โรงสีข้าว “ไม่ธรรมดา” จากแนวคิด “BlueScope กับวิถีชีวิตไทย” ในงานสถาปนิก’61
บลูสโคป BlueScope

โรงสีข้าว “ไม่ธรรมดา” จากแนวคิด “BlueScope กับวิถีชีวิตไทย” ในงานสถาปนิก’61

ทุกครั้งเมื่องานสถาปนิกวนมาถึง สิ่งหนึ่งที่สร้างความตื่นเต้นและตื่นตาให้กับผู้มาเดินชมงานได้มากที่สุดคงหนีไม่พ้น “สถาปัตยกรรมชั่วคราว” หรือ Pavilion จากฝีมือเจ้าของผลิตภัณฑ์ที่มารวมตัวกันออกแบบพื้นที่จัดแสดงสินค้าให้ดูตื่นตา น่าสนใจเป็นประจำทุกปี


DESIGNER DIRECTORY

ออกแบบ: APOSTROPHY’S

กับงานสถาปนิกปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ไม่ธรรมดา” หรือ BeyondOrdinary ระหว่าง วันที่ 1-6 พฤษภาคม เวลา 10.00-20.00 น. ที่อิมแพ็ค ชาเลนเจอร์ เมืองทองธานี ก็เช่นเดียวกัน เราจะได้เห็นบูธ Pavilion ของบริษัท NS BlueScope บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นเรียบเคลือบโลหะและเคลือบสี หรือ เมทัลชีท สร้างสรรค์อีกหนึ่งใน Pavilion ที่โดดเด่นทั้งการออกแบบและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้ตกแต่งอย่างไม่ธรรมดา สอดรับไปกับแนวคิดของงานสถาปนิกปีนี้

จากงานสถาปนิก’60 ที่บลูสโคป (BlueScope) ใช้การสื่อสารคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่สามารถใช้งานได้อย่างไร้ขีดจำกัดและมีประสิทธิภาพ ผ่านการสร้างสรรค์บูธโดยใช้วิธีการขึ้นรูปทรงดัดโค้งสวยงาม หากแต่ในปีนี้ บลูสโคปได้เล็งเห็นถึงความ “ไม่ธรรมดา” ของผลิตภัณฑ์เมทัลชีทที่อยู่คู่กับคนไทยมายาวนาน ไม่ว่าจะเป็นอาคารขนาดเล็กหรือโครงการขนาดใหญ่และโครงการสาธารณนูปโภคต่างๆ เป็นต้น ที่ผลิตภัณฑ์ของบลูสโคปเข้าไปมีส่วนร่วม ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงกลายเป็นที่มาของแนวคิดในการออกแบบบูธสำหรับจัดแสดงในงานสถาปนิก’61 ที่ว่า “BlueScope กับวิถีชีวิตไทย

โรงสีข้าว2018

บลูสโคป BlueScope

แนวคิดการออกแบบบูธบลูสโคป หรือ BlueScope Pavilion 2018 สำหรับการจัดแสดงในงานสถาปนิกปีนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากอาคารในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างโรงสีข้าว ที่ตั้งอยู่ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย ซึ่งข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจพื้นฐานสำคัญของประเทศมายาวนาน เปรียบได้กับผลิตภัณฑ์เหล็กเมทัลชีทของ BlueScope ซึ่งได้ถูกนำไปใช้งานในหลากหลายโครงการทั่วประเทศ รวมถึงก้าวเข้ามามีบทบาทในชีวิตของคนไทยในอีกรูปแบบหนึ่ง

บลูสโคป BlueScopeบลูสโคป BlueScope

โดยวัสดุหลักที่ใช้ในการออกแบบ บลูสโคปได้นำเอาผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มสถาปนิกอย่าง เหล็กแผ่นเคลือบซิงคาลุม (ZINCALUME®steel) รูปลอน LYSAGHT® TRIMDEK® ซึ่งเป็นแผ่นหลังคาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในเมืองไทย และเหล็กเคลือบสีคัลเลอร์บอนด์ (COLORBOND® steel) มาเป็นองค์ประกอบหลักในส่วนของหลังคา (Roof) และแผ่นปิดครอบ (Flashing) บางส่วนของ BlueScope Pavilion ปีนี้

ในส่วนบริเวณของพื้นที่ที่โชว์เรื่องของระบบหลังคา (Roof System) จะเห็นว่า ในส่วนของหลังคาด้านบนและด้านล่าง มีการใช้เหล็กเคลือบสีคัลเลอร์บอนด์ (COLORBOND®steel) สี Carbonic Grey รูปลอน LYSAGHT® 360 SEAM® ซึ่งเป็นแผ่นหลังคาระบบ Architectural standing seam ที่มีรูปลอนสวยงาม น้ำหนักเบา ได้รับการออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อตอบสนองต่อการขึ้นรูปเป็นแผ่นตรง แผ่นดัดโค้ง หรือแผ่นเรียว ที่ให้รูปทรงของอาคารมีรูปแบบทันสมัย โดยกระบวนการรีดตะเข็บในระหว่างการติดตั้งที่หน้างานก่อสร้าง ใช้วิธีพับและรีดตะเข็บแบบ 360 องศา (Double lock) ซึ่งทำให้เกิดจุดเชื่อมต่อที่แข็งแกร่ง และป้องกันน้ำรั่วซึมได้อย่างดีเยี่ยมบลูสโคป BlueScope

บลูสโคป BlueScope

และในส่วนของหลังคาด้านล่างของพื้นที่ที่โชวร์ระบบหลังคา (Roof System) ใช้เหล็กเคลือบสี COLORBOND® สี Posh Grey รูปลอน LYSAGHT® KLIP-LOK® OPTIMA ซึ่งเป็นระบบหลังคาแบบขบล็อคล่าสุดที่ออกแบบให้มีลักษณะพิเศษ ติดตั้งง่าย รวดเร็ว ท้องลอนกว้างและสันลอนสูง ช่วยให้การระบายน้ำทำได้ดี อีกทั้งด้วยรูปลอนที่แข็งแรงและขายึด แบบพิเศษ จึงสามารถพาดแปได้ระยะไกลกว่าระบบหลังคาขบล็อคแบบเดิม

บลูสโคป BlueScopeบลูสโคป BlueScope

และในส่วนโครงสร้างอาคาร บลูสโคปเลือกใช้ผลิตภัณฑ์โครงอาคารเหล็กสำเร็จรูปแรนบิวด์ (RANBUILD®) โครงสร้างเหล็กเคลือบสังกะสีและแมกนีเซียมขึ้นรูปเย็นสำหรับติดตั้งอาคารเหล็กสำเร็จรูป (Cold – formed Steel Buildings) ที่สามารถคำนวนความเป็นไปได้ให้เห็นทุกด้านก่อนสร้างจริง ผ่านโปรแกรมอัจฉริยะRDS หรือ ระบบออกแบบแรนบิวด์ (Ranbuild Design System) ที่ช่วยกำหนดงบประมาณรู้ราคาก่อสร้างได้ทันที และส่งมอบงานตรงตามเวลาที่กำหนด

บลูสโคป BlueScopeบลูสโคป BlueScope

สำหรับสีของวัสดุเหล็กเคลือบสี COLORBOND® ที่นำมาใช้ในครั้งนี้ ประกอบด้วย สี Posh grey, สี Carbonic grey และ สี Tobacbrown ซึ่งเป็น 3 ใน 20 สีมาตรฐานสีใหม่ที่ทาง BlueScope ได้เริ่มจำหน่ายในปี 2017 ที่ผ่านมาเพื่อตอบสนองเทรนด์ของสีที่เปลี่ยนไปและมีทางเลือกให้ผู้ออกแบบและเจ้าของโครงการมากขึ้น และยังมีสี COLORBOND® Matt ที่ลดการสะท้อนแสงลงให้เลือกอีก 5 สีด้วยกัน

สอดแทรกกิจกรรมภายในโรงสีฯ ที่สอดคล้องกับความเป็นไทย

ภายในบูธของบลูสโคปปีนี้ ประกอบไปด้วยกิจกรรมที่สอดคล้องกับความเป็นไทยน่าสนใจ 2 ส่วน ได้แก่

ส่วนที่หนึ่ง นิทรรศการภาพถ่าย ชุด “BlueScope กับวิถีชีวิตคนไทย” ที่ได้ “ช่างภาพสถาปัตยกรรม” มาถ่ายทอดเรื่องราวและผลงานสถาปัตยกรรมจากสถาปนิกชื่อดังซึ่งได้ออกแบบและเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของ BlueScope โดยแบ่งออกเป็น 5 ประเภทคือ

  1. โครงการบ้านพักอาศัย (Residential Projects)
  2. โครงการเพื่อการค้าและการพานิชย์ (Commercial Projects)
  3. สถาบัน (Institutional Projects)
  4. โครงการที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรม (Industrial Projects)
  5. โครงการการขนส่งมวลชน (Mass Transportation Projects)

บลูสโคป BlueScopeบลูสโคป BlueScope

และส่วนที่สอง การแสดงผลงานประกวดแบบ “BlueScope Design Awards 2018” ภายใต้หัวข้อ “People and Lives” ของนิสิต นักศึกษา ที่ได้ร่วมส่งผลงานการประกวดแบบอาคารที่ใช้วัสดุผนังและหลังคาเหล็กในการสร้างอาคารสาธารณะ หรือสถานที่ที่ใช้งานร่วมกันในสังคม โดยผลงานที่ได้รับรางวัลจะถูกนำมาจัดแสดงในงานนี้ พร้อมกับมีพิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการประกวดแบบในวันศุกร์ที่ 4พฤษภาคม เวลา 11.30 น. อีกด้วย

บลูสโคป BlueScopeบลูสโคป BlueScope

“BlueScope กับวิถีชีวิตคนไทย”

บลูสโคป BlueScope
คุณสมเกียรติ ปินตาธรรม ประธานบริษัท เอ็นเอส บลูสโคป(ประเทศไทย) จำกัด

คุณสมเกียรติ ปินตาธรรม ประธานบริษัท เอ็นเอส บลูสโคป(ประเทศไทย) จำกัด

BlueScope เชื่อว่า ลูกค้าคือส่วนหนึ่งของเรา บุคลากรคือความเข้มแข็งของเรา ผู้ถือหุ้นคือรากฐานของความมั่นคงของเรา และชุมชนคือบ้านของเรา BlueScope จึงมุ่งเน้นการวิจัยพัฒนาและสินค้าที่มีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสูงสุด เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานของตลาด ของผู้บริโภค เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งในเรื่องความแข็งแรง ทนทาน และความสวยงาม อีกทั้งยังให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีบุคคลากรในองค์กรที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ร่วมกันทำงานเป็นทีมเพื่อส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพให้กับลูกค้าทั้งในและนอกประเทศ

นอกจากนี้ ความสำเร็จของเรายังขึ้นอยู่กับชุมชนที่ได้ให้การสนับสนุนต่อธุรกิจและผลิตภัณฑ์ของเรา และเพื่อเป็นการตอบแทนทางบริษัทฯจึงได้ดำเนินการทุกวิถีทางที่จะเป็นการส่งเสริมและพัฒนาสิ่งแวดล้อม สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กับชุมชน ให้ความเคารพต่อค่านิยมของท้องถิ่นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในสังคม

NS BlueScope จะเข้ามามีบทบาทในสังคมไทยด้วยการมีส่วนร่วมในการเติบโตทางเศรษฐกิจ ธุรกิจ โดยฉพาะการส่งเสริมการเติบโตทางภาคอุตสาหกรรมการผลิต และการก่อสร้างด้วยคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานในภูมิอากาศร้อนชื้นในประเทศไทย ทำให้ในยุคแรกผลิตภัณฑ์ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการก่อสร้างโรงงานและโครงการขนาดใหญ่ (Iconic project) เป็นส่วนมาก โดยเฉพาะในส่วนของงานหลังคาและผนัง และต่อมาทางบริษัทฯได้พัฒนาและผลิตสินค้านวัตกรรมใหม่ๆ และมีการขยายตลาดเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิต โรงงานขนาดเล็ก SME และอาคารที่พักอาศัย ทำให้ผลิตภัณฑ์เมทัลชีทบลูสโคปเป็นที่ยอมรับ และนิยมนำไปใช้งานอย่างกว้างขวางครอบคลุมในโครงการหลากหลายประเภท นอกจากนั้นยังมีส่วนช่วยส่งเสริมการสร้างรายได้ สร้างงานสร้างอาชีพ ให้กับคนในชุมชนนั้นๆด้วย

ในทุกวันนี้ ผลิตภัณฑ์เมทัลชีท BlueScope ได้เข้ามามีบทบาทเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของคนไทยมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการก่อสร้าง การผลิตการเกษตร ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และโครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภคต่างๆ อาทิ สถานีรถไฟฟ้ า BTS, MRT, สถาบันการศึกษา โรงเรียน หอประชุม วัดสนามกีฬา โกดัง โรงเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของอาคารที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน ที่มีผลิตภัณฑ์ของบลูสโคปเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นงานผนัง หลังคา หรือโครงสร้างต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด ซึ่งเจ้าของโครงการ และผู้ออกแบบ ต่างเชื่อมั่นและให้ความไว้วางใจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของ BlueScope ด้วยคุณภาพในเรื่องความแข็งแรง ทนทาน สีสันสวยงาม และสามารถออกแบบได้หลากหลายรูปทรงอย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้ผลิตภัณฑ์เมทัลชีท BlueScope เป็นที่ยอมรับและนิยมนำมาใช้ในการก่อสร้างอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน”

บลูสโคป BlueScope

DID YOU KNOW

NS BlueScope คือบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นเรียบเคลือบโลหะและเคลือบสี หรือที่นิยมเรียกกันในตลาดว่า เมทัลชีท ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2538 ภายใต้การร่วมทุนระหว่าง บริษัท บลูสโคปออสเตรเลีย, บริษัท นิปปอน สตีล แอนด์ ซูมิโตโม เมทัล คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น และ บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด มหาชน โดยมีโรงงานผลิตอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเหล็กเคลือบขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนำเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยจากออสเตรเลียมาใช้