ความแซ่บและช่างทดลองของสองดีไซเนอร์ผู้ก่อต้ังสตูดิโอออกแบบกราฟิก SYRUP และแบรนด์ของใช้ของแต่งบ้าน ATLER อย่าง คุณต้น – ธีระวุฒิ พลารชน และ คุณต้อย – ฐมาพร วงศ์เอกชูตระกูล ไม่ได้จบแค่ในช้ินงาน แต่ยังมีอิทธิพลกับรูปแบบการใช้ชีวิต ซึ่งสะท้อนผ่านการทดลองมิกซ์เฟอร์นิเจอร์และของสะสมต่างท่ีมา ต่างวัฒนธรรม และต่างสไตล์ไว้ด้วยกันในสไตล์อิเคล็กติก เน้นความสวยแหกกฎ ซึ่งสามารถพบได้ทุกมุมของบ้านทาวน์โฮม 2 ช้ัน ขนาด 144 ตารางเมตรหลังนี้
“เราไม่ได้เป็นนักออกแบบแค่ในเวลาทํางาน แต่คือท้ังชีวิต พอมีบ้านแบบท่ีเป็นบ้านจริงๆ ก็อยากอยู่ท่ามกลางสภาพแวดล้อมแปลกๆ สนุกๆ ไม่หยุดนิ่ง เหมือนกับสไตล์งานท่ีทําอยู่ บางทีบ้านก็สร้างแรงบันดาลใจบางอย่างให้งาน บางทีงานออกแบบท่ีเราทดลองทําก็ส่งพลังกลับไปท่ีบ้าน เราว่าการใช้ชีวิตกับการทํางานบางทีก็ส่งผลต่อกันและกัน กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็แยกจากกันไม่ได้แล้ว” สองดีไซเนอร์เล่าถึงแรงบันดาลใจ
หลังกองกําลังดีไซเนอร์ในสตูดิโอเริ่มเพิ่มจำนวนมากขึ้น จากท่ีเคยใช้ชีวิตบริเวณช้ัน 2 ของสตูดิโอออกแบบ ท้ังคู่จึงเร่ิมต้นเปลี่ยนบ้านหลังเก่าให้กลายเป็นออฟฟิศเต็มรูปแบบ แล้วค่อยๆ ขนย้ายชีวิตส่วนตัว พร้อมคลังสะสมมาจัดเรียงใหม่ภายในบ้านเช่าหลังข้างๆ ก่อนคุมโทนสีห้องต่างๆ ให้ดูขลังและดาร์กตามสไตล์ท่ีช่ืนชอบ โดยแบ่งพื้นที่ชั้นล่างไว้ สําหรับเป็นห้องนั่งเล่น รับแขก ห้องรับประทานอาหาร และห้องครัว ส่วนช้ันสองแบ่งเป็นพิพิธภัณฑ์สัตว์สตัฟฟ์ซึ่งเป็นของสะสมของคุณต้น ห้องทํางานฝีมือของคุณต้อย และห้องนอน
// เราไม่ได้เป็นนักออกแบบแค่ในเวลาทํางาน
แต่คือท้ังชีวิต ท้ังการกิน การอยู่ เราอยู่กับมันเพราะเราชอบ //
ด้วยความที่เป็นบ้านเช่าอายุกว่า 35 ปี มีการเปลี่ยนมือผู้อยู่อาศัยมาแล้ว 2 – 3 ครอบครัว แต่ละครอบครัวจึงทิ้งมรดกไว้ให้ในรูปแบบของดีเทลการตกแต่งต่าง ๆ ในบ้าน อย่างพื้นกระเบื้องสมัยคุณป้ายังซิ่ง และตู้ไม้บิลท์อินสมัยคุณยายยังสาว ซึ่งสวนทางกับรสนิยมสดใหม่และไม่เคย หยุดนิ่งของทั้งคู่ บวกกับข้อจํากัดเรื่องงบ คุณต้นจึงจําเป็นต้องเก็บรายละเอียดเดิมของบ้านบางส่วนเอาไว้ แล้วใช้เทคนิคของสีและกราฟิกมาช่วยในการตกแต่ง เพื่อให้ได้บรรยากาศตามแบบท่ีชอบ เช่น การทาสีผนัง เปลี่ยนสี ตู้บิลท์อินที่บริเวณช้ันสองให้กลายเป็นสีเขียวเจ็บๆ ตัดกับ สีดําสนิทต้ังแต่พื้นไปจนถึงผนังในมินิมิวเซียม เสริมลุคโดยรวมของบ้านให้ยิ่งดูขลังและลึกลับมากข้ึน
ก่อนเติมเรื่องราวให้แต่ละมุมด้วยงานประติมากรรม และข้าวของเครื่องใช้สไตล์ชนเผ่าที่คุณต้อยสะสมไว้ ตัดด้วยงานคลาสสิกสีขรึมและงานโมเดิร์นสีป็อป ๆ ในส่วนห้องนั่งเล่นและรับประทานอาหาร ตลอดจนการจัดวางเขาสัตว์ สัตว์สตัฟฟ์ และรูปปั้นโบราณท่ีคุณต้นสะสมมาร่วม 10 ปีจนเต็มตู้โชว์ และมีบางส่วนถูกเลือกนําไปประดับบริเวณผนังทางข้ึนบันไดร่วมกับจานวินเทจ และงานเพ้นต์ของคุณต้อยด้วย
“เราอยากให้บ้านมีความอิเคล็กติก มีความเพี้ยนๆ แล้วก็ขลังๆ ในตัว แต่มีข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณและสัญญาเช่าบ้าน เราจึงไม่สามารถเปลี่ยนหรือรื้อโครงสร้างหลักๆ ได้ พี่ต้นนำศิลปะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาได้ดีมาก แทนที่จะรื้อตู้เก่าเทอะทะ แถมสีเดิมก็โบราณ เราแก้ปัญหาด้วยการทาสีเขียวแรงๆ ทับลงไป จากตู้เก่าๆ ก็กลายเป็นตู้ใบเก๋ไปเลย หลังจากนั้น ก็ค่อยๆ ลามไปที่ผนังซึ่งพี่ต้นเขาผสมสีเอง (หัวเราะ)” คุณต้อยเล่าก่อนเสริมต่อว่า “บ้านหลังเก่าพื้นที่ค่อนข้างน้อย เวลาพี่ต้นทำงานศิลปะ ต้องยกเฟรมผ้าใบ สี และอุปกรณ์มากมายเพื่อไปทํางานอีกห้อง พอเพ้นต์เสร็จเหนื่อยแล้วก็ยังต้องมานั่งเก็บของกลับเข้าที่อีก นอกจากห้องนี้จะเป็นมิวเซียมเล็กๆ ของพี่ต้นแล้ว ยังตั้งใจให้เป็นสตูดิโอเพ้นต์รูปไปในตัวด้วย”
เมื่อการออกแบบและการเป็นคนช่างทดลองได้กลายเป็นส่วนหน่ึงของชีวิตทั้งคู่ ความสดใหม่เหล่านั้นจึงไม่เกิดขึ้นและจบลงแค่ในเวลาทํางาน แต่ยังส่งผลให้ทุกมุมบอกเล่าตัวตนและรสนิยมของผู้อยู่อาศัย แถมยังส่งพลังงานบางอย่างกลับไปสู่ชิ้นงานของพวกเขาแบบไม่รู้จบ
“ส่วนตัวเราชอบงานดีไซน์ที่ดูผสมผสาน ชอบงานที่แปลกๆ มีวิธีคิด วิธีแก้ปัญหาในแบบฉบับของเรา เมื่อลองมองย้อนกลับมาที่บ้าน เรารู้สึกเหมือนกันว่ามันออกมาไม่เหมือนชาวบ้าน ซึ่งบ่งบอกตัวตนของเรา ได้อย่างแท้จริง” ทั้งคู่กล่าว ก่อนปิดท้ายด้วยเสียงหัวเราะและความสุขที่ซ่อนอยู่ในทุกอณู
เจ้าของ-ตกแต่ง : คุณธีระวุฒิ พลารชน และคุณฐมาพร วงศ์เอกชูตระกูล
เรื่อง : polarpoid
ภาพ : ศุภกร ศรีสกุล, อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม
สไตล์ : ประไพวดี โภคสวัสดิ์
คอลัมน์ : room to room
room magazine : July 2016 No.161
http://www.baanlaesuan.com/5323/houses/identical-definition/
http://www.baanlaesuan.com/6291/houses/think-out-of-the-box/
http://www.baanlaesuan.com/6380/houses/dark-and-dramatic/