Living Archives - Page 4 of 28 - room

บ้านตึก กลางเมือง เฟอร์นิเจอร์เก่าร่วมสมัยที่สานต่อเรื่องราวจากรุ่นสู่รุ่น

บ้านหลังนี้เกิดจากความต้องการในการสร้างพื้นที่ที่ครอบครัวของพ่อแม่ และลูกๆทั้ง 3 คน จะได้อยู่รวมกันในพื้นที่ที่เรียกว่า บ้าน ได้อย่างลงตัว แต่ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่กลางเมืองในย่านพระราม 3 ทำให้การออกแบบนั้นต้องมีการคำนึงถึงข้อจำกัดทางกฎหมาย เพื่อนบ้าน สภาพแวดล้อม ไปจนถึงการตอบสนองต่อบรรยากาศแห่งสุนทรียะที่ บ้าน หลังหนึ่งพึงจะมีให้กับผู้อยู่อาศัยได้ #เฟอร์ฯเก่าในบ้านใหม่ โจทย์ข้อหนึ่งที่เป็นเหมือนคีย์สำคัญของการออกแบบบ้านหลังนี้เลยก็คือ การที่เจ้าของบ้านมีความตั้งใจที่จะนำเอาเฟอร์นิเจอร์จากบ้านเดิมที่สะสมเอาไว้ตั้งแต่รุ่นตายายมาใช้ต่อในบ้านหลังนี้ บรรยากาศร่วมสมัยของเฟอร์นิเจอร์ไม้สีเข้ม จึงทำให้การจัดวาง และเลือกใช้วัสดุภายในบ้านมีความสนใจมากขึ้นตามไปด้วย เฟอร์นิเจอร์หลายตัวนั้นถูกทำสีใหม่ โดยคำนึงถึงบรรยากาศดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด บางตัวถูกบุผ้าใหม่ บางตัวมีการย้อมสีใหม่ให้ลงตัวเข้ากันกับตัวอื่น และบางตัวก็ได้มีการปรับโทนสีให้ร่วมสมัยยิ่งขึ้น ข้อดีของเฟอร์นิเจอร์เก่าคือความที่เป็นไม้จริง วัสดุจริง มีความคงทนถาวร จึงทำให้สามารถซ่อมแซม หรือปรับปรุงให้สามารถไปต่อกับแนวทางการออกแบบสมัยใหม่ได้อย่างลงตัว อีกสิ่งที่เฟอร์นิเจอร์เก่าสามารถช่วยได้อย่างมากก็คือ บรรยากาศของความเป็นบ้าน ดังจะเห็นได้จากพื้นที่ห้องนั่งเล่นบนชั้น 3 ที่มีบรรยากาศอบอุ่นไม่ต่างจากบรรยากาศของบ้านเดี่ยวแบบดั้งเดิมเลยทีเดียว ทั้งยังสานต่อเรื่องราว ความทรงจำ ไปสู่สมาชิกครอบครัวรุ่นต่อไปได้อย่างดีอีกด้วย เคล็ดลับหนึ่งที่ PHTAA ได้ใช้กับการผสานเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดเข้ากับงานออกแบบร่วมสมัยของบ้านหลังนี้คือ การเลือกใช้วัสดุที่ให้สีสันออกไปทางโทนสีเบจ และน้ำตาล โทนสีในโทนพาสเทลนี้จะช่วยลดความแข็งของไม้สีเข้มลง สร้างความรู้สึกที่นุ่มนวลอบอุ่นให้กับพื้นที่ได้อย่างดีเลยทีเดียว หากใครมีเฟอร์นิเจอร์เก่าสีเข้มเช่น ไม้สัก ไม้แดง ลองนำเทคนิคนี้ไปใช้ก็น่าสนใจไม่ใช้น้อย #บ้านทรงกล่องที่ไม่กล่องจากภายใน จะเห็นได้ว่าบ้านหลังนี้ออกแบบให้เป็นทรงกล่อง ตามข้อบังคับกฎหมายอาคาร แต่ในชั้นที่ 3 […]

บ้านเดี่ยว สไตล์ ตึกแถว ในประเทศ เวียดนาม เปิดรับบริบทภูมิอากาศ และเชื่อมโยงพื้นที่สีเขียวผ่านการใช้พื้นที่ในแนวตั้ง

โจทย์หลักของเจ้าของบ้านคือการเติมพื้นที่โล่ง และแสงธรรมชาติเข้าสู่ภายในของอาคารในรูปแบบตึกแถวที่มักมีปัญหาในด้านความทึบตัน โดยบ้านหน้าแคบเช่นนี้ โดยกฎหมายแล้วจะไม่มีหน้าต่างในด้านข้าง จึงทำให้ต้องมีการออกแบบช่องเปิดในหน้าบ้านและหลังบ้านแทน การเลือกใช้สีขาว ถูกใช้เพื่อให้แสงธรรมชาติที่ผ่านเข้ามาจากช่องเปิดของระเบียง สามารถสะท้อนเข้าไปถึงพื้นที่ภายในได้ทั่วถึง แต่ในขณะเดียวกัน ระยะร่นของระเบียงก็ช่วยให้แสงที่ส่องเข้ามาไม่เจิดจ้าจนเกินไป แม้บ้านหลังนี้จะมีสไตล์ที่ดูเรียบเกลี้ยงแบบมินิมัล แต่การเติมพื้นผิวจากวัสดุธรรมชาติ เช่น การใช้เสื่อสานในการสร้างพื้นผิวให้กับเพดาน และการเลือกใช้พรรณไม้ รวมทั้งการจัดวางให้ต้นไม้มีการเชื่อมโยงระหว่างแต่ละชั้นด้วย ในส่วนของการจัดการสภาพอากาศภายในนั้น มีการทำช่องเปิดให้เกิดการไหลเวียนในแนวตั้งได้ โดยมีสกายไลท์เพื่อสร้างให้ลมร้อนที่ชั้นบนของอาคารช่วยดึงอากาศทั้งหมดให้ไหลเวียนได้โดยสะดวก บ้านหลังนี้จึงเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจของการออกแบบที่สอดคล้องกับภูมิอากาศ และเป็นตัวอย่างที่ดีของการออกแบบบ้านหน้าแคบอย่างตึกแถวไปพร้อมกัน ออกแบบ: S+Na. – Sanuki + Nishizawa architects ภาพ: Hiroyuki Oki เรียบเรียง: Wuthikorn Sut #roomHouses#roomBooks#บ้านเวียดนาม

รีโนเวทคอนโด สูงโปร่งให้อบอุ่นด้วยเฟอร์นิเจอร์ชิ้นโปรด

รีโนเวทคอนโด แบบดูเพล็กซ์ลอฟต์ขนาด 1 ห้องนอน ที่ตกแต่งพร้อมอยู่แบบ Fully Furnished พร้อมตกแต่งและจัดระเบียบพื้นที่เดิมให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของคุณหนุ่ม – รังสรรค์ นราธัศจรรย์ ดีไซน์ไดเร็กเตอร์ และเจ้าของแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ niiq ผังเดิมของห้องชั้น 1 ประกอบด้วยห้องครัว ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน และระเบียง ซึ่งมีจุดเด่นเรื่องเพดานที่สูงโปร่งถึง 3.60 เมตร ในขณะที่ชั้นลอยเป็นห้องนอน ซึ่งมีระยะความสูงจากพื้นจรดฝ้าเพดาน 1.50 เมตร คุณหนุ่มตัดสินใจ รีโนเวทคอนโด รื้อเฟอร์นิเจอร์บิลท์อินเดิมออกทั้งหมด ยกเว้นตู้เก็บของ และชุดครัว รวมถึงย้ายเฟอร์นิเจอร์ทั้งหมดออกไป แล้วทุบประตูบานเลื่อนกระจกที่กั้นระหว่างห้องครัวกับห้องนั่งเล่นออก เพื่อเปิดสเปซให้โปร่งโล่งเชื่อมต่อห้องครัวกับห้องนั่งเล่นเข้าหากัน นอกจากนี้ยังปรับเปลี่ยนตำแหน่งของโซฟาใหม่ จากเดิมที่เคยจัดวางหันหลังชิดผนังฝั่งประตูทางเข้าก็ขยับมาไว้กลางห้อง แล้วหมุนองศาให้ด้านหน้าหันออกสู่ผนังกระจกทางทิศตะวันตก เพื่อให้สายตารับกับวิวเมืองได้อย่างชัดเจน พร้อมกับจัดวางชั้นวางของทรงเตี้ยชิดด้านหลังพนักพิงของโซฟา เพื่อแบ่งสเปซระหว่างมุมนั่งเล่นกับครัวให้เป็นสัดส่วน โดยชั้นวางนี้ยังเป็นที่จัดเก็บหนังสืออย่างเป็นระเบียบเรียบร้อยในตัวอีกด้วย ถัดเข้าไปยังพื้นที่ใต้ชั้นลอย มีการติดตั้งผ้าม่านแทนผนังทึบ เพื่อปิดซ่อนมุมเก็บของใต้บันไดให้ดูเรียบร้อยสะอาดตา รื้อตู้เสื้อผ้าแบบบิลท์อินเดิมออก แล้วแทนที่ด้วยราวแขวนผ้าแบบตั้งพื้น เช่นเดียวกับตำแหน่งของชั้นวางโทรทัศน์เดิมที่อยู่บริเวณเชิงบันไดก็ถูกรื้อออก แล้วแทนที่ด้วยอาร์มแชร์และโต๊ะข้าง สำหรับใช้เป็นมุมพักผ่อนนั่งอ่านหนังสือ เสริมด้วยการวางตำแหน่งลำโพงตั้งพื้นเข้ามุมเพื่อใช้ประโยชน์ในแง่ใช้พื้นที่ได้อย่างคุ้มค้า ขนาบด้วยชั้นวางของอเนกประสงค์เป็นทั้งที่วางของและที่จัดเก็บเสื้อผ้า นอกจากที่นี่จะเป็นพื้นที่พักอาศัยส่วนตัว คุณหนุ่มยังใช้มุมนั่งเล่นเป็นที่ทำงานของเขาในบางครั้ง […]

บ้านเยื้องทะเลสาบที่หลบเหลี่ยม รับวิว ธรรมชาติอย่างเป็นส่วนตัว

คล้ายบ้านใต้ถุนสูง แต่คือบ้านไทยในสไตล์โมเดิร์น ทั้งยังเปิด รับวิว ทะเลสาบได้อย่างไม่ทิ้งความเป็นส่วนตัวไปแม้แต่น้อย DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Physicalist บ้านหลังนี้ เป็นบ้านที่เหมือนกับอยู่ติดกับทะเลสาบ แต่กลับเป็นแนวเยื้องไม่ได้ติดกับทะเลสาบเสียทีเดียว การออกแบบเพื่อเชื่อมโยงเอาธรรมชาติเข้ามาสู่การอยู่อาศัยจึงเข้ามาสร้างความพิเศษให้กับบ้านหลังนี้ ทั้งยังเป็นตัวอย่างที่น่าสนใจขององค์ประกอบร่วมระหว่าง บ้านใต้ถุนสูงอย่างไทยเดิม และบ้านในยุคหนึ่งของไทยที่ตกแต่งด้วยสวนหย่อม และผนังหิน สำหรับผู้ที่ชื่นชอบบ้านในสไตล์ Thai-Modern บอกเลยว่าบ้านนี้ต้องโดนใจอย่างแน่นอน บ้านยกสูงอย่างไทยในจริตโมเดิร์นเมื่อครั้งน้ำท่วมใหญ่ บ้านเดิมนั้นได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จึงทำให้การออกแบบใหม่ในครั้งนี้บ้านหลังจึงมีการยกสูงขึ้นไปให้พื้นที่พักอาศัยนั้นอยู่บนชั้นสอง ข้อดีก็คือสามรถรับวิวทะเลสาบได้โดยไม่ถูกบดบัง แต่การออกแบบให้สวยงามลงตัวก็เป็นอีกโจทย์ท้าทายของผู้ออกแบบ พื้นที่ชั้นล่างนั้น จะออกแบบให้เป็นลานโล่ง และห้องออกกำลังกาย และเมื่อเดินขึ้นสู่ชั้น 2 จึงจะกลายเป็นห้องรับแขกที่ดูคล้ายลอยตัวอยู่เหนือคอร์ตด้วยความบางเบา ด้วยการออกแบบโครงสร้างเหล็กในส่วนของห้องรับแขก และการเลือกใช้องค์ประกอบผนังหินที่ก่อตัวคล้ายเสารับน้ำหนักที่คอร์ตด้านล่างอาคาร ทำให้ชุดห้องที่ยื่นออกมาดูเบา และลงตัว นอกจากนี้ ห้องนอนทั้งหมดที่ชั้นบนยังหลบซ่อนอย่างเป็นส่วนตัวด้วยองค์ประกอบผนังซิกแซกที่ปิดมุมมองจากภายนอกทางหน้าบ้าน และเปิดมุมมองสู่ธรรมชาติวิวทะเลสาบที่ด้านหลังได้อย่างน่าสนใจ ผนังซิกแซกเปิดรับวิวอย่างเป็นส่วนตัวเมื่อต้องการรับวิวทะเลสาบ การเปิดรับวิวโดยไม่ทำให้ความเป็นส่วนตัวถูกรบกวน จึงออกมาเป็นผนังซิกแซกอย่างที่เห็น ผนังนี้จะมีช่องหน้าต่างในทิศที่หันออกไปสู่ทะเลสาบ แต่เมื่อมองมาจากถนนใหญ่ จะไม่สามารถมองเห็นด้านในของส่วนพักอาศัยได้ จึงทำให้ห้องนอนของบ้านหลังนี้ ได้ทั้งวิว ทั้งความเปิดโล่ง แต่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้อย่างเต็มเปี่ยม ผลพลอยได้ของผนังซิกแซกนี้ คือการที่แสงที่ส่องผ่านเข้าสู่ภายในอาคาร กลายเป็นแสงแบบ Indirec Light ที่ดูนวลตา สร้างให้เกิดบรรยากาศสบาย ๆ ได้อีกทาง […]

PINWHEEL HOUSE บ้านโมเดิร์นรูปห้าเหลี่ยมสีขาว ตากอากาศรับวิวทะเลสาบอิตาลี

“บ้านดอกไม้ไฟ” บ้านโมเดิร์น ทรงห้าเหลี่ยมสีขาวโพลน ตั้งเด่นบนเนินเขาเล็ก ๆ ใช้ตากอากาศและพักผ่อนชมธรรมชาตินิ่งสงบกลางป่าโอ๊ก บ้านโมเดิร์น สีขาวโพลนที่เห็นนี้ตั้งเด่นอยู่บนเนินเขาใกล้กับทะเลสาบมาจิโยเร (Maggiore) ซึ่งเป็นทะเลสาบที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ในประเทศอิตาลี และอยู่ทางใต้ของเทือกเขาแอลป์พรมแดนติดกับสวิตเซอร์แลนด์ นอกจากนี้ที่นี่ยังล้อมรอบไปด้วยป่าต้นโอ๊กเก่าแก่ สีเขียวของป่าช่วยขับเน้นให้ความเรียบง่ายของบ้านตากอากาศสีขาวนี้ ยิ่งดูสวยงามราวกับมีใครนำประติมากรรมมาจัดวาง โครงสร้างของบ้านพักตากอากาศชั้นเดียว สถาปนิกจาก JM Architecture เลือกใช้ระบบแบบสำเร็จรูป ตั้งอยู่บนพื้นคอนกรีตหล่อในที่ โดยตำแหน่งของบ้านถูกวางตามข้อจำกัดของที่ดิน ซึ่งมีลักษณะเป็นเนินลาดเอียงเล็กน้อย บวกกับความต้องการให้หน้าบ้านหันออกสู่วิวของทะเลสาบ ตัวบ้านด้านหนึ่งจึงต้องยกขึ้นเล็กน้อยตามความชันของเนินดิน ส่วนหน้าบ้านจะเห็นว่ามีลักษณะลาดต่ำลงมาเล็กน้อย โครงสร้างของบ้านใช้วัสดุหลักเป็นไม้ที่ได้รับการประกอบขึ้นในไซต์ โดยใช้เวลาเพียงหนึ่งสัปดาห์เท่านั้น ส่วนหน้าอาคารเป็นการผสมผสานระหว่างแผงคอนกรีตสีขาวกับบานประตูหน้าต่างอะลูมิเนียมคอมโพสิตซึ่งมีขนาดต่างกัน โดยมีช่องเปิด หรือกรอบหน้าต่างกระจกขนาดใหญ่อยู่ตรงพื้นที่แต่ละด้าน และออกแบบให้มีช่องแสงขนาดเล็กสำหรับห้องนอน และห้องน้ำ กำหนดตำแหน่งห้องนั่งเล่นให้อยู่ตรงมุมตะวันตกเฉียงใต้ของอาคาร มีหน้าต่างบานเลื่อนทรงสี่เหลี่ยมหันออกไปหาวิวหุบเขา และทะเลสาบ อีกด้านยังได้ออกแบบช่องเปิดขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน เพื่อเปิดออกสู่พื้นที่นั่งเล่นซึ่งเป็นลานกลางแจ้งที่โรยพื้นด้วยกรวดสีขาว ตัวอาคารเน้นดีไซน์ให้มีขอบโค้งมนต่อเนื่องกันจนครบทุกด้าน โดยมีการสลับครีบแนวตั้งฉาก ที่มองเผิน ๆ คล้ายดอกไม้ไฟ หรือตะไลยักษ์กำลังหมุนคว้าง เนื่องจากตัวบ้านอยู่ติดกับถนนชนบทสายเล็ก ๆ จึงได้ทำที่จอดรถเล็ก ๆ สำหรับจอดรถได้ 1 คัน ภายในของบ้านแบ่งพื้นที่ใช้งานออกเป็น 2 ชั้น […]

BAUMAN LOFT รีโนเวทอพาร์ตเมนต์ ฟังก์ชันครบด้วยพื้นที่สามระดับ

โปรเจ็กต์ปรับปรุงอาคารเก่าให้เป็นที่พักอาศัย ที่น่าสนใจด้วยแนวคิดการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยทางแนวตั้งพร้อมกับการ รีโนเวทอพาร์ตเมนต์ รีโนเวทอพาร์ตเมนต์ แห่งนี้ตั้งอยู่ในอาคารเก่าในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ที่นี่เคยเป็นโรงงานคัดแยกใบชา ซึ่งกำลังได้รับการปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นย่านที่พักอาศัยเมื่อไม่นานมานี้ ตัวอาคารสร้างขึ้นด้วยโครงสร้างอิฐตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ.1917 และถือได้ว่าเป็นกลุ่มอาคารอุตสาหกรรม ที่มีคุณค่าแห่งหนึ่งจากยุคนั้น   ในการปรับเปลี่ยนอาคารเก่าแก่ซึ่งเคยมีประโยชน์ใช้สอยอื่นให้กลายเป็นอพาร์ตเมนต์ จึงเป็นเรื่องท้าทายที่ต้องจัดสรรพื้นที่สำหรับฟังก์ชันที่จำเป็นทั้งหมดในการใช้ชีวิตรวมไว้ในห้องสี่เหลี่ยมขนาดกะทัดรัดนี้ เนื่องจากห้องขนาด 53 ตารางเมตร นี้ มีความสูงจากพื้นถึงฝ้าเพดาน 4.30 เมตร การใช้พื้นที่แนวตั้งให้เกิดประโยชน์สูงสุดจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ ทีมสถาปนิกจึงออกแบบโซนพื้นที่ใช้สอยที่แตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ บริเวณโถงทางเข้า พื้นที่นั่งเล่น และครัว อยู่ระดับเดียวกับพื้นอาคาร และยกระดับโซนห้องนอนให้สูงขึ้นระดับขอบหน้าต่าง ส่วนระดับบนสุดมีบันไดขึ้นไปสู่พื้นที่แต่งตัว และห้องอาบน้ำ ซึ่งนอกจากจะแบ่งสัดส่วนพื้นที่ใช้สอยอย่างชัดเจนแล้ว ยังเป็นการจัดสรรลำดับการเข้าถึงและความเป็นส่วนตัวอีกด้วย ในแง่ของการตกแต่ง ผู้ออกแบบเลือกใช้สีขาวเพื่อสร้างความปลอดโปร่งให้กับสเปซในภาพรวม โดยผิวสัมผัสที่แตกต่างกันของวัสดุต่าง ๆ เช่น กำแพงอิฐเปลือยผิว ฝ้าเพดานกรุแผ่นโลหะลอน พื้นไม้ทำสี ช่วยให้เฉดสีขาวมีความหลากหลายน่าสนใจ เติมความโดดเด่นด้วยโทนสีน้ำเงินของเฟอร์นิเจอร์ ที่เชื่อมโยงกับสีฟ้าน้ำทะเลของโซนห้องน้ำ นอกจากนี้เส้นสายกราฟิกสีดำของบานประตูกระจกกั้นห้องนอน ราวบันได รวมถึงโคมไฟตกแต่งก็ช่วยสร้างชีวิตชีวาให้กับพื้นที่ ในส่วนของโต๊ะรับประทานอาหารหรือเคาน์เตอร์บาร์ขนาดย่อมสั่งทำพิเศษให้เคลื่อนย้ายได้ จึงสามารถปรับเปลี่ยนการใช้พื้นที่ได้อย่างยืดหยุ่น ทั้งยังมีฉากรับภาพแบบม้วนเก็บได้สำหรับการชมภาพยนตร์อีกด้วย อพาร์ตเมนต์ห้องนี้จึงดูเรียบง่าย โปร่งโล่ง แต่ก็มีฟังก์ชันครบครันตามที่ผู้ออกแบบที่ตั้งใจ – ออกแบบ: Nefa Architectsวิศวกรรม: Sergei Kurepinภาพ: Ilya Ivanov เรื่อง: psuw ___________________________________________________________________________________________ รีโนเวทอพาร์ตเมนต์สู่บรรยากาศ มิดเซนจูรี่โมเดิร์น

รีโนเวทอพาร์ตเมนต์สู่บรรยากาศ มิดเซนจูรี่โมเดิร์น

ห้องชุดขนาด 2 ห้องนอน ใจกลางเมืองย่านอารีย์แห่งนี้ เป็นพื้นที่เริ่มต้นครอบครัวเล็ก ๆ ของคู่รักต่างชาติหนุ่มสาว พร้อมกับแมวอีกสองตัว ในบรรยากาศ มิดเซนจูรี่โมเดิร์น สไตล์ที่ได้รับอิทธิพลจากความเคลื่อนไหวด้านศิลปะและการออกแบบในยุค ค.ศ.1950-1960 ซึ่งเจ้าของห้องทั้งคู่ชื่นชอบ งานออกแบบภายใน รับหน้าที่โดย Otello Studio ที่มาช่วยเนรมิตห้องหน้าตามาตรฐานขนาดพื้นที่ใช้สอย 68 ตารางเมตร ให้กลายเป็นพื้นที่ใช้ชีวิตที่มีฟังก์ชันตอบโจทย์และถูกใจผู้อยู่อาศัย ภายใต้แรงบันดาลใจจากสไตล์ มิดเซนจูรี่โมเดิร์น (Mid-Century Modern) หลอมรวมชุดสีพิเศษอย่างสีเขียวไข่กา สีน้ำเงินแกมเขียว และสีเหลืองมัสตาร์ด เข้ากับวัสดุหวาย และไม้ที่ทั้งคู่ชื่นชอบ ความโมเดิร์นแบบยุค 50’s ที่ได้รับการลดทอนความจัดจ้านลง ช่วยให้อยู่อาศัยได้ง่ายขึ้น ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันภายในห้อง ให้สามารถใช้งานอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด กระบวนการทำงานของดีไซเนอร์ นอกเหนือไปจากงานออกแบบพื้นที่ใช้สอยแล้ว ยังต้องออกแบบวิธีการทำงานเพื่อดึงความเป็นตัวตน และรสนิยมของเจ้าของห้องออกมาให้ได้มากที่สุด ด้วยการให้เจ้าของห้องร่วมทำการบ้าน เดินเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ที่ตัวเองชื่นชอบ ก่อนส่งรูปมาให้ทีมออกแบบทำงานต่อ ซึ่งนับว่าสอดคล้องเป็นอย่างดีกับมู้ดแอนด์โทนที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก ในส่วนของการจัดสรรฟังก์ชันใช้งานภายในห้อง เริ่มต้นจากการตัดทอนพื้นที่ส่วนที่ไม่จำเป็นออก เพื่อให้สามารถใช้งานพื้นที่โดยรวมได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น โดยประเมินจากความต้องการเบื้องต้น เช่น เจ้าของห้องต้องการพื้นที่สำหรับเก็บหนังสือ เก็บรองเท้า และเก็บของสำหรับเตรียมเดินทาง ดังนั้นเพื่อให้มีพื้นที่จัดเก็บที่เพียงพอ พื้นที่ตั้งอ่างอาบน้ำแบบลอยตัวเดิมที่โครงการให้มา ซึ่งไม่ได้ตอบสนองการใช้งานมากนัก […]