SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู อร่อยในสไตล์เอเชี่ยน - room

SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู รวบรวมความหลากหลายบอกเล่าอาหารสไตล์เอเชี่ยน

ร้านอาหารบางลำพู ที่อยู่ในตึกแถวธรรมดาริมถนนพระสุเมรุ ได้รับการรีโนเวตขึ้นใหม่ให้พิเศษ เป็นคอนเซ็ปต์เดียวกันกับการเปลี่ยนอาหารเอเชียที่คนมองว่าธรรมดาและคุ้นเคย ให้มีหน้าตาและรสชาติสุดครีเอต จนกลายเป็นเมนูใหม่ ในแบบที่เรียกว่า RANDOM Asian food & coffee ที่มาของชื่อร้าน SOSO.Bangkok โดยมีความหมายซ่อนอยู่ พร้อมสโลแกนเก๋ ๆ ว่า “โซโซที่ไม่ได้แปลว่างั้นงั้น”

ในความธรรมดาที่ดูมีอะไรของ ร้านอาหารบางลำพู นี้ เกิดมาจากกลุ่มเพื่อนสายอาร์ตทั้งห้าคน ซึ่งมีทั้งอินทีเรียร์ดีไซเนอร์ สถาปนิก ภูมิสถาปนิก ช่างภาพ และกราฟิกดีไซเนอร์ โดยทุกคนต่างมีส่วนช่วยกันสร้างสรรค์ให้ร้านของพวกเขามีคาแร็กเตอร์เฉพาะตัว

SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู
SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู
SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู

ตัวร้านแบ่งพื้นที่ใช้สอยออกเป็น 3 ชั้น จากตัวอาคารที่มีทั้งหมด 6 ชั้น ด้านหน้าที่หันเข้าหาวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร มีภาพลักษณ์จดจำง่ายด้วยธีมสีส้ม-ขาว พร้อมโลโก้กราฟิกแนวตั้งที่อ่านว่า SOSO เพื่อบอกเล่ารูปทรงของอาคารที่เป็นตึกแถว และสะท้อนกลิ่นอายความเป็นเอเชี่ยนผ่านเส้นโค้ง

SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู
SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู

จากระยะของฟุตบาทก่อนเข้าถึงตัวร้านด้านใน ออกแบบให้มีที่นั่งแบบเอ๊าต์ดอร์ จัดวางโต๊ะและเก้าอี้ทรงกลม เพื่อบอกเล่าความเป็นสตรีทฟู้ด ตามอย่างเมนูอาหารที่ทางร้านเน้นนำเสนอ กับอาหารจานเดียวรับประทานง่าย หรืออาหารสตรีทฟู้ดซึ่งมีที่มาจากหลากหลายประเทศในเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นเกาหลี ญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง เวียดนาม อินเดีย ไทย อินโดนีเซีย ฯลฯ ที่นำมาผสานผสานรสชาติและเทคนิคการปรุงจนเข้ากันได้อย่างลงตัว โดยทุกจานล้วนปรุงขึ้นจากความคิดสร้างสรรค์ อันเป็นดีเอ็นเอของนักออกแบบที่ชอบคิดและทดลองทำอะไรใหม่ ๆ

SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู
SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู
SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู

เบื้องหลังการทำร้าน คุณกิ๊ฟ-ปรีชญา ม่วงโกสัย ตัวแทนหุ้นส่วนของร้านเล่าว่า “ร้านของเราไม่ได้ทำสตรีทฟู้ดที่เป็นชาติใดชาติหนึ่ง แต่เป็นอาหารแบบแรนดอม มีความเป็นอาหารสไตล์เอเชี่ยนทวิตส์ โดยนำความทรงจำและประสบการณ์ที่ได้จากการท่องเที่ยว และรับประทานอาหารหลาย ๆ ประเทศในเอเชีย มาต่อยอด และคิดสูตรขึ้นใหม่ ส่วนทำไมต้องเป็นสไตล์เอเชี่ยน ส่วนหนึ่งมาจากทำเลที่ตั้ง ซึ่งอยู่ในย่านที่มีชาวต่างชาติมาท่องเที่ยวเยอะ คนจะมาเที่ยวย่านนี้ อย่างหนึ่งก็มาจากร้านอาหารสตรีทฟู้ด เราจึงเน้นทำร้านเพื่อตอบโจทย์ความต้องการนี้ แต่ไม่ได้ทำสตรีทฟู้ดที่เป็นของชาติใดชาติหนึ่ง แต่เป็นอาหารแบบแรนดอม ในหนึ่งจานอาจผสมวัตถุดิบและรสชาติจากหลาย ๆ ชาติเข้าไว้ด้วยกัน โดยเราคิดสูตรกันเอง มีความแปลกไปจากอาหารต้นตำรับ ทั้งนี้ก็เพื่อเอาใจคนรุ่นใหม่ และช่วยให้รับประทานได้ง่ายขึ้น เช่น ไข่กระทะที่ทำเป็นแป้งเครป ไม่ได้ใส่กระทะ เพื่อความสะดวกในการสั่งซื้อแบบ Take Away”

SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู
SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู
SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู
SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู

จากธีมอาหารที่ชัดเจน ต่อยอดสู่กระบวนการออกแบบ โดยมีสีส้มสุดจี๊ดจ๊าดเป็นธีมสีหลัก ใช้ทั้งการออกแบบตกแต่ง และโลโก้หน้าร้าน ซึ่งตีความมาจากสีสันอันจัดจ้านของพริก วัตถุดิบที่อยู่ในเมนูอาหารของหลาย ๆ ชาติ รวมถึงสีแดงยังเป็นสีตัวแทนของความเป็นเอเชีย แต่ในที่นี้สีแดงได้ถูกลดทอนให้มีความเป็นกลาง เนื่องจากอาหารของร้านไม่ได้กล่าวถึงชาติใดชาติหนึ่ง อีกทั้งสีส้มยังเป็นสีที่ช่วยเจริญอาหาร สีส้มจึงกลายเป็นธีมสีหลักจับคู่กับสีขาว สำหรับเป็นมู้ดแอนด์โทนให้แก่การออกแบบตกแต่ง รวมถึงโลโก้กราฟิก

SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู
SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู
SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู

แต่ก่อนจะมีบรรยากาศอย่างที่เห็น เดิมที่นี่เคยเป็นสถานที่เวิร์กชอปทำงานเซรามิก ซึ่งมีสภาพปิดทึบไม่เหมาะกับการเปิดร้านอาหาร จึงต้องมีการทุบผนังออกบางส่วนเพื่อให้โปร่งโล่ง และช่วยนำแสงธรรมชาติเข้ามาให้มากที่สุด อย่างการทุบผนังบนชั้น 2 ออก ให้เปิดโล่ง สำหรับทำเป็นพื้นที่รับประทานอาหาร ทั้งยังเจาะพื้นเพื่อทำดับเบิ้ลสเปซ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ตั้งของบันไดวนเหล็กสีส้มจุดเด่นประจำร้าน ช่วยนำทางจากชั้น 1 ผ่านชั้น 2 แล้วขึ้นไปยังสตูดิโอให้เช่าชั้น 3 ผนังร้านทาด้วยสีขาวเพื่อให้ดูสว่าง มีเท็กซ์เจอร์ที่เกิดจากการปาดเกรียงของช่างให้เกิดลวดลายเป็นร่องทรงโค้ง ล้อไปกับโลโก้กราฟิกหน้าร้าน

SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู
SOSO.BANGKOK ร้านอาหารบางลำพู
ข้าวยำกากหมู ข้าวไรซ์เบอร์รี่คลุกกับมิริน ใช้เทคนิคการทำเหมือนข้าวสำหรับทำซูชิ ด้านข้างวางเครื่องเคียงต่าง ๆ สำหรับคลุกเคล้าเข้ากันกับกากหมูและไข่ต้ม
เกี๊ยวซ่าเสฉวน
เกี๊ยบซ่าแบบญี่ปุ่น ราดซอสเสฉวน เข้ากันได้อย่างกลมกล่อม
ซิกเนเจอร์มะขามโซดา เมนูดับร้อน กับรสชาติที่หวาน ซ่า อมเปรี้ยว

ไม่ลืมหยิบวัสดุสะท้อนคาแร็กเตอร์สถาปัตยกรรมแบบเอเชียอย่าง กระเบื้องโมเสก ทั้งเล็กและใหญ่ มากรุพื้น หน้าเคาน์เตอร์บาร์ และผนังห้องครัว เพื่อให้กลิ่นอายความเป็นฮ่องกง เฟอร์นิเจอร์ที่ใช้เป็นของมือสองสไตล์มิด-เซนจูรี่ รวมถึงของตกแต่งที่มักพบเจอได้ในร้านอาหารแนวสตรีทฟู้ดอย่าง โต๊ะสเตนเลสกลม ตะเกียบสีแดง และพวงเครื่องปรุง ประดับด้วยโปสเตอร์ภาพยนตร์ไทยและจีน ไอเท็มของใช้ของสะสมที่บอกเล่าถึงความเป็นเอเชีย

บะหมี่หมูตุ๋นไต้หวันไข่ออนเซ็น เมนูรวม 3 ชาติไว้ในจานเดียว! ทั้งจีน ไต้หวัน และฮ่องกง
ซิกเนเจอร์กาแฟเนยถั่ว เข้ม หวาน มัน กลมกล่อมกำลังดี

นับเป็นร้านเล็ก ๆ แต่มีรายละเอียดเยอะ ตามแบบฉบับของเหล่านักคิด ที่ส่งต่อไอเดียไปสู่หลาย ๆ องค์ประกอบ โดยเฉพาะเมนูอาหารและเครื่องดื่มที่บอกเลยว่า ถ้าได้มาลิ้มลองแล้ว จะต้องติดใจไปกับความแปลกแต่พิเศษ ครีเอตเมนูใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา ขอแอบกระซิบว่าอนาคตทางร้านกำลังจะมีเมนูใหม่จากพม่า และมาเลเซียมาให้ลิ้มลองด้วย ใครเป็นสายนักชิมบอกเลย SOSO Bangkok ร้านนี้ มาแล้วไม่ผิดหวังแน่นอน!
ที่ตั้ง
SOSO.Bangkok
365/9 ถนนพระสุเมรุ เเขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ
พิกัด https://goo.gl/maps/3innEDCmVhVG5sK69
เปิดวันจันทร์-ศุกร์ 7.00-20.00 น. และวันเสาร์-อาทิตย์ 10.00-20.00 น. (ปิดเฉพาะวันพุธ)
โทร. 06-5383-9154
เจ้าของ-ออกแบบ : ปรีชญา ม่วงโกสัย (Interior designer), ปุณยวิชญ์ เดชศิริ (Graphic designer), สิรภพ ขำอาจ (Landscape designer), ชนนิกานต์ วิไลประเสริฐ (Architect) และเสรีชัย พุฒเทศ (Photographer)
ทีมงานก่อสร้าง : Seenin
เรื่อง : Phattaraphon
ภาพ : อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม