ญารินดา บุนนาค สถาปนิกผู้ต่อยอดจินตนาการสู่ความสุขในงานสถาปัตยกรรม
ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director แห่ง Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ

คุยกับ ญารินดา บุนนาค แห่ง IMAGINARY OBJECTS ผู้ต่อยอดจินตนาการสู่ความสุขในงานสถาปัตยกรรม

พูดคุยกับ คุณญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-Founder และ Design Director ของ Imaginary Objects (IO) สตูดิโอออกแบบไซซ์เล็กที่มองถึงผลลัพธ์จากการออกแบบเป็นสำคัญ โดยมีจินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ไร้ขอบเขตเป็นเครื่องมือ

เพราะว่ากันว่าเหตุการณ์ที่ผ่านพ้นคือประสบการณ์ เช่นนั้นแล้วชีวิตประจำวันทุกวันก็เป็นเหมือนกับการเรียนรู้อย่างหนึ่ง ทั้งจากวัตถุที่อยู่ในมือ สถานที่ที่อยู่ตรงหน้า หรือพื้นที่ที่ใช้งาน และดูเหมือนว่าทุกสิ่งรอบตัวคือความสนใจของ ญารินดา บุนนาค และ Imaginary Objects

อ่าน : A Conversation with TIDA สนทนากับนายกสมาคมมัณฑนากรฯ

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director ของ Imaginary Objects (IO)

IO = จินตนาการ + ฟังก์ชัน

“ตั้งแต่เริ่มแรกเปิดออฟฟิศเมื่อสามปีก่อน เรามีไอเดียคร่าว ๆ คือ หนึ่ง-เราอยากทำงานแบบไหน สอง-เราอยากให้องค์กรเป็นอย่างไร ซึ่งหลังจากที่เราทำงานออฟฟิศอื่น ๆ มาสักพักหนึ่ง เราก็รู้สึกว่า เราอยากมีออฟฟิศเล็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องรับงานเยอะ เพื่อที่เราจะได้ทำทุกโปรเจ็คต์อย่างเต็มที่”

“ในแง่ของการทำงาน ก็เหมือนกับที่มาที่ไปของชื่อ Imaginary Objects ก็คือ เราสนใจทั้งเรื่องจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ที่สามารถผลิตผลงานออกมาได้จริง กับงานสถาปัตยกรรมที่เป็นงานเชิงฟังก์ชันมาก ๆ เราจะนำสิ่งที่เป็นจินตนาการกับสิ่งที่เป็นฟังก์ชั่นมาอยู่ร่วมกันอย่างสมบูรณ์แบบได้อย่างไร ซึ่งตั้งแต่เปิดออฟฟิศมา เราก็ทำงานตั้งแต่งานดีไซน์ช้อน ส้อม เฟอร์นิเจอร์ ไปจนถึงงานออกแบบวางผังแม่บทของย่านต่าง ๆ”

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director ของ Imaginary Objects (IO) ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director ของ Imaginary Objects (IO) ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director ของ Imaginary Objects (IO)

ให้ภาพเล่าความเป็นไปได้ใหม่

“เราให้ความสำคัญกับการนำเสนอเรื่องราวของแต่ละโปรเจ็กต์ และการสร้างสรรค์ภาพที่เล่าเรื่องราวค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นเราจะใช้เวลากับการคิดด้วยว่า แต่ละโปรเจ็กต์เราจะเล่าเรื่องผ่านภาพแบบไหน สังเกตดูได้จากภาพที่เราลงในไอจี หรือเว็บไซต์ เราจะนำเสนอภาพวาดค่อนข้างเยอะ เพราะภาพการนำเสนอแนวคิดของแต่ละโปรเจ็กต์ก็ควรที่จะเล่าเรื่องในตัวมันเอง พร้อมกับสร้างจินตนาการไปได้ด้วย”

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director ของ Imaginary Objects (IO)
Image : Imaginary Objects

“เรารู้สึกว่าทุกครั้งที่เราได้โจทย์มา ไม่ว่าจะเป็นอาคารประเภทไหน เราพยายามเน้นในการตั้งคำถามว่า เราจะสามารถสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับพื้นที่ว่างแต่ละพื้นที่อย่างไรบ้าง หรือกลับมาคิดใหม่ถึงความเป็นไปได้ในการสร้างฟังก์ชันรูปแบบใหม่ที่อาจไม่เคยเจอในพื้นที่อื่น เพื่อเสนอเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า

“ยกตัวอย่างโครงการโรงเรียนทอสี ตอนแรกเลยทางโรงเรียนมาคุยด้วยปัญหาที่ว่า จะต้องตัดถนนผ่านภายในโรงเรียนเพื่อให้รถเข้าออกได้ แล้วถนนเส้นนี้จะตัดผ่านสนามเด็กเล่นเดิมพอดี โจทย์แรกของเขาเลยก็คือ ต้องทำสนามเด็กเล่นใหม่ ส่วนโจทย์ที่สองก็คือการทำทางเดินเชื่อมแต่ละอาคารเข้าด้วยกัน”

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director ของ Imaginary Objects (IO)
Image : Imaginary Objects

“พอเราได้เข้าไปดูในโรงเรียน ก็เลยคิดว่าจริง ๆ แล้วเรามีวิธีการที่จะแก้ปัญหานี้ด้วยการนำเสนอสิ่งใหม่ เพราะเรารู้สึกว่า ทางเดินเชื่อมตัวนี้สามารถรวมพื้นที่ใช้สอยสำหรับโปรแกรมการใช้งานต่าง ๆ เข้าไปด้วย เราจึงนำสนามเด็กเล่นขึ้นไปอยู่บนทางเดินสกายวอล์ก ในส่วนบริเวณทางเดินที่ติดกับห้องสมุด เราก็ทำเวิ้งออกมาให้มีพื้นที่สำหรับเด็กทำการแสดงกลางแจ้งได้ ส่วนที่ทางเดินตัดผ่านแนวต้นไม้เก่า เราก็มองเหมือนเป็นเส้นทางธรรมชาติ ให้เด็ก ๆ ได้ออกมาดูใบไม้ เก็บแมลง เพราะอยู่ในความสูงระดับกิ่งไม้พอดี และในส่วนทางเดินที่ผ่านสนามฟุตบอล เราก็จะทำเป็นอัฒจันทร์สำหรับดูฟุตบอลได้เลย”

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director ของ Imaginary Objects (IO)Image : Imaginary Objects

พื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่แห่งโอกาส

“เราพบจุดเชื่อมโยงระหว่างโปรเจ็กต์โรงเรียนทอสีกับงานรีโนเวตโรงอาหารมหาวิทยาลัยกรุงเทพก่อนหน้านี้ นั่นคือพื้นที่ส่วนกลางเป็นส่วนสำคัญ และเป็นสิ่งที่ตัวเองให้ความสำคัญด้วย ส่วนใหญ่เวลาลูกค้าบรีฟงานมาก็จะพูดถึงพื้นที่ใช้งานเป็นหลัก แต่เรามาค้นพบตัวเองว่าเราชอบพื้นที่เหล่านั้น เพราะมันมีโอกาสที่จะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เพราะมันไม่ได้ถูกคิดมาล่วงหน้าว่าจะเป็นอะไร ดังนั้นฟังก์ชั่นมันสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามผู้ใช้งาน”

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director ของ Imaginary Objects (IO)
Image : Imaginary Objects

“อย่างเช่นสกายวอล์กของโรงเรียนทอสีที่ทางโรงเรียนตัดสินใจว่าให้มีแปลงปลูกผักให้ได้เด็กๆ ได้ปลูกผัก ปลูกดอกไม้ ซึ่งปกติเราไม่ค่อยได้เห็นกิจกรรมแบบนี้บนสกายวอล์ก นั่นก็เพราะพื้นที่ว่างเป็นพื้นที่ที่เต็มไปด้วยโอกาส”

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director ของ Imaginary Objects (IO)
Image : Imaginary Objects

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director ของ Imaginary Objects (IO)
Image : Imaginary Objects

“นอกจากพื้นที่สาธารณะ (Public Space) ที่เราสนใจเป็นพิเศษ อีกสิ่งหนึ่งที่ค้นพบว่าสนใจเช่นกันก็คือ งานออกแบบสำหรับเด็ก อย่างสนามเด็กเล่นนี้ที่ทำแล้วสนุก เพราะเราได้ใช้ความคิด ได้ทดลองไอเดียที่ปกติเราจะไม่ได้ใช้ และอีกอย่างหนึ่งคือ เรารู้สึกว่าเราเห็นความสุขของคนใช้งานชัดเจนมากเลย เพราะเด็กเวลาเขาเห็นเครื่องเล่น เขาปีน หัวเราะ เล่น วิ่งไม่หยุด มันเห็นชัดเจนมากว่า สถาปัตยกรรมทำให้คนมีความสุขได้จริง ๆ”

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director ของ Imaginary Objects (IO)

สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการเรียนรู้

“การมีพื้นที่ให้เด็กเล่นเยอะ ๆ ซึ่งพื้นที่เล่นไม่จำเป็นต้องมีโครงสร้าง หรือถูกจำกัดว่าต้องเป็นห้องที่มีของเล่น หรือเป็นห้องที่บุนวมทั้งหมด แต่จะต้องมีสเปซที่เอื้อให้เด็กได้เล่นอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ พื้นที่สำหรับเด็กเรามองว่าคือการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ภายใน-ภายนอก และแสงธรรมชาติเป็นเรื่องสำคัญมาก ส่วนพื้นที่ภายในอาคารก็ควรจะมีพื้นที่อเนกประสงค์ที่สามารถทำกิจกรรมได้หลากหลาย มองเห็นถึงกันได้ทั้งหมด เหมือนกับให้เด็ก ๆ ได้ออกแบบการใช้งานพื้นที่ด้วยตัวเอง”

ญารินดา บุนนาค สถาปนิกสาว Co-founder และ Design Director ของ Imaginary Objects (IO)


Imaginary Objects
FB: Imaginary Objects
IG: @imaginaryobjects_
Website: www.imaginaryobjects.co
Email: [email protected]


เรื่อง : Skiixy
ภาพ : อนุพงษ์, Imaginary Objects

facebook.com/roommag