PATANA GALLERY แกลเลอรี่ในมหาวิทยาลัยรังสิต ที่เปิดประตูสู่ศิลปะ -room life

PATANA GALLERY เปิดประตูสู่ศิลปะ

WELCOME TO CREATIVE SPACE แกลเลอรี่ในมหาวิทยาลัยรังสิต

พื้นท่ีโล่งบริเวณหน้าอาคารเรียนคณะศิลปะและการออกแบบ ได้ถูกเนรมิตรให้เป็น แกลเลอรี่ในมหาวิทยาลัยรังสิต จากเดิมที่เคยเป็นลานอเนกประสงค์สำหรับทำกิจกรรมของนักศึกษามากว่า 20 ปี เมื่อคณบดีคณะศิลปะและการออกแบบ และคณบดีคณะดิจิทัลอาร์ต ได้มีโครงการร่วมกันในการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้น โดยชักชวน คุณอรพรรณ สาระศาลิน เชเฟอร์ และ คุณเดวิด เชเฟอร์ สองสถาปนิกจาก Studiomake มาร่วมกันออกไอเดีย และพัฒนาพื้นที่ตรงนี้ให้เป็นพื้นที่แห่งความคิดสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้นักศึกษาใช้เป็นที่นั่งพักผ่อน พบปะ พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานต่อไป

ก้าวแรกเมื่อเดินผ่านเข้ามาในบริเวณอาคาร จะเห็นว่าอาคารนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนตามแนวยาว โดยมีระเบียงชั้นสองเป็นส่วนเช่ือมต่อพื้นท่ีว่างภายในอาคาร ทั้งส่วนทึบและส่วนโปร่งเข้าด้วยกัน
ก้าวแรกเมื่อเดินผ่านเข้ามาในบริเวณอาคาร จะเห็นว่าอาคารนี้แบ่งออกเป็นสองส่วนตามแนวยาว โดยมีระเบียงชั้นสองเป็นส่วนเช่ือมต่อพื้นท่ีว่างภายในอาคาร ทั้งส่วนทึบและส่วนโปร่งเข้าด้วยกัน

/ หากงานศิลปะเป็นตัวกลางการสื่อสาร
ระหว่างศิลปินผู้สร้างสรรค์ผลงานกับผู้ชมงานศิลปะแล้วละก็

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสถาปนิกกับผู้ใช้อาคารก็คงไม่แตกต่างกัน /

“ห้องชั้นล่างนี้ตอนแรกเรานึกถึงห้องเวิร์คชอป เพื่อเป็นพื้นที่ให้นักศึกษาลงมือทำงานศิลปะด้วยตัวเองจริงๆ เป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ได้ดี แต่เนื่องจากพื้นท่ีด้านหน้าอาคารมีคนเดินผ่านไปมาเยอะ ห้องอาจดูไม่ค่อยเรียบร้อย จึงปรับโปรแกรมให้เป็นทางการขึ้น”

การออกแบบจึงเริ่มต้นจากการสร้างเส้นทางสัญจรเช่ือมต่อระหว่างอาคารท้ังสองให้เป็นโถงทางเดินยาวเหยียด นําทางให้ผู้ใช้เดินทะลุผ่านกลางอาคารไปสู่อาคารเรียน 9 ชั้นที่อยู่ด้านหลัง แล้ววางตําแหน่งห้องแสดงงานศิลปะให้ ขนาบสองข้างทางเดิน เพื่อให้นักศึกษาเดินผ่านแกลเลอรี่นี้ทุกวันก่อนเข้าเรียน เป็นการต้อนรับนักศึกษาเข้าสู่โลกการเรียนรู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ช่วยให้เกิดแรงบันดาลใจ กระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์ เผื่ออนาคตจะได้มีโอกาสนําผลงานของตนมาจัดแสดงบ้าง

ก้าวแรกเมื่อเดินผ่านเข้ามาในอาคารจะพบกับคอร์ตเล็กๆ เชื่อมต่อพื้นที่เปิดโล่งภายนอกกับทางเดินภายใน และต่อเนื่องไปยังระเบียงช้ันสองซึ่งมีพื้นท่ีกว้างพอให้นักศึกษาใช้ทํากิจกรรมร่วมกัน
ก้าวแรกเมื่อเดินผ่านเข้ามาในอาคารจะพบกับคอร์ตเล็กๆ เชื่อมต่อพื้นที่เปิดโล่งภายนอกกับทางเดินภายใน และต่อเนื่องไปยังระเบียงช้ันสองซึ่งมีพื้นท่ีกว้างพอให้นักศึกษาใช้ทํากิจกรรมร่วมกัน

patana-gallery-02

 


 BEHAVIOR VS IDEA

สถาปนิกออกแบบช้ันสองให้เป็นพื้นที่ของ Design Center ประกอบด้วยห้องสมุดเฉพาะทางสําหรับนักศึกษาสาขาการออกแบบและห้องสัมมนา ออกแบบพื้นที่ให้เปิดโล่ง ด้านนอกเป็นระเบียงไม้ขนาดใหญ่เปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางของอาคาร ทําหน้าท่ีเช่ือมต่อบันไดชั้นหน่ึงข้ึนไปสู่ช้ันสาม ซึ่งเป็นส่วนสํานักงานของคณะดิจิทัลอาร์ต นอกจากนี้ยังมีโต๊ะกลมขนาดใหญ่ ใช้เป็นที่นั่งทำงาน พักผ่อน และเป็นจุดศูนย์กลางให้เหล่านักศึกษาได้ใช้พบปะพูดคุยและทําความรู้จักกัน

ผนังตะแกรงเหล็กขนาดใหญ่ทอดยาวตั้งแต่พื้นช้ันสองจรดด้านบนสุดของอาคาร พื้นที่บริเวณน้ีจึงมีอากาศปลอดโปร่ง ไม่ร้อน เพราะมีลมพัดผ่านและมีแสงสว่างตลอดทั้งวัน
ผนังตะแกรงเหล็กขนาดใหญ่ทอดยาวตั้งแต่พื้นช้ันสองจรดด้านบนสุดของอาคาร พื้นที่บริเวณน้ีจึงมีอากาศปลอดโปร่ง ไม่ร้อน เพราะมีลมพัดผ่านและมีแสงสว่างตลอดทั้งวัน

 

“ประเด็นหนึ่งที่เราตั้งใจไว้คือ อยากให้การใช้งานอาคารนี้ช่วยลดการใช้ลิฟต์ในอาคารเรียนลง เราจึงออกแบบเส้นทางเดินภายในอาคารให้น่าเดินมากข้ึน ด้วยการสร้างบรรยากาศท่ีดีเพื่อให้เกิดความรู้สึกเพลิดเพลินและไม่รู้สึกเหนื่อย รวมถึงออกแบบให้มีกิจกรรมท่ีน่าสนใจบริเวณ ระเบียงชั้นสองเพื่อจูงใจให้นักศึกษารู้สึกอยากเดินขึ้นบันไดมาที่บริเวณนี้ โดยอาจจะแวะมาที่ห้องสมุด หรือผ่านมาแวะดูเพื่อน ๆ ขณะทํากิจกรรมต่าง ๆ อยู่ก็ได้ เมื่อเดินขึ้นมาถึงตรงนี้จะรู้สึกว่า ถ้าเดินต่ออีกนิดเดียวก็จะถึงอาคารเรียนแล้ว”

จากการทดลองเดินข้ึนลงในอาคารนี้หลายต่อหลายรอบ ทําให้เราเข้าใจแนวคิดของสถาปนิกท่ีอยากสร้างบรรยากาศไม่ให้น่าเบื่อได้เป็นอย่างดี บันไดท่ียาวสุดสายตาขนานไปกับตัวอาคาร ช่วยให้ระหว่างเดินข้ึนบันไดสามารถเห็นกิจกรรม และความเคลื่อนไหวได้ท่ัวทั้งอาคาร เปลี่ยนความรู้สึกแสนเหน็ดเหนื่อยระหว่างขึ้นบันไดให้กลายเป็นเรื่องที่แสนง่ายดาย และน่าสนใจขึ้นไปโดยปริยาย

ในขณะที่กําลังเดินขึ้นบันไดสู่ชั้นสองของอาคาร สามารถมองทะลุผ่านกระจกใสเข้ามาชมผลงานศิลปะที่วางอยู่ฝั่งตรงข้ามได้พร้อม ๆ กัน
ในขณะที่กําลังเดินขึ้นบันไดสู่ชั้นสองของอาคาร สามารถมองทะลุผ่านกระจกใสเข้ามาชมผลงานศิลปะที่วางอยู่ฝั่งตรงข้ามได้พร้อม ๆ กัน

 


 

MATERIAL+MAGIC = MOVEMENT

การลงรายละเอียดการเลือกใช้วัสดุเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เพราะวัสดุที่เลือกใช้ในแต่ละส่วนของอาคารถือเป็นส่ิงที่เป็นรูปธรรมท่ีสุดในการสื่อสารให้ผู้ใช้งานสัมผัสได้ถึงแนวคิดการก่อสร้างอาคารได้อย่างชัดเจนข้ึน

“ส่วนใหญ่การทํางานของเราจะไม่ได้เร่ิมต้นจากฟอร์มของอาคาร แต่เราจะคิดถึงการใช้วัสดุก่อน อย่างอาคารนี้ เมื่อเราได้แนวคิดว่า จะสร้างอาคารให้เป็นเหมือนถนนสายหนึ่ง เราจะใช้วัสดุอะไร และจะใช้อย่างไรให้สื่อถึงความเคลื่อนไหว หรือการเป็นทางผ่านได้บ้าง ตอนแรกเราคิดถึงพวกดิจิทัลอย่าง ไฟแอลอีดี แต่ด้วยสไตล์การทํางานของเราท่ีชอบอะไรที่เป็นงานทํามือมากกว่า เราจึงเลือกสร้างความเคลื่อนไหวให้ผนัง ด้วยเทคนิคแบบ Moiré Pattern (มัวเรแพตเทิร์น)

“เราได้แรงบันดาลใจมาจากการเห็นตะแกรงเหล็กฉีกท่ีใช้ในโรงงาน ซึ่งมีความแข็งแรง ทนทาน ราคาไม่แพง ที่สำคัญคือ ลวดลายบนตัววัสดุที่มีความหลากหลาย ทั้งเส้นโค้งตัดกันเป็นตาราง และพื้นผิวสูงต่ำที่เกิดรอยฉีกและรอยพับ เราคิดว่าหากนํามาทําการศึกษาและพัฒนาต่อ น่าจะปรับให้วัสดุธรรมดา ๆ อย่างตะแกรงเหล็กฉีกดูมีมิติน่าสนใจขึ้น”

ทางเดินเช่ือมต่อระหว่างอาคารใหม่และอาคารเก่าทําเป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ มีมิติของผนังตะแกรงเหล็กขนาบทั้งสองด้าน ช่วยสร้างบรรยากาศในการเดินให้ดูสนุกสนานข้ึน
ทางเดินเช่ือมต่อระหว่างอาคารใหม่และอาคารเก่าทําเป็นอุโมงค์ขนาดใหญ่ มีมิติของผนังตะแกรงเหล็กขนาบทั้งสองด้าน ช่วยสร้างบรรยากาศในการเดินให้ดูสนุกสนานข้ึน

 

ผนังของอาคารนี้จึงเป็นผนังแบบกึ่งโปร่งกึ่งทึบ ทําจากตะแกรงเหล็กฉีกสองแผ่นสีขาว-ดํา นํามาวางซ้อนกันให้มีระยะห่างเพื่อสร้างผนังที่มีความหนา แต่มีช่องว่างตรงกลาง สามารถมองทะลุผ่านเห็นทิวทัศน์ด้านนอกได้ ลายตารางที่ตัดกับช่องโปร่งบนตะแกรงเหล็กจะสร้างมิติลวงตาให้มองเห็นคล้ายว่าทิวทัศน์มีการเคลื่อนไหวตามจังหวะการเดิน เรียกได้ว่าเป็นการสร้างปรากฏการณ์แปลกใหม่ด้วยวัสดุธรรมดาได้อย่างน่ามหัศจรรย์ทีเดียว

“คุณเดวิดมักเรียกสิ่งท่ีเราทําว่า ‘Alchemy’ (แอล- เคอมี) หมายถึง มนตร์วิเศษของแม่มดที่สามารถเสกของธรรมดาให้กลายเป็นของวิเศษได้ เหมือนการทํางานของเรา ด้วยงบประมาณท่ีไม่มากนัก บวกกับการศึกษาว่าจะทําอย่างไรให้วัสดุธรรมดาๆเหล่านี้เกิดคุณค่าขึ้นมาได้ผลลัพธ์ท่ีออกมาจึงกลายเป็นความสําเร็จท่ีแสนพิเศษ”

“ก่อนที่เราจะนำตะแกรงเหล็กฉีกมาใช้งานจริง เราได้ซื้อตะแกรงเหล็กฉีกมาหลายชนิดและหลากขนาดมาก เพื่อนํามาทดลองด้วยการทําตัวอย่างผนังจริงๆข้ึนมา เพื่อหาว่าจะใช้ตะแกรงเหล็กขนาดไหน จะใช้สีอะไรซ้อนกัน และจะต้องเว้นระยะห่างหรือวางเหลื่อมกันมากน้อยแค่ไหนจึงจะออกมาสวยงาม”

การที่ดีไซเนอร์ได้ศึกษาคุณสมบัติและลักษณะเฉพาะของวัสดุอย่างละเอียดก่อนนํามาใช้จริง นอกจากจะสร้างผลลัพธ์ที่ตอบสนองแนวคิดด้านการออกแบบแล้ว ผนังตะแกรงเหล็กฉีกยังทําหน้าท่ีเป็นเหมือนช่องหายใจของผนังท่ีสามารถเปิดรับแสงธรรมชาติจากภายนอก และช่วยให้อากาศถ่ายเทดี เหมาะสมกับสภาพอากาศบ้านเรา

 

บริเวณหน้าห้องสัมมนาช้ันสองทําเป็นตู้กระจกไว้สําหรับแสดงผลงาน สร้างความต่อเนื่องกับส่วนแกลเลอรี่ที่อยู่ด้านล่าง
บริเวณหน้าห้องสัมมนาช้ันสองทําเป็นตู้กระจกไว้สําหรับแสดงผลงาน สร้างความต่อเนื่องกับส่วนแกลเลอรี่ที่อยู่ด้านล่าง

 


 

DESIGN DETAILS

patana-gallery-08

01 ผนังตะแกรงเหล็กทําหน้าท่ีเป็นเหมือนหน้ากากของอาคาร ช่วยกั้นพื้นที่เปิดโล่งให้ดูเป็นส่วนตัวมากขึ้น

02 ใช้แผ่นเหล็กเส้นเล็ก ๆ เดินเป็นเส้นตั้งและเส้นนอนตัดกันบนผนังพอลิคาร์บอเนต เพื่อช่วยลดทอนผนังขนาดใหญ่ให้ดูเป็นสัดส่วนมากขึ้น

03 โชว์เสาโครงสร้างให้ตัดกับท้องฟ้าโล่ง ๆ บริเวณด้านหน้าอาคาร เป็นลูกเล่นท่ีสร้างจุดเด่นให้อาคารได้เป็นอย่างดี

04 ติดตั้งตะแกรงเหล็กโดยเลือกวางให้ด้านท่ีมีพื้นผิวทํามุมเอียงคว่ำลง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกันแดดและฝน

05 วางตําแหน่งประตูให้หลบเข้าไปอยู่ใต้พื้นระเบียงช้ันสอง ซึ่งไม่ได้รับแสงแดดโดยตรง ช่วยให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทํางานหนักมากเกินไป

อ่านต่อ แกลเลอรี่

http://www.baanlaesuan.com/45010/design/art-culture/maiiam-contemporary-art-museum/

 


 

เรื่อง – ภาพ : ดำรง