MAN CAVE ถ้ำลับของคนรักงานอดิเรกอย่างการซ่อมเครื่องยนต์ - room life

MAN CAVE ถ้ำลับของคนรักงานอดิเรก

/ MAN CAVE ถ้ำที่ใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อยอย่างผนังช่องลม ที่เกิดจากการนําอิฐมาเรียงแนวเฉียง
ทําให้บ้านเย็นตลอดท้ังวันโดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องปรับอากาศ /

ก่อนจะเปิดข้ามหน้านี้ไป เราขอบอกนิดหนึ่งว่า อย่าให้รูปลักษณ์ภายนอกของบ้านในจังหวัดภูเก็ตหลังนี้หลอกคุณได้เป็นอันขาด เพราะในความเรียบนิ่งที่เห็นนั้น เรากล้าบอกเลยว่ามี “อะไรดี ๆ” ซ่อนอยู่เยอะกว่าที่คิดไว้แน่นอน

คุณชาตรี อำมาตริยกุล คือเจ้าของบ้าน หรืออันที่จริงจะบอกว่าเป็น “เจ้าของถ้ำ” น่าจะเหมาะกว่า เพราะ “ถ้ำ” ขนาดกะทัดรัดนี้เป็นความตั้งใจที่เขาต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อเติมเต็มความชอบในงานอดิเรกสุดโปรดอย่างการซ่อมเครื่องยนต์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรือหรือมอเตอร์ไซค์ที่รัก โดยได้สถาปนิกคู่ใจอย่าง คุณแก้ว – คำรน สุทธิ จากบริษัท อีโค่ อาร์คิเทค มาช่วยทำให้บ้าน หรือ “ถ้ำ” แห่งนี้ตรงใจเจ้าของบ้านมากที่สุด คุณแก้วคือสถาปนิกฝีมือดีที่มีประสบการณ์ในวงการมากว่า 15 ปี เขาได้เล่าให้เราทราบถึงความเป็นมาของบ้านหลังนี้ว่า เริ่มจากคุณชาตรีทํางานเป็นวิศวกรด้านการขุดเจาะน้ํามัน ทําให้ต้องบินไป-กลับระหว่างที่บ้านกับที่ทํางานเดือนเว้นเดือน ช่วงที่กลับมาพักผ่อนที่บ้านจึงอยากใช้เวลาว่างทํางานอดิเรกที่รักอย่างการซ่อมเครื่องยนต์ต่างๆ ตามที่ตนถนัด ซึ่งลงตัวกับทางคุณแก้วที่ตัดสินใจรับงานน้ีเพราะชื่อ “ Man cave ” ที่คุณชาตรีเป็นคนตั้งขึ้น โดยเขาได้ให้เหตุผลว่า “แค่ชื่อก็รู้สึกสนุกที่ได้ออกแบบแล้ว” และดูเหมือนจะสนุกกับการออกแบบอย่างที่บอกไว้จริงๆ เพราะบ้านหลังนี้ใช้เวลาออกแบบเพียง 1 เดือน และก่อสร้างอีกเพียง 3-4 เดือนเท่านั้น

ต้องบอกว่า “ Man cave ” มองเผินๆ เหมือนบ้านธรรมดา แต่ถ้าได้เข้ามาด้านในจะพบกับดีเทลที่ไม่ธรรมดาเลย เพราะบ้านหลังเล็กสองชั้นท่ีมีพื้นที่ชั้นละ 60 ตารางเมตรหลังนี้บรรจุพื้นที่ใช้สอยเอาไว้อย่างครบถ้วนในงบประมาณเพียงหนึ่งล้านบาทเท่านั้น โดยมีส่วนพื้นที่เวิร์คชอปเป็นพระเอกของบ้าน ซึ่งมีขนาด 5 x 6.70 เมตร สําหรับไว้ซ่อมเครื่องยนต์ โดยเฉพาะการซ่อมเรือที่ต้องใช้พื้นที่มากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ยังเป็นโถงเปิดโล่งไปจนถึงชั้นสองช่วยถ่ายเทอากาศได้เป็นอย่างดี โดยคุณแก้วได้เล่ารายละเอียดเพิ่มเติมให้ฟังว่า

“ในเมื่อกิจกรรมหลักของเจ้าของบ้านคือการซ่อมเครื่องยนต์ สิ่งที่ตามคือเรื่องฝุ่นละอองต่างๆ ที่สำคัญคือ เมื่อซ่อมเครื่องยนต์ต่างๆ จะเปิดเครื่องปรับอากาศไม่ได้ เพราะฉะนั้นการทําพื้นที่เปิดโล่ง และระบายอากาศได้ดีจะช่วยให้เจ้าของบ้านทํางานอดิเรกได้อย่างเพลิดเพลิน บวกกับการทําพื้นและผนังแบบปูนเปลือยขัดมันช่วยเสริมลุคให้เข้ากับกิจกรรมแมนๆ โดยยังควบคุมงบประมาณให้ออกมาได้อย่างพอดี” 

บ้านหลังเล็กที่เจ้าของบ้านตั้งชื่อว่า “Mancave” เป็นบ้านที่สร้างแยกออกมาจากบ้านหลังใหญ่ โดยตั้งใจไว้ทํางานอดิเรกต่างๆ ซึ่งมีฟังก์ชันการใช้งานครบครันเหมือนบ้านหลังใหญ่ๆ หลังหน่ึงเลยทีเดียว
บ้านหลังเล็กที่เจ้าของบ้านตั้งชื่อว่า “Mancave” เป็นบ้านที่สร้างแยกออกมาจากบ้านหลังใหญ่ โดยตั้งใจไว้ทํางานอดิเรกต่างๆ ซึ่งมีฟังก์ชันการใช้งานครบครันเหมือนบ้านหลังใหญ่ๆ หลังหนึ่งเลยทีเดียว

 

ส่วนอีกเรื่องที่เป็นซิกเนเจอร์ในการออกแบบของอีโค่ อาร์คิเทค คือ การนําแสงธรรมชาติและลมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า ส่วนที่ใช้ซ่อมเครื่องยนต์จะเปิดแอร์ไม่ได้ ฉะนั้น สถาปนิกจึงได้ออกแบบช่องเปิดขนาดใหญ่ไว้ระบายอากาศ แล้วทําผนังท่ีลมและแสงสามารถลอดผ่านได้ โดยนําก้อนอิฐท่ีใช้กันท่ัวไปมาเรียงแบบตะแคงสับหว่างกันทํามุม 45 องศา ซึ่งเป็นเทคนิคท่ีช่วยกันละอองฝนไม่ให้สาดเข้ามาถึงภายใน แถมทําชายคาให้ยื่นออกไปรอบบ้านด้านละ 1 เมตร

สุดท้ายคุณแก้วได้บอกกับเราว่า บ้านหลังนี้ใช้เวลาก่อสร้างไม่นาน แถมยังตอบโจทย์การใช้งานได้ทุกด้าน ความสําเร็จส่วนหนึ่งก็มาจากเจ้าของบ้านท่ีมีความเข้าใจเรื่องสถาปัตยกรรมเป็นอย่างดี นอกจากน้ียังเห็นด้วยกับการใช้ประโยชน์จากแสงและลมธรรมชาติ จึงทําให้บ้านหลังนี้เป็น “ถ้ำ” สําหรับงานอดิเรก ถูกใจเจ้าของบ้านเป็นที่สุด

บรรยากาศบริเวณพื้นที่เวิร์คชอป ออกแบบโดยใช้สัจวัสดุ เช่น ปูนเปลือยขัดมัน เหล็ก และไม้ เพื่อเบรกไม่ให้ภาพรวมของบ้านหลังนี้ดูดิบเกินไป
บรรยากาศบริเวณพื้นที่เวิร์คชอป ออกแบบโดยใช้สัจวัสดุ เช่น ปูนเปลือยขัดมัน เหล็ก และไม้ เพื่อเบรกไม่ให้ภาพรวมของบ้านหลังนี้ดูดิบเกินไป
MAN CAVE
รายละเอียดเล็กน้อยอย่างผนังช่องลม ท่ีเกิดจากการนําอิฐมาเรียงแนวเฉียง ทําให้บ้านเย็น ตลอดท้ังวันโดยไม่ต้องพึ่งพาเครื่องปรับอากาศ
สังเกตได้ว่าบริเวณโถงในส่วนของพื้นท่ีเวิร์คชอปจะไม่ติดเครื่องปรับอากาศเลย แต่จะทําเป็นผนังที่สามารถระบายอากาศได้ท้ังสามด้าน ในอนาคตพื้นที่ส่วนนี้เจ้าของมีแพลนว่า จะนำตาข่ายมาขึงไว้สำหรับให้ลูกๆ มานอนเล่นได้ ส่วนประตูหลักใช้เป็นประตูเหล็กม้วนทําสีใหม่ แล้วเพิ่มมอเตอร์เข้าไปสําหรับส่ังงานเปิด-ปิดประตู
สังเกตได้ว่าบริเวณโถงในส่วนของพื้นท่ีเวิร์คชอปจะไม่ติดเครื่องปรับอากาศเลย แต่จะทําเป็นผนังที่สามารถระบายอากาศได้ท้ังสามด้าน ในอนาคตพื้นที่ส่วนนี้เจ้าของมีแพลนว่า จะนำตาข่ายมาขึงไว้สำหรับให้ลูกๆ มานอนเล่นได้ ส่วนประตูหลักใช้เป็นประตูเหล็กม้วนทําสีใหม่ แล้วเพิ่มมอเตอร์เข้าไปสําหรับส่ังงานเปิด-ปิดประตู
วางอิฐทำมุม 45 องศา เพื่อให้ลมธรรมชาติพัดผ่าน และป้องกันฝนสาดเข้าไปในอาคาร
วางอิฐทำมุม 45 องศา เพื่อให้ลมธรรมชาติพัดผ่าน และป้องกันฝนสาดเข้าไปในอาคาร
โถงบันไดหลักภายในบ้าน เปิดโล่งจากช้ันหน่ึงไปจนถึง ชั้นสอง ราวบันไดทําจากเหล็กแล้วนําไปทาสีดําให้เข้ากับบ้านท่ีมีวัสดุส่วนใหญ่ เป็นปูนเปลือยขัดมัน
โถงบันไดหลักภายในบ้าน เปิดโล่งจากช้ันหน่ึงไปจนถึง ชั้นสอง ราวบันไดทําจากเหล็กแล้วนําไปทาสีดําให้เข้ากับบ้านที่มีวัสดุส่วนใหญ่เป็นปูนเปลือยขัดมัน
ที่ทำงานชั้นสอง พื้นที่นี้ติดเครื่องปรับอากาศ และมีหน้าต่างสําหรับ มองลงไปยังพื้นที่เวิร์คชอป
ที่ทำงานชั้นสอง พื้นที่นี้ติดเครื่องปรับอากาศ และมีหน้าต่างสําหรับ มองลงไปยังพื้นที่เวิร์คชอป
ผนังหายใจได้ของบ้านนี้ถือเป็นจุดเด่นท่ีสุดในเรื่องของการประหยัดพลังงาน ไปจนถึงการประหยัดงบประมาณในการก่อสร้าง โดยทําจากอิฐมอญที่หาได้ง่ายในบ้านเรา
ผนังหายใจได้ของบ้านนี้ถือเป็นจุดเด่นท่ีสุดในเรื่องของการประหยัดพลังงาน ไปจนถึงการประหยัดงบประมาณในการก่อสร้าง โดยทําจากอิฐมอญที่หาได้ง่ายในบ้านเรา

 

เจ้าของ : คุณชาตรี อำมาตริยกุล
ออกแบบ : คุณคำรน สุทธิ จาก บริษัท อีโค่ อาร์คิเทค
เรื่อง : Ektida N.
ภาพ : นันทิยา
สไตล์ : ประไพวดี
ภาพประกอบ : คณาธิป
คอลัมน์ : room to room
room magazine : February 2016 No.156