// WE’RE DOING THE BEST FOR OUR DREAMS! //
ข้ึนชื่อว่ากระแส อย่างไรเสียก็คงหนีไม่พ้นความเปลี่ยนแปลงเช่นเดียวกับกระแส “ฮิปสเตอร์” ที่ถูกประกาศไว้อาลัยอย่างเป็นทางการจากฝั่งอเมริกาไปได้พักใหญ่ และตอนน้ีดูเหมือนกําลังจะได้รับการแทนที่ด้วยกระแสของชาว Yuccie (ยัคกี้) คนกลุ่มใหม่ซึ่งถูกบัญญัติขึ้น โดย David Infante หนุ่มนิวยอร์กนักเขียนไว้หนวดแห่งเว็บไซต์ยอดนิยม mashable.com
ด้วยความที่คนเราไม่สามารถแบ่งแยกประเภทความเป็นตัวเองได้เป๊ะๆ เหมือนเกมทายนิสัยตามกรุ๊ปเลือด เนื่องจากเอกลักษณ์และความเป็นปัจเจกของแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน แต่อย่างไรเราก็ยังคงมีความพยายามแบ่งผู้คนท่ีมีลักษณะนิสัย ความเชื่อ และสไตล์การใช้ชีวิตที่คล้ายคลึงกันออกเป็นกลุ่มวัฒนธรรมย่อย (Subculture) ไม่ว่าจะเป็นชาว Hipster ต้นตํารับในยุค 40 มาสู่ยุคบุปผาชนคน Hippie ในช่วงต้นทศวรรษที่ 60 หรือ Yuppie, Geek, Nerd ฯลฯ ทั้งหมดนี้คือตัวอย่างวัฒนธรรมย่อยที่สร้างกระแสให้สังคมในช่วงเวลาต่างๆ อย่างมีที่มาที่ไป
หลายปีก่อนฮิปสเตอร์เคยเป็นเหมือนตัวแทนของขบถสังคมผู้เปี่ยมเสน่ห์ แต่วันเวลาก็พาให้กลับกลายเป็นตลกร้าย เมนสตรีมที่ตกเทรนด์ไปเรียบร้อย ณ ปีน้ี ถ้ามีคน บอกว่าคุณคือ “ฮิปสเตอร์” อาจฟังดูเหมือนคํากระเซ้าเสียดสีมากกว่าเป็นคํานิยามตัวตนที่แตกต่าง ซึ่งเป็นเพราะความ หมายของฮิปสเตอร์ได้ถูกบิดเบือนไปไกลจากจุดเริ่มต้นไลฟ์สไตล์ที่เคยนอกกระแสได้กลายเป็นกิจกรรมสุดเกร่อในระดับแมส การไว้หนวดเข้ม แว่นกรอบหนา กาแฟดริป ยีนสไตล์วินเทจ รอยสักอาร์ตๆ ปั่นจักรยาน ถ่ายภาพด้วยมุมเชยๆ กลายเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็ทำ และใครๆ ก็เป็นฮิปสเตอร์ได้ เมื่อเกิดเรื่องราวย้อนแย้งเช่นน้ีขึ้น แล้วบรรดาอดีตฮิปสเตอร์ที่ยังคงพึงพอใจกับการใช้ชีวิตสร้างสรรค์แหวกกรอบ ไม่ตามกระแสล่ะ เราควรเรียกพวกเขาเหล่านั้นว่าอย่างไร
David Infante ขอนําเสนอคําว่า YUCcie ย่อมาจาก Young Urban Creative หมายถึงกลุ่มมนุษย์เมืองเจเนอเรชั่นวาย (Y) ผู้มีจิตวิญญาณหล่อเลี้ยงด้วยความฝัน และความคิดสร้างสรรค์ เดวิดคือตัวแทนของชาวยัคกี้ และ มองว่าประชากรกลุ่มนี้กําลังเร่ิมขยายตัว มีบทบาทที่โดดเด่น จนอาจกลายเป็นอีกหนึ่งวัฒนธรรมย่อยของยุคสมัยน้ี
YUCCIE คือใคร?
หากย้อนกลับไปเมื่อสิบปีก่อน ยัคกี้ในวันนี้อาจคือ ฮิปสเตอร์ในวันนั้น แต่ด้วยสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ผนวกกับความก้าวหน้าของโลกอินเทอร์เน็ต ยัคกี้จึงเป็นเหมือนฮิปสเตอร์แห่งยุคมิลเลนเนียม
ชาวยัคกี้เกิดจากการหลอมรวมรูปแบบวัฒนธรรมย่อย ของ Hipster และ Yuppie เข้าด้วยกัน กลุ่มคนเหล่านี้สนุกกับการใช้ชีวิตนอกกรอบและให้ความสําคัญกับความคิดสร้างสรรค์และความฝันของตัวเองเป็นอันดับหน่ึงเหมือนชาวฮิปสเตอร์ แต่ในขณะเดียวกันชาวยัคกี้ก็ยังเชื่อในวิถีทุนนิยม และเชื่อว่าอิสรภาพทางการเงินคือสิ่งที่แสดงถึงความสําเร็จของพวกเขาไม่ต่างจากบรรดายัปปี้ในยุค 80 (หากนึกไม่ออก หรือเกิดไม่ทัน ตัวอย่างยัปปี้ที่ชัดสุด คือ Patrick Bateman จากหนังเรื่อง American Psycho) กลุ่มยัคกี้ไม่ลังเลที่จะทําตามฝัน แต่ก็เรียลพอที่จะยอมรับว่าพวกเขาต้องการที่จะ “ร่ำรวย” อย่างรวดเร็ว และจะภาคภูมิใจอย่างยิ่ง หากพวกเขาสามารถร่ำรวยได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ของตนเอง โดยไม่ถูกกลืนไปกับกระแสทุนนิยม
ตัวอย่างของยัคกี้มีให้เห็นทั่วไปตามเมืองใหญ่ทั่วโลก ท้ังในนิวยอร์ก ซานฟรานซิสโก ฯลฯ หนุ่มสาวครีเอทีฟ ผู้มีไลฟ์สไตล์โดดเด่นไม่ซ้ำใคร ทํางานเก๋ไก๋รายได้ดี ไม่ว่าจะเป็นดีไซเนอร์เจ้าของแบรนด์จักรยานสุดล้ำ ไลฟ์สไตล์ บล็อกเกอร์ หรือแม้แต่ทนายความท่ีผันตัวมาเป็นแฟชั่น ดีไซเนอร์ แม้คนท่ีไม่ปลื้มกับงานประจํานัก ก็ยังยอมทํางานประจําพร้อมสร้างสรรค์อาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ และเติมเต็มความฝันไปพร้อมกัน คนเหล่านี้กำลังมีบทบาทช่วยขับเคลื่อนสังคม และเป็นกําลังซื้อใหม่ของตลาดโลกที่น่าจับตามอง
THAI YUCCIE
ย้อนกลับมามองบ้านเรา คนรุ่นใหม่ใจกลางเมืองจำนวนไม่น้อยที่เข้าข่ายเช็กลิสต์เป็นชาวยัคกี้ และก็ไม่ต่างจากทวีปอื่นๆ เมื่อโลกอินเทอร์เน็ตทำให้เส้นทางการออกวิ่งตามฝันของคนกลุ่มนี้มีความเป็นไปได้มากขึ้น ในยุคนี้ต้นทุนชีวิตอาจไม่สำคัญเท่ากับไอเดียเจ๋งๆ ท่ีสามารถสร้างตัวตนให้คุณได้ทันที ก็ในเมื่อพื้นท่ีสําหรับการแสดงออกทางความคิดมีอยู่ท่ัวไปเพียงแค่ปลายนิ้วคลิก! แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ดีไซน์และแบรนด์แฟชั่น หน้าใหม่แข่งกันผุดข้ึนยิ่งกว่าดอกเห็ด เจ้าของธุรกิจแนวใหม่ประสบความสำเร็จด้วยอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ และหากเทรนด์นี้เกิดฮิตแบบจริงๆ จังๆ ขึ้นมาในบ้านเราก็คงจะดีไม่น้อย ความหวังในการขับเคลื่อนประเทศด้วยเศรษฐกิจที่มีที่มาจากความคิดสร้างสรรค์อาจอยู่ใกล้ความจริงขึ้นอีกนิด
แต่ทุกอย่างล้วนมีสองด้าน เมื่อความสะดวกสบายของอินเทอร์เน็ตเปรียบเหมือนตัวช่วยหลักของการทําธุรกิจ ย่อมไม่ควรถูกใช้เป็นทางลัดไปสู่ความร่ำรวยในทางที่ผิด เมื่อไอเดียหาง่ายเหมือนอยู่ท่ัวไปในอากาศ การหยิบฉวยมาใช้แบบไม่เคารพสิทธิ์คงไม่ใช่หนทางสู่ความสําเร็จที่ยั่งยืน ชาวยัคกี้จึงไม่ใช่คนที่ทะเยอทะยานจะรวยอย่างเดียว จรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ และความหยิ่งทะนงในความคิดสร้างสรรค์ของตนเองต่างหากคือความภาคภูมิใจที่ทําให้พวกเขา แตกต่างจากแก่นอย่างแท้จริง
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ด้วยกฎแห่งความไม่เที่ยง ไม่ช้าก็เร็ว โลกต้องเปลี่ยนแปลงไปอีกครั้ง คำถามที่ทิ้งไว้คือ เราเรียนรู้อะไรจากแต่ละกระแสที่พัดผ่านมาและผ่านไปบ้าง