Restaurant Archives - Page 2 of 10 - room

สถาปัตยกรรม ไม้ไผ่ ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากขุนเขา และผืนน้ำ

Bamboo Light เป็นภัตตาคารแพลอยน้ำแบบที่หลาย ๆ คนอาจจะคุ้นชินกับคำว่า สวนอาหาร แต่ด้วยการออกแบบของ ธ.ไก่ชน ผู้ชำนาญในด้านการใช้ ไม้ไผ่ จึงทำให้แพไม้ไผ่แห่งนี้มีความพิเศษไม่เหมือนใคร DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: ธ.ไก่ชน THAI Bamboo Architecture “ภูเขา และผืนน้ำ” เป็นนิยามของรูปลักษณ์ และรูปทรงที่เกิดขึ้นของโครงสร้าง ไม้ไผ่ในครั้งนี้ การออกแบบตั้งใจสร้างภาพเงาสะท้อนบนผืนน้ำ สอดคล้องไปกับภาพจำของภูเขาที่เรียงรายผ่านการออกแบบโครงสร้างหลังคาทำให้แพไม้ไผ่แห่งนี้มีภาพจำที่แตกต่างไปจากแพไม้ไผ่ในที่อื่น ๆ ปลายยอดแหลมที่เหมือนกับยอดเขา เปิดช่อง Sky Light เพื่อรับแสงธรรมชาติสู่พื้นที่ใช้งาน และยังช่วยขับเน้นความงามของโครงสร้างเหล็ก และไม้ไผ่ ที่ทำงานรับล้อกันไปตลอดทั้งโครงการ เสากลมขนาดเล็กที่ตั้งใจออกแบบบนผังแบบฟรีฟอร์มนั้น ทำให้เส้นสายที่เกิดขึ้นรับกันได้ดีกับแนวชายคาที่มีความโค้งพลิ้ว บรรจบกับบรรยากาศของวงกระเพื่อมบนผืนน้ำอย่างลงตัว และไม่กวนสายตา โครงสร้างเหล็กทาสีขาว และไม้ไผ่ที่ทำสีธรรมชาติ รวมทั้งหลังคาไม้ไผ่ที่ปล่อยเปลือย เป็นความตั้งใจเพื่อให้มองเห็นความงามของวัสดุที่สื่อสารอย่างตรงไปตรงมา และในส่วนของที่นั่งได้มีการจัดวางโค้งรับไปกับแนวชายคาด้วยเช่นกัน การออกแบบคำนึงถึงคุณลักษณะของไม้ไผ่ในช่วงองศาของการดัดโค้ง เพื่อให้การทำงานร่วมกับวิศวกรเป็นไปได้โดยสะดวก และมีการคำนวณยื่นขออนุญาตก่อสร้างอย่างถูกต้องอีกด้วย นอกจากนี้ โครงสร้างไม้ไผ่ในโครงการ ยังมีการเลือกใช้โครงสร้างเหล็กเข้ามาช่วยในการจบงานระบบปรับอากาศ และปิดช่องว่างเพื่อกันแมลง และนี่คืออีกหนึ่งโครงการที่ท้าทายการใช้วัสดุพื้นถิ่นในรูปแบบใหม่ ๆ ได้อย่างลงตัว และน่าสนใจเป็นอย่างมาก ที่ตั้งBamboo Light […]

AKANEE ตีความวิธีทำอาหารจากเตาไฟ สู่ร้านอาหารไทยโบราณสี่ภาค

Akanee ร้านอาหารไทยโบราณ แรงบันดาลใจจากเตาไฟ ตั้งอยู่ภายในโครงการ Earth Ekamai โดยมีเชฟเป่าเป้ – เจสสิก้า หวัง และเชฟเอียน – พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย มาช่วยกันสร้างสรรค์เมนูอาหารจากสูตรตำรับดั้งเดิม เพื่อนำพาผู้คนยุคนี้ให้ได้สัมผัสกับรสชาติอาหารที่ไม่คุ้นเคย หรือหารับประทานยาก อิ่มอร่อยในบรรยากาศแบบ Casual Dining DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Tastespace.co จากชื่อ Akanee (อัคนี หรือไฟ) เป็นการตั้งชื่อร้านและสื่อสารอย่างตรงมาตรงไป เพราะไฟถือเป็นสิ่งสำคัญของการประกอบอาหาร จุดกำเนิดเมนูต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการปิ้ง ย่าง ผัด ทอด ต้ม นึ่ง ฯลฯ ที่ล้วนแต่ต้องใช้ไฟทั้งสิ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการนำมาสู่การตีความในแง่ของการออกแบบ ทีมผู้ออกแบบจาก Tastespace.co จึงหยิบประเด็นของการใช้เตาไฟหรือ “เตาอั้งโล่” ที่ต้องควบคุมไฟโดยใช้พัดโบกเตาเครื่องจักสานไม้ไผ่ทรงสี่เหลี่ยมเพื่อใช้เร่งไฟ จากองค์ความรู้ดังกล่าว จึงถูกเลือกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์และแรงบันดาลใจในการออกแบบตกแต่งร้าน ดังนั้นเพื่อเน้นสื่อสารถึงความเป็นครัวไทย และบอกเล่าถึงเมนูเด่นของร้านที่เน้นการย่าง โดยคุณฮิม-กิจธเนศ ขจรรัตนเดช จึงได้ทำการรีเสิร์ชข้อมูลต่าง ๆ หลังจากทราบความพิเศษของอาหารที่เชฟทั้งสองท่านตั้งใจรังสรร ก่อนตกตะกอนจนกลายเป็นร้านที่มีบรรยากาศหรูหรา แต่มีความแคชวลสบาย […]

AIMANDA อิ่มเอมในรสอาหารใต้ เคล้ากลิ่นอายอันดามัน

เอมอันดา AimAnda l Southern Thai Cuisine ร้านอาหารอบอุ่น เสิร์ฟรสชาติจัดจ้านจากแดนใต้ เด่นด้วยงานดีไซน์สไตล์ไทยโมเดิร์น DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Does studio เอมอันดา ร้านอาหารใต้ระดับพรีเมียมเปิดใหม่ย่านถนนพระยาสัจจา-อ่างศิลา จังหวัดชลบุรี ตั้งโดดเด่นอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับโกปี๊ฮับสาขา 2 ร้านติ่มซำซึ่งมีต้นตำรับมาจากหาดใหญ่ จากทำเลดังกล่าวผสานกับความต้องการของคุณณิชา จารุกิตต์ธนา ผู้เป็นเจ้าของ ร้านอาหารใต้แห่งนี้จึงมีกลิ่นอายที่เชื่อมโยงกันไปกับร้านติ่มซำ ได้รับการออกแบบโดย Does studio ทีมสถาปนิกผู้เคยถ่ายทอดเรื่องราวของโกปี๊ฮับมาแล้วทั้ง 2 สาขา สำหรับการออกแบบร้านอาหารครั้งนี้ พวกเขาได้ร่วมกันคิดงานดีไซน์ของร้าน ผ่านชื่อ “เอมอันดา” อันสื่อความหมายถึงความอิ่มเอมที่ทุกคนจะได้รับผ่านมื้ออาหารแสนอร่อย และทะเลอันดามัน แหล่งอาหารรวมถึงทรัพยากรทางธรรมชาติที่สำคัญของผู้คน ก่อนนำมาสู่การออกแบบร้านผ่านรูปแบบสถาปัตยกรรมให้มีกลิ่นอายสไตล์ไทยโมเดิร์น โดยดีไซน์ขึ้นมาจากคอนเซ็ปต์ของอาหาร เพื่อสื่อถึงอาหารไทยพื้นถิ่นภาคใต้ที่ได้รับการยกระดับให้มีความพรีเมียม จนมาลงตัวกับอาคารสีขาวโดดเด่นด้วยหลังคาทรงจั่ว ผสานกับเส้นโค้งที่หมายถึงเกลียวคลื่น ช่วยให้เกิดมุมมองที่ดูสมู้ธลื่นไหล โดยเป็นเส้นโค้งที่ออกแบบให้ยาวต่อเนื่องมาจากหลังคาทรงจั่ว ยาวเรื่อยไปจนรับกับพื้นที่ลานจอดรถ สิ่งที่ท้าทายครั้งนี้ คือตำแหน่งศาลพระพรหมที่ตั้งอยู่ด้านหน้า กลายเป็นโจทย์ว่าจะทำอย่างไรให้ศาลพระพรหม และอาคารร้านอาหารเป็นเรื่องราวเดียวกัน สถาปนิกจึงเลือกผลักอาคารร้านอาหารเข้าไปด้านใน แล้วใช้แลนด์สเคปมาคั่นกลางให้มุมมองของสวนทำหน้าที่เปรียบเสมือนแบ็กกราวน์ให้แก่ศาลพระพรหม ออกแบบทางเข้าให้ลูกค้าสามารถเดินมาได้ทั้งจากพื้นที่จอดรถด้านหน้า ซึ่งต้องเดินผ่านพื้นที่แลนด์สเคปเข้ามา หรือจะเดินมาจากลานจอดรถด้านข้างของร้านโกปี๊ฮับก็ได้ โดยได้ออกแบบให้มีไฮไลต์ หรือลูกเล่นด้วยการทำช่องทางเดินวางตัวเป็นแนวยาวอยู่หลังศาลพระพรหม […]

FILO ร้านอาหารสไตล์เมมฟิส บรรยากาศพาย้อนยุค 90

FILO ร้านอาหารในเมือง Torreón ประเทศเม็กซิโก โดดเด่นด้วยการตกแต่งสไตล์เมมฟิส มีแรงบันดาลใจความสดใสมาจากยุค 90’s ผลงานการออกแบบร้านอาหาร สไตล์เมมฟิส เป็นการจับมือกันของ 2 สตูดิโอออกแบบ Andrés Mier y Terán และ Regina Galvanduque (MYT+GLVDK) กับการออกแบบร้านอาหารตะวันออกกลางในบรรยากาศย้อนยุค ผสมผสานเส้นสายเรขาคณิตและกราฟิกสีสันสดใส หรือที่รู้จักกันในชื่อ Memphis Style เนื่องจากเจ้าของร้านเป็นสตรีชาวเม็กซิโกเชื้อสายเลบานอน เธอจึงอยากให้ที่นี่ช่วยเล่าเรื่องราวที่สะท้อนรากวัฒนธรรมอาหารแบบตะวันออกกลาง ด้วยการนำเฉดสีในอาหารโดยเฉพาะขนมฟีโล ขนมทานเล่นสไตล์ตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นที่มาของชื่อร้าน มาใช้เป็นธีมสีในการออกแบบตกแต่ง โดยขนมชนิดนี้มีส่วนผสมหลายอย่าง อาทิ น้ำมันมะกอก ถั่วพิสตาชิโอ น้ำกุหลาบของดามัสกัส มะเดื่อ ซูแมค พริกไทย และเครื่องเทศต่าง ๆ บรรยากาศของร้านจึงเต็มไปด้วยเฉดสีที่หลากหลาย ภายในพื้นที่ 210 ตารางเมตร มีอิทธิพลงานออกแบบมาจากสไตล์เมมฟิส (Memphis Style) อีกหนึ่งแนวทางการออกแบบที่เกิดขึ้นในช่วงต้นของยุค 90’s โดยสไตล์เมมฟิสนี้ มีความโดดเด่นด้วยการผสมผสานรูปทรงเรขาคณิต และการใช้สีสันสดใสที่ตัดกัน ฉีกกฎการออกแบบด้วยการให้ความสำคัญกับรูปทรง ผลงานของงานดีไซน์สไตล์เมมฟิสส่วนใหญ่ […]

CAMIN CUISINE & CAFE ชิมรสอาหารใต้โอบบรรยากาศอบอุ่นในสวนกุหลาบที่ ขมิ้น สาขาอารีย์

ขมิ้น Camin Cuisine & Cafe สาขาอารีย์ คาเฟ่และร้านอาหารใต้ต้นตำรับฝีมือแม่สาขาที่ 6 ที่ขอยกความอร่อยมายังย่านซอยอารีย์-พหลโยธิน ด้วยคอนเซ็ปต์ที่เน้นความรู้สึกอบอุ่น และมีสีสันที่มากกว่าสาขาอื่น ท่ามกลางสวนกุหลาบแสนหวานที่กำลังผลิบานต้อนรับลมหนาว Camin Cuisine & Cafe สาขาอารีย์ เกิดจากการรีโนเวตอาคารคาเฟ่เก่าที่เลิกกิจการไปแล้ว โดยที่ด้านบนยังมีร้าน Boutique Salon เปิดกิจการอยู่ แต่เนื่องจากแต่ละอาคารเดิมมีการแยกสัดส่วนกัน ทีมสถาปนิกจาก Charrette Studio ผู้ทำหน้าที่รีโนเวตจึงพยายามเชื่อมร้อยการใช้งานทั้งโซนร้านอาหารและคาเฟ่ให้เป็นพื้นที่เดียวกัน ในลักษณะแปลนรูปตัวยู (U) โอบล้อมรอบสวนกุหลาบสายพันธุ์ญี่ปุ่นที่ปลูกอยู่ในกระบะปูนรูปทรงฟรีฟอร์มหลากสี ตามคอนเซ็ปต์ “โอบอ้อมอารีย์” ซึ่งมีที่มาจากบริบทที่ตั้งอย่างย่านซอยอารีย์ บรรยากาศของร้านขมิ้นสาขานี้ ผู้ออกแบบเล่าว่า ที่นี่ค่อนข้างแตกต่างจากสาขาอื่น เพราะเน้นบรรยากาศให้มีความน่ารัก อบอุ่น และมีความทันสมัยมากขึ้น ทั้งยังคงเก็บรายละเอียดเดิมของอาคารและต้นไม้เดิมในพื้นที่เอาไว้ นับเป็นงานรีโนเวตที่ให้ความสำคัญกับบริบทที่ตั้ง ซึ่งมีส่วนผสมของโครงสร้างเก่าและใหม่ที่ลงตัว จากลานจอดรถเมื่อเดินเข้ามายังพื้นที่ร้าน จะพบกับพื้นที่คอร์ตสวนกุหลาบในกระบะปูนขอบสูงสีพาสเทล ที่ออกแบบมาให้สามารถนั่งพักได้ ตรงกลางกระบะเลือกปลูกต้นมะขามเทศด่าง มีเอกลักษณ์ด้วยยอดใบสีขาวแต้มชมพูดูละมุน เข้ากับสีของดอกกุหลาบให้ฟีลเหมือนสวนต่างประเทศผสมกับพรรณไม้ไทย พื้นที่ภายในโซนร้านอาหารมีกลิ่นบรรยากาศโทนสีเหลืองทองอบอุ่น ซึ่งเป็นธีมมาจากสีทองของฟ้อนต์ซึ่งเป็นโลโก้ร้าน สถาปนิกเลือกใช้วัสดุหลากหลายมาช่วยในการออกแบบ มีไฮไลท์เด่น ๆ อย่าง ผนังกรุแผ่นหินโปร่งแสง […]

THAN / LAB บาร์ลับคอนเซ็ปต์สนุก ชวนนึกถึงห้องหลบภัยใต้ดิน

Than / lab โปรเจ็กต์รีโนเวตตึกธนาคารเก่าขนาด 3 ชั้น ใกล้ชายแดนอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย สู่ร้านอาหารและบาร์ลับบรรยากาศเหมือนห้องหลบภัยชั้นใต้ดิน ที่สลับอารมณ์ผ่านบรรยากาศ 3 สไตล์แบบไม่ซ้ำ Charrette Studio ได้ใส่ไอเดียสนุกๆ ลงไปใน Than / lab คอมมูนิตี้ที่รวบรวมทั้งร้านอาหารและบาร์บรรยากาศแปลกใหม่ สำหรับให้ผู้คนได้เข้ามาหลบลี้หนีความวุ่นวายอยู่ภายใน เสมือนที่หลบภัยลับที่ซ่อนตัวอยู่กลางเมือง ตัดขาดจากภายนอก โชว์ความดิบผ่านร่องรอยการทุบรื้อ หลังจากได้รับโจทย์ สถาปนิกได้ใส่ไอเดียจากซีรีส์เรื่องโปรดของสถาปนิกอย่าง Money Heist เริ่มตั้งแต่เมื่อเดินจากริมถนนเข้ามาถึงพื้นที่ด้านหน้า ซึ่งจะยังคงเห็นบานโรลลิ่งชัตเตอร์เดิม แล้วเปลี่ยนผนังด้านหน้าให้ปิดทึบ ชวนสงสัยว่าภายในคืออะไร และมีความน่าสนใจอย่างไร ขณะที่คนด้านในก็จะรู้สึกถึงการตัดขาดจากภายนอก โซนชั้น 1 เปิดเป็นร้านอาหารตกแต่งด้วยใต้ธีม Underground จัดเสิร์ฟเมนูประเภทสเต็ก อาหารตะวันตกรับประทานง่าย และอาหารประเภทเทปันยากิ ออกแบบให้มีบาร์ทำอาหารขนาดยาว บรรยากาศให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในห้องหลบภัยลับชั้นใต้ดิน รอบ ๆ เป็นผนังผิวขรุขระไร้การปรุงแต่ง เสมือนห้องที่ผ่านการบุกทลาย โชว์ความดิบและร่องรอยที่เกิดจากการทุบรื้อสเปซออกไปบางส่วน ตกแต่งไลท์ติ้งให้บรรยากาศดูสลัวราง แสงไฟที่สาดไปกระทบกับผนังจะช่วยขับเน้นเท็กซ์เจอร์ให้เห็นมิติสูงต่ำที่เกิดจากรอยปูนปุปะ ด้านหลังมี Smoking Area เป็นพื้นที่เปิดโล่งเดียวที่ยอมให้แสงสาดเข้ามา ช่วยให้พื้นที่ภายในชั้น […]

IM EN VILLE “อิ่มในเมือง” บิสโทร คาเฟ่ บรรยากาศคลาสสิก บนถนนเฟื่องนคร

“อิ่มในเมือง” ปลุกชีวิตตึกเก่าย่านถนนเฟื่องนครอายุกว่า 150 ปี สู่ร้านอาหารและคาเฟ่บรรยากาศคลาสสิกสไตล์คอนเทมโพรารีอินดัสเทรียล ให้ทั้งความอิ่มเอมไปกับรสชาติอาหาร และสัมผัสวิววิจิตรสวยงามของวัดราชบพิธฯ อาคารที่ตั้งของร้าน “อิ่มในเมือง” ช่วงหนึ่งเคยใช้เป็นโรงพิมพ์ลมูลจิตต์ ก่อนถูกทิ้งร้างมานานกว่า 20 ปี จนกระทั่งได้รับการรีโนเวตใหม่ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ กลายเป็น IM En Ville (อิ่ม-ออง-วิล) บิสโทร คาเฟ่ ชื่อฝรั่งเศสสุดเก๋ ซึ่งแปลว่า “ฉันอยู่ตรงนี้” เหมือนฉันอยู่ในเมือง และยังอ่านออกเสียงคล้ายคำว่า “อิ่ม” ในภาษาไทย สื่อได้ถึงความอิ่มอร่อย อิ่มสุข อิ่มใจ อิ่มบรรยากาศ ภายในคาเฟ่บรรยากาศสไตล์คอนเทมโพรารีอินดัสเทรียล ที่ตั้งอยู่บริเวณหัวมุมถนนราชบพิธตัดกับถนนเฟื่องนคร รับกับวิววัดราชบพิธฯ ที่สวยงามได้อย่างพอดิบพอดี คาเฟ่ในย่านเก่าเล่ายุคการพิมพ์เฟื่องฟู จากเรื่องราวของอาคารที่สร้างขึ้นในช่วงหลังการสร้างถนนเฟื่องนครไม่นาน (เฟื่องนคร เป็นถนนที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 หรือราวปี พ.ศ.2407 เป็นถนนที่สร้างตามแบบตะวันตก เป็นถนนสายเริ่มแรกของกรุงเทพฯ นอกจากถนนเจริญกรุง และถนนบำรุงเมือง) โดยสันนิษฐานว่าอาคารนี้ น่าจะสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2410 หลังจากนั้นก็ถูกเปลี่ยนมือมาเรื่อย ๆ ก่อนจะมาถึงกิจการโรงพิมพ์ที่กินเวลายาวนานกว่ากิจการอื่น ซึ่งตรงกับยุคที่การพิมพ์เฟื่องฟู โดยเฉพาะถนนเฟื่องนครที่ได้ชื่อว่าเป็นย่านโรงพิมพ์และสำนักพิมพ์ […]

WH cafe วังหิ่งห้อย

WH CAFE รุ่งอรุณแห่งวังหิ่งห้อย ในบรรยากาศของร้านอาหารกลางสวนทรอปิคัล

WH cafe วังหิ่งห้อย ในพาร์ทบรรยากาศยามเช้า ต้อนรับวันใหม่ด้วยอาหารแบบ All Day Breakfast ทั้งอิ่มท้องและสดชื่นกลางสวนสไตล์ทรอปิคัล หลายคนอาจเคยได้ยินชื่อ วังหิ่งห้อย (Wanghinghoi) บาร์และร้านอาหารสไตล์ไฟน์ไดนิ่งที่สร้างสรรค์ประสบการณ์การรับประทานอาหารที่ครบถ้วนทั้งรูป รส กลิ่น เสียง และแสง ผ่านแนวคิดธาตุทั้ง 4 ท่ามกลางบรรยากาศสลัวรางดูลึกลับในยามค่ำคืน โดยครั้งนี้วังหิ่งห้อยขอเพิ่มทางเลือกใหม่เพื่อจัดเสิร์ฟอาหารสไตล์ All Day Breakfast เปิดบริการในช่วงเวลากลางวัน ท่ามกลางบรรยากาศป่าเขตร้อน โดยใช้ชื่อว่า WH Cafe ย่อมาจาก Wang Hinghoi นั่นเอง WH cafe วังหิ่งห้ จากความพลุกพล่านของย่านอาร์ซีเอ พระราม 9 ที่นี่จะพาทุกคนหลบเข้ามาสู่บรรยากาศของสวนป่ากลางเมือง เริ่มต้นตั้งแต่สองข้างทางเดินด้านนอกที่ต้อนรับผู้มาเยือนด้วยสวนสีเขียว ก่อนบังคับให้เดินผ่านกำแพงดินสูงตระหง่านราว 5 เมตร ซึ่งเป็นแลนด์มาร์กสำคัญของโครงการ เดินตามป้ายบอกทางไปเรื่อย ๆ แล้วจะพบกับประตูเหล็กสีขาวขนาดใหญ่เพื่อผลักเข้าสู่พื้นที่ของ WH Cafe ซึ่งเคยเป็นอีกส่วนหนึ่งของวังหิ่งห้อย โดยได้รับการออกแบบต่อเติมใหม่ให้กลายเป็นคาเฟ่บรรยากาศสว่างปลอดโปร่ง สเปซกับบรรยากาศได้รับการออกแบบให้เป็นเหมือนสวนหลังบ้าน ภายใต้แนวคิด Into […]

INKA ชิลไปกับร้านอาหารสไตล์บีชคลับกลางกรุงเทพฯ

INKA – อิงคฺ ร้านอาหารซึ่งมีชื่อแปลว่า แสงสว่าง กับมุมมองที่เห็นวิวตึกสูงของกรุงเทพฯ ได้จากชั้น 5 ของห้างสรรพสินค้า Central Embassy เสิร์ฟอาหารไทยที่รังสรรค์ขึ้นใหม่ให้มีความทันสมัย ภายใต้บรรยากาศสุดชิลเหมือนอยู่ในรีสอร์ตริมทะเล Inka มาพร้อมความพิเศษกับรูปแบบร้านอาหารที่เรียกว่า Progressive Thai Restaurant เชิญชวนทุกคนให้มาลิ้มรสอาหารไทยอร่อย ๆ ที่รังสรรค์โดยเชฟมืออาชีพมากประสบการณ์ กับแนวคิดเพื่อยกระดับคุณค่าอาหารไทย ด้วยการนำอาหารพื้นถิ่นมาทำให้มีมูลค่ามากขึ้น โดยใช้เทคนิคการปรุงอาหารแบบฝรั่งมาผสมผสาน จัดเสิร์ฟให้คนเมืองได้สัมผัสประสบการณ์รสชาติอาหารไทยในรูปลักษณ์และดีไซน์ทันสมัย แต่ยังคงไว้ซึ่งรสชาติกลมกล่อมและจัดจ้านอยู่เช่นเดิม จากคอนเซ็ปต์หลักของเมนูอาหาร ได้ส่งต่อมาถึงธีมการออกแบบตกแต่งร้าน ที่เน้นให้เกิดความรู้สึกถึงความเป็นพื้นถิ่น รุ่มรวยไปด้วยเสน่ห์แห่งวัฒนธรรม หรือที่เรียกว่า Ethnic Vibe ในบรรยากาศสบาย ๆ ผสมสไตล์รัสติก เสมือนกำลังพักผ่อนอยู่ภายในรีสอร์ต หรือ Beach Club ริมทะเล อบอุ่นอ่อนโยนด้วยของตกแต่งแฮนด์เมดหลากหลายรูปแบบ เช่น งานไม้ งานปั้น และงานจักสาน ซึ่งมีรูปทรงสวยงาม ไม่ต่างจากงานศิลปะจัดวางก็ว่าได้ ภายในแบ่งที่นั่งหลากหลายโซนให้เลือก เช่น มุมที่นั่งแบบซุ้มโค้ง ที่ให้ความรู้สึกกึ่งเป็นส่วนตัว กับบรรยากาศน่ารัก ๆ สไตล์กรีซ […]

BUDDHA-BAR ด้วยแรงบันดาลใจงานออกแบบจากสังสารวัฏในทัศนะพุทธปรัชญา

ที่นี่คือ Buddha-Bar New York ร้านอาหารที่เลื่อมใสในคติพุทธปรัชญา และหยิบยกเอาแนวคิดคำว่า “การเกิดใหม่” มาใช้เป็นคอนเซ็ปต์หลักของบร้าน ดังจะเห็นได้ชัดจาก ณ กึ่งกลางของร้านที่มีประติมากรรมอีกชิ้นที่เกิดจากไม้ยืนต้นตาย รวมทั้งบรรดาผนัง และท็อปโต๊ะก็เลือกใช้ไม้ที่มีอายุกว่า 800-4,000 ปี มาประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อสื่อถึงวัฏจักรที่เวียนว่ายเกิดสู่สังสารวัฏที่แตกต่างไปในแต่ละชาติ “อานนท์เอ๋ย จงพึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้วขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป หาใช่รูปแทนทั้งปวง” พระตถาคตได้กล่าวไว้ก่อนปรินิพพาน และร้านอาหารแห่งนี้ก็ได้จัดวางประติมากรรมรูปพระตถาคตเอาไว้อย่างแม่นเหมาะ ประติมากรรมนี้สร้างขึ้นจากกระจก 1,000 แผ่น เรียงต่อกันเป็นรูปร่างขึ้น โดยมีเครื่องฉายภาพอยู่ภายในที่จะสร้างภาพสามมิติประกอบอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งประติมากรรมนี้สื่อถึงภาชนะที่ว่างเปล่าคล้ายกายหยาบที่เรากำลังห่มคลุมอยู่ในทุกเมื่อเชื่อวัน โดยมีแก่นสารแห่งชีวิตอยู่ภายในนั่นเอง และจุดเด่นอีกส่วนที่สำคัญ ก็คือโคมไฟระย้าโลหะรูปทรงโมเดิร์นที่สื่อถึงบรรยากาศแบบเอเชี่ยนออกแบบโดย Kateryna Sokolova ห่มคลุมพื้นที่คล้ายดอกไม้บานสื่อถึงการตื่นรับความคิดใหม่ ๆ สู่จิตตน ก็เป็นอีกหนึ่งงานออกแบบที่น่าสนใจซึ่งอาจจะไม่ได้เห็นได้ในประเทศไทย แต่ด้วยการตีความทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ร้านอาหารแห่งนี้ก็กล่าวถึงวัฏจักรแห่งชีวิตแฝงไว้ตามวัสดุและรูปแบบการใช้งานได้อย่างน่าสนใจ เพราะสุดท้ายแล้วพุทธที่แท้ล้วนคือคำสอนดังที่พระตถาคตได้กล่าวเอาไว้จนหมดสิ้นนั่นเอง ออกแบบ : YOD design lab ภาพ : Andriy Bezuglovเรื่อง : Wuthikorn Sut

PHILTRATION บาร์ลับในอดีตห้องปรุงยาเก่าชั้นใต้ดินของบ้านหมอมี

ใครจะคิดว่าใต้ถุนของเรือนโบราณอายุกว่า 100 ปี ที่ตั้งของร้านอาหารบ้านหมอมี สถานที่อันเป็นตำนานของยาแผนโบราณไทย จะซ่อนบาร์ลับ Philtration บาร์ค็อกเทลบรรยากาศ Old  English ที่เกิดจากรีโนเวตอดีตห้องปรุงยาชั้นใต้ดินเก่า ให้กลายเป็นสถานที่แฮ้งเอ๊าต์กลางกรุง ที่มาของ Philtration บาร์ลับแห่งนี้ มาจากเจ้าของโครงการทายาทหมอมีรุ่นที่ 4 กับความต้องการอยากทำ Speakeasy Bar ภายในพื้นที่ห้องใต้ดินของบ้านที่ไม่ได้ใช้งานมานาน ประกอบกับต้องการสนับสนุนวัฒนธรรมการสังสรรค์ในบาร์ลับของไทยที่ตั้งอยู่กลางเมือง ซึ่งน่าจะสร้างธุรกิจใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นกับครอบครัวได้ จากประตูทางเข้าที่แอบอยู่ในมุมหนึ่งภายนอกบ้าน เมื่อเข้ามาจะพบห้องและอุโมงค์ซึ่งมีชั้นหนังสือสูงใหญ่จากพื้นจรดเพดาน ซึ่งเป็นที่ซ่อนบาร์สไตล์ Old English ไว้หลังตู้ ภายในตกแต่งด้วยสีโทนคลาสสิก จัดวางเฟอร์นิเจอร์เรียบแต่หรูหรา สีสันขับกับผนังและพื้นกระเบื้องโบราณ ออกแบบบาร์ตามโครงสร้างใต้ถุนเดิมของอาคารโบราณที่มีคานต่ำ ซึ่งกลายเป็นจุดเด่นไปโดยปริยาย นอกจากนี้ ยังได้ใส่ลูกเล่นด้วยผนังโค้ง แล้วต่อไฟเส้นเเอลอีดีทำให้เกิดเส้นสายที่สวยงาม โดยเส้นโค้งเว้าที่ว่านี้จะทำหน้าที่ช่วยลดความแข็งกระด้างและหนักของโครงสร้างทั้งหมดลงได้ การตกแต่งพยายามเก็บความเก่าไว้ให้ได้มากที่สุด ด้วยการใช้วัสดุที่แตกต่างกัน แต่เข้ากันได้ดี เช่น ไม้ ปูน สีสนิม เเละเหล็กดัดโลหะสีเขียวแบบโบราณ ตัดกับโลหะแวววาวอย่าง ทองแดงขณะที่โซนวีไอพีตั้งใจใช้แผ่นอะลูมิเนียมกรุบนเพดาน เพื่อให้เกิดภาพคล้ายเงาสะท้อนจากน้ำ ส่วนหนึ่งเพื่อทำให้เพดานรู้สึกสูง และอีกส่วนตั้งใจให้เกิดเงาสะท้อน เป็นการสื่อความหมายของการเปลี่ยนแปลงระหว่างความเก่าไปสู่ความใหม่ได้อย่างน่าสนใจ IDEA […]

VYTA ร้านอาหารอิตาลี กลางกรุงลอนดอน สวยหรูด้วยสไตล์การตกแต่งยุค60’s

VyTA Covent Garden ร้านอาหารอิตาลี ชื่อดังจากประเทศอิตาลี ที่ยกทัพความอร่อยมาตั้งอยู่ในย่าน Covent Garden ซึ่งมีชื่อเสียงด้านสถาปัตยกรรม และเป็นหัวใจของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มานานกว่า 300 ปี ด้วยชื่อเสียงของสถานที่ตั้ง แน่นอนการออกแบบตกแต่งบรรยากาศ ร้านอาหารอิตาลี ที่มีชื่อเสียงในเรื่องการเสิร์ฟอาหารสไตล์อิตาลีกูร์เมต์เคล้ากับไวน์คุณภาพดี จึงย่อมไม่ธรรมดา กับคอนเซ็ปต์การสร้างร้านอาหารให้เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยปรับโฉมหน้าของย่านที่ตั้งให้กลายเป็นจุดหมายของนักท่องเที่ยว โดยสาขาใหม่ล่าสุดของ VyTA ที่ยกทัพมาเปิดที่ประเทศอังกฤษ ในย่านตลาด Covent Garden มีชื่อเสียงด้านสถาปัตยกรรม และเป็นหัวใจของเมืองลอนดอน มานานกว่า 300 ปี  นี้ เพื่อความโดดเด่นผู้ออกแบบจึงดึงงานสถาปัตยกรรมสไตล์อิตาลีในยุค60’s ซึ่งมีหัวใจอยู่ที่ดีเทลการตกแต่ง ด้วยการผสานทั้งสีสัน และรูปทรงต่าง ๆ มาช่วยสร้างความตื่นตาให้แก่ผู้พบเห็น โดยดึงเส้นสายของงานเหล็ก และพื้นผิวโลหะสีทอง เข้ามาสร้างบรรยากาศท่ามกลางอาคารโบราณที่อยู่รายรอบ ความโดดเด่นของที่นี่คือการเล่นกับคู่สี และรูปทรงอย่างไร้ขีดจำกัด เช่น การใช้หินอ่อนรูปสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด จับคู่สีตรงข้ามมาทำเป็นพื้นผิวของผนังและพื้น เชื่อมโยงสีเหล่านี้มาสู่ผืนผนังแล็กเกอร์สีเขียวเข้ม กับเฟอร์นิเจอร์กำมะหยี่สีแดง-ส้ม ใช้ความแวววาวของงานเมแทลลิกทั้งกับผืนผนัง ฝ้าเพดาน และโคมไฟ เป็นตัวเชื่อมประสานให้สีคู่ตรงข้ามเหล่านั้น ดูสนุกสนานแบบกลมกล่อม ตอบความเป็นสีสันของความเป็นลอนดอนได้ทั้งทางสายตาและความรู้สึก  Idea […]