DESIGN TO SURVIVE! ดีไซน์เพื่อยุคต้องรอด : EARTH

DESIGN TO SURVIVE! ดีไซน์เพื่อยุคต้องรอด : EARTH

ในจักรวาลอันไพศาล โลกเป็นเพียงสสารเล็กๆ ที่ผันแปรไปตามกฎธรรมชาติอยู่ทุกวินาที แต่สําหรับมนุษย์ตัวจ้อย ความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยของโลกใบน้ี อาจหมายถึงหายนะที่ทรงพลังและรุนแรงเกินจะรับมือ

ในอดีตกาลก่อนที่เราจะก้าวเข้าสู่ยุคแห่งวิทยาการสมัยใหม่ ภัยพิบัติทางธรรมชาติท้ังหลายท่ีไม่อาจหาเหตุผลได้มักถูกปัดให้กลายเป็นความรับผิดชอบของเทพเจ้าหรือภูตผีท่ีมนุษย์ใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ แต่ปัจจุบัน เมื่อวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยไขความลับอันน่ามหัศจรรย์ของธรรมชาติ จึงทําให้เราสามารถเข้าใจและปรับตัวเข้ากับดาวเคราะห์ดวงนี้ได้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็ย้ำให้เห็นว่ามนุษย์คงไม่อาจควบคุมหรือเอาชนะธรรมชาติท่ีย่ิงใหญ่ได้

เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจึงได้แต่เป็นฝ่ายตั้งรับ คอยคาดเดา สังเกตการณ์ และควบคุมความเสียหายท่ีจะเกิดขึ้นจากภัยธรรมชาติต่างๆ และจุดนี้เองที่งาน “ดีไซน์” ได้เข้ามามีบทบาทสําคัญ จากที่เคยช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต จนบางครั้งอาจถูกมองว่าเป็นความ “ฟุ่มเฟือย” แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งงานดีไซน์กลับนําเสนอแนวคิดที่ช่วยให้มนุษย์ต่อสู้กับวิกฤตธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


EARTH แผ่นดินไหว

เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองโกเบในปี ค.ศ. 1995 ทําให้เมืองท่าที่รุ่งเรือที่สุดแห่งหน่ึงของญี่ปุ่นพังพินาศในพริบตา (photo: ibtimes.co.uk)
เหตุการณ์แผ่นดินไหวที่เมืองโกเบในปี ค.ศ. 1995 ทําให้เมืองท่าที่รุ่งเรือที่สุดแห่งหน่ึงของญี่ปุ่นพังพินาศในพริบตา (photo: ibtimes.co.uk)

เกิดจากปรากฏการณ์สั่นสะเทือนหรือเขย่าของพื้นผิวโลก เพื่อปรับตัวให้อยู่ในสภาวะสมดุล ปรากฏการณ์นี้เกิดข้ึนมาตลอดอายุขัยของโลก และสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงให้มนุษย์มานับคร้ังไม่ถ้วน

ใน ค.ศ. 79 เครื่องตรวจจับการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวชิ้นแรกของโลกถือกําเนิดขึ้นบนแผ่นดินจีนในราชวงศ์ฮั่น โดยนักปราชญ์ Zhang Heng และแม้เวลาจะล่วงเลยมากว่า 2,000 ปี ในยุคสมัยปัจจุบันที่พรั่งพร้อมด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ การคาดการณ์แผ่นดินไหวก็ยังคงมีความคลาดเคลื่อนสูง เรายังไม่สามารถล่วงรู้การเกิดแผ่นดินไหวได้อย่างแม่นยํา และถึงแม้จะรู้ก็ยากเกินหลีกเลี่ยง ดังนั้นงานดีไซน์เพื่อรับมือแผ่นดินไหวโดยมากจึงเป็นการคิดค้นวิธีต้านทานต่อแรงสั่นสะเทือนเพื่อจํากัดความสูญเสียให้น้อยที่สุด และการบรรเทาทุกข์ภายหลังจากเหตุการณ์

แบบจําลองทางคอมพิวเตอร์ของ “ตี้ตงอี” ประดิษฐ์โดยนักปราชญ์ชาวจีน Zhang Heng ถือเป็นเครื่องวัดแรงส่ันสะเทือนชิ้นแรก ของโลก เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวทางทิศใด ลูกบอลก็จะหล่นจากปากมังกรลงไปยังปากกบในทิศน้ัน และทําให้กระดิ่งดัง เพื่อแจ้งเตือนทางราชสํานัก (photo: zmescience.com)
แบบจําลองทางคอมพิวเตอร์ของ “ตี้ตงอี” ประดิษฐ์โดยนักปราชญ์ชาวจีน Zhang Heng ถือเป็นเครื่องวัดแรงส่ันสะเทือนชิ้นแรก ของโลก เมื่อเกิดเหตุแผ่นดินไหวทางทิศใด ลูกบอลก็จะหล่นจากปากมังกรลงไปยังปากกบในทิศน้ัน และทําให้กระดิ่งดัง เพื่อแจ้งเตือนทางราชสํานัก (photo: zmescience.com)

 


EARTHQUAKE-PROOF TECHNOLOGY

หากพูดถึงประเทศท่ีมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดข้ึน บ่อยท่ีสุดก็คงหนีไม่พ้นประเทศญี่ปุ่น ที่ประสบเหตุแผ่นดินไหวขนาดต่างๆ กว่า 1,000 ครั้งต่อปี ด้วยเหตุน้ีญี่ปุ่นจึงถือว่าเป็นผู้นําด้านเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมการต้านทานแรงส่ันสะเทือนจากแผ่นดินไหวประเทศหนึ่งของโลก

ในช่วงต้นยุคเมจิ (ค.ศ.1868-1912) จากบ้านเรือนท่ีสร้างด้วยอาคารไม้ชั้นเดียว ญี่ปุ่นเริ่มรับเทคโนโลยีการก่อสร้างตึก 2-3 ชั้นด้วยอิฐและปูนมาจากชาติตะวันตก อย่างไรก็ตามส่ิงก่อสร้างเหล่านั้นกลับถูกทําลายอย่างง่ายดายด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยเฉพาะอย่างย่ิงที่จังหวัดไอชิและ กิฟุ ต้ังแต่น้ันมาญี่ปุ่นจึงเริ่มให้ความสําคัญกับงานออกแบบสถาปัตยกรรมท่ีต้านทานต่อแรงสั่นสะเทือน เป็นพิเศษ

หลังจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เมืองโกเบ ปี ค.ศ.1995 รัฐบาลจึงออกกฎหมายให้สิ่งปลูกสร้าง รวมไปถึงสะพาน ระบบสาธารณูปโภค ต้องผ่านมาตรฐาน Earthquake-proof เพื่อลดความเสียหายจากแผ่นดินไหวขนาดเล็กและขนาดกลาง

Toji Pagoda เจดีย์ห้าช้ันในเมืองเกียวโต เจดีย์ไม้ที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น รอดพ้นจากแผ่นดินไหวมาหลายร้อยปี ด้วยระบบการ ก่อสร้างท่ีกลายเป็นต้นแบบของงานออกแบบสถาปัตยกรรมต้านทานแรงส่ันสะเทือนของแผ่นดินไหวในปัจจุบัน (photo: wikipedia.com) ด้วยส่วนประกอบของโครงสร้าง ได้แก่ มวลหน่วง (Tuned Mass Damper), เสากลางที่แยกออกจากโครงสร้างช่วยลดการ แกว่งของอาคาร (Shin-bashira), ข้อต่ออิสระ (Slip Joint) ทําให้โครงสร้างแต่ละชั้นเคลื่อนสลับกันเมื่อเกิดแผ่นดินไหว และระบบแยกฐาน (Base Isolation)
Toji Pagoda เจดีย์ห้าช้ันในเมืองเกียวโต เจดีย์ไม้ที่สูงที่สุดในญี่ปุ่น รอดพ้นจากแผ่นดินไหวมาหลายร้อยปี ด้วยระบบการ ก่อสร้างท่ีกลายเป็นต้นแบบของงานออกแบบสถาปัตยกรรมต้านทานแรงส่ันสะเทือนของแผ่นดินไหวในปัจจุบัน (photo: wikipedia.com)
ด้วยส่วนประกอบของโครงสร้าง ได้แก่ มวลหน่วง (Tuned Mass Damper), เสากลางที่แยกออกจากโครงสร้างช่วยลดการแกว่งของอาคาร (Shin-bashira), ข้อต่ออิสระ (Slip Joint) ทําให้โครงสร้างแต่ละชั้นเคลื่อนสลับกันเมื่อเกิดแผ่นดินไหว และระบบแยกฐาน (Base Isolation)
Seismic Base Isolation System คือ ระบบต้านทานแรงสั่นสะเทือนท่ีได้รับความนิยม โดยระบบนี้จะแยกฐาน โครงสร้างอาคารไม่ให้สร้างยึดติดกับพื้นดิน เพื่อลดผลกระทบต่อโครงสร้างจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (Photo: commons.wikipedia.org)
Seismic Base Isolation System คือ ระบบต้านทานแรงสั่นสะเทือนท่ีได้รับความนิยม โดยระบบนี้จะแยกฐาน โครงสร้างอาคารไม่ให้สร้างยึดติดกับพื้นดิน เพื่อลดผลกระทบต่อโครงสร้างจากแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (Photo: commons.wikipedia.org)
ตึกไทเป 101 ในไต้หวัน ใช้ลูกตุ้มเหล็กหนัก 660 เมตริกตัน ซึ่งอยู่ระหว่างช้ันที่ 88-92 แทนมวลหน่วง เพื่อช่วยลดการแกว่งและปรับสมดุลให้ตัวอาคาร (photo: taipei-101.com.tw)
ตึกไทเป 101 ในไต้หวัน ใช้ลูกตุ้มเหล็กหนัก 660 เมตริกตัน ซึ่งอยู่ระหว่างช้ันที่ 88-92 แทนมวลหน่วง เพื่อช่วยลดการแกว่งและปรับสมดุลให้ตัวอาคาร (photo: taipei-101.com.tw)

 


EMERGENCY SHELTER

นอกเหนือจากความสูญเสียที่เกิดจากตึกถล่ม เหตุไฟไหม้ โรคระบาด การขาดแคลนอาหารที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นก็สร้างความสูญเสียได้ไม่แพ้กัน บ้านพักชั่วคราวพร้อมระบบสาธารณูปโภค สําหรับผู้ประสบภัยจํานวนมากจึงมีความสําคัญอย่างยิ่ง เป็นดีไซน์ราคาถูก เข้าถึงง่าย สร้างได้รวดเร็วจากวัสดุในท้องถิ่น ก็ย่ิงช่วยชีวิตผู้คนได้มากเท่านั้น

IKEA Foundation ร่วมกับ UNHCR ออกแบบบ้านพักชั่วคราว ท่ีพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยทุกรูปแบบ ด้วยบ้านสําหรับหน่ึงครอบครัว (5 คน) ที่เรียบง่ายทนทาน ใช้ได้นานกว่าเต็นท์แบบเดิม ประกอบได้ในเวลาไม่ก่ีชั่วโมง อีกทั้งช้ินส่วนยังมาในรูปแบบกล่องขนย้ายง่ายตามสไตล์อิเกีย สามารถเพิ่มแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาได้ด้วย (Photo: wired.com)
IKEA Foundation ร่วมกับ UNHCR ออกแบบบ้านพักชั่วคราว ท่ีพร้อมช่วยเหลือผู้ประสบภัยทุกรูปแบบ ด้วยบ้านสําหรับหน่ึงครอบครัว (5 คน) ที่เรียบง่ายทนทาน ใช้ได้นานกว่าเต็นท์แบบเดิม ประกอบได้ในเวลาไม่ก่ีชั่วโมง อีกทั้งช้ินส่วนยังมาในรูปแบบกล่องขนย้ายง่ายตามสไตล์อิเกีย สามารถเพิ่มแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาได้ด้วย (Photo: wired.com)
Designnobis ดีไซน์สตูดิโอสัญชาติตุรกี ออกแบบบ้านฉุกเฉินแบบป็อปอัพ “Tentative Shelter” ด้วยผนังไฟเบอร์กลาส และโครงสร้างอะลูมิเนียมจึงมีน้ําหนักเบา พื้นและหลังคาประกบกันกลายเป็นกล่องท่ีบรรจุช้ินส่วนอื่นไว้ภายในเป็นยูนิต ท่ีขนย้ายง่าย (Photo: dezeen.com)
Designnobis ดีไซน์สตูดิโอสัญชาติตุรกี ออกแบบบ้านฉุกเฉินแบบป็อปอัพ “Tentative Shelter” ด้วยผนังไฟเบอร์กลาส และโครงสร้างอะลูมิเนียมจึงมีน้ําหนักเบา พื้นและหลังคาประกบกันกลายเป็นกล่องท่ีบรรจุช้ินส่วนอื่นไว้ภายในเป็นยูนิตท่ีขนย้ายง่าย (Photo: dezeen.com)

 


SURVIVAL KIT

แม้ว่าในแต่ละเหตุการณ์จะมีผู้พร้อมยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือจำนวนมาก แต่กว่าความช่วยเหลือจะเข้าถึงก็ต้องใช้เวลาไม่น้อย ทั้งด้วยสภาพพื้นที่ ความโกลาหล และอุปสรรคต่างๆ หากผู้ประสบภัยส่วนใหญ่มีเครื่องยังชีพสํารองของตนเองก็จะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้มากขึ้น ประเทศที่ประสบภัยพิบัติอยู่ตลอดอย่างญี่ปุ่นจึงมีคําแนะนําให้ทุกบ้าน มีถุงยังชีพสําหรับ 3 วัน สามารถหยิบติดมือออกมาตอนอพยพได้ทันทีเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว

รอดตายอย่างมีสไตล์ด้วย “MINIM + AID” Emergency Kit เรียบเท่ที่พร้อมเสมอสําหรับนาทีฉุกเฉิน ภายในกระบอกอะลูมิเนียมสีเงินประกอบด้วยเครื่องยังชีพ อย่างน้ํา ท่ีชาร์จแบตโทรศัพท์แมนวล โคมไฟ และชุดปฐมพยาบาล ออกแบบโดย Nendo (Photo: dezeen.com)
รอดตายอย่างมีสไตล์ด้วย “MINIM + AID” Emergency Kit เรียบเท่ที่พร้อมเสมอสําหรับนาทีฉุกเฉิน ภายในกระบอกอะลูมิเนียมสีเงินประกอบด้วยเครื่องยังชีพ อย่างน้ํา ท่ีชาร์จแบตโทรศัพท์แมนวล โคมไฟ และชุดปฐมพยาบาล ออกแบบโดย Nendo (Photo: dezeen.com)
ชุดอาหารยังชีพ “Heat Rescue” ที่ช่วยให้ผู้ประสบภัยสามารถปรุงอาหารร้อนๆ ต้มน้ําดื่มหรือต้มภาชนะได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคต่างๆ แปลงโฉมถังน้ํามันให้เป็นเตาสําหรับก่อไฟ ภายในบรรจุอุปกรณ์ทําอาหารและยังชีพต่างๆ ออกแบบโดย Hikaru Imamura (Photo: inhabitat.com)
ชุดอาหารยังชีพ “Heat Rescue” ที่ช่วยให้ผู้ประสบภัยสามารถปรุงอาหารร้อนๆ ต้มน้ําดื่มหรือต้มภาชนะได้ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคต่างๆ แปลงโฉมถังน้ํามันให้เป็นเตาสําหรับก่อไฟ ภายในบรรจุอุปกรณ์ทําอาหารและยังชีพต่างๆ ออกแบบโดย Hikaru Imamura (Photo: inhabitat.com)

 

DESIGN TO SURVIVE! ดีไซน์เพื่อยุคต้องรอด : WIND & WATER >>

เรื่อง : Monosoda
ภาพหน้าปก : Kelly DeLay (kellydelay.com)
source : บทความ 25 worst earthquakes in history จาก list25.com / บทความ Can you build an earthquake proof building จาก imaginationstationtoledo.org / บทความ 10 natural disasters that changed the world จาก citywire.co.uk / บทความ The day the earth stood still จาก buzzfeed.com / บทความ Post disaster design จาก our.risd.edu / dis-inc.com / iitk.ac.in / survival- capsule.com