ในเมื่อของขวัญคือส่วนเติมเต็มในทุกวันสําคัญของชีวิต เราจะเก็บเกี่ยวทุกรายละเอียดความทรงจําดี ๆ น้ีให้อยู่กับเรานานขึ้นอีกนิดได้อย่างไร
เมื่อคู่รักนักออกแบบ แก๊ป-ธนเวทย์ สิริวัฒน์ธนกุล และ ลูกน้ํา- รัตนิน สุพฤฒิพานิชย์ รู้สึกเสียดายช่วงชีวิตอันยาวนานของต้นไม้ที่ต้องถูกตัดมาทํากระดาษห่อของขวัญที่มีช่วงชีวิตแสนสั้น และจบลงทันทีที่ของขวัญถึงมือผู้รับ ปฏิบัติการยืดอายุให้กระดาษหน่ึงแผ่นของแบรนด์ a piece(s) of paper จึงเกิดข้ึน และดําเนินไปพร้อมๆกับชีวิตคู่
WE ARE NOT AN ORDINARY GIFT WRAPPING PAPER
แก๊ป : “จุดเร่ิมต้นของ a piece(s) of paper เกิดขึ้น จากการที่เราทั้งสองคนอยากมีแบรนด์ดีไซน์เป็นของตัวเอง จึงเร่ิมมองหาต้นทุนท่ีเราทั้งคู่มี รวมถึงสิ่งที่เราทําได้ดีทั้งคู่ ผมเรียนด้านโปรดักต์ดีไซน์และเคยทํางานด้านครีเอทีฟก็เลยอยากทําแบรนด์โปรดักต์ที่มีกิมมิก หรือมุกสนุกๆ มีคาแร็คเตอร์ในตัวเอง ส่วนน้ำเขาเป็นสถาปนิก แต่ชอบงานคราฟต์และงาน DIY มาตั้งแต่สมัยเรียน ทําให้แบรนด์ของเรามีส่วนผสมของสามสิ่ง คือ หนึ่งเป็นรูปแบบงานคราฟต์ สองเป็นงานกราฟิกออนโปรดักต์ และสามเป็นงานท่ีมีคุณค่าไม่เป็นขยะต่อโลก”
“เริ่มแรกเราสํารวจตลาดกันก่อน จึงมองไปท่ีกระดาษห่อของขวัญที่สามารถเล่นกราฟิกลงไปบนโปรดักต์ได้ อีกทั้งยังมีช่องทางที่จะทําให้งานมีความน่าสนใจ มีโจทย์ใหม่ๆในการออกแบบเสมอ ซึ่งมาจากการศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้งาน คนส่วนมากใช้กระดาษห่อของขวัญแล้วทิ้ง อายุการใช้งานสั้น เราเลยมองว่าจะทําอย่างไรให้คนนํากระดาษกลับมาใช้ต่อได้ แต่ต้องเป็นวิธีที่ง่ายและสนุก ไอเดียนี้ ผมได้ประสบการณ์จากการทํางานโฆษณา เพราะคนส่วนใหญ่อยากลองเล่น อยากมีส่วนร่วม ถ้าไอเดียและวิธีนั้นไม่ยากเกินไป”
น้ํา :“เราทําให้กระดาษมีอายุการใช้งานที่นานขึ้น โดยออกแบบให้มีรอยปรุฉีกไปใช้ทําประโยชน์อย่างอื่นต่อได้ การดีไซน์โปรดักต์รัก(ษ์)โลกของแบรนด์ไม่ได้มองแค่การใช้วัสดุที่ไม่เป็นมลพิษต่อโลกอย่างการใช้กระดาษรีไซเคิลและหมึกถั่วเหลือง เรามองว่าแค่นั้นมันยังไม่จบ ไม่ครบวงจร เราอยากให้สิ่งที่เราออกแบบสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของคนได้ไม่มากก็น้อย อยากให้คนรู้สึกอยากใช้กระดาษห่อของขวัญให้มากกว่าหนึ่งครั้ง หรือแม้แต่ซึมซับการใช้สินค้าของแบรนด์เราแล้วไปต่อยอดกับสิ่งอื่นๆในชีวิตประจําวัน เช่น เริ่มใช้กระดาษรียูสมากขึ้น และปิดไฟเมื่อไม่ใช้”
HABIT IS A CABLE
น้ํา :“น้ําว่าต้นกําเนิดของแบรนด์มาจากนิสัยของพี่แก๊ปด้วย พื้นฐานแล้วเขาเป็นคนท่ีคิดก่อนทิ้งและคิดก่อนใช้มากๆ เช่น ถ้าพี่แก๊ปจะกินน้ำจิ้มกับข้าวมันไก่ เขาจะคิดก่อนว่า จะกินเท่าไหร่ แล้วเทเท่าที่กินลงในจาน ไม่ใช้ถ้วยน้ำจิ้ม ไม่เปลืองน้ำล้างจาน หรืออย่างไฟในห้อง ถ้าน้ําเปิดเยอะ พี่แก๊ปจะตามปิดดวงที่เราไม่ได้ใช้ ดีเทลเล็กๆน้อยๆ เหล่านี้เป็นนิสัยข้อดีของเขาก็ว่าได้ค่ะ”
“แต่พอเราทำแบรนด์ไปเรื่อยๆ มาถึงจุดหนึ่ง ก็เริ่มเรียนรู้ด้วยตัวเองว่า การออกแบบเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของคนนั้นยากกว่าการออกแบบเพื่อรองรับพฤติกรรมของคน แต่เราก็ไม่ท้อหรือเปลี่ยนจุดยืน เพียงแต่บาลานซ์ให้ลงตัวจากกระดาษห่อของขวัญต่อยอดไปถึงงานสมุด กล่องของขวัญ และแพ็คเกจจิ้งต่าง ๆ เราค้นพบว่า อะไรที่มี functional และ practical จะส่งผลต่อการซื้อของคนได้ดีกว่า อีกอย่างท่ีคนพูดถึงและให้ความสนใจกันมากก็คือลวดลาย เพราะเป็นส่ิงที่จับต้องได้ และยิ่งเราดีไซน์ลายออกมามากเท่าไหร่ คนก็จะเห็นตัวตนของแบรนด์มากขึ้น ตั้งแต่ลวดลาย โทนสีสบายตา รวมถึงมีกิมมิกของช่ือแต่ละลายด้วย ซึ่งไอเดียนี้เป็นหน้าท่ีของพี่แก๊ปค่ะ”
LOVE IS A BALANCE
แก๊ป : “ตอนที่เราเริ่มทําแบรนด์ด้วยกันแรกๆไม่มีปัญหากันเลย เราเห็นตรงกันหมดทุกเรื่อง แต่พอแบรนด์เริ่มโตก็จะมีเรื่องจุกจิกหรือรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่เราเห็นต่าง แต่โชคดีที่เราทั้งคู่ไม่ใช่คนหัวแข็ง และมองเห็นภาพเดียวกันอยู่ แต่จะมีการพูดคุยกันบ่อยมาก ทํางานด้วยกันตลอด ช่วยกันคิดในแต่ละมุมมอง อย่างผมจะดูเรื่องการตลาดและทิศทางของแบรนด์ ส่วนน้ําเป็นคนชอบลงมือทํา เธอก็จะคิดโปรดักต์รูปแบบใหม่ออกมาเรื่อยๆ ซึ่งบางอย่างผมก็ไม่ได้เห็นด้วย เพราะเป็นการเพิ่มงานที่จุกจิก เช่น ถ้ากระดาษลายไหนขายไม่ค่อยดี น้ําก็จะเริ่มเอามาแปรรูปทําเป็นของน่ารักๆ ทําเป็นธงบ้าง กระดาษโน้ตบ้าง แต่ผมก็เชื่อเธอแล้วก็เปิดใจ เพราะด้วยเซ้นส์ของผู้หญิงจะรู้ว่าอะไรขายได้ และลายไหนคนจะชอบ”
น้ํา : “เวลาทํางานเราไม่ได้แบ่งพาร์ต แต่จะทํางานไปด้วยกัน เช่น ถ้าออกแบบลวดลาย น้ําจะไม่ทําให้ครบ 100% แต่จะทําแค่ 70% แล้วให้พี่แก๊ปมาช่วยทําต่อ เช่นเดียวกันถ้าเขาออกแบบ น้ําก็จะมาช่วยให้งานนั้นสมบูรณ์ขึ้น อย่างการมาช่วยกันดูโทนสีว่าควรเป็นแบบไหนดี จุดลงตัวของเราก็คือการที่เราเช่ือซึ่งกันและกัน น้ําเชื่อในจุดเด่นของเขา เขาก็เชื่อในจุดเด่นของน้ํา แม้จะเถียงกันตลอดตั้งแต่เรื่องการดีไซน์ไปจนถึงเรื่องมาร์เก็ตติ้ง แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องคุย ยอมรับและเปิดใจ ถึงแม้จะไม่เห็นด้วยมากๆก็ตาม โชคดีท่ีความคิดไม่ถึงกับต่างกันสุดขั้ว”
DESIGN IS LOVE
แก๊ป : “ผมว่าท้ังความรักและการดีไซน์คือการเรียนรู้ บางทีเราต้องยอมพลาดบ้างเพื่อจะได้เรียนรู้ เช่น ลวดลายหนึ่งเราสามารถใส่สีได้ไม่รู้กี่สี ผมมองสีน้ี น้ํามองสีนั้น ถ้าแต่ละคนไม่ยอมรับฟัง มองว่าสีของตัวเองดีที่สุด เราจะไม่มีทางได้ลองสีที่อีกคนมอง อยู่ที่ใครจะยอมก่อน ถึงแม้จะออกมาไม่ดี อย่างน้อยเราก็ได้เรียนรู้เพื่อหาข้อสรุปร่วมกันหรือช่วยแก้ปัญหาในคราวหน้า ดังนั้นมุมมองการใช้ชีวิตของคู่ทั่วไปหรือคู่รัก ดีไซเนอร์จึงไม่ต่างกัน เพราะต้องใช้การรับฟัง เอาใจเขามาใส่ใจเรา ทิ้งอีโก้ส่วนตัว ผมเป็นคนชอบฟังตั้งแต่ตอนทํางานครีเอทีฟ ใครโยนมา ผมรับฟัง พอฟังแล้ว เราจะได้ทั้งวิชาและแนวคิดมุมมองท่ีต่างจากความคิดของเรา ซึ่งแนวคิดน้ีสําคัญมากกับงานดีไซน์”
น้ํา :“เมื่อก่อนน้ําคิดว่างานดีไซน์ต้องทําคนเดียว ทําเยอะทําหลายคนย่ิงวุ่นวาย แต่ไม่ใช่กับพี่แก๊ป เพราะเขาทําให้น้ําเช่ือว่าเขาจะมาเติมเต็มชีวิตและแนวคิดเรา“
LET’S GROW TOGETHER
แก๊ป : “อยากให้เราเป็นแบรนด์กระดาษห่อของขวัญที่คนคิดถึงเป็นอันดับต้น ๆ อยากขายในต่างประเทศมากข้ึน ตอนนี้มีสิงคโปร์และไต้หวันที่เราได้เข้าไปวางในดีไซน์สโตร์แล้ว อีกทั้งตอนน้ีเราก็เพิ่มส่วน Design Studio รับทําของพรีเมียม แพ็คเกจจิ้ง ออกแบบลวดลายให้ลูกค้าที่ต้องการความพิเศษ รวมถึงมีโปรเจ็กต์ที่จะทําร่วมกันไปเรื่อย ๆ ในแบบของเรา”
ขอขอบคุณ : a piece(s) of paper
www.facebook.com/apiecesofpaper
รักเรื่อง : Nuanlilou
ภาพ : นันทิยา
คอลัมน์ : on air people
room magazine : March 2016 No.157