Commercial Space Archives - Page 3 of 79 - room

“บ้านนอนเล่น HOSTEL” หนึ่งในผลงาน เพิ่มมูลค่าอสังหาฯ โดยวิทยากรของเรา คุณคิริน ชัยชนะ Founder & Design Director Kirin Design & Living ที่จะมาร่วมพูดคุยกันในวันเสาร์นี้

บ้านนอนเล่น Hostel มากับคอนเซปต์ Newyork Industrial loft with color ที่เปลี่ยนอาคารพาณิชย์ 3 คูหาของครอบครัวที่ไม่ได้ใช้งานในย่านสาทร 11 ให้กลายเป็นพื้นที่ธุรกิจที่สามารถทำเงินได้อย่างโฮสเทล ซึ่งโครงสร้างเหล็กจากผู้รับเหมาก่อนหน้าได้ทิ้งเอาไว้ ทำให้ต้องมีการคิดโจทย์เพิ่มเติมเพื่อสร้างให้ปลายทางของงานออกแบบ สมบูรณ์ และลงตัว ในแบบ Industrial loft ดังที่เห็น ลงทะเบียน : https://cooll.ink/Home_Investment_BS/ “บ้านนอนเล่น HOSTEL” หนึ่งในผลงาน เพิ่มมูลค่าอสังหาฯ โดยวิทยากรของเรา คุณคิริน ชัยชนะ Founder & Design Director Kirin Design & Living ที่จะมาร่วมพูดคุยกันในวันเสาร์นี้ กับงาน 𝐃𝐞𝐬𝐢𝐠𝐧 𝐓𝐚𝐥𝐤 By บ้านและสวน & room เพิ่มมูลค่า บ้าน “พัง” ให้ “ปัง” ด้วยงานดีไซน์ วันเสาร์ที่ 30 […]

Cher Hostel Bangkok เปลี่ยนโฉมร้านเหล็กเก่า สู่โฮสเทลย่านสุทธิสาร

ย่านสุทธิสารเป็นย่านขยายตัวของเมืองของฝั่งรัชดา – พระราม 9 อีกทั้งยังใกล้แหล่งท่องเที่ยวย่านห้วยขวางที่เติบโตจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ จึงทำให้ย่านมีธุรกิจโรงแรม ร้านอาหารใหม่ ๆ เกิดขึ้นเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่มากขึ้นในยุคปัจจุบัน ตึกแถว 2 คูหานี้จึงเปลี่ยนโฉมจากร้านเหล็กธุรกิจในทาวน์โฮมเก่ากว่า 20 สู่โรงแรมขนาดเล็ก โดยขยายขนาดเป็น 4 ห้องคูหาโดยพื้นที่ทุกชั้นจัดสรรฟังก์ชันการใช้สอยอย่างคุ้มค่าใน Cher Hostel Bangkok ที่ตกแต่งด้วยสไตล์ Modern Luxury และเป็นที่โดดเด่นในย่านนี้เลยทีเดียว DESIGNER DIRECTORY: ตกแต่ง : Kirin Design & Living  “เฌอ” ชื่อโรงแรมซึ่งเป็นชื่อที่มาจากชื่อลูกสาว แปลว่าต้นไม้ที่นำมาใช้เป็นแนวคิดหลักของโรงแรม ใช้สีหลัก คือ สีเขียว และสีทอง โดยสีทองนั้นยังเป็นสีพื้นผิวอเนกประสงค์ที่จับคู่สีใด ๆ ก็ยังให้ความรู้สึกที่หรูหรา สง่างาม เมื่อนำสีทองมาจับคู่กับสีเขียวที่สื่อถึงความสดชื่น ร่มรื่น ช่วยเพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับพื้นที่มากขึ้น อีกทั้งขับสีทองให้ดูเด่นขึ้น นอกจากนี้ สีเขียว และทองก็เป็นสีที่ดูแลรักษาง่ายอีกด้วย โดยความต้องการของเจ้านั้น คือการรีโนเวตที่เป็น Luxury Hostel #แนวคิดการออกแบบ เมื่อเป็นการรีโนเวตในงบประมาณที่จำกัด […]

MITBURY THE PUBLIC HOUSE คาเฟ่ใต้ร่มไม้ใหญ่ ร่มรื่นส่วนตัวหลังกำแพงช่องลม

Mitbury The Public House คาเฟ่บรรยากาศร่วมสมัยท่ามกลางแมกไม้ในพื้นที่ระหว่างถนนสายแม่ริม-สะเมิงและลำน้ำแม่สา ที่ตั้งใจให้อาคารมีขนาดเล็กที่สุดเท่าที่จำเป็น และเปิดรับพื้นที่ภายนอกอาคารใต้ร่มไม้ให้มากที่สุด DESIGNER DIRECTORYออกแบบ : WOS Architects และ Estudioออกแบบสวน: ชินมิษ บุนนาค, อภิสรา ฉวีวงษ์ และสวนนงนุช #สถาปัตยกรรมที่เชื่อมโยงสู่ธรรมชาติทั้งเชื่อมโยงสู่ธรรมชาติ แต่ก็เป็นขอบกั้นพื้นที่การใช้งานไปพร้อมกัน สถาปัตยกรรม และอาคารในโครงการนี้ ออกแบบโดยคำนึงถึงประสบการณ์ของพื้นที่ซึ่งมีลักษณะเป็นลำหุบและมีต้นไม้ใหญ่โอบล้อมเป็นสำคัญ “จากโจทย์และลักษณะเฉพาะของพื้นที่ แทนที่จะสร้างอาคารอยู่ริมน้ำ ผู้ออกแบบเลือกที่จะวางตัวอาคารทั้งหมดมาอยู่ชิดแนวเนินดินริมถนน เว้นที่ว่างหลบต้นไม้เดิม พรางตัวอาคารด้วยแนวผนังอิฐบล็อกช่องลม โดยตั้งใจให้ตัวสถาปัตยกรรมทำหน้าที่เสมือนแนวขอบเขต และทางผ่าน (Threshold) ไปสู่ธรรมชาติ เมื่อมองมาจากบนถนนที่อยู่ระดับสูงกว่าอาคาร จะเห็นสะพานทางเข้าอยู่ใต้ต้นก้ามปูขนาดใหญ่ นำคนเดินข้ามตัวอาคารไปสู่วิวของป่าและลำน้ำ ที่ปลายสะพานเป็นบันไดทอดยาวลงไปสู่สวนที่ถูกซ่อนไว้ด้านล่าง ซึ่งเปรียบเสมือนห้องโถงใหญ่ของโครงการ ที่สวนด้านล่างนี้จะห้อมล้อมไปด้วย ลำธาร โขดหิน เนินดิน ต้นไม้ใหญ่ และผนังบล็อกช่องลมที่ช่วยอำพรางห้องน้ำ ห้องครัว และส่วนเซอร์วิสไว้ด้านหลัง โดยมีตัวร้านเล็ก ๆ ยื่นออกมาจากแนวผนังให้ผู้มาเยื่อนได้เข้าไปสังอาหารแล้วออกมานั่งทานในสวน” #กลมกลืนกับบริบทด้วยอาคารที่ถูกแบ่ง และวัสดุสีเอิร์ธโทนเพื่อให้สถาปัตยกรรมไม่ข่มบรรยากาศจนเกินไป การออกแบบให้เป็นอาคารขนาดเล็กหลายหลัง รวมทั้งการเลือกวัสดุอาคารที่มีโทนสีกลมกลืนไปกับพื้นที่โดยรอบ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกร่วมไปกับบรรยากาศธรรมชาติได้มากขึ้น “ตัวอาคารในโครงการแบ่งเป็นอาคารชั้นเดียวขนาดเล็ก […]

ATELIER KAMPOT รีโนเวทตึกแถว กัมพูชา สไตล์โคโลเนียลทรุดโทรม สู่ช็อปเฮ้าส์ร่วมสมัย

โปรเจ็กต์ รีโนเวทตึกแถว กับการคงเอกลักษณ์อาคารโคโลเนียลในประเทศกัมพูชา สู่พื้นที่ร้านอาหารและบ้านพักอาศัย รีโนเวทตึกแถว สไตล์โคโลเนียล ซึ่งตั้งอยู่ในย่านการค้าเก่าแก่ริมแม่น้ำในเมืองกำปอต ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศกัมพูชา จากที่เคยปิดร้างและมีสภาพทรุดโทรมให้กลายเป็นช็อปเฮ้าส์ เปิดทำธุรกิจร้านอาหารที่ชั้นล่าง และทำพื้นที่พักอาศัยที่ชั้นบน ออกแบบและรีโนเวตโดย Bloom Architecture สะท้อนถึงแนวคิดการให้คุณค่าต่อสถาปัตยกรรมเก่าแก่ของเมืองที่มีความเชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์ และอีกด้านหนึ่งยังถือเป็นเรื่องของการปรับตัวให้เข้ากับวิถีชีวิตสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี เล่าย้อนไปที่นี่เคยเป็นร้านค้าดำเนินกิจการของครอบครัวของเจ้าของมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อความเจริญของเมืองท่าเริ่มลดความสำคัญลง อาคารแห่งนี้ได้ทิ้งร้างมานานหลายปี ก่อนได้รับการฟื้นคืนชีวิตชีวาอีกครั้งในฐานะที่กลายเป็นร้านอาหารและบ้านพักอาศัย เพื่ออนุรักษ์สถาปัตยกรรมเก่าแก่ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก และรักษาความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เมื่อครั้งที่กัมพูชาเคยเป็นเมืองอาณานิคมฝรั่งเศส จากการรู้คุณค่าดังกล่าวสถาปนิกจึงมุ่งเน้นที่การรักษาลักษณะดั้งเดิมของอาคารให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขั้นตอนของการนำพาอาคารเก่าข้ามเวลาสู่ยุคสมัยใหม่ สถาปนิกเน้นแผนการปรับปรุงอาคารโดยยังคงลักษณะดั้งเดิมของอาคารไว้ เริ่มจากภายนอกที่คงเก็บช่องเปิดโค้งขนาดใหญ่ที่ระเบียงชั้นสอง ลายปูนปั้นวิจิตรบรรจง ร่องรอยและคราบสีเก่าบนผิวอาคาร เพื่อบอกเล่าเรื่องราวการเปลี่ยนผ่านของวันเวลาจากอดีตถึงปัจจุบัน ผสมกับไม้รีไซเคิลที่รื้อถอนจากตัวบ้านบางส่วน แล้วนำกลับมาใช้ใหม่ เปลี่ยนแปลงให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ส่วนหน้าต่างของบ้านเป็นการสั่งทำขึ้นมาใหม่ แสดงถึงการเข้ากันได้ระหว่างสิ่งเก่ากับสิ่งใหม่ได้อย่างลงตัว พื้นที่ภายในมีขนาดพื้นที่ใช้สอย 319 ตารางเมตร แม้รูปลักษณ์ของอาคารจะเป็นอาคารพาณิชย์สไตล์โคโลเนียล แต่ฟังก์ชันภายในกลับบรรจุด้วยความสะดวกสบายเข้ากับวิถีชีวิตคนยุคปัจจุบัน ชั้นล่างเปิดโล่งมีที่นั่งให้เลือกหลากหลาย จัดวางโต๊ะและเก้าอี้ไม้หลายรูปทรงสำหรับเป็นพื้นที่รับประทานอาหาร ฝ้าเพดานดูสูงโปร่งเผยให้เห็นคานไม้ ผนังอิฐโชว์ลายเผยให้เห็นเท็กซ์เจอร์วัสดุดั้งเดิม ประดับตกแต่งบรรยากาศด้วยภาพศิลปะแอ๊บสแตร็กต์สีสันสดใส ส่วนพื้นเป็นกระเบื้องลายโบราณที่โดดเด่นเป็นเอกลัษณ์และนิยมใช้กันในสมัยก่อน รับแสงและอากาศให้ไหลเวียนถ่ายเทได้ดี ผ่านการออกแบบให้มีคอร์ตยาร์ดซึ่งมีบันไดวนโลหะขนาดใหญ่สีขาวทอดผ่านลานตรงกลางนี้ สูงขึ้นไปจนถึงห้องนั่งเล่นส่วนตัวที่อยู่ชั้นบนสุด ซึ่งเป็นพื้นที่พักอาศัยของเจ้าของบ้าน โดยบันไดวนนี้มีความสำคัญต่อการออกแบบอย่างมาก ใช้ในการนำพาแสงธรรมชาติให้ส่องลงมาถึงระดับพื้นที่ใช้งานชั้นล่าง และช่วยระบายอากาศตามธรรมชาติ ทำให้ภายในอาคารเย็นสบายแม้ในช่วงฤดูร้อนที่ร้อนระอุ […]

รีโนเวตตึกแถว สู่ 7 โรงแรมขนาดเล็ก

รีโนเวตตึกแถว ให้เป็น “โรงแรมขนาดเล็ก” นับเป็นอีกแนวทางช่วยสร้างมูลค่าทางธุรกิจ และปลุกชีวิตให้ตึกแถวเก่ากลับมามีลมหายใจอีกครั้ง โดยใช้คอนเซ็ปต์ดีไซน์มาช่วยสร้างสรรค์ เพื่อสร้างทั้งแรงดึงดูดใจ และมอบประสบการณ์แปลกใหม่ให้แก่นักท่องเที่ยว เรียกว่าใครที่กำลังสนใจทำธรุกิจ โรงแรมขนาดเล็ก การ รีโนเวตตึกแถว หรืออาคารพาณิชย์เก่า ไม่ว่าจะเป็นบ้านเก่าของครอบครัว หรือเป็นการเช่าอาคารในย่านที่ใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยว หรือสถานีรถไฟฟ้ากลางใจเมือง ฯลฯ ถือเป็นการเริ่มต้นธุรกิจที่น่าสนใจ พร้อมกันนั้นยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินทรัพย์ที่มีอยู่ได้อีกทางหนึ่ง ดีกว่าปล่อยทิ้งร้าง หรือทุบทิ้ง โดยการรีโนเวตควรมาพร้อมคอนเซ็ปต์สร้างสรรค์เพื่อมอบประสบการณ์แปลกใหม่ให้แก่นักท่องเที่ยว “7 โรงแรมขนาดเล็ก” ที่ room นำมาฝาก คือตัวอย่างแนวทางการรีโนเวตที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นอาคารที่ตั้งอยู่ในพื้นที่จำกัด หรืออาคารที่มีโครงสร้างเก่าแก่มาก ๆ แต่กลับสร้างสรรค์พื้นที่ออกมาได้อย่างน่าสนใจ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจดี ๆ แก่ผู้อ่าน ก่อนเริ่มต้นทำธุรกิจโรงแรม หากสำรวจพื้นที่ และงบประมาณพร้อมแล้ว ไปชมตัวอย่างโรงแรม และแนวคิดที่น่าสนใจนี้ต่อได้เลย riion chiang maiโรงแรมขนาดเล็กริมคูเมืองเชียงใหม่ที่เกิดจากการรีโนเวตตึกแถวเก่า 1 คูหา ให้กลายเป็นคาเฟ่ที่ชั้น 1 และห้องพักน่ารัก ๆ 4 ไทป์ กับคอนเซ็ปต์การออกแบบที่คลี่คลายความเป็นเมืองเชียงใหม่สู่งานดีไซน์ร่วมสมัยที่ตั้งถนนมูลเมือง ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองฯ จังหวัดเชียงใหม่พิกัด […]

PAL Bangkok รีโนเวทตึกแถว สู่พื้นที่ที่เป็นมากกว่าคาเฟ่ สดใสไปกับธีมพิกเซลอาร์ต

PAL Bangkok เปลี่ยนอาคารพาณิชย์ให้เช่าสู่การรีโนเวทใหม่ให้กลายเป็นสถานที่ที่เป็นมากกว่าคาเฟ่ สดใสไปกับพิกเซลอาร์ต ผสมบรรยากาศโมเดิร์นเรโทร DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Studiolism Architects เมื่อผู้เช่ารายเก่าหมดสัญญาจึงถึงเวลาที่เจ้าของจะรีโนเวทอาคารพาณิชย์เก่าอายุ 60 ปี ให้กลายเป็นร้านกาแฟในตอนกลางวัน แล้วสลับฟังก์ชันเป็นบาร์เบียร์คราฟต์ในยามค่ำคืน สอดคล้องกับแนวทางการออกแบบที่อยากให้พื้นที่มีความยืดหยุ่น เผื่อสำหรับการเช่าสถานที่เพื่อจัดงานอีเว้นต์เล็ก ๆ จัดแกลเลอรี่ หรือใช้เป็นพื้นที่เวิร์กชอบ DIY ต่าง ๆ ซึ่งเป็นจุดประสงค์ของเจ้าของที่อยากให้ PAL Bangkok เป็นเสมือนอาณาจักรเล็ก ๆ ของคนคอเดียวกันได้มีพื้นที่สำหรับนั่งพูดคุย แชร์ความสนุกสนาน ความสุข และความเป็นกันเอง สื่อภาษางานออกแบบผ่านคอนเซ็ปต์พิกเซลอาร์ต แม้ที่นี่จะอยู่ในย่านบรรทัดทอง ย่านที่มีความคึกคักในปัจจุบัน แต่ด้วยทำเลที่ตั้งที่ค่อนข้างหลบมุม ดังนั้นเพื่อให้สะดุดตาผู้คนที่ผ่านไปมาทั้งกลางวันและกลางคืน การออกแบบเพื่อดึงดูดสายตาให้มองเห็นร้านชัดเจนไปพร้อมกับโจทย์ที่ไม่ซ้ำใครจึงสำคัญ สตูดิโอออกแบบ Studiolism Architects จึงวิเคราะห์และตีความร่วมกับเจ้าของจนออกมาในบรรยากาศสนุก กึ่ง ๆ เกมสเปซ แบบ “8 Bit Pixel Art” ที่กำลังกลับมาฮิตอีกครั้ง โดยภาษานี้ได้รับการสื่อสารออกมาผ่านส่วนต่าง ๆ นับตั้งแต่ฟาซาด ไปจนถึงงานอินทีเรียร์ดีไซน์ด้านใน มีสีเอกลักษณ์ หรือ […]

NEXTERDAY Experience Store คาเฟ่ร้อยเอ็ด ฮับใหม่แห่งอีสาน ดีไซน์ไอเดียมาจากกล่องลำโพง

Nexterday Specialty coffee & Bakery หลังจากเปิดสาขาที่ 1 กับคาเฟ่แบบสแตนอโลนทรงกล่องคอนกรีต ติดริมถนนเส้นตัดใหม่ตรงข้ามหอประชุมสาเกตุ จนเป็นที่รู้จักของคนร้อยเอ็ด วันนี้ได้ขยายสาขาที่ 2 มาเปิดยังหน้าโรงพยาบาลร้อยเอ็ด ด้วยการรีโนเวทอาคารพาณิชย์เก่า 2 คูหา 4 ชั้น ให้กลายเป็นฮับแห่งใหม่ของอีสาน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: party/space/design โดยมีทีมออกแบบจาก party / space / design นำโดยคุณโต-ศุภรัตน์ ชินะถาวร มารับหน้าที่ออกแบบคาเฟ่ให้ เพื่อมอบประสบการณ์ที่แตกต่าง ผ่านงานดีไซน์ซึ่งเกิดจากการทดลองทำสิ่งใหม่ ๆ ในรูปแบบที่ยังไม่เคยมีใครทำมาก่อนทั้งยังถือโอกาสรีแบรนด์ดิ้ง เปลี่ยนแพ็คเกจจิ้ง และโลโก้กราฟิกใหม่ เพื่อสร้างแบรนด์ให้แข็งแรงชัดเจนขึ้น เตรียมสำหรับขยายสาขาสู่กรุงเทพฯ และทุกภูมิภาค จากจุดเริ่มต้น หรือโลโก้ของแบรนด์ที่เป็นจุด 3 จุด สีเหลือง น้ำเงิน และเทา โดยแต่ละสีคือตัวแทนโปรดักต์ต่าง ๆ ของ NEXTERDAY อย่าง จุดสีเหลือง แทนความหมายถึงเบเกอรี่ จุดสีน้ำเงิน แทนความหลงใหลในรสชาติของกาแฟ […]

161 CAFETERIA AND CRYPT ร้านอาหารและคาเฟ่เอกมัย อบอุ่นในบ้านหลังใหญ่ยุค70’s

161 Cafeteria and Crypt ร้านอาหารและคาเฟ่ในธีมเมดิเตอร์เรเนียน บรรยากาศเหมือนพาตัวเองมานั่งกินข้าวในบ้านอบอุ่นยุคเจ็ดศูนย์ ร้านอาหารและคาเฟ่ในธีมเมดิเตอร์เรเนียน พร้อมบาร์ลับที่ซ่อนตัวอยู่ในชั้นใต้ดิน กับร้านที่มีชื่อว่า 161 Cafeteria and Crypt โดยมีที่มาจากเลขที่บ้าน ต่อด้วยคำว่า Cafeteria ซึ่งแปลว่า “โรงอาหาร” เปรียบเสมือนสถานที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ มาพร้อมกับความโดดเด่นของสถาปัตยกรรมบ้านโมเดิร์นรูปทรงเรขาคณิตหลังใหญ่ที่ผ่านกาลเวลามานาน ซึ่งนับเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์นยุคแรกของกรุงเทพฯ ที่เริ่มหาดูยาก เมื่อบ้านรุ่นเดียวกันหลาย ๆ หลังในย่าน เริ่มทยอยถูกแทนที่ด้วยอาคารสมัยใหม่ และตึกสูงระฟ้า การนำพาสถาปัตยกรรมโมเดิร์นยุคเก่าย่านเอกมัยให้คืนชีพกลับมาครั้งนี้ มาจากเจ้าของร้าน คุณส้ม-กัญญ์ณพัชร์ นุ่มประสิทธิ์ ที่อยากให้สถานที่นี้เป็นพื้นที่ที่ทุกคนสามารถเข้ามาพักผ่อน ปรับอารมณ์ลงจากความเร่งรีบภายนอก เพื่อมาพบกับบรรยากาศสงบภายใน ชวนให้รู้สึกเหมือนได้กลับมากินข้าวที่บ้าน หลังจากที่ตัวบ้านไม่มีคนอยู่อาศัย และถูกปล่อยให้เช่า เมื่อคุณส้มมาพบกับทำเลนี้ เธอรู้สึกชอบในบรรยากาศ และสตอรี่ของบ้าน จึงตัดสินใจเช่า และรีโนเวตบ้านนี้ใหม่ โดยไม่ต้องการทุบอาคารออก แต่เลือกที่จะเก็บรักษาอาคารนี้ไว้ เพื่อดึงเสน่ห์ และความงดงามของสถาปัตยกรรมยุคเก่า ให้คนยุคใหม่ได้รู้จัก และเข้ามาใช้งานพื้นที่ จากถนนภายในซอยเมื่อมองเข้ามาจะเจอกับภาพอาคารรูปทรงสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ กั้นพื้นที่สวนข้างบ้าน และลานจอดรถด้วยแนวกำแพงอิฐที่ทำขึ้นมาใหม่ ให้กลายเป็นผนังอิฐจัดเรียงแพตเทิร์นสวยงาม ล้อไปกับแนวขอบอาคารที่ทาสีใหม่เป็นสีส้มอิฐ ก่อนเข้าสู่พื้นที่ภายในร้านที่ได้รับการแบ่งเป็นโซนคาเฟ่ด้านหน้า มีเคาน์เตอร์บาร์ทำกาแฟ […]

Nusara ร้านอาหารไทยไฟน์ไดนิ่ง เล่าความทรงจำถึงคุณยายนักตัดเสื้อ

Nusara – นุสรา ร้านอาหารไทยไฟน์ไดนิ่ง ของเชฟต้น-ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร ที่ขอย้ายทำเลใหม่จากร้านนุสราเดิม เพื่อนำเสนอประสบการณ์การรับประทานอาหารรูปแบบใหม่ พร้อมเสพบรรยากาศวิวที่แสนอลังการสวยงามของวัดโพธิ์ฯ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Tastespace.co ร้านอาหารไทยโมเดิร์น นามว่า “Nusara – นุสรา” กับชื่อที่ตั้งขึ้นเกิดจากการนำความทรงจำ และความรักที่มีต่อคุณยาย “นุสรา” คุณยายของเชฟต้น-ธิติฏฐ์ ทัศนาขจร และคุณตาม-ชัยสิริ ทัศนาขจร น้องชาย มาถ่ายทอดผ่านบรรยากาศที่เล่าเรื่องราว และคาแร็กเตอร์สนุกสนานของคุณยายช่างตัดเสื้อ มีทีมออกแบบจาก Tastespace.co นำโดยคุณฮิม-กิจธเนศ ขจรรัตนเดช รับหน้าที่นำเสนอประสบการณ์ใหม่ในการรับประทานอาหารผ่านการใช้สอยพื้นที่ต่าง ๆ ภายใต้การออกแบบที่คลี่คลายมาจากคาแร็กเตอร์ และอาชีพของคุณยายในบรรยากาศแบบ Fabric Library รีโนเวทโฮสเทลเก่าสู่ร้านอาหารไทยเสิร์ฟวิววัดโพธิ์ จากร้านนุสราเดิมที่อยู่ในซอยท่าเตียน ได้ย่านทำเลใหม่มาอยู่ที่ปากซอย ติดถนนมหาราช กับความพิเศษของวิววัดโพธิ์ฯ ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามพอดี ย้อนกลับไป อาคารนี้เคยเป็นโฮสเทลปิดร้างมานานกว่า 3 ปี ก่อนได้รับการรีโนเวทใหม่ในครั้งนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจึงอยู่ที่การเปลี่ยนดีไซน์ของโฮสเทลเดิม จากที่ต้องมีความเป็นส่วนตัว มีหน้าต่าง และผนังเปิดบ้าง-ทึบบ้าง ให้กลายเป็นร้านอาหารเน้นวิวอลังการของวัดโพธิ์ฯ รวมถึงต้องทุบห้องพักที่ถูกซอยเป็นห้องย่อย ๆ […]

MTCH – Ari คาเฟ่มัทฉะ ปรับลุคใหม่ อบอุ่นปนเท่สไตล์นีโอ-อินดัสเทรียล

MTCH คาเฟ่มัทฉะสาขาอารีย์ (ซอยราชครู 5) ที่ขอรีโนเวทร้านใหม่ให้ดีไซน์ทันสมัยขึ้นในลุคที่เรียกว่า “นีโอ-อินดัสเทรียล” พร้อมโจทย์ที่อยากให้ร้านสร้างประสบการณ์การดื่มมัทฉะที่ดี มีบรรยากาศน่านั่งขึ้นกว่าเดิม ขณะเดียวกันก็ต้องการให้ที่นี่ช่วยสะท้อนคาแร็กเตอร์ของแบรนด์ที่มีความร่วมสมัย ทุกคนเข้าถึงง่าย ตามสโลแกน “Matcha for Everyone” DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Studio Minimus MTCH คือแบรนด์มัทฉะร่วมสมัยจริงจังและให้ความสำคัญกับที่มาของรสชาติมัทฉะ มีสาขาทั้งที่ The Circle Ratchapruk และ Sukhumvit 23 สำหรับสาขานี้ ขอบอกว่าไม่ใช่สาขาน้องใหม่ แต่คือสาขาเดิมที่ขอรีโนเวทให้มีดีไซน์ทันสมัยขึ้น ออกแบบโดย Studio Minimus ซึ่งเคยฝากผลงานไว้ที่สาขา Sukhumvit 23 มาแล้ว เดิมอาคารนี้เคยเป็นบ้านเก่ายุค 70’s มีกลิ่นอายมิดเซนจูรี่ มีทั้งความเท่ โฉบเฉี่ยว ดูร่วมสมัย และแปลนการใช้งานที่ไม่เหมือนบ้านทั่วไป จึงท้าทายและชวนเซอร์ไพรส์นักออกแบบหลาย ๆ จุด อาทิ ครีบคอนกรีตบนเปลือกอาคารด้านหน้าซึ่งทำหน้าที่เป็นช่องแสง ภายในมีการเล่นแกนเฉียง หรือเส้นตัดเฉียงทั้งหลัง บันไดเจาะช่อง Void เชื่อมชั้นล่างและบน แถมยังมีห้องใต้หลังคาพร้อมบันไดลิงตั้งอยู่โดดเด่น โดยองค์ประกอบทั้งหมดนี้ […]

TIN TIN ออกแบบ บาร์และร้านอาหาร สร้างประสบการณ์ใหม่คล้ายอยู่ในถ้ำมรกต

TIN TIN ตัวอย่างการ ออกแบบ บาร์และร้านอาหาร ในประเทศอินเดีย กับคอนเซ็ปต์ที่มุ่งให้เกิดประสบการณ์แปลกใหม่ คล้ายกำลังเดินลัดเลาะอยู่ในเขาวงกต โอบล้อมด้วยเส้นโค้ง และโมเสกสี่เหลี่ยมสีเขียวมรกต ที่นี่ตั้งอยู่ที่เมืองจัณฑีครห์ รัฐปัญจาบ ประเทศอินเดีย มีความโดดเด่นด้วยการเลือกใช้วัสดุเรียบง่าย สร้างดีไซน์โค้งมนพลิ้วไหว เป็นผลงานการ ออกแบบ บาร์และร้านอาหาร ของสถาปนิกอินเดีย Renesa Architecture Design Interiors สตูดิโอออกแบบที่มีแนวคิดการเลือกใช้วัสดุพื้นเมืองมาสร้างให้เกิดเอกลักษณ์ได้อย่างน่าสนใจ ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ที่เป็นเสมือนการออกแบบเชิงทดลองของพวกเขา ซึ่งเกิดขึ้นจากความตั้งใจในการเล่นสนุกไปกับการสร้างมุมมองและประสาทสัมผัสที่แตกต่างจากร้านทั่วไป เพราะมีทั้งพื้นที่ซอกแซก และเส้นโค้งโอบรับ ที่อดกล่าวถึงไม่ได้คือการสร้างเท็กซ์เจอร์ผิวสัมผัสของวัสดุที่แตกต่าง อันเกิดขึ้นจากการเลือกใช้วัสดุท้องถิ่นของอินเดียเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้องโมเสกสีเขียวมรกต น้ำตาล ขาว และเทา ร่วมกับหินขัด ซึ่งเป็นเทคนิคและมีวิธีการทำมือทุกขั้นตอน ใช้เวลานานกว่า 6 เดือน จึงแล้วเสร็จ กล่าวได้ว่าเป็นเสมือนงานคราฟต์ที่ช่วยเติมเต็มชีวิตชีวาให้แก่สถานที่ได้มีเรื่องราวน่าสนใจ ผ่านเทคนิคและวิธีการก่อสร้างโดยช่างผู้ชำนาญในพื้นที่ การผสมผสานกันระหว่างส่วนของผนัง ซุ้มทางเดินโค้ง เพดานโค้งมน ประกอบกับเส้นเลย์เอ๊าต์ ที่คดโค้งสลับไปมา สิ่งเหล่านี้คือการบ่งบอกถึงความต้องการสร้างประสบการณ์การใช้งานพื้นที่ ให้เกิดความรู้สึกเปลี่ยนผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แม้จะมองเห็นแพตเทิร์นซ้ำ ๆ หรือคล้าย ๆ กัน […]

BAKE TILL WE DIE รีโนเวททาวน์เฮ้าส์ เก่า สู่คาเฟ่บรรยากาศตึกแถวยุโรป

BAKE TILL WE DIE จากร้านขนมอบที่มีลูกค้าเจ้าประจำติดใจในรสชาติ สู่ร้านทำเลใหม่ที่ย่านสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม กับบรรยากาศอบอุ่นตกแต่งร้านคล้ายบ้านตึกแถวในยุโรป หรือที่เจ้าของร้านให้นิยามการออกแบบนี้ว่า “Urban European House” เน้นโชว์ความดิบของวัสดุและธรรมชาติ ผสานกลิ่นอายเมดิเตอร์เรเนียนลงไปเล็กน้อยให้ดูน่ารัก จากชื่อร้าน “BAKE TILL WE DIE“ แน่นอนว่าย่อมเกิดจากแพสชั่นและความหลงใหลในการทำขนม ที่คุณหลุยส์-บุญธิดา ทรัพย์ไพศาล เจ้าของร้านลงมืออบขนมแบบโฮมเมดด้วยตนเองทุกเมนู โดยมีคุณบอส-อธิราช สะบาย ที่มีความหลงใหลในเรื่องกาแฟมาช่วยกันทำคาเฟ่ในฝันให้สมบูรณ์แบบ โดยทั้งคู่ได้มองหาทำเลสำหรับใช้เป็นบ้านพักส่วนตัวด้วย จนมาลงตัวกับบ้านทาวน์เฮ้าส์เก่าอายุกว่า 30 ปี ขนาดสองชั้น ห้องหัวมุม ซึ่งมีศักยภาพเอื้อต่อการต่อยอดสู่งานออกแบบ ก่อนตกลงซื้อแล้วทำการรีโนเวทใหม่ใช้เวลาราว 2 เดือน ให้กลายเป็นคาเฟ่ขนาดเล็ก ๆ แต่อบอุ่น ตามสไตล์ที่พวกเขาชื่นชอบ ระหว่างทางของการรีโนเวทเปลี่ยนทาวน์เฮ้าส์เก่าให้กลายเป็นคาเฟ่ เจ้าของเล่าว่าบ้านเดิมมีการต่อเติมพื้นที่จอดรถออกไปจนชิดกับถนน เมื่อรีโนเวทใหม่จึงต้องทุบพื้นที่ตรงนั้นออก เพื่อให้เกิดพื้นที่ว่างก่อนเข้าสู่ตัวร้าน แล้วกั้นผนังใหม่ตามดีไซน์อย่างบ้านตึกแถวในยุโรป กลายเป็นเปลือกอาคารที่โดดเด่นด้วยช่องหน้าต่างและประตูขนาดโอเวอร์ไซส์ ส่วนพื้นที่ภายในได้เปลี่ยน Circulation ใหม่ทั้งหมด โดยการเปลี่ยนตำแหน่งบันไดให้ไปอยู่ชิดริมผนังอีกฝั่ง เพื่อเปิดพื้นที่ว่างสำหรับรองรับลูกค้า และจัดการทุบผนังตลอดแนวที่ขนานไปกับซอยด้านข้างออก ก่อนจะดับเบิ้ลความหนาของผนังขึ้นจากเดิม 10 เซนติเมตร […]

GalileOasis Boutique Hotel บูทีคโฮเทลในตึกเก่า เล่าบรรยากาศใหม่ผ่านวัสดุหมุนเวียน

GalileOasis Boutique Hotel เก็บโครงสร้างเก่ามาเล่าใหม่ กับบูทีคโฮเทลในพื้นที่ของคนรักศิลปะ ภายในโครงการ GalileOasis สถานที่ที่เป็นเสมือนโอเอซิส เต็มไปด้วยสีเขียวของต้นไม้ และเป็นชุมชนแห่งการสร้างสรรค์หลากหลายรูปแบบ ซ่อนตัวอยู่ในตรอกเล็ก ๆ ย่านบรรทัดทองของชุมชนบ้านครัว ชุมชนเก่าแก่ในกรุงเทพฯ ย้อนไปที่ตั้งของโครงการ GalileOasis นี้ เคยเป็นเวิ้งตึกแถวจำนวน 20 คูหา อายุ 50 ปี ซึ่งมีผู้อยู่อาศัยจริงมาก่อน ก่อนหมดสัญญาเช่า และมีสภาพเสื่อมโทรมอย่างหนัก กระทั่งอาจารย์รัศมี เผ่าเหลืองทอง อาจารย์สอนด้านการละคร และครอบครัว ได้เปิดโอกาสให้ลูกศิษย์กลุ่มคณะละครสองแปด เข้ามาเปลี่ยนพื้นที่ให้กลายเป็นคอมมูนิตี้สเปซแหล่งรวมคนรักงานศิลปะ และพื้นที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ที่นี่จึงกลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง โดยยังคงโครงสร้างและสภาพเดิมของตึกแถวไว้บางส่วนเพื่อบอกที่มาที่ไปของสถานที่ ภายใต้บทบาทใหม่ เปลี่ยนที่นี่ให้เป็นโอเอซิสล้อมรอบด้วยต้นไม้ และความเคลื่อนไหวอันมีสีสันไปกับงานศิลปะ วัฒนธรรม และไลฟต์สไตล์สุดสร้างสรรค์ ซึ่งมีทั้งพื้นที่คาเฟ่ โรงละคร ร้านแผ่นเสียง ร้านอาหารอิตาลี ร้านฟิชแอนด์ชิปส์ ฯลฯ เพื่อให้ทุกคนลืมความวุ่นวายภายนอก ชักชวนทั้งคนในชุมชนและนอกชุมชนให้ได้มาใช้พื้นที่พักผ่อนร่วมกันอย่างเป็นมิตร ขณะที่ชั้นบน 2 และ3 ของตึกแถวทั้งสองฝั่ง ได้รับการแบ่งพื้นที่เพื่อเปิดเป็นบูทีคโฮเทลจำนวน 19 ห้อง […]

MINISTRY OF ROASTERS คาเฟ่เชียงใหม่ ถ่ายทอดประสบการณ์กาแฟจากการเดินทาง

คาเฟ่เชียงใหม่ น่าไปเยือน กับ Ministry of Roasters (กระทรวงการคั่ว) สำนักเขตเชียงใหม่ ในฐานะที่เป็นอีกหนึ่งร้านกาแฟที่เล่าเรื่องราวของกาแฟคลื่นลูกที่ 5 เมื่อธุรกิจกาแฟจำเป็นต้องเล่าเรื่องราวไปพร้อมการมอบประสบการณ์ให้ลูกค้าได้มีส่วนร่วมทุกมิติ ทั้งรูป รส กลิ่น เสียง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 เพื่อให้เกิดแรงบันดาลใจและสุนทรียภาพดังกล่าว กระทรวงการคั่ว (Ministry of Roasters) จึงมีทั้งความจริงจังและพิถีพิถันในทุกมิติของกาแฟ ไม่ใช่แค่เรื่องของรสชาติ แต่อยากให้ทุกคนรู้ถึงที่มาที่ไปของกาแฟ คาเฟ่เชียงใหม่ สาขาล่าสุดแห่งนี้ จึงได้รับการฉายภาพความตั้งใจนั้นให้เห็นชัดเจนขึ้น เมื่อ คุณจูน-ทัศวรรณ สิทธิราษฎร์ และคุณโอ๋-อนุวัฒน์ กอบน้ำเพ็ชร ตัดสินใจขึ้นมาเปิดร้านกาแฟสาขา 2 ที่เชียงใหม่ ต่อจากสาขาสุขุมวิท101/1 ในกรุงเทพฯ โดยการทำแบรนด์ผ่านการออกแบบร้านกาแฟสาขาใหม่นี้ พวกเขาเชื่อว่าจะสามารถช่วยให้คนรักกาแฟได้รู้จักและจดจำกระทรวงการคั่ว Ministry of Roasters ในฐานะคาเฟ่แห่ง 5th Wave มากขึ้นนั่นเอง กับร้านใหม่ที่ตั้งอยู่ในทำเลทอง ริมถนนช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ ทั้งคู่เล่าว่า ที่นี่เกิดจากการรีโนเวตเรือนแถวไม้เก่าหลังคาปั้นหยา 3 คูหา อายุไม่ต่ำกว่า […]