นิทรรศการ ออกแบบ แบบญี่ปุ่น JAPANESE DESIGN TODAY 100
นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100

นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100 คลี่คลายความสงสัยว่าทำไม งานออกแบบของพวกเขาจึงไม่เคยล้าสมัย

นี่คือนิทรรศการสัญจรที่เดินทางข้ามทวีปไปจัดแสดงทั่วโลกตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา นิทรรศการที่บ่งบอกด้วยสิ่งที่นำมาจัดแสดงจำนวน 100 ผลงานได้ว่า ญี่ปุ่น คือสถานีหลักของนักออกแบบที่เชื่อมโยงโครงข่ายนวัตกรรมและวัฒนธรรมดั้งเดิม ออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ร่วมสมัยที่ทรงอิทธิพลที่สุดแห่งหนึ่งในโลกใบนี้

นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” Japanese Design Today 100 สัญจรมาถึงประเทศไทยแล้ว เมื่อ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมมือกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) จัดการแสดงอยู่ที่ห้องแกลเลอรี่ ชั้น 1 TCDC กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 24 เมษายน – 26 พฤษภาคม 2562 ก่อนจะเดินทางต่อไปยังจังหวัดเชียงใหม่ และขอนแก่น หลังจากนี้

นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100 นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100 นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100

จาก 10 ปีที่ผ่านมา รูปแบบของนิทรรศการมีการปรับเปลี่ยนใหม่ด้วยการรวบรวมการออกแบบสินค้าในปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการออกแบบสมัยใหม่นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 หรือช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มาจนถึงทศวรรษที่ 1990 ซึ่งนับว่าเป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นมีอิทธิพลสำคัญต่อการออกแบบสมัยนี้ โดยมี 4 ภัณฑารักษ์ชาวญี่ปุ่น นำโดย ฮิโรชิ คาชิวางิ และ มาซาฟูมิ ฟูคากาวะ เป็นสองคนผู้ให้ความสำคัญกับเรื่องดีไซน์สเคป การสำรวจวิถีชีวิต มุมมอง วัฒนธรรม ตลอดจนมุมมองของผู้ใช้ในสังคมร่วมสมัย ส่วน โนริโกะ คาวากามิ และ ชู ฮางิวาระ คือสองคนที่นำเสนอจุดแข็งของนักออกแบบชาวญี่ปุ่นที่มีความสัมพันธ์แน่นแฟ้นกับแหล่งผลิตในภูมิภาค ทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ผสมผสานเทคโนโลยีสมัยใหม่กับภูมิปัญญาและช่างฝีมือในท้องถิ่น

นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100 นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100

นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” Japanese Design Today 100 แสดงถึงวิถีร่วมสมัยของชาวญี่ปุ่นที่เปิดรับนวัตกรรมอันทันสมัย แต่ในขณะเดียวกันก็เก็บรักษาไว้ซึ่งจารีตดั้งเดิมควบคู่กันไปประหนึ่งโลกคู่ขนาน หลายผลงานอาจมีให้เห็นและถูกใช้งานในบ้านเรา หลายผลงานก็ไม่ แต่หากใครได้มีโอกาสไปชมและอ่านข้อมูลประกอบผลงานทั้ง 100 ผลงาน จะรู้สึกได้ว่าผลิตภัณฑ์ที่ชาวญี่ปุ่นออกแบบขึ้นนั้น ล้วนแล้วแต่มอบฟังก์ชันที่เอื้อสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวันจริง ๆ บางชิ้นดูใช้ง่าย บางชิ้นยังพับเก็บง่าย บางชิ้นเหมือนใหญ่แต่กลับพกพาสะดวก จนกล่าวโดยสรุปได้ว่า ทุกผลงานสะท้อนตัวตนในงาน ออกแบบ แบบญี่ปุ่น ที่ผ่านการคิดและออกแบบมาอย่างดีที่สุด

จาก 100 ผลงาน แบ่งออกเป็นผลิตภัณฑ์จำนวน 89 ชิ้น และภาพถ่ายวัตถุอีก 11 ผลงาน ซึ่งถูกจัดกลุ่มตามประเภทการใช้งานจำนวน 10 กลุ่ม ได้แก่ งานออกแบบคลาสสิกระดับตำนานของญี่ปุ่น เฟอร์นิเจอร์และของใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องครัว เครื่องแต่งกายและเครื่องประดับ ของใช้สำหรับเด็ก อุปกรณ์เครื่องเขียน อุปกรณ์กิจกรรมสันทนาการ ของใช้สำหรับสุขภาพ อุปกรณ์กู้ภัยและบรรเทาสาธารณภัย และขนส่ง

และนี่คือส่วนหนึ่งจาก 100 ผลงานที่จัดแสดงอยู่ในขณะนี้

นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100
1/100 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า RC-10 ที่ช่วยลดขั้นตอนการหุงข้าวแบบเดิม และเป็นต้นแบบหม้อหุงข้าวประสิทธิภาพสูงในปัจจุบัน ซึ่ง Yoshiharu Iwata ออกแบบให้กับ Toshiba ในปี พ.ศ. 2498
นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100
3/100 กล้อง Nikon F ออกแบบโดย Yusaku Kamekura ในปี พ.ศ. 2502
นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100
8/100 ขวดซอสถั่วเหลืองพร้อมที่เท Kikkoman ขนาด 150 มิลลิลิตร ออกแบบโดย Kenji Ekuan ขวดซอสถั่วเหลืองขวดแรกของญี่ปุ่นที่สามารถเทซอสได้ทันทีโดยไม่ต้องเปิดฝา และนิยมใช้กันมานานมากกว่า 50 ปี นับตั้งแต่ผลิตขึ้นในปี พ.ศ. 2504
นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100
22/100 โคมไฟ รุ่น IN-EI ISSEY MIYAKE “MOGURA” (ขวาสุด) โคมไฟที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์แบบ nonwoven จากขวดพลาสติกรีไซเคิล ประดิษฐ์ด้วยมือ และกลายมาเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ Artemide
นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100
39/100 ชุดภาชนะกระดาษ WASARA ออกแบบโดย Shinichiro Ogata ในปี พ.ศ. 2551 ใช้ส่วนผสมจากเยื่ออ้อย ไผ่ และกก ที่สามารถนำมาหมุนเวียนผลิตได้อีก
นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100
70/100 แจกันอากาศ จากแผ่นกระดาษที่มีรอยตัด ปรับเปลี่ยนรูปทรงได้หลากหลาย ออกแบบโดย TORAFU ARCHITECTS ในปี พ.ศ. 2553
นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100
89/100 หมวกกันน็อค TATAMET BCP จากบริษัท Yellow inc. สามารถพับเก็บได้ในพื้นที่ 35 มิลลิเมตร และคลี่ออกเพื่อใส่ในเวลาฉุกเฉิน สะดวกในการพกพา ออกแบบขึ้นในปี พ.ศ. 2556 โดย Norikatsu (Nick) Morita
นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100
90/100 เก้าอี้ยาว Ishinomaki ออกแบบโดย Keiji Ashizawa และม้านั่ง AA ออกแบบโดย TORAFU ARCHITECTS ผลิตในปี พ.ศ. 2554 และ 2555 ตามลำดับ ภายหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิครั้งใหญ่ในภาคตะวันออกของญี่ปุ่น
นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100
100/100 รถไฟชินคันเซน รุ่น N700 Advanced ที่วิ่งได้เร็วสูงสุด 300 กม./ชม. ก็มากับเขาด้วย

สำหรับชาวเชียงใหม่และขอนแก่น อดใจรอกันอีกนิด กลางปีนี้ได้ชมกันแน่ ๆ แต่ชาวกรุงเทพฯ หรือพื้นที่ใกล้เคียงจากนี้มีเวลาอีกประมาณ 1 เดือน ในการมาชมนิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” Japanese Design Today 100 ซึ่งเปิดให้เข้าชมฟรี!

เราเองในฐานะที่มาชมแล้ว ขอบอกเลยว่าทั้งคุ้มค่าแก่เวลา และดีต่อใจมาก ๆ

“นิทรรศการนี้
สะท้อนเหตุผลว่าทำไม
งานออกแบบ แบบญี่ปุ่น
จึงไม่เคยล้าสมัย”

นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” JAPANESE DESIGN TODAY 100

นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” Japanese Design Today 100
จัดแสดงตั้งแต่วันที่ 24 เมษายน 2562 – 26 พฤษภาคม 2562
เปิดให้ชมทุกวันอังคาร-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์) เวลา 10.30 – 21.00 น.
ณ ห้องแกลเลอรี่ ชั้น 1 TCDC กรุงเทพฯ (เข้าชมฟรี)


แหล่งข้อมูลจาก : ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
เรียบเรียง : ND24
ภาพ : นันทิยา
อ่านต่อบทความแนะนำ

Designers’ Room & Talent Thai 2019
สำรวจสินค้าไลฟ์สไตล์ช่างคิดโดยเหล่าเลือดใหม่ จากเวที DESIGNERS’ ROOM & TALENT THAI 2019