Commercial Space Archives - room

Koff and Bun at Song Wat คาเฟ่ทรงวาด การเจอกันระหว่างซาลาเปากับกาแฟสเปเชียลตี้ของแชมป์คั่ว

Koff and Bun at Song Wat คาเฟ่ทรงวาด แห่งนี้ เกิดจากการรีโนเวทตึกแถวเก่าสไตล์คลาสสิกบนถนนทรงวาดของแบรนด์ Koff and Bun โดยมีเจ้าของเป็นถึงแชมป์นักคั่วจากรายการแข่งขันคั่วกาแฟระดับประเทศ “Thailand National Roasting Championship 2018” และเป็นทายาทร้านขนมจีบซาลาเปา “ไต้แป๊ะ” ตำนานความอร่อยที่มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2475 (Since 1932) ที่นี่จึงมีดีทั้งกาแฟและซาลาเปาขนมจีบ อันเป็นอัตลักษณ์ของ Koff and Bun DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: party/space/design ก่อนหน้านี้ คุณสิทธิ์ – พรประสิทธิ์ ไพศาลสินสกุล เจ้าของ คาเฟ่ทรงวาด ที่นี่ ประสบความสำเร็จมาแล้วกับร้าน Koff & Bun Coffee Roasters สาขาบางแค โดยใช้เวลากว่า 8 ปี จนกระทั่งพร้อมขยายสู่สาขาที่ 2 ด้วยการมองหาทำเลใกล้กับเยาวราช จนมาลงตัวที่ถนนทรงวาด แล้วลงมือรีโนเวทตึกแถวเก่าขนาดหนึ่งห้องแถวครึ่งให้กลายเป็นคาเฟ่ เพื่อบอกเล่าความถนัดด้านกาแฟและซาลาเปา […]

KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมแม่น้ำแควกลืนกับบริบท เด่นด้วยกำแพงกันดินจากหินกรวด

KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมแม่น้ำแคว สะท้อนแรงบันดาลใจบริบทท้องถิ่น จากกำแพงกันดินหินกรวดที่ผสานไปกับรสอาหารในอาคารที่ถ่อมตนต่อบริบทของจังหวัดกาญจนบุรี DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: PHTAA Living Design ท่ามกลางบรรยากาศของป่าไม้ที่เรียงรายอยู่ริมแม่น้ำแควใหญ่ซึ่งไหลผ่านตัวเมืองกาญจนบุรี จะสังเกตเห็น KAAN River Kwai Restaurant ร้านอาหารริมแม่น้ำโครงสร้างสีน้ำตาลที่ได้รับการออกแบบโดย PHTAA living design อันเกิดจากการประกอบขึ้นของเหล็กและไม้จากที่มีในพื้นที่ ชวนต้อนรับแต่ยังซ่อนตัวในบริบทด้วยกรวดสีน้ำตาลซ้อนกันเป็นกำแพงด้านฝั่งริมแม่น้ำ ก่อเกิดภาพลักษณ์อันโดดเด่นแต่ยังอ่อนน้อมต่อสายน้ำที่ไหลผ่านและแมกไม้สีเขียวที่โอบล้อม องค์ประกอบทั้งหมดนั้นเกิดจากการตีความอย่างละเอียดลออโดยสตูดิโอออกแบบที่คอยมองหาและพลิกแพลงวัสดุรอบตัว ให้กลายมาเป็นภาษาการออกแบบอันแปลกใหม่ เช่นเดียวกับร้านอาหารพื้นที่ใช้สอย 800 ตารางเมตร แห่งนี้ ซึ่งก่อร่างจากวัสดุท้องถิ่นและเอกลักษณ์ของบริบทของที่ตั้งโดยการผสานตัวอาคารให้เชื่อมต่อกับแม่น้ำแควใหญ่ที่เป็นเส้นทางผ่านด้านหน้า ทำให้อาคารแห่งนี้สร้างประสบการณ์ใหม่ในการเข้าถึงนอกเหนือจากการเข้าถึงที่ถนนจากอีกฝั่ง ที่ตั้งซึ่งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ มีลักษณะพื้นดินเป็นตลิ่งไล่ระดับความสูง 3 เมตร สถาปนิกจึงริเริ่มตั้งโจทย์จากตำแหน่งที่ตั้ง ซึ่งเป็นทั้งความท้าทาย ในอีกแง่ก็เป็นการใช้ประโยชน์จากทิวทัศน์ธรรมชาติเสริมให้อาคารมีความน่าสนใจ อาคารมีแนวคิดป้องกันการกัดเซาะจากแม่น้ำด้วยกำแพงกันดินที่สร้างด้วยวัสดุท้องถิ่นอย่างกรวดแม่น้ำที่หาได้โดยรอบ จากที่แต่เดิมมักเป็นเพียงกำแพงคอนกรีตหนาหนักไม่เป็นหนึ่งเดียวกับสภาพแวดล้อม อีกทั้งยังเป็นทัศนอุจาดริมฝั่งที่พบเห็นได้บ่อยครั้ง สถาปนิกพลิกแพลงกำแพงกันดินนี้ให้เป็นหนึ่งเดียวกับสถาปัตยกรรม โดยการใช้กรวดให้เกิดเป็นฟังก์ชันที่น่าสนใจจากคุณสมบัติ อันได้แก่ ความคงทน น้ำซึมได้ยาก และมีสีเฉพาะตัวแต่ยังเป็นเนื้อเดียวกันกับบริบท วางซ้อนสร้างความเป็นส่วนตัวและรองรับน้ำหนักของอาคารที่มีโครงสร้างหลักเป็นเหล็กและไม้ ในขณะเดียวกันกำแพงก็ถูกออกแบบให้ยังคงความโปร่งโล่งให้กับภายในร้านอาหารเพื่อความเย็นสบาย โอบกอดให้แสงธรรมชาติส่องเข้ามาจากวัสดุมุงหลังคาแบบโปร่งแสง ทว่ามีแผงระแนงไม้อยู่ใต้หลังคาช่วยกรองปริมาณแสงไม่ให้ภายในร้อนมากเกินไป นอกจากนั้น เพื่อให้อาคารกลืนไปกับผืนป่าโดยรอบจึงออกแบบความสูงของหลังคาให้อยู่ระดับที่พอดี ส่งผลให้มีพื้นที่ระเบียงยื่นออกมาจากแนวหลังคา […]

Halfway – Brunch & Roastery จิบกาแฟชิมบรันซ์ ซ่อนความโคซี่ไว้หลังนั่งร้านเหล็ก

Halfway – Brunch & Roastery คือการโคจรมาเจอกันระหว่าง Unfinished Coffee Roaster คาเฟ่ย่านลาดพร้าว กับ PEPE’ Bangkok ร้านอาหารสไตล์ Casual Dining ย่านสุขุมวิท จนกลายเป็นคาเฟ่บรันซ์ ที่ใช้แนวคิด Borderless Cuisine ในการออกแบบและสร้างสรรค์เมนู ที่เกิดจากการรวมตัวกันของสองทีมงาน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Anatomy Architecture + Atelier / AA+A คาเฟ่นี้ตั้งอยู่ใต้ถุนหอพักหญิงธรรมศาสตร์ อาคารเก่าสไตล์ Brutalist ในซอยงามดูพลี ตรงข้ามกับสมาคมธรรมศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งถูกทิ้งร้างมานานกว่า 30 ปี แต่ด้วยโครงสร้างที่ยังแข็งแรงและมีคุณค่า พื้นที่ทั้งหมดของหอพักฯ จึงได้รับการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มี Halfway Brunch & Roastery เป็นส่วนหนึ่งของการฟื้นฟู ตัวร้านอยู่ติดกับฟุตบาท มีจุดสังเกตง่าย ๆ ด้วยโครงสร้างนั่งร้านเหล็กสีส้มตัดกับสีเขียวของต้นไม้ในซอยดูร่มรื่น ความโดดเด่นที่เหมือนไซต์ที่ยังสร้างไม่เสร็จนี้ คือเป็นความตั้งใจของผู้ออกแบบ […]

Horme Cafe Rangsit คาเฟ่ในสวน ล้อมคอร์ต เอ็นจอยกลางพื้นที่สีเขียว

คาเฟ่ที่ออกแบบสวนล้อมคอร์ต ให้ทุกคนได้มาใช้เวลาร่วมกัน ในพื้นที่สีเขียวDESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Supar Studio คาเฟ่ในสวน แห่งใหม่ในรังสิต ออกแบบโดย Supar Studio ดีไซน์อาคาร ให้เป็นเหมือนการปั้นภาชนะดิน ให้เกิดเป็นรูปทรงโค้ง โอบรับพื้นที่ที่ตัวอาคารตั้งอยู่ ให้เส้นสายอาคารโค้งต่อเนื่องกันทั้งภายนอก และภายใน ทำให้ได้ทรงอาคาร ที่กลมกลืนไปกับบริบทรอบข้าง ให้ผู้ที่อยู่อาศัยโดยรอบรู้สึกว่าอาคารหลังนี้เป็นส่วนหนึ่ง ไม่แปลกแยก และเป็นมิตรสำหรับการเข้ามาใช้งาน พื้นที่สวน ออกแบบเป็นเนินหญ้ายกสูง สลับกับพื้นเรียบ เป็นพื้นที่ที่สถาปนิกพัฒนาการออกแบบมาจากร้านในสาขาอื่น ๆ ที่เปิดมาก่อนหน้านี้ ซึ่งทำเป็นสวนตกแต่ง แล้วมีลูกค้าเข้าไปเดินใช้งานจริง ๆ สำหรับสาขานี้จึงออกแบบให้สวนเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรม ให้ลูกค้าเข้ามาเดินเล่น หรือพาลูก ๆ มาวิ่งเล่นบนเนินหญ้าได้ เป็นสวนที่ใช้งานได้ เป็นเหมือนพื้นที่สีเขียวส่วนกลางสำหรับพื้นที่บริเวณโดยรอบ ซึ่งเป็นที่พักอาศัยแบบคอนโดมิเนียม และยังได้มาดื่มกาแฟ และยังมีร้านอาหารตั้งอยู่ที่อาคารด้านข้าง เรียกได้ว่าเป็นพื้นที่พักผ่อนครบรูปแบบในพื้นที่เดียว จากภายในร้าน เปิดโปร่งด้วยกระจกใส เมื่อมองออกไป จะเห็นสวนที่อยู่ตรงกลาง สถาปนิกออกแบบสวนให้เป็นพื้นที่เชื่อมต่อ ระหว่างตัวร้าน กับสถานที่ตั้งด้านนอก มีช่องเปิด ที่มองออกไปเห็นอาคารที่พักอาศัย ที่อยู่ด้านนอก และจากอาคารภายนอกมองเข้ามาก็เห็นสวน และร้านคาเฟ่ ทำให้พื้นที่ทั้งหมดกลายเป็นเรื่องเดียวกัน […]

lei ơi càphê ร้านกาแฟตึกแถว เวียดนาม สัมผัสความสงบและธรรมชาติจากภายใน

lei ơi càphê บ้านกึ่ง ร้านกาแฟตึกแถว สีส้มอิฐ ที่ชวนทุกคนทิ้งความวุ่นวายไว้ภายนอก เพื่อมาสัมผัสความสงบและธรรมชาติจากภายใน ท่ามกลางย่านชุมชนทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองดานัง ประเทศเวียดนาม ที่ห้อมล้อมไปด้วยบ้านตึกแถว หรือบ้านหน้าแคบ นับเป็นบริบทที่ท้าทายนักออกแบบจาก TRAN TRUNG Architects ในการออกแบบพื้นที่ ร้านกาแฟตึกแถว ให้ผสมผสานไปกับพื้นที่พักอาศัยที่อยู่ชั้น 2 และ3 มีมุมมองจากภายในที่ดูเปิดโปร่ง ชักนำแสงและลมให้สามารถไหลเวียนได้อย่างทั่วถึงทุกชั้น เมื่อมองเข้ามาจากพื้นที่หน้าร้าน นับเป็นโชคดีของที่นี่ที่มีต้นไม้ใหญ่จากฟุตบาทคอยช่วยสร้างร่มเงาดูร่มรื่น โดยสีเขียวของต้นไม้ดูตัดกันดีกับผนังอาคารสีส้ม และฟาซาดสังกะสีสีสนิมที่นำมาใช้ปิดบังมุมมองเพื่อความเป็นส่วนตัว ชักชวนให้อยากละทิ้งจังหวะที่เร่งรีบของเมืองภายนอก ก่อนจะค่อย ๆ ชะลอจังหวะให้ช้าลง จนสัมผัสได้ถึงความนิ่ง สงบ และกลิ่นกาแฟอันหอมกรุ่น รอต้อนรับอยู่ภายใน การออกแบบมาจากแนวคิดที่ต้องการเปิดพื้นที่ตรงกลางให้เปิดทะลุถึงด้านบน โดยมีเส้นทางสัญจรอย่างบันไดเหล็กเจาะรูที่ดูโปร่งเบาทำหน้าที่แจกจ่ายผู้คนไปยังแต่ละชั้น แถมยังยอมให้แสงและลมลอดผ่านลงมาถึงชั้นล่าง ซึ่งมีคอร์ตยาร์ด หรือพื้นที่สีเขียวปลูกต้นไม้เขียวชอุ่มสดชื่น เคล้าไปกับกลิ่นหอมหวนของกาแฟ ตัวอาคารไม่เพียงแต่ผสมผสานกับสภาพแวดล้อมเท่านั้น แต่ยังสร้างสภาพแวดล้อมที่โดดเด่นเป็นของตัวเอง ซึ่งสามารถรับรู้ได้ของการเคลื่อนไหวของลมและแสงที่ปรับทิศทางไปตามช่วงเวลา สังเกตได้จากการตกกระทบของแสงเงาที่ปรากฏบนผนัง นอกจากนี้ การออกแบบของสถาปนิกยังสะท้อนถึงแนวคิด “Reviving the Life Cycle” จากการก่อสร้างและใช้วัสดุที่ถูกทิ้ง หรือถูกมองข้ามให้ได้รับการนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของอาคาร ไม่ว่าจะเป็นแผงสังกะสีลอนลูกฟูก […]

Odeum Cafe คาเฟ่ระยอง สไตล์โมเดิร์นเรโทร เชื่อมโยงความหลงใหลในดนตรีและกาแฟเข้าด้วยกัน

คาเฟ่ระยอง ย่านมาบตาพุด มีแรงบันดาลใจมาจากเจ้าของผู้หลงใหลในดนตรี Alternative Rock ผสมกับความคลั่งไคล้ในเรื่องราวของกาแฟ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ:  SA-ARD architecture & construction Odeum Cafe เริ่มต้นมาจากความหลงใหลในกาแฟและเสียงดนตรี จึงนำชื่อ “Odeum” ซึ่งหมายถึง “โรงแสดงดนตรี” มาใช้ตั้งชื่อคาเฟ่ระยองแห่งนี้ ทั้งยังเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบร้านโดย SA-ARD architecture & construction ที่ตีความภาษาดนตรีสู่ภาษางานออกแบบ จนกลายเป็นอาคารโมเดิร์นลอยโดดเด่นจากบริบท ใช้บันไดที่นำพาผู้คนจกระดับถนนไปสู่ทางเข้าอาคารด้านบน สร้างภาพจำให้แก่งานออกแบบในแนวทางที่เรียกว่า Modern Retro มีเอกลักษณ์ด้วยเปลือกอาคาร หรือฟาซาด ที่มีไอเดียมาจาก Piano Keyboard Diagram เพิ่มความเชื้อเชิญในการเข้าถึงภายในอาคาร สถาปนิกเลือกใช้วัสดุปิดผิวอาคารจากแผ่นเมทัลชีทผิวด้าน สามารถช่วยลดการสะท้อนของแสง และสร้างบรรยากาศที่เหมาะสมให้กับพื้นที่โดยรอบ นอกจากนี้ยังทำการเพิ่มช่องแสงด้านหน้าอาคาร เพื่อให้เกิดการเชื่มต่อของพื้นที่ทางสายตาระหว่างนอกกับในอาคาร การวางผังใช้งานเป็นไปตามแนวยาวของอาคาร แบ่งพื้นที่ออกเป็นส่วน Café และ Back of house ออกจากกันด้วยห้องน้ำที่กั้นอยู่ตรงกลาง และเชื่อมต่อกับหลังอาคารและห้องพักพนักงาน โดยจัดให้ห้องน้ำสามารถเข้าถึงได้จากภายในคาเฟ่ โดยตรง โดยไม่ทำลายบรรยากาศภายในร้าน การตกแต่งภายในของ […]

Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่ง ที่เชียงใหม่ เสิร์ฟอาหารจากวัตถุดิบของดีทั่วไทย

Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารไฟน์ไดนิ่ง ของเชฟแบล็ก-ภานุภณ บุลสุวรรณ กับร้านบรรยากาศเป็นกันเองเหมือนมากินข้าวที่บ้านเชฟ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 โปรเจ็กต์รีโนเวตร้านอาหารกลางเมืองเชียงใหม่ กับร้าน Blackitch Artisan Kitchen ร้านอาหารของเชฟแบล็ก-ภานุภณ บุลสุวรรณ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในแวดวงทำอาหาร ด้วยชื่อเสียงและความถนัดด้านการนำวัตถุดิบท้องถิ่นทั่วไทยมาสร้างสรรค์เป็นเมนูพิเศษ กับเชฟเบียร์-อโณทัย พิชัยยุทธ เชฟทำขนมหวาน หลังจากที่ร้านอาหารของทั้งคู่เป็นที่รู้จักและเป็นขวัญใจของเหล่านักชิมมาระยะหนึ่ง เชฟทั้งสองท่านจึงตัดสินใจรีโนเวตร้านของตนเองใหม่ โดยมอบหน้าที่ให้สตูดิโอออกแบบ 𝗯𝗹𝗮𝗻𝗸𝘀𝘁𝘂𝗱𝗶𝗼 มาช่วยถ่ายทอดบรรยากาศและความเป็นตัวตนของเชฟลงไปในพื้นที่ กับการเปลี่ยนโฉมร้านอาหารที่แม้จะอยู่ในตึกแถวขนาด 3 ชั้น แต่กลับโดดเด่นกว่าร้านอื่นในละแวกใกล้เคียง เริ่มตั้งแต่ฟาซาดที่ดูคล้ายกับกล่องสีขาว ติดป้ายชื่อร้านสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีตัวแทนประจำร้านให้เห็นเด่นชัด ร่วมกับองค์ประกอบงานไม้เพื่อสื่อถึงบรรยากาศที่น่าเชื้อเชิญ ไม่ต่างจากกำลังเดินเข้ามาในบ้านหลังหนึ่ง ซึ่งเป็นธีมที่เจ้าของร้านอยากให้มีมู้ดราวกับกำลังเข้ามากินข้าวที่บ้านของเชฟแบบเป็นกันเอง ฉีกแนวเหมือนไม่ได้เดินเข้ามาในตึกแถว อย่างประตูทางเข้าที่ไม่ใช่ประตูทางเข้าตึกแถวทั่วไป แต่เป็นประตูที่ให้อารมณ์เหมือนเดินเข้าบ้าน ขณะที่ด้านข้างมีช่องหน้าต่างไม้กรุกระจกเล็กมีความเป็นไทยผสมญี่ปุ่น ชั้น 1 เป็นพื้นที่เคาน์เตอร์ทำขนมของเชฟเบียร์ ในวันที่มีคอร์สทำขนม ลูกค้าสามารถนั่งชมการทำขนมของเชฟ และรับประทานขนม พร้อมพูดคุยกับเชฟได้ เดินถัดเข้ามาจะพบกับส่วนที่เปรียบเสมือนพื้นที่แสดงผลงานการถนอมอาหารและโชว์วัตถุดิบที่เชฟแบล็กทำเอง ซึ่งถูกตีความว่าเป็นงานคราฟต์ของการทำอาหาร โดยทุกคนจะได้เห็นโถหมักดองเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ มีที่มาจากวัตถุดิบในท้องถิ่นหลากหลาย ก่อนนำมาใช้ประกอบอาหารจนเป็นเอกลักษณ์ จากพื้นที่โชว์ผลงานผ่านโหลเครื่องปรุงที่ชั้น 1 ขึ้นสู่ชั้น […]

Navan Navan ประสบการณ์แปลกใหม่ ในร้านฟีลถ้ำ ของเชฟแวน ในวันที่พาใจกลับบ้านที่แม่ริม

“เชฟแวน” เจ้าของร้าน Escapade Burgers & Shakes, ราบ และ DAG ผู้มีคาแร็กเตอร์ชัดเจน ดูแข็งแกร่ง กำยำ ดุดัน รวมทั้งเมนูอาหารที่จัดจ้านในความ Creative นั่นจึงทำให้ร้านเห็นนี้ มีภาพลักษณ์ที่ดูลึกลับ คล้ายถ้ำ เผื่อชวนให้เกิดความสงสัยใคร่รู้ว่าภายในนั้นจะรังสรรค์อาหารแบบไหนให้กับลูกค้า DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Godmother Studio ร้านแห่งนี้เป็นหนึ่งในช่วงเวลาของการเลือกที่จะกลับสู่บ้านที่แม่ริมของเชฟแวน ซึ่งพื้นที่ตรงนี้ก็เป็นบริเวณบ้านชองครอบครัวอยู่แล้ว ที่มีทั้ง Homestay ร้านกาแฟ สวนดอกไม้ ในทุ่งที่ชื่อ “Amaze l at Themyth ” ซึ่งตั้งในอยู่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ล้อมรอบด้วยทุ่งนา และทิวเขา มีวิวอาทิตย์ตกอันงดงาม เพราะแก่การยกถ้ำส่วนตัวมาตั้งไว้อย่างเหมาะเจาะ การเลือกใช้วัสดุที่แสดงออกถึงสัจวัสดุไร้การเติมแต่งคือหัวใจของการออกแบบในครั้งนี้ ภายนอกนั้นเป็นการก่ออิฐฉาบปูนโดยทำผิวด้วยเทคนิคโบราณอย่างการ “สลัดดอกปาดเรียบ” ซึ่งก่อให้เกิดเท็กซ์เจอร์ที่ดูเหมือนธรรมชาติมากกว่าเทคนิคสมัยใหม่ ส่วนภายในนั้นใช้การฉาบเรียบ เคลือบใส โดยไม่ใช้การทาสี และใช้ไม้เป็น Subroog ให้กับฝ้า เพื่อลดความดิบของปูน แต่ยังโชว์ถึงโครงสร้างไว้อย่างชัดเจน จากภายนอกนั้นออกแบบให้เดินเข้าสู่ภายในด้วยความสูงที่ค่อยๆลดหลั่นลงไปยังบาร์ และส่วนประกอบอาหาร เพื่อเน้นถึงจุดสนใจบริเวณบาร์อาหาร […]

SHER GA SHAW FARMSTAY ฟาร์มสเตย์ เชียงใหม่ กลางขุนเขา แรงบันดาลใจจากโรงนาดีไซน์ประยุกต์

จากพื้นที่สวนมะขามเก่าขนาด 10 ไร่ ในตำบลร้องวัวแดง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ได้กลายเป็นฟาร์มสเตย์เล็ก ๆ ที่เจ้าของตั้งชื่อว่า เฌอกะฌอ ฟาร์มสเตย์ ซึ่งมีที่มาจากลูก ๆ ทั้งสองคนของเจ้าของโครงการที่ชื่อว่า น้องฌอ และน้องเฌอ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Homesook Studio โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของ เฌอกะฌอ ฟาร์มสเตย์ ได้รับการออกแบบให้เป็นพื้นที่สำหรับทำการเกษตร เพาะปลูก มีนาข้าว บ่อน้ำ สวนผัก และสวนป่า เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเที่ยวชมและพักผ่อน ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบสงบ โอบล้อมไปด้วยภูเขาทั้งด้านหน้าและหลัง การออกแบบตัวอาคาร ทีมผู้ออกแบบจาก Homesook Studio มีแนวคิดมาจาก “โรงนา” ที่ภายในตัวอาคารมักจะมีการยกพื้นไว้สำหรับนอนพักผ่อนยามฤดูเพาะปลูก ฤดูเก็บเกี่ยว มีที่หุงหาอาหารเล็ก ๆ และพื้นที่สำหรับเลี้ยงสัตว์ จากวิถีชีวิตในการทำการเกษตรของเจ้าของ จึงเป็นเหตุผลในการต่อยอดแนวคิดฟาร์มสเตย์ โดยโรงนาหลังนี้ทำหน้าที่เชื่อมพื้นที่ในโครงการ สภาพแวดล้อม และบริบทของนาขั้นบันได และเป็นส่วนต้อนรับของโครงการไปในตัว ตัวอาคารได้รับการประยุกต์ให้มีความทันสมัย ในขณะเดียวกันก็มีความกลมกลืนเข้ากับบริบทสังคมชนบท วัสดุที่เลือกใช้มีทั้ง ไม้ เหล็ก คอนกรีต กระจก […]

Tanatap Wall Garden จิบกาแฟในสวน เป็นส่วนตัวภายใต้วงล้อมกำแพงสีขาว

คาเฟ่อินโดนีเซีย Tanatap Wall Garden ร้านอาหารกึ่งคาเฟ่และบาร์ในสวน พร้อมผนังสีขาวที่สร้างสุนทรียะและเอกลักษณ์ในงานออกแบบ สอดรับจินตภาพทางความงามของจังหวัด Central Java ในอินโดนีเซีย คลื่นของผนังสีขาวที่สร้างพื้นผิวอย่างมีสุนทรียะดังเช่นบทกวี คือเอกลักษณ์ของ คาเฟ่อินโดนีเซีย ในโปรเจ็กต์ Tanatap Wall Garden ซึ่งได้รับการจัดวางตำแหน่งให้เกิดความเคลื่อนไหวอ่อนช้อยและเป็นเอกลักษณ์ คดโค้งไปตามพุ่มไม้สีเขียวทำให้เกิดมิติของธรรมชาติ ทั้งยังทำหน้าที่ช่วยแบ่งพื้นที่โซนคาเฟ่ ร้านอาหาร และบาร์ให้เป็นสัดส่วนได้อย่างแยบยล บนพื้นที่ใช้สอยกว่า 2,500 ตารางเมตร ซึ่งมีต้นไม้สีเขียวปลูกเรียงราย ถูกเสริมด้านฟังก์ชันให้กลายเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่คลุกเคล้าประโยชน์ใช้สอยทั้งคาเฟ่ ร้านอาหาร และบาร์ในแง่ที่กลมกลืนไปกับธรรมชาติ สะท้อนมาจากคอนเซ็ปต์ที่ขมวดโดย RAD+ar สถาปนิกผู้รับโจทย์ในโปรเจ็กต์ Tanatap Wall Garden ซึ่งเกิดจากการฟื้นฟูพื้นที่จอดรถเก่าใจกลางย่านพาณิชย์ ปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นพื้นที่หลากหลายประโยชน์ใช้สอยที่กลมกลืนอย่างเป็นธรรมชาติกับภูมิทัศน์ดั้งเดิม โดยการตั้งต้นจากองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมอย่างง่าย คือ ‘ผนัง’ ที่พัฒนามาจากเส้นตรง 3 เส้น นำมาจัดวางให้แยกออกจากกันอยู่กลางสเปซ ย่อขยายให้เกิดความสูง-ต่ำที่ต่างกัน หมุนอย่างมีลูกเล่นไปตามพุ่มไม้เดิมที่แทรกอยู่เป็นหย่อม ๆ จนมีผลต่อการสร้างฟังก์ชันในการปรับแต่งรูปร่างของสเปซและผสมผสานกันกลายเป็นสวนผนังที่เจาะช่องเปิดให้อากาศถ่ายเท นอกจากนั้น สวนผนังยังทำหน้าที่เป็นพื้นที่ให้ร่มเงาเพื่อลดการใช้พลังงานภายในตัวอาคารที่ตั้งอยู่ในเขตภูมิศาสตร์ร้อนชื้น ขับเน้นให้ร้านอาหารกึ่งบาร์และคาเฟ่แห่งนี้เกิดความสวยงามและฟังก์ชันที่ดำรงไว้ซึ่งความยั่งยืน บริเวณทางเข้ามีสวนสีเขียวต้อนรับและสามารถเดินไปพักผ่อนที่สวนบริเวณด้านหลัง เมื่อลัดเลาะจากสวนด้านหน้าจะมองเห็นเงาสะท้อนของแมกไม้จากบ่อน้ำขนาด 800 ตารางเมตร […]

เกี๊ยวหนองบัว (สาขาวังหลัง) ร้านบะหมี่จากตราดสู่กรุง ชิลริมน้ำในบ้านตราดประยุกต์

เกี๊ยวหนองบัว ร้านบะหมี่เกี๊ยวสูตรเบตงชื่อดังแห่งจังหวัดตราด ที่ดำเนินกิจการมายาวนานกว่า 50 ปี ตั้งแต่รุ่นคุณพ่อ เมื่อเปลี่ยนผ่านมาสู่รุ่นลูก เกี๊ยวหนองบัวได้รับการรีโนเวตและรีแบรนด์ใหม่ จากสาขาแรกในตึกแถว 3 คูหา กลางเมืองตราด ผ่านมาราว 3 ปี วันนี้เกี๊ยวหนองบัวได้ขยายสาขา 2 มายังย่านวังหลัง ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ขอนำความเป็นตราดมาให้คนกรุงเทพฯ สัมผัสและลิ้มลอง DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: ตื่น ดีไซน์ สตูดิโอ เกี๊ยวหนองบัว สาขาวังหลัง ตั้งอยู่ในตรอกวัดระฆัง หน้าร้านเป็นลานโล่งเชื่อมติดกับถนน เมื่อมองเข้ามาจะเจอกับตัวอาคารที่หยิบเอกลักษณ์บ้านเก่าสมัยรัชกาลที่ 4-5 ในจังหวัดตราด มาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ กลายเป็นรูปทรงอาคารพื้นถิ่นประยุกต์ ผสมผสานกับความร่วมสมัย เน้นสะท้อนตัวตนและทำให้ร้านเกิดภาพจำด้วยการดึงคาแร็กเตอร์คุณพ่อเจ้าของร้าน ซึ่งมีบุคลิกสมถะและจริงใจมาเล่าผ่านการเลือกใช้วัสดุ ที่มีกลิ่นอายความเรียบง่ายและทันสมัยอยู่ในที ตัวอาคารออกแบบหลังคาให้มีความสโลบ เมื่อมองจากด้านนอกจะเหมือนว่าที่นี่เป็นอาคารชั้นเดียว แต่แท้จริงแล้วภายในแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ชั้น พร้อมชั้นดาดฟ้าให้ขึ้นไปชมวิว ชั้น 1 จะพบกับโซนขายของฝาก รวบรวมของฝากขึ้นชื่อของจังหวัดตราดมาให้ชอปปิ้ง จากโซนนี้สามารถมองเห็นครัวเปิด ซึ่งเป็นอีกสีสันหนึ่งของร้าน บ่งบอกความตั้งใจในการรังสรรค์ทุกเมนู โดยครัวเปิดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของครัวขนาดใหญ่ที่ออกแบบให้ยาวขนานไปตามแนวผนังฝั่งซ้าย และต่อเนื่องไปจนถึงถนนหน้าร้าน แล้วออกแบบแมสอาคารให้ปิดครัวส่วนหน้านี้ […]

The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์

โปรเจ็กต์รีโนเวตอาคารพาณิชย์เก่าสภาพทรุดโทรม สู่ บาร์ภูเก็ต คอนเซ็ปต์ไพ่ทาโรต์ เปรียบการค้นหาคำตอบของชีวิต ผ่านความหมายของไพ่ และรสชาติของเครื่องดื่ม ที่สร้างสรรค์โดย Mixologist นักดีไซน์เครื่องดื่มผู้ชำนาญ DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: MOMstudio จากภายนอก The Fool Speakeasy บาร์ภูเก็ต ดูสะดุดตาแตกต่างจากอาคารที่อยู่ใกล้เคียง ซ่อนความลึกลับไว้ภายในซึ่งอยู่เบื้องหลังเปลือกอาคารที่ทำจากแผงวัสดุสีโลหะรูปทรงเหมือนไพ่ โดยติดตั้งแบบบิดองศาเหมือนไพ่กำลังเคลื่อนไหวยามถูกเปิดออก กลายเป็นสถาปัตยกรรมที่น่าเชื้อเชิญให้อยากเข้ามาหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ภายใน บาร์ลับในรูปลักษณ์ที่ดูคล้ายวิหารแห่งคำทำนายนี้ ผู้ออกแบบจาก MOMstudio ได้แรงบันดาลใจมาจากป้อมปราการในอารยธรรมโลกเก่า หรือยุคกลาง ที่สร้างขึ้นด้วยอิฐ และหิน ฉาบหุ้มด้วยวัสดุ หรือสีสันจากธาตุธรรมชาติอย่าง ดินแดง หรือโลหะอย่าง ทองแดง ดูแล้วศักดิ์สิทธิ์ ปนลึกลับอยู่ในที เชื่อมต่อกับแนวคิดการออกแบบที่ทีมออกแบบได้ตีความคอนเซ็ปต์ของร้านมาจากการเปิดไพ่ทาโรต์ ที่ผู้เปิดไพ่ไม่สามารถมองเห็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังไพ่แต่ละใบได้ การเปิดไพ่แต่ละครั้งจึงเปรียบเหมือนการเดินเข้าไปสู่พื้นที่ที่คาดเดาไม่ได้ของ The Fool Speakeasy Bar โดยเรียงลำดับการรับรู้ของผู้ใช้งานตั้งแต่ก่อนเข้าบาร์ที่ลูกค้าจะได้สัมผัสกับการบริการเป็นกันเองของ Mixologist ระหว่างที่กำลังรังสรรค์เครื่องดื่มค็อกเทล จนถึงการได้รับรสจากเครื่องดื่ม เสมือนการเดินทางที่เริ่มต้นจากความไม่รู้ เพื่อพบเจอสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ แล้วจึงค่อย ๆ คลี่คลายในคำตอบที่เลือกด้วยตนเอง ผู้ออกแบบใช้องค์ประกอบของไพ่รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาเป็นองค์ประกอบพื้นฐานในการเล่าเรื่องราวของไพ่ทาโรต์ที่สอดคล้องกันตั้งแต่สถาปัตยกรรมภายนอกไปจนถึงภายใน สถาปัตยกรรมภายนอกทำหน้าที่ปกปิดอาคารถูกห่อหุ้มด้วยผิวของอาคาร 2 […]

ROLL SALAYA คาเฟ่กึ่งมิวเซียมในโกดังเก่า เล่าวิวัฒนาการฟิล์มภาพยนตร์หาชมยาก

รีโนเวทโกดังเก่าสู่คาเฟ่กึ่งมิวเซียม เพื่อพาทุกคนย้อนเวลาไปสู่ยุคที่ภาพยนตร์ยังบันทึกภาพด้วยฟิล์มที่ ROLL Salaya คาเฟ่ที่ตั้งอยู่เคียงข้างกับพิพิธภัณฑ์ KFLM Kantana Film Lab Museum ใกล้กับสถาบันกันตนา ภายในพื้นที่ของกันตนา มูฟวี่ทาวน์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: SD LAB จาก ROLL สาขา 1 ในกันตนาสตูดิโอ ย่านห้วยขวาง ล่าสุดคาเฟ่ที่เล่าเรื่องราวของฟิล์มภาพยนตร์นี้ ได้เปิดเพิ่มอีกหนึ่งสาขา กับ ROLL Salaya โดยมีจุดประสงค์เพื่อพาผู้คนให้ไปเดินชมเรื่องราวของภาพยนตร์ต่อกันที่ KFLM Kantana Film Lab Museum พิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยีและกระบวนการเกี่ยวกับการล้างฟิล์มภาพยนตร์ ซึ่งมีน้อยคนนักที่จะรู้และเคยเห็นว่าเขามีวิธีการอย่างไร นับตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงยุคเปลี่ยนผ่าน จากฟิล์มภาพยนตร์สู่ระบบดิจิทัล ภายใต้โจทย์การออกแบบเพื่อให้ที่นี่เป็นเสมือนพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อม คล้ายกับทีเซอร์ช่วยเล่าเรื่องราวของฟิล์มภาพยนตร์เก่าหาชมยาก ตัวอาคารของคาเฟ่เดิมเคยใช้เป็นโรงเก็บสารเคมีใช้ในกระบวนการล้างฟิล์ม แต่หลังจากที่ภาพยนตร์เข้าสู่ยุคดิจิทัล ที่นี่ก็ถูกปิดร้างมานานกว่า 10 ปี ทำให้สภาพโกดังทรุดโทรมไปตามเวลา จนกระทั่งโปรเจ็กต์รีโนเวทโกดังเริ่มต้นขึ้น จากพื้นที่เริ่มทรุด ผู้ออกแบบต้องเสริมโครงสร้างพื้นใหม่เพื่อปรับให้เหมาะกับการเปิดเป็นคาเฟ่ ขั้นตอนการรีโนเวตจึงไม่ใช่การทุบแล้วสร้างใหม่ แต่เป็นการเน้นเก็บโครงสร้างเก่าไว้ให้มากที่สุด เห็นได้จากบานหน้าต่างไม้ที่เป็นของเดิมทั้งหมด แต่ได้รับการนำมาขัดและทำสีใหม่ให้สวยงาม วงกบก็ยังคงตำแหน่งเดิม […]