DESIGN TO SURVIVE! ดีไซน์เพื่อยุคต้องรอด : WIND & WATER

DESIGN TO SURVIVE! ดีไซน์เพื่อยุคต้องรอด : WIND & WATER

<< DESIGN TO SURVIVE! ดีไซน์เพื่อยุคต้องรอด : EARTH

WIND พายุ

เกิดขึ้นจากการเคลื่อนที่ของอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง อันเนื่องมาจากอากาศสองบริเวณมีอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างมาก อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศในแนวราบท่ีอุณหภูมิต่ำกว่าจึงเข้ามาแทนที่ จนส่งผลให้เกิดเป็นพายุ ตลอดประวัติศาสตร์โลก มนุษย์เผชิญหน้ากับพายุขนาดใหญ่มานับครั้งไม่ถ้วน และความสูญเสียที่เกิดขึ้นก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าหายนะทางธรรมชาติประเภทอื่นๆ พายุขนาดใหญ่นอกจากจะมาพร้อมพลังทําลายล้างทุกสิ่งที่ขวางหน้า ยังก่อให้เกิดน้ําท่วมครั้งใหญ่ตามมา

แม้ว่าพายุไต้ฝุ่นในเอเชียจะมีความเร็วและความรุนแรงน้อยกว่าพายุเฮอร์ริเคนหรือทอร์นาโดในฝั่งสหรัฐอเมริกา แต่ก็สร้างความเสียหายได้ไม่แพ้กัน เช่น พายุไซโคลนนากิสที่เข้าโจมตีเมียนมาร์ในปี ค.ศ. 2008 แม้มีความเร็วลมเพียง 120 mph แต่ก็ทําให้ผู้คนเสียชีวิตและสูญหายไปกว่า 140,000 คน ทั้งนี้เนื่องจากสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรง ประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่น ประกอบกับความช่วยเหลือท่ีเข้าถึง ได้ช้าเนื่องจากปัญหาการเมือง ทําให้เกิดภาวะขาดแคลนอาหารและโรคระบาดตามมาหลายระลอก

 

STORM SHELTER

ในภูมิภาคท่ีต้องเผชิญหน้ากับพายุบ่อยครั้ง ความแข็งแรงมั่นคงของบ้านเรือนคือสิ่งสําคัญ แต่สําหรับพายุทอร์นาโดซึ่งมีพลังทําลายล้างสูง ส่ิงก่อสร้างที่แข็งแรงก็ยังคงมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกรื้อถอนพื้นที่ใกล้เคียง Tornado Alley หรือช่องทางทอร์นาโดในสหรฐั อเมริกา อย่างรัฐเท็กซัส โอคลาโฮมา แคนซัส เซาท์ดาโคตา และมิสซูรี มีโอกาสเสี่ยงเกิดทอร์นาโดสูง จึงมีการสร้างห้องหลบภัยใต้ดินที่แยกออกจากตัวบ้าน ซึ่งดีกว่าห้องใต้ดินภายในบ้านที่เสี่ยงต่อโครงสร้างชั้นบนถล่มลงมา

(ซ้าย) บ้านรูปทรงโดม (Monolithic Dome) ก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีผนังคอนกรีตเสริมเหล็กที่แข็งแรง ได้รับการรับรองว่าทนทานต่อแรงของพายุทอร์นาโด แผ่นดินไหว แม้กระทั่งสึนามิได้ดีกว่าบ้านทรงสี่เหลี่ยมทั่วไป เพราะผิวสัมผัสโค้งมนของบ้านทําให้พลังงานเคลื่อนผ่านไปได้ดีกว่า ดูได้จากบ้าน Igloo ของชาวเอสกิโมท่ีทนทานต่อแรงพายุหิมะมาตลอดหลายพันปี เทคโนโลยีการก่อสร้างโดมสําหรับอยู่อาศัยจึงมีความสําคัญต่อโลกอนาคตอย่างยิ่ง (Photo: businessinsider.com.au) (ขวา) Storm Shelter ห้องหลบภัยใต้ดินจากพายุ ออกแบบตามข้อบังคับของทางรัฐบาล วัสดุทําจากไฟเบอร์กลาส ทนทานต่อความชื้นใต้ดิน ประตูเปิดได้จากทั้งภายในและภายนอก และเอียงทํามุมจากพื้นดินไม่เกิน 30 องศา พร้อมทั้งต้องมีระบบระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ (Photo: bakerplumbing.com)
(ซ้าย) บ้านรูปทรงโดม (Monolithic Dome) ก่อสร้างด้วยเทคโนโลยีผนังคอนกรีตเสริมเหล็กที่แข็งแรง ได้รับการรับรองว่าทนทานต่อแรงของพายุทอร์นาโด แผ่นดินไหว แม้กระทั่งสึนามิได้ดีกว่าบ้านทรงสี่เหลี่ยมทั่วไป เพราะผิวสัมผัสโค้งมนของบ้านทําให้พลังงานเคลื่อนผ่านไปได้ดีกว่า ดูได้จากบ้าน Igloo ของชาวเอสกิโมท่ีทนทานต่อแรงพายุหิมะมาตลอดหลายพันปี เทคโนโลยีการก่อสร้างโดมสําหรับอยู่อาศัยจึงมีความสําคัญต่อโลกอนาคตอย่างยิ่ง (Photo: businessinsider.com.au) (ขวา) Storm Shelter ห้องหลบภัยใต้ดินจากพายุ ออกแบบตามข้อบังคับของทางรัฐบาล วัสดุทําจากไฟเบอร์กลาส ทนทานต่อความชื้นใต้ดิน ประตูเปิดได้จากทั้งภายในและภายนอก และเอียงทํามุมจากพื้นดินไม่เกิน 30 องศา พร้อมทั้งต้องมีระบบระบายอากาศพลังงานแสงอาทิตย์ (Photo: bakerplumbing.com)

 

DRONE

เทคโนโลยีใหม่ที่สร้างโอกาสในหลายๆ ด้าน รวมไปถึงในภาวะวิกฤตด้วย โดรนได้รับการพัฒนาให้เป็นมากกว่าแก็ดเจ็ตของเล่น เพราะสามารถกลายเป็นกล้องเคลื่อนที่เพื่อสํารวจความเสียหายในพื้นที่ภัยพิบัติที่เข้าถึงยาก รวมถึงใช้ขนส่งพัสดุจำเป็น เช่น ยารักษาโรคหรืออาหารเพื่อใช้ในกิจการบรรเทาทุกข์เบื้องต้น

โดรนมีบทบาทสําคัญในการสํารวจความเสียหาย และให้ความช่วยเหลือในหายนะต่างๆ DHL พัฒนาโดรนให้กลายเป็นหน่ึงในหน่วยงานขนส่ง ในอนาคตสามารถใช้โดรนส่งยารักษาโรค พร้อมอุปกรณ์ฉุกเฉินเข้าไปในพื้นที่เข้าถึงยากได้อย่างทันท่วงที (Photo: huffingtonpost.co.uk)
โดรนมีบทบาทสําคัญในการสํารวจความเสียหาย และให้ความช่วยเหลือในหายนะต่างๆ DHL พัฒนาโดรนให้กลายเป็นหน่ึงในหน่วยงานขนส่ง ในอนาคตสามารถใช้โดรนส่งยารักษาโรค พร้อมอุปกรณ์ฉุกเฉินเข้าไปในพื้นที่เข้าถึงยากได้อย่างทันท่วงที (Photo: huffingtonpost.co.uk)

 


WATER อุทกภัย

น้ําท่วมดูเหมือนจะเป็นพิบัติภัยที่คุกคามมนุษย์มาหลายพันปี หลักฐานที่บอกเล่าเรื่องราวของระบบการจัดการ “น้ำ” ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก คือ “Nilometer” หรือสิ่งก่อสร้างสําหรับวัดระดับน้ําในแม่น้ําไนล์ ซึ่งเป็นเหมือนสายเลือดหลักของผู้คนในอารยธรรมอียิปต์โบราณ ในยุคโบราณ แม่น้ำไนล์จะเอ่อท่วมเป็นประจำทุกปี แม้จะดีต่อผืนดินท่ีใช้ในการเพาะปลูก แต่บางปีก็สร้างความเสียหายอย่างมากเช่นกัน ดังน้ัน การวัดระดับน้ําจึงช่วยในการพยากรณ์ถึงความอุดมสมบูรณ์หรือหายนะที่กําลังจะมาถึงของอาณาจักรได้ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ําช่วยให้เรา สามารถควบคุมและลดความเสียหายจากน้ําท่วมได้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เหนือการควบคุมก็ทําให้อุทกภัยยังคงเป็นหายนะที่คร่าชีวิตผู้คนได้เป็นอันดับต้นๆ ทั้งจากเหตุจมน้ำ และขาดแคลนปัจจัยในการดำรงชีพ

“Nilometer” ต้ังอยู่บนเกาะ Rhoda Island กลางแม่น้ําไนล์ใกล้กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ มีมาตรวัดน้ําที่ช่วยพยากรณ์และเตือนล่วงหน้าถึงหายนะจากน้ําท่ีอาจเกิดขึ้น (Photo: commons.wikipedia.org)
“Nilometer” ต้ังอยู่บนเกาะ Rhoda Island กลางแม่น้ําไนล์ใกล้กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ มีมาตรวัดน้ําที่ช่วยพยากรณ์และเตือนล่วงหน้าถึงหายนะจากน้ําท่ีอาจเกิดขึ้น (Photo: commons.wikipedia.org)

 

สึนามิ

มาจากภาษาญี่ปุ่นที่แปลตรงตัวว่าคลื่นท่าเรือ จากเหตุการณ์สึนามิคร้ังใหญ่ในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 2011 ย่ิงทําให้คํานี้กลายเป็นคําสากลที่ทุกคนรู้จัก “สึนามิ” คือคลื่นยักษ์จากมหาสมุทรที่เคลื่อนท่ีเข้าสู่ชายฝั่ง และสร้างความเสียหายได้อย่างร้ายแรงด้วยคลื่นสูงกว่า 10 เมตร ถาโถมเข้าสู่ชายฝั่งพร้อมกวาดพัดพาทุกส่ิงกลืนลงทะเลไปด้วย สึนามิมักเกิดตามหลังภูเขาไฟระเบิดในทะเลหรือแผ่นดินไหวใกล้ชายฝั่งทะเล ซึ่งทําให้เกิดเป็นระลอกคลื่นขนาดใหญ่ท่ัวทิศทางเคลื่อนตัวด้วยความเร็วได้ถึง 700 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แปรผันตามความลึกของมหาสมุทร และหลังจากเหตุการณ์ยังก่อให้เกิดน้ําท่วมตามมาอีกด้วย

เหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.2011 ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีศูนย์กลางความเสียหายอยู่ที่เมืองเซนได แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งน้ีนับเป็นหายนะท่ีร้ายแรงท่ีสุดที่ญี่ปุ่นเคยเผชิญตั้งแต่หลังสงครามโลกคร้ังท่ี 2 (Photo: matichon.co.th)
เหตุการณ์สึนามิในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.2011 ซึ่งเกิดจากแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในมหาสมุทรแปซิฟิก โดยมีศูนย์กลางความเสียหายอยู่ที่เมืองเซนได แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งน้ีนับเป็นหายนะท่ีร้ายแรงท่ีสุดที่ญี่ปุ่นเคยเผชิญตั้งแต่หลังสงครามโลกคร้ังท่ี 2 (Photo: matichon.co.th)

 

FLOATING SHELTER

เมื่อบ้านเรือนเสียหายจากน้ําท่วม การสร้างที่อยู่อาศัยชั่วคราวบนพื้นท่ีประสบภัยกลายเป็นเรื่องยาก และการอพยพก็มักไม่สามารถทําได้ทันท่วงที ดังนั้น บ้านลอยน้ําพร้อมอุปกรณ์ยังชีพจึงเป็นทางออกท่ีช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตให้ผู้ประสบภัยระหว่างรอความช่วยเหลือ

“Duckweed Survival House” ผลงานของ Zhou Ying และ Niu Yuntao ที่ได้รับรางวัล Red Dot Design Award 2015 บ้านหลบภัยลอยน้ําสําหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินจากน้ําท่วมหรือสึนามิที่อาจมาทดแทนเรือยาง ตัวบ้านพองลมได้อย่างรวดเร็วด้วยถังบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลายก้านลูกตุ้ม ช่วยในการทรงตัว และมีระบบผลิตน้ําจืด บ้านแต่ละหลังสามารถนํามาเกาะติดกันเป็นแพเพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้น แถมเรืองแสงในความมืดได้ด้วย (Photo: inhabitat.com)
“Duckweed Survival House” ผลงานของ Zhou Ying และ Niu Yuntao ที่ได้รับรางวัล Red Dot Design Award 2015 บ้านหลบภัยลอยน้ําสําหรับเหตุการณ์ฉุกเฉินจากน้ําท่วมหรือสึนามิที่อาจมาทดแทนเรือยาง ตัวบ้านพองลมได้อย่างรวดเร็วด้วยถังบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปลายก้านลูกตุ้ม ช่วยในการทรงตัว และมีระบบผลิตน้ําจืด บ้านแต่ละหลังสามารถนํามาเกาะติดกันเป็นแพเพื่อการทรงตัวที่ดีขึ้น แถมเรืองแสงในความมืดได้ด้วย (Photo: inhabitat.com)
Survival Capsule เวอร์ชั่นอเมริกันที่ดูเหมือนจะฟูลออปชั่น กว่า Noah Capsule ของทางญี่ปุ่นเมื่อสี่ปีก่อน ด้วยวัสดุแข็งแรงระดับเดียวกับอากาศยานจึงช่วยปกป้องอันตรายจากการกระทบกระแทก ความร้อน และน้ําจากสึนามิ หรือทอร์นาโดได้ ภายในมีอากาศเพียงพอสําหรับหนึ่งชั่วโมง เหมาะสําหรับเด็ก คนแก่ หรือคนที่ไม่สามารถอพยพได้ทันเวลา (Photo: redjetfilms.com)
Survival Capsule เวอร์ชั่นอเมริกันที่ดูเหมือนจะฟูลออปชั่น กว่า Noah Capsule ของทางญี่ปุ่นเมื่อสี่ปีก่อน ด้วยวัสดุแข็งแรงระดับเดียวกับอากาศยานจึงช่วยปกป้องอันตรายจากการกระทบกระแทก ความร้อน และน้ําจากสึนามิ หรือทอร์นาโดได้ ภายในมีอากาศเพียงพอสําหรับหนึ่งชั่วโมง เหมาะสําหรับเด็ก คนแก่ หรือคนที่ไม่สามารถอพยพได้ทันเวลา (Photo: redjetfilms.com)
“Life Box” กล่องยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยท่ีสามารถแจกจ่ายได้ท้ังทางบก ทางน้ํา และ ทางอากาศ ตัวกล่องแปลงเป็นที่พักชั่วคราวได้ เพียงปลดสลักพองลมเพื่อให้กลายเป็นบ้านลอยน้ํา พร้อมอาหารสําหรับสี่คน และระบบติดตามเพื่อให้ ความช่วยเหลือต่อไป ออกแบบโดย Adem Önalan (Photo: trendhunter.com)
“Life Box” กล่องยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบภัยท่ีสามารถแจกจ่ายได้ท้ังทางบก ทางน้ํา และ ทางอากาศ ตัวกล่องแปลงเป็นที่พักชั่วคราวได้ เพียงปลดสลักพองลมเพื่อให้กลายเป็นบ้านลอยน้ํา พร้อมอาหารสําหรับสี่คน และระบบติดตามเพื่อให้ ความช่วยเหลือต่อไป ออกแบบโดย Adem Önalan
(Photo: trendhunter.com)

 


เรื่อง : Monosoda
ภาพหน้าปก : livescience.com
source : บทความ 25 worst earthquakes in history จาก list25.com / บทความ Can you build an earthquake proof building จาก imaginationstationtoledo.org / บทความ 10 natural disasters that changed the world จาก citywire.co.uk / บทความ The day the earth stood still จาก buzzfeed.com / บทความ Post disaster design จาก our.risd.edu / dis-inc.com / iitk.ac.in / survival- capsule.com