People Archives - Page 2 of 22 - room
SX-2023-Waste-Redefining

ทางออกของ ปัญหาขยะพลาสติก จากเวทีเสวนา Redefining Plastic Waste จากงาน SUSTAINABILITY EXPO 2023

ทุกวันนี้คนทั่วโลกต่างตื่นตัว และเห็นความสำคัญว่าขยะพลาสติกสร้างปัญหาให้โลกมากแค่ไหน แต่หลายคนก็อาจจะยังนึกไม่ออกว่าในฐานะคนตัวเล็กๆ คนนึงในสังคมจะเปลี่ยนแปลงอะไรเรื่องขยะพลาสติกได้บ้าง? และสำหรับผู้ผลิตในระดับมหภาคนั้น เค้ามีมุมมองต่อเรื่องเหล่านี้อย่างไร . ในเสวนานี้ที่จัดขึ้นที่ Sustainability Expo 2023 ในวันที่ 8 ตุลาคมที่ผ่านมา room โดย คุณ โบซซึ วุฒิกร สุทธิอาภา บรรณาธิการออนไลน์ และเนื้อหาด้านความยั่งยืน จึงขอพาทุกท่านไปร่วมไขความคิด แลกเปลี่ยนมุมมอง และหาคำตอบร่วมกันในประเด็นของปัญหา ขยะพลาสติก มีประเด็นอะไรบ้าง ไปดูกัน! . ซึ่งเรารวบรวมประเด็นมาให้ทุกท่าน เป็นไอเดียให้เห็นมุมมองใหม่ๆ ว่าเราทำอะไรกับขยะพลาสติกได้บ้าง? ในมุมของคนธรรมดาลงมือทำอะไรได้บ้าง? แล้วจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรหากเรามาร่วมกันทำ ไอเดียเหล่านี้อาจทำให้มองเห็นโอกาสต่อยอดขยะพลาสติกให้มีที่ไป เกิดเป็นผลงานสร้างสรรค์ใหม่ๆ ซึ่งช่วยลดการเกิดขยะที่สร้างมลภาวะให้โลก มีประเด็นอะไรบ้าง ไปดูกัน! . . #ภารกิจเรื่องพลาสติกที่ช่วยให้โลกดีขึ้น . แต่ละทีมที่มาร่วมเสวนาในวันนี้ ทุกคนต่างดำเนินงานเกี่ยวข้องกับพลาสติกทั้งสิ้น เริ่มต้นจากห้องวิจัยคิดค้นพลาสติกประเภทใหม่จากวัสดุชีวภาพที่ย่อยสลายได้ วิจัยว่าพลาสติกใช้แล้วนำกลับมาดีไซน์เป็นของชิ้นใหม่ได้อย่างไรอย่างทีม MORE มีทีมที่ทำงานผลิตเม็ดพลาสติกจากพลาสติกใช้แล้วกลับมาทำใหม่ และทีมที่ทำบรรจุภัณฑ์พลาสติกกล่องเครื่องดื่มส่งไปทั่วโลกอย่าง Tetra Pak . ทุกทีมมีภารกิจของตัวเองที่ช่วยให้โลกดีขึ้นผ่านการทำงานกับพลาสติก . […]

Roirai Project จะเป็นอย่างไร? เมื่อ PHTAA living design ต้องออกแบบโรงเรือนเกษตร กรรม

โรงเรือนเกษตร แห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ตั้งชื่อตามขนาดของพื้นที่ที่มีอยู่ 100 ไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมสำหรับนำส่งผักส่งสู่โรงแรมที่เป็นเจ้าของเดียวกันกับพื้นที่แห่งนี้นั่นคือ Lit hotel และ Reno hotel จากเดิมที่เป็นสวนผลไม้ การพัฒนาอาคารเพื่อป้องกันสภาพอากาศและแมลงรบกวน จึงทำให้ PHTAA ได้เข้าไปร่วมออกแบบและวางผัง หรือ Masterplan ให้กับพื้นที่เกษตรกรรมแห่งนี้ โรงเรือนหลักมีลักษณะเป็นซุ้มโค้ง 2 อาคาร วางตามแนวแกนที่ไม่ขวางทางน้ำ โดยอาคารที่ 1 ไล่ความสูงตั้งแต่ 2.75 เมตร ไปจนถึง 5.00 เมตร เพื่อใช้สำหรับปลูกพันธุ์ไม้ที่มีขนาดสูงได้ในอนาคต โดยในตอนนี้ได้มีการปลูกผักสวนครัวบ้างแล้ว เช่น ใบงา โรสแมรี่ ขึ้นฉ่าย ต้นหอม ผักชี พริก โหระพา ส่วนโรงเรือนที่ 2 มีความสูง 3.00 – 7.50 เมตร เพื่อปลูกแคนตาลูป มะเขือเทศ ลูกฟิก ขึ้นฉ่าย ผักสลัดต่าง ๆ […]

คุยกับ Nut.Dao กับเบื้องหลังงานออกแบบ ใน มหกรรมกาแฟสุดสนุกโดย The Coffee Calling

หลาย ๆ คนคงได้เห็นคาแร็คเตอร์คนชงกาแฟสุดแอ๊คทีฟ และวิชวลเก๋ ๆ จากงาน The Coffee Calling 2023 : The Escape to Coffee Party กันไปบ้างแล้ว วันนี้ room จึงไม่รอช้า ไปขอสัมภาษณ์ ผู้อยู่เบื้องหลังงานออกแบบของ มหกรรมกาแฟสุดสนุกโดย The Coffee Calling ในปีนี้ กัน ซึ่งคน ๆ นั้นก็คือ คุณ Nut.Dao หรือ คุณนัด-ณัฐพงศ์ ดาววิจิตร โดยในวันนี้ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับเขาทั้งเรื่องความชื่นชอบในกาแฟ และเบื้องหลังแนวคิดการออกแบบในครั้งนี้ไปพร้อมกัน #กาแฟคืออะไรในสายตา Nut.DaoQ: วัฒนธรรมกาแฟคืออะไรในมุมมองของคุณนัด?A: “เรื่องกาแฟ ถ้าเป็นเมื่อก่อนก็เหมือนตอนเช้า ก็จะนึกถึงสภากาแฟที่ที่คนไปนั่งคุยกัน แต่พอผ่านเวลามา มีการพัฒนามาเรื่อย ๆ ไม่ใช่แค่เวลาเช้าแล้ว อาจจะเป็นเวลาไหนก็ได้ แต่กาแฟก็ยังเป็นตัวเชื่อมอยู่ โดยเชื่อมทั้งผู้คนและเชื่อมความสนใจร่วมกัน ไม่ว่าจะคุยงาน คุยเล่น เจอเพื่อน […]

RAY CHANG สถาปนิกจิตวิญญาณตะวันออก ผู้หลงใหลในธรรมชาติ และร่องรอยแห่งกาลเวลา

Ray Chang สถาปนิกผู้เติบโตท่ามกลางธรรมชาติ ที่สวยงาม และสุขสงบของเกาะไต้หวัน ความเข้าใจในสัจธรรมแห่งธรรมชาติหล่อหลอมแนวคิด และความเชื่อของเขาให้แตกต่างท่ามกลางกระแสทุนนิยม งานออกแบบของเขาสะท้อนความงามภายใต้แนวคิดแบบปรัชญาตะวันออก ที่โอบรับ “ความเปลี่ยนแปลง” แห่งกาลเวลา ในยุคที่ผู้คนตามหาความสมบูรณ์แบบอันจีรังยั่งยืน ผลงานของเขาได้รับรางวัลมากมายมาตลอดหลายปี รวมถึง Golden Pin Design Award รางวัลชั้นนำด้านการออกแบบของเอเชีย จึงอาจกล่าวได้ว่าเขาคือสถาปนิกรุ่นใหม่ไฟแรงที่น่าจับตาของไต้หวัน ที่มีผลงานโดดเด่นทั้งในหมวดที่พักอาศัย ร้านค้า ร้านอาหาร คาเฟ่ ฯลฯ Ray Chang ก่อตั้ง Soar Design Studio เมื่อปี 2012 ปีที่ใครหลายคนร่ำลือกันถึงวันสิ้นโลก ปีนั้นเองที่เขาถามตัวเองว่า “ความหลงใหล” ของตัวเองคืออะไร “ตอนที่ผมยังเด็ก ผมมักใช้ชีวิตท่ามกลางธรรมชาติในป่าหรือภูเขา หรือแม้แต่ตอนที่ผมย้ายเข้ามาในเมือง ผมก็พยายามกลับไปหาธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นภูเขาหรือทะเลเท่าที่โอกาสจะเอื้ออำนวย เมื่อผมถามตัวเองว่าชื่นชอบอะไรเป็นพิเศษ คำตอบก็คือ “ธรรมชาติ” ธรรมชาติในที่นี้ไม่ใช่แค่พืชพรรณไม้ต่าง ๆ  หรือภูมิทัศน์ที่สวยงาม แต่มันคือแนวความคิดและปรัชญา ที่สะท้อนในงานออกแบบของผม” room: ในงานออกแบบของคุณ คุณมักจะอุปมาอุปไมยองค์ประกอบทางการออกแบบต่าง ๆ กับธรรมชาติ […]

เบื้องหลังดีไซน์เพื่อคุณภาพชีวิตกับ Antoine Besseyre des Horts แม่ทัพทีมออกแบบแห่ง LIXIL

อาจกล่าวได้ว่า นี่คือยุคสมัย ที่นักออกแบบต้องพบกับความท้าทายอันยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน Antoine Besseyre des Horts ในฐานะแม่ทัพทีมดีไซน์ของ LIXIL Group ภูมิภาคเอเชีย ชวน room พูดคุยถึงเบื้องหลังการทำงานของทีมนักออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับที่อยู่อาศัย ท่ามกลางบริบทสังคม และพฤติกรรมผู้บริโภค ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงการตื่นตัวด้านปัญหาสิ่งแวดล้อม และการขยายบทบาทของปัญญาประดิษฐ์ ที่แน่นอนว่าจะส่งผลกระทบต่อโลกดีไซน์นับจากนี้เป็นต้นไป อันทวน เบแซร์ เดส์ออรส์ ( Antoine Besseyre des Horts ) ลีดเดอร์ (VP) ประจำลิกซิล โกลบอล ดีไซน์ (LIXIL Global Design) ภูมิภาคเอเชีย หัวเรือใหญ่ของทีมดีไซน์ 3 แบรนด์หลักในเครือ LIXIL อย่าง American Standard, GROHE และ INAX แบรนด์ผลิตภัณฑ์อุปกรณ์ และสุขภัณฑ์ภายในห้องน้ำ และห้องครัว หลังจากสั่งสมประสบการณ์ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์มายาวนานกว่าสองทศวรรษ เขาร่วมกับทีมนักออกแบบสร้าง ‘ไบเบิ้ล’ หรือคู่มือที่ช่วยวางรากฐานการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้แบรนด์ต่างๆ […]

O BUILDING รีโนเวทตึกเก่า พร้อมกับเปลี่ยนซอกตึกให้น่าเดินด้วยวิวสีเขียวสะท้อนมิติของกระจก

เมื่อถึงคราว รีโนเวทตึกเก่า ใหม่ ก็ต้องมาพร้อมการปรับปรุงพื้นที่ใช้งานทั้งภายในและภายนอกให้มีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ กับไอเดียการเปลี่ยนมุมอับของซอกตึกให้น่าเดิน อีกหนึ่งงานดีไซน์ที่ช่วยแก้ปัญหาความอึดอัดคับแคบของพื้นที่ในเขตเมือง O Building คือผลงานการ รีโนเวทตึกเก่า ขนาด 3 ชั้น ในเมืองมูซาชิโนะ (Musashino) ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ให้กลายเป็นอาคารหลังใหม่ที่มาพร้อมการสร้างสรรค์พื้นที่เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานใหม่ ออกแบบโดย Yohei Kawashima architects ที่นี่เกิดขึ้นภายใต้ข้อจำกัดด้านทำเลที่ตั้ง ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ขนาดจำกัดที่ต้องคำนึงถึงข้อกฎหมายการรีโนเวทอาคารของญี่ปุ่น โดยสถาปนิกได้นำแผนการถอยอาคารออกจากอาคารหลังอื่นที่อยู่ในพื้นที่ติดกัน ด้วยการออกแบบให้มีบันไดอยู่ภายนอกไว้ด้านข้าง แล้วสร้างทางเดินด้านล่าง เป็นผลพื้นที่แต่ละชันของอาคารมีองค์ประกอบที่เรียบง่ายและเท่าเทียมกันทั้ง 3 ชั้น สำหรับทางเดินด้านล่างของอาคาร ได้ออกแบบให้สามารถทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างถนน 2 สาย ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือและทิศใต้ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเดินเข้าอาคารได้จากถนนทั้งสองฝั่ง ผ่านช่องว่าง หรือซอกตึกที่คับแคบ แต่เนื่องจากไซต์นี้อยู่ในพื้นที่เชิงพาณิชย์และมีอาคารหลังอื่น ๆ ที่สร้างอยู่ก่อนแล้ว ตั้งขนาบข้างจนชิดขอบของพื้นที่ ดังนั้นเพื่อเป็นการแก้ปัญหาทางเดินระหว่างซอกตึกที่ทั้งมืด คับแคบ และค่อนข้างอึดอัด ด้วยการสร้างกระจกครึ่งบานตามทางเดิน และปลูกต้นไม้ตลอดแนวทางเดินทั้งสองฝั่ง นำพาผู้คนไปสัมผัสกับธรรมชาติและเป็นประสบการณ์การใช้งานพื้นที่ที่ช่วยสร้างบรรยากาศที่สบายตาและผ่อนคลาย ท่ามกลางชุมชนและตึกสูงของเมืองใหญ่ โดยรั้วกระจกนี้จะช่วยสะท้อนมิติการเปลี่ยนแปลงของแสงและเงา และสะท้อนมิติด้านข้างของอาคารและด้านหลังของอาคารที่อยู่ติดกัน บางครั้งก็จะสังเกตเห็นการซ้อนทับของมุมมองทั้งสอง เป็นวิธีการง่าย ๆ แต่ได้ผล […]

Oliver Lin พานักออกแบบไทยเจาะตลาดเอเชียด้วย Golden Pin Design Award

ปัจจุบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เติบโตอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นกลยุทธ์สำคัญของนโยบายเศรษฐกิจทั่วโลก เช่นเดียวกันกับที่ไต้หวัน สถาบันวิจัยการออกแบบแห่งไต้หวัน หรือ Taiwan Design Research Institute (TDRI) ได้รับการก่อตั้งเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของไต้หวันผ่าน “พลังแห่งการออกแบบ” ที่เข้มแข็ง รวมถึงเป็นแพลตฟอร์ม ที่สร้างความร่วมมือข้ามพรมแดนผ่านการเป็นผู้จัดการมอบรางวัลด้านการออกแบบระดับนานาชาติอย่าง Golden Pin Design Award (GPDA) ตามไปฟัง Oliver Lin รองประธาน TDRI เชิญชวนนักออกแบบไทยก้าวสู่เวทีระดับนานาชาติกับ Golden Pin Design Award เวทีประกวดที่ได้จัดต่อเนื่องมายาวนานกว่า 40 ปี พร้อมบอกเล่าถึงการมาเยือนกรุงเทพฯในครั้งนี้ นำทีมนักออกแบบที่ได้รับรางวัล GPDA ในปีก่อนมาร่วมนำเสนอแนวคิดด้านการออกแบบที่น่าสนใจในงานสัมมนา Design Perspectives x Golden Pin Salon Bangkok 2023 “การจัด Salon หรืองานสัมมนาในครั้งนี้ เรามุ่งไปที่ประเทศที่นักออกแบบมีศักยภาพสูง มีกระแสความเคลื่อนไหวด้านการออกแบบที่น่าสนใจ และแน่นอนว่าไทยคือหนึ่งในนั้น เรามองว่าไทยมีศักยภาพทั้งในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ด้านการออกแบบสถาปัตยกรรม หรืองานออกแบบภายใน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านงานโฆษณา […]

WYNDHAM CLUBHOUSE อาคารอิฐทรงกล่อง ประตูสู่ดินแดนรีสอร์ตส่วนตัวสไตล์ทรอปิคัล

“Wyndham Clubhouse” อาคารอิฐ ที่ถูกใช้เป็นคลับเฮ้าส์ หรือส่วนต้อนรับ ซึ่งเกิดจากวัสดุสามัญ นำพาทุกคนเข้าสู่ดินแดนรีสอร์ตส่วนตัวที่มีชื่อว่า Wyndham Garden Phú Quốc ในพื้นที่ชายฝั่งของฟูโกว๊ก (Phú Quốc) เมืองท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามของเวียดนามใต้ ในฐานะที่ใช้เป็นจุดติดต่อแรกสำหรับรับแขก บทบาทของ อาคารอิฐ ซึ่งใช้เป็นส่วนต้อนรับก่อนนำสู่รีสอร์ตสุดชิลที่ร่มรื่นด้วยแมกไม้ราวกับเป็นป่าสีเขียวในกล่องคอนกรีตนี้ สถาปนิกจาก MIA Design Studio ได้เน้นการออกแบบอาคารให้เป็นสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ สำหรับมอบประสบการณ์ที่เหนือกว่า ในบทบาทที่เปรียบเสมือนปราการด่านแรกก่อนเข้าสู่พื้นที่รีสอร์ส่วนตัว ภายใต้รูปลักษณ์อาคารอิฐทรงลูกบาศก์เรียบง่ายสีแดงเอิร์ธโทน ซึ่งก่อสร้างจากอิฐจำนวนมหาศาลที่ดึงดูดความสนใจของผู้มาเยือนได้ในทันที โดยมาจากความปรารถนาในการนำเสนอมุมมองใหม่ ผ่านสถาปัตยกรรมอิฐที่หลอมรวมทั้งรูปแบบโมเดิร์นและความดั้งเดิมไว้ด้วยกัน สำหรับความดั้งเดิมที่ถูกนำมาใช้นี้ ผู้ออกแบบหมายถึงการเน้นใช้ “อิฐ” วัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น นำมาสร้างสรรค์เป็นเปลือกอาคารที่สะท้อนถึงความประณีต และความแม่นยำของช่างประจำท้องถิ่น ในการนำอิฐมาเรียงต่อกันจนเกิดแพตเทิร์นสวยงาม.แม้ตัวอาคารจะเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมโมเดิร์น แต่ก็มีความเข้าใจในภูมิอากาศเขตร้อนได้อย่างดี ด้านหน้า หรือทางเข้าหลัก จึงออกแบบให้มี Canopy ขนาดใหญ่ ทำหน้าที่ช่วยบังแดดและฝนก่อนเข้าสู่พื้นที่ภายในอาคาร พื้นที่ภายในอาคารช่วงเวลากลางวันให้ความรู้สึกปลอดโปร่งและเย็นสบาย เพราะมีชั้นอิฐช่วยป้องกันความร้อน ขณะเดียวกันก็เป็นช่องแสง นำพาแสงสว่างได้อย่างทั่วถึง เกิดการระบายอากาศและลมตามธรรมชาติได้ดีเยี่ยม ส่วนในเวลากลางคืนอาคารอิฐหลังนี้จะให้ภาพลักษณ์ที่เป็นเหมือนกล่องไฟขนาดใหญ่ สาดแสงเงาของไฟสีส้มให้ลอดผ่านออกมาตามช่องอิฐ ซึ่งเกิดจากการเรียงก้อนอิฐแบบเว้นช่องตามแพตเทิร์นที่ออกแบบไว้ ภายในมีการสร้างพื้นที่พักผ่อนแยกเป็นสัดส่วน ชั้นล่างใช้เป็นพื้นที่สาธารณะ โดยแบ่งเป็นโซนล็อบบี้ […]

การรีโนเวตของจุดกำเนิด แห่งแบรนด์คาร์เทียร์ THE NEW 13 rue de la Paix ศิลปะแห่งการแปลงโฉมอาคาร

เลขที่ 13 รูเดอลาเปซ์ คือสถานที่ซึ่งเป็นดั่งมหาวิหารแห่งคาร์เทียร์ แบรนด์แฟชั่นชั้นนำของโลก และนี่คือศิลปะแห่งการแปลงโฉม ที่สถาปนิกชั้นยอดกำลังจะปรับให้สถาปัตยกรรมแห่งนี้ก้าวสู่ยุคสมัยถัดไป เลขที่ 13 รูเดอลาเปซ์ คือจุดกำเนิดและแหล่งความทรงจำร่วมของเมซง จึงมีฐานะเป็นหนึ่งในสามวิหารแห่งคาร์เทียร์ โดยอีกสองแห่งอยู่ที่ถนนบอนด์สตรีท กรุงลอนดอน และถนนหมายเลข 5 (5th Avenue) ในนิวยอร์ก นั่นเอง ที่แห่งนี้คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของฌานน์ ตูแซงต์และหลุยส์ คาร์เทียร์ คือแหล่งกำเนิดรูปแบบเชิงสุนทรียศาสตร์และสร้างสรรค์ของแบรนด์ที่มีความเป็นหนึ่งแต่มีมากกว่าหนึ่ง มีเอกลักษณ์และเป็นสากล จึงเป็นแหล่งสร้างแรงบันดาลใจไม่รู้จบ สำหรับการรังสรรค์สมบัติล้ำค่าแห่งอดีตและอนาคต อาคารใหม่ที่ได้ฤกษ์เผยโฉมในวันนี้เป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ ไม่ได้เป็นของสมัยใด แต่ให้ความเคารพทุกสมัย ไม่ติดกับสไตล์ใด แต่เชิดชูทุกสไตล์โดยไม่มีการยกเว้น และได้นำรหัสแห่งปารีสมาตีความใหม่อย่างเสรีและใส่ความเป็นละครลงไป นำเสนอความเป็นเมืองหลวงฝรั่งเศสในแบบฉบับที่อลังการ งดงามดังบทกวี และไร้กาลเวลา จากวิวหลังคาไปจนถึงทัศนมิติ และสมบัติลับล้ำค่าของเมือง วิสัยทัศน์เชิงสถาปัตยกรรมนี้เป็นสไตล์คาร์เทียร์ทั้งหมด และค้นพบพลังในทุกยุคสมัย ทุกวัฒนธรรม ในการที่จะตรึงความงามและความเป็นสากลของแต่ละยุคและแต่ละวัฒนธรรมออกมา ไม่ว่าจะเป็นความงาม ความพิสุทธิ์ ความโอ่อ่าในสไตล์อพอลโลเนียนและไดโอนิเซียน  ด้วยพื้นที่ที่โอ่โถงและเปิดรับแสงสว่าง จึงเป็นสถานที่สำหรับใช้ชีวิตและพบปะกันเพื่อการสร้างสรรค์และจินตนาการ เลขที่ 13 รูเดอลาเปซ์ เชิญคุณมาร่วมการเดินทางอันล้ำค่า สู่ใจกลางจักรวาลคาร์เทียร์ ด้วยสถาปัตยกรรมที่มองลึกสู่ภายใน จึงทำให้อาคารนี้เป็นที่ตั้งอันอบอุ่นใกล้ชิดสำหรับอัญมณีที่เลิศล้ำและช่วงเวลาที่ไม่อาจลืม การมาบรรจบกันระหว่างอนาคตกับอดีต […]

HAPPIELAND กัญชาไลฟ์สไตล์สโตร์ในบรรยากาศชวนฉงน

HAPPIELAND ร้านสินค้าไลฟ์สไตล์ ที่เกี่ยวข้องกับกัญชาย่านเจริญกรุง โดดเด่นด้วยเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร พร้อมบรรยากาศน่าฉงนชวนให้ทุกคนค้นหาไปพร้อมกัน มองจากภายนอก คงยากจะบอกว่าตึกแถวห้องริมสุดบนหัวมุมถนนเจริญกรุง 82 เป็นสำนักงาน ร้านค้า ร้านอาหาร หรือมีอะไรซ่อนอยู่ภายใน และด้วยผนังสีเทาทึบที่ทั้งหลบเร้นเข้าไปภายใน รวมถึงชื่อ HAPPIELAND บนผนัง ที่ทิ้งให้เปลือยเปล่าไว้ราวกับยังทาสีไม่เสร็จ ก็ทำให้ที่นี่ยิ่งน่าค้นหาขึ้นไปอีก ที่นี่ริเริ่มและดำเนินกิจการโดยกลุ่มเพื่อนครีเอทีฟ และนักออกแบบที่มีความสนใจร่วมกันในพืชเศรษฐกิจใหม่ของประเทศไทยอย่างกัญชา โดยการออกแบบร้านค้าแห่งใหม่เพื่อรองรับกิจกรรมที่รอวันเสรีอย่างสมบูรณ์นี้ก็สอดคล้องไปกับการออกแบบแบรนด์ในภาพรวม ที่เน้นความสนุกสนานและความคิดสร้างสรรค์ โดยแรกสุดนั้น ชื่อร้านมาจากไอเดียสนุกของการเล่นคำอังกฤษผสมการพ้องเสียงไทย อย่างการรวมคำว่า Happy กับ Hippie กลายเป็น Happie รวมกับการตั้งใจให้อ่านชื่อแบรนด์ “HAPPIELAND” อย่างไทยเป็น “แฮบ – พี้ – แลน” ที่ก็พ้องความหมายไปกับกิจกรรมการใช้กัญชาในเชิงสันทนาการ อารมณ์ขันและความสนุกที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะหนึ่งของกัญชา จึงเป็นเนื้อหาหลักในการแบรนด์และการออกแบบร้านค้าไปพร้อมกัน โดยในส่วนของร้านค้านั้น สิ่งที่ผู้เยี่ยมชมจะสัมผัสได้เป็นอย่างแรกหลังจากเดินเข้าสู่พื้นที่ภายในคือบรรยากาศของห้องสีขาว สะอาด สว่าง ซึ่งตรงกันข้ามทุกประการกับบริบทและสภาพแวดล้อมที่วุ่นวายภายนอกของเมืองกรุงเทพฯ โดยภายในตัวร้านค้านี้ ผู้ออกแบบได้สร้างสเปซใหม่เป็นการเฉพาะสำหรับหน้าร้านด้วยการกั้นพื้นที่ชั้นหนึ่งของตึกแถวเดิมด้วยการวางแผงกระจกล้อมเป็นวงกลม และเอนแผงกระจกทั้งหมดนั้นออก ผลลัพธ์ที่ได้ จึงเป็นห้องวงกลมที่ให้ความรู้สึกเหมือนผู้เยี่ยมเยือนจะยืนอยู่ในห้องกระจกรูปทรงกรวยกลับหัวอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับการได้พื้นที่เศษเหลือโดยรอบจากการล้อมกรอบพื้นที่ใช้สอยใหม่ในห้องของตึกเก่า ที่ระบุรูปทรงไม่ได้ ที่เอื้อให้เกิดพื้นที่ใช้ประโยชน์อย่างเคาน์เตอร์ชำระเงิน ช่องสต็อกสินค้า […]