพยุงรับบล็อกช่องลมที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ บล็อกเหล่านี้มีสองรูปแบบความทึบด้วยกัน ปรับใช้ตามแต่การเปิดรับแสง และความต้องการความเป็นส่วนตัวที่แตกต่างกัน ในด้านหน้าของบ้านนั้น จะเป็นบล็อกที่มีขีดกลางคั่น ส่วนด้านติดกับบ้านของพ่อแม่จะเป็นบล็อกจัตุรัสที่โปร่งกว่า ขอบกำแพงที่เกิดจากบล็อกช่องลมนี้ ช่วยสร้างให้เกิดความเป็นส่วนตัวได้อย่างดีสำหรับผู้อยู่อาศัย ไม่รู้สึกประจันกับเพื่อนบ้านมากจนเกินไป ทั้งยังเป็นมิตรกับบริบทโดยรอบมากกว่ากำแพงทึบตันในขณะเดียวกัน นอกจากนี้ การออกแบบที่เลือกใช้กำแพงโปร่งอย่างบล็อกช่องลม ยังมีประโยชน์ในการเปิดให้แสงแดดเข้าถึงสวนที่ภายในได้มากอีกด้วย ทำให้พื้นที่สีเขียวมีระบบนิเวศที่สามารถเติบโตได้ และยังเปิดรับลมในทิศทางที่เหมาะสมตามความโปร่งทึบของบล็อกแต่ละด้าน เป็นการออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยแบบ Passive Climate ที่ดีไปพร้อมกัน จุดเด่นและความสะดุดตาของบ้านหลังนี้ อยู่ที่ภายใน เพียงเดินผ่านแนวกำแพงบล็อกช่องลมเข้ามา เราจะได้พบกับสวนเล่นระดับที่มีไม้ใหญ่คือต้นขานาง ที่สูงชะลูดตั้งแต่ชั้น 1 จนถึงดาดฟ้าที่ชั้น 4 เลยทีเดียว นอกจากการวางผังของสวนที่เอื้อต่อความเชื่อมโยงของบ้านหลังนี้ และบ้านของพ่อแม่แล้ว พื้นที่สีเขียวเหล่านี้ยังช่วยสร้างความเป็นส่วนตัว และความรู้สึกของพื้นที่เฉพาะสำหรับสมาชิกแต่ละคนในบ้านได้เป็นอย่างดี […]

Nhanh Lan Rung House รีโนเวทบ้าน สู่ความอิสระ ปลอดโปร่ง แม้อยู่ในตึกแถว

รีโนเวทบ้าน ขนาดกะทัดรัด ตอบโจทย์สมาชิกในบ้านทั้ง 4 คน แบบครบทุกฟังก์ชัน ให้ความรู้สึกเป็นอิสระ ปลอดโปร่ง แม้อยู่ในบ้านตึกแถว โปรเจ็กต์ รีโนเวทบ้าน พักอาศัย ในเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ให้ตอบโจทย์สมาชิกในบ้าน น้องแมว และคุณยายที่แวะมาเยี่ยมเยือนนอนพักกับลูกหลานในบางครั้งคราว ภายใต้บริบทของความเป็นบ้านตึกแถวที่มีความแคบลึก และทำเลที่ต้องหันหน้ารับแดดบ่ายทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ จากปัญหาความร้อน และพื้นที่คับแคบดังกล่าว จึงนำมาสู่การออกแบบเพื่อแก้ไขช่วยปรับเปลี่ยนบ้านให้น่าอยู่ มีพื้นที่เพียงพอต่อการใช้งาน ทั้งยังต้องระบายอากาศ และรับแสงสว่างได้อย่างดี T H I A architecture จึงพยายามกำหนดทิศทางการออกแบบบ้านร่วมกับเจ้าของ เพื่อให้บ้านหลังนี้เป็นบ้านในฝันอย่างที่ต้องการ เริ่มตั้งแต่หน้าบ้านที่แบ่งความต่างของแพตเทิร์นเปลือกอาคารเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกแบ่งเป็นส่วนของประตูบ้านที่กรุด้านหลังโครงเหล็กสีขาวด้วยแผงเหล็กเจาะรู สำหรับพรางสายตาจากคนที่เดินผ่านไปมา แต่ยังยอมให้แสงและอากาศไหลผ่านเข้ามาด้านในได้ ส่วนข้างบนเป็นโครงสร้างระแนงเหล็กแนวตั้งที่ยึดกับโครงสร้างเดิม ออกแบบให้สูงจรดหลังคา มีประโยชน์เพื่อให้ไม้เลื้อยมีที่ยึดเกาะกลายเป็นฟาซาดธรรมชาติที่ทั้งสวยงาม บดบังสายตา ป้องกันแสงแดด และความร้อนได้ในอนาคต จากพื้นที่ระหว่างประตูเหล็กหน้าบ้านก่อนเข้าถึงพื้นที่ด้านใน ผู้ออกแบบได้เว้นช่องว่าง หรือลานเล็ก ๆ ไว้ให้แสงและอากาศสามารถไหลเวียนเข้าสู่พื้นที่ชั้น 1 ซึ่งประกอบด้วยส่วนนั่งเล่น ครัว และพื้นที่รับประทานอาหาร ก่อนคั่นพื้นที่ส่วนนี้กับห้องนอนคุณยายที่อยู่หลังบ้าน ด้วยคอร์ตยาร์ดที่เจาะเป็นช่อง […]

Ruen Lek เรือนเล็ก บ้าน และคาเฟ่แบบเรือนไทยโครงสร้างเหล็ก บรรยากาศโฮมมี่ในเมืองจันท์

Ruen Lek เรือนเล็ก  คือบ้าน คือออฟฟิศ คือคาเฟ่ของ Baan Lek Villa โฮมสเตย์ขนาดเล็กในเมืองจันท์ โดยคนจันท์ ออกแบบโดยสถาปนิกชาวจันท์ GLA Design Studio DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: GLA DESIGN STUDIO ‘Ruen Lek เรือนเล็ก‘ เป็นอาคารที่ออกแบบอย่างเรือนพื้นถิ่น มีการเปิดรับภูมิอากาศทรอปิคัลใต้ถุนสูง ถูกแทนที่ด้วยฟังก์ชันของคาเฟ่ ทำเพื่อรับแขกที่ไม่ได้มาค้างคืน ณ บ้านเล็กวิลล่า แต่อยากมาเสพบรรยากาศสบาย ๆ ของเมืองจันทบุรีในแบบชั่วครั้งชั่วคราว “อยากกลับไปบ้าน หอบงานไปทำแบบสบาย ๆ ในพื้นที่ที่เราออกแบบเอง ตอนแรกก็ทำบ้านเล็กวิลล่า แต่พอถึงเวลาก็เต็มตลอด รับแขกตลอด ก็เลยทำเรือนเล็กขึ้นมา ชั้นบนเป็นพื้นที่ส่วนตัวของเรา ส่วนชั้นล่างก็ให้น้องชายทำคาเฟ่ที่ตอบโจทย์กับแขกของบ้านเล็กวิลล่าไปพร้อมกัน” – รินระดา นิโรจน์ (สถาปนิก) บ้านบ้านที่ชอบในความทรงจำ ‘เรือนเล็ก’ ออกแบบชั้นล่างให้เป็นระดับเดียวกับพื้นดินของบริเวณโดยรอบ เช่นเดียวกับ บ้านเล็กวิลล่า ส่วนหนึ่งก็เพราะต้องการคงความเป็นใต้ถุนบ้านเอาไว้ แต่อีกส่วนหนึ่งก็เพื่อให้ภูมิสถาปัตยกรรม และสถาปัตยกรรมนั้นทำงานร่วมกัน เรือนทั้งสองหลังก่อให้เกิดพื้นที่ตรงกลาง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แขกที่มาคาเฟ่ชอบไปนั่งเล่น […]

WEL-D PAVILION ศาลาไทย-ญี่ปุ่น ห้องรับแขกของบ้าน ที่เป็นมากกว่าห้องรับแขก

พื้นที่พิเศษของบ้าน “ศาลา” อเนกประสงค์ ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องรับแขก ท่ามกลาง สวนญี่ปุ่น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Shadeworks Design อาคารชั้นเดียวท่ามกลาง สวนญี่ปุ่น โดดเด่นด้วยการเปิดรับธรรมชาติทั้งภายในและภายนอก เชื่อมโยงบึงน้ำและสวนญี่ปุ่นในบรรยากาศที่เหมาะกับการพักผ่อน ผ่านการเลือกใช้วัสดุและจังหวะของพื้นที่ภายใต้คอนเซ็ปต์ของการหลอมรวม หรือ “Weld” อันเป็นที่มาของชื่ออาคาร ซึ่งออกแบบโดย ShadeWorks Design และออกแบบสวนโดย Wabisabi Spirit แห่งนี้ นอกจากนี้ การออกแบบแกนของอาคารที่รับกับมุมมองสวน และการจัดวางผนังในแกนต่าง ๆ ยังสร้างให้เกิดวิวที่แตกต่างกันไปในแต่ละห้อง สัมพันธ์ไปกับองค์ประกอบสวนญี่ปุ่นที่บรรจงจัดวาง แม้จะเป็นสวนเดียวกันแต่ให้ความรู้สึกของเรื่องราวที่แตกต่าง ด้วยมุมมองที่เกิดขึ้นจากพื้นที่ที่ออกแบบให้สอดคล้องกันอย่างลงตัว การเปิดมุมมองของสวนและการจัดวางผนังของบ้านหลังนี้ไม่ทำให้เกิดความรู้สึกปิดกั้น ด้วยการออกแบบให้ธรรมชาติได้สอดแทรกเข้ามาในพื้นที่ของอาคารจนกลายเป็นจุดเด่น ทั้งยังออกแบบให้ด้านบนมีสกายไลท์ (Skylight) หลายส่วนของอาคาร ช่วยสร้างความรู้สึกไร้ขอบกั้นระหว่างความเป็นภายนอกกับภายใน เมื่อผสานกับการจัดวางผนังที่มีการเลือกผสานสวนขนาดเล็กเข้าไปด้วยกัน จึงทำให้ศาลาแห่งนี้สร้างความรู้สึกพิเศษในการเปิดรับธรรมชาติที่ไม่ใช่เพียงสายตา แต่ยังรวมไปถึงความรู้สึกดื่มด่ำและเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอีกด้วย ศาลาแห่งนี้มีฟังก์ชั่นคือการเชื่อม “ความสัมพันธ์” ระหว่างธรรมชาติกับผู้ที่พักอาศัยอยู่ในบ้านสองหลังที่กำลังขยับขยาย รองรับคนสามรุ่นของครอบครัวให้ได้มีเวลาร่วมกันในพื้นที่ และเวลาคุณภาพ ทั้งยังเป็นพื้นที่รับแขกได้ในตัวอีกด้วย แม้จะเป็นสวนญี่ปุ่น และอาคารที่ออกแบบตามแนวทางประเพณีนิยมของห้องแบบญี่ปุ่น แต่การออกแบบก็เลือกใช้โครงสร้างสมัยใหม่อย่างโครงสร้างเหล็ก และบานเปิดอะลูมิเนียมที่บางเบา จึงทำให้ผู้ออกแบบสามารถเลือกสร้างช่องเปิดที่ดูแทบจะไร้ขอบกั้นเพื่อการรับมุมมองสวนที่แตกต่างไปในแต่ละส่วนได้อย่างดี และเนื่องจากเจ้าของบ้านมีความชื่นชอบประเทศญี่ปุ่น มีงานอดิเรกคือการปลูกบอนไซและสะสมผลงานศิลปะ […]

LAAB is More บ้านธรรมดาที่แฝงความพิเศษ

ความธรรมดาอันแสนพิเศษ ของ บ้านชั้นเดียว ในจังหวัดเชียงใหม่ ที่ถูกห้อมล้อมด้วยญาติมิตร วิถีชีวิตเรียบง่ายแบบชนบท ด้วยภาษาสถาปัตยกรรมร่วมสมัย อย่างเป็นกันเองแบบ “บ้านบ้าน” DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Studio Sifah “ลาบ” ไม่ใช่แค่อาหารเหนือ แต่เป็นวิถีชีวิตของบ้านหลังหนึ่ง “LAAB is More” จึงเป็นเสมือนภาพตัวแทนของการตามหา “ความธรรมดา ที่เท่ เป็นพิเศษ” ด้วยชีวิตด้านหนึ่งของเจ้าของบ้านเป็นนักถ่ายภาพ ที่เกิดขึ้นจากความต้องการพื้นที่ส่วนตัวและความสงบในการทำงาน บวกกับความชื่นชอบการเล่นสเก็ตบอร์ด ตามไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่มีวิถีชีวิตร่วมสมัย ขณะที่ชีวิตอีกด้านหนึ่งของเขาเป็นคนชอบกินลาบ มีความสุขกับการทำลาบกันเองในหมู่เพื่อนฝูงพี่น้อง และเติบโตมากับทุ่งนา บ้านชั้นเดียว หลังนี้ จึงมีตัวตนของวิถีชนบทอยู่ภายใน คำว่า “ลาบ” ตามชื่อที่ใช้เรียกบ้านหลังนี้ จึงเป็นคำที่มีความหมายสะท้อนนิยามของบ้านที่เป็นส่วนตัว พร้อมเปิดรับบรรยากาศเครือญาติแบบไทย ๆ ไปพร้อมกัน ที่นี่จึงเปี่ยมไปด้วยความสุขของการใช้ชีวิต (Joyful of Living) ที่มีความเป็นลูกผสม ระหว่างความสุขแบบชาวเมือง และความสุขแบบชาวบ้านที่เรียบง่าย สำหรับชาวเหนือ “ลาบ” เป็นมากกว่าอาหารประจำถิ่น แต่คือวิถีชีวิตเป็นความสุขในการรวมตัวญาติพี่น้องที่นั่งขลุกตัวกันทำลาบบนพื้น ทั้งการนั่งยอง ๆ ลงมือสับเนื้อบนเขียงที่วางบนพื้น และการนั่งล้างผัก รวมถึงการนั่งล้อมวงกินลาบกับข้าวเหนียว […]