บันทึกภาพ หัวลำโพง หรือ สถานีรถไฟ กรุงเทพ ก่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ
สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย

บันทึกภาพ ‘สถานีรถไฟ กรุงเทพ’ ก่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ

ก่อนทุกอย่างจะย้ายไปที่ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ นี่คือชุดภาพถ่าย สถาปัตยกรรม องค์ประกอบอาคาร การใช้งานพื้นที่ อาชีพ วิถีชีวิตของคนรถไฟ และคนใช้บริการรถไฟ ที่เราบันทึกได้จากการขออนุญาต การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินสำรวจ ‘สถานีรถไฟ กรุงเทพ’ และอาคารสำคัญ ‘ย่านสถานีกรุงเทพ’ ซึ่งทำให้เราได้เข้าใจ แปลกใจ และประทับใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้า และอยากนำกลับมาถ่ายทอดให้ทุกคนได้ชมกัน

สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย

เป็นที่รู้กันว่าชื่อของ “สถานีกรุงเทพ” หรือ “สถานีรถไฟ กรุงเทพ” นั้น ผู้คนทั่วไปมักเรียกกันติดปากว่า “หัวลำโพง” จนเราเองก็จำไปเรียกติดปากเช่นกัน

ว่ากันว่า หัวลำโพง เป็นชื่อที่เพี้ยนเสียงมาจาก “ทุ่งวัวลำพอง” ตามข้อสันนิษฐานด้านที่ตั้งซึ่งมีลำคลองและทุ่งนาที่มีฝูงวัววิ่งกันเตลิดในอดีต บ้างก็ว่าเป็นชื่อต้นไม้ที่เคยมีอยู่มากในบริเวณนี้อย่าง “ต้นลำโพง” แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรก็ตาม พื้นที่แห่งนี้ก็เปี่ยมด้วยประวัติศาสตร์และเรื่องราวมากกว่าร้อยปีที่ควรค่าแก่การบันทึกไว้ในความทรงจำอยู่ดี

ครั้งหนึ่งหัวลำโพงเคยเป็นหัวใจหลักด้านการคมนาคมของการรถไฟไทย ก่อนในเร็ววันนี้ หน้าที่ดังกล่าวจะถูกส่งไม้ต่อไปให้กับ “สถานีกลางบางซื่อ” ที่เป็นอนาคตและใกล้ที่จะเปิดให้บริการเต็มที และปล่อยให้ที่นี่เป็นเพียงอดีต ไม่ว่ามันจะถูกปรับปรุงหรือพัฒนาไปเป็นพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ก็ตามแต่

คอลัมน์ room Focus ครั้งนี้ เราได้เข้าไปบันทึกภาพ ‘สถานีรถไฟ กรุงเทพ’ ตลอดจนอาคารสำคัญใน ‘ย่านสถานีกรุงเทพ’ โดยได้รับความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการนำชมและให้ข้อมูล ซึ่งบางที่นั้นไม่เปิดให้คนทั่วไปสามารถเข้าชมได้

และนี่คือชุดภ่ายถ่าย “ครั้งหนึ่งที่หัวลำโพง” สถานีรถไฟกรุงเทพ ก่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ (ตอนที่ 1)

สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทยสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทยสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทยสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทยสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทยสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย

สถานีกรุงเทพ

แรกเริ่ม สถานีกรุงเทพ เมื่อช่วงสร้างขึ้นใหม่นั้นเป็นเพียงอาคารไม้ 2 ชั้น ตั้งอยู่หลังอาคารที่ทำการกรมรถไฟหลวง และมีเพียง 2 ชานชาลาเท่านั้น กระทั่งเมื่อมีจำนวนผู้โดยสารและสินค้าเพิ่มขึ้นจนอาคารสถานีกรุงเทพไม่สามารถรองรับและให้บริการได้อย่างเพียงพอ ในช่วงปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ราวปี พ.ศ. 2449 กรมรถไฟหลวงจึงริเริ่มสร้างสถานีกรุงเทพใหม่ให้มีความทันสมัย สวยงาม  รวมถึงสามารถเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมได้สะดวกมากกว่าขึ้น ในปี พ.ศ. 2453 โดยใช้พื้นที่ซึ่งห่างจากสถานีเดิมไปทางทิศใต้ประมาณ 500 เมตร และอยู่ใกล้กับปลายรางรถไฟสายปากน้ำ หรือที่ตั้งของสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) ซึ่งเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2459 จนถึงในปัจจุบัน

สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทยสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทยสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย

ด้านสถาปัตยกรรม สถานีกรุงเทพ มีแบบก่อสร้างเป็นรูปประทุนเรือ หรือ อาร์คโค้ง หรือ ทรงกระบอกฝ่าซีกสไตล์อิตาลี ผสานกับศิลปะยุคเรอเนซองซ์ มีลักษณะคล้ายกับสถานีรถไฟในเมือง Frankfurt (Main) Hauptbahnhof ในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี

องค์ประกอบที่สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน คือนาฬิกาเรือนใหญ่ที่อยู่ทั้งด้านหน้าและด้านในอาคารนั้น เป็นเอกลักษณ์ของเครื่องบอกเวลาที่มีอายุเก่าแก่เทียบเท่ากับอาคารสถานี ซึ่งในสมัยนั้นนับว่าเป็นนาฬิกาที่มีความทันสมัย และมีขนาดใหญ่ที่สุดของไทย นอกจากนี้ลวดลายต่าง ๆ ที่ประดับไว้ก็เป็นศิลปะงดงามไม่แพ้กัน เช่น กระจกสีบริเวณช่องระบายอากาศทั้งด้านหน้า และด้านหลัง ที่ติดตั้งกลมกลืนกับตัวอาคาร

สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย

สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย

อดีตโรงแรมราชธานี สู่สำนักงาน(ที่กำลังจะเป็นเพียงอดีตอีกครั้ง)

ครั้งหนึ่ง ขณะที่กิจการรถไฟหลวงกำลังดำเนินไปได้ด้วยดี กรมรถไฟเห็นว่าสถานีกรุงเทพ ควรมีโรงแรมชั้นหนึ่งเพื่อรองรับชาวต่างชาติ จึงเป็นที่มาของการเปิด “โรงแรมราชธานี” โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงแรม เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2470

โรงแรมราชธานี เป็นโรงแรมขนาดเล็ก มีจำนวน 10 ห้อง เท่านั้น แต่มีความทันสมัย ถูกสุขลักษณะ ห้องนอนแต่ละห้องมีระเบียงโดยเฉพาะ มีห้องอาบน้ำพร้อมน้ำก๊อกชนิดร้อนและเย็น และมีพัดลมและไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้พักซึ่งส่วนใหญ่เดินทางมาด้วยรถไฟ

ทว่าในปี พ.ศ. 2512 โรงแรมราชธานี ต้องปิดตัวลงเนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับโรงแรมที่เปิดใหม่ได้ ทำให้ในเวลาต่อมา การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงได้ปรับปรุงอาคารโรงแรมราชธานีเดิมกลายเป็นอาคารสำนักงาน และห้องรับรองจนถึงปัจจุบัน

สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทยสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย

จุดศูนย์กลางของรถไฟไทย

สถานีกรุงเทพ เป็นสถานีตั้งต้นของขบวนรถไฟสายสำคัญทุกสาย ทั้งยังเปิดเดินขบวนรถไฟไปทั่วทุกภูมิภาค และได้มีการปรับปรุงย่านสถานีมาโดยตลอด กระทั่งในเวลาต่อมากิจการรถไฟมีการขยายตัวทั้งด้านการโดยสารและการขนส่งสินค้าที่มากขึ้น เนื้อที่ 120 ไร่เศษ ของสถานีนั้นไม่สามารถรองรับความต้องการได้มากพอ เนื่องจากล้อมรอบด้วยถนนและคลองทั้ง 4 ด้าน คือถนนพระราม 4 ทางทิศใต้ คลองมหานาคทางทิศเหนือ ถนนรองเมืองทางทิศตะวันออก และคลองผดุงกรุงเกษมทางทิศตะวันตก การรถไฟแห่งประเทศไทยจึงย้ายกิจการขนส่งสินค้าไปอยู่ย่านสินค้าพหลโยธินในปี พ.ศ. 2503 แล้วปรับปรุงสถานีให้เป็นสถานีรถไฟสำหรับบริการด้านขนส่งมวลชนเพียงอย่างเดียว

หลังจากนั้น สถานีกรุงเทพ ก็ได้มีการปรับปรุงและต่อเติมอาคารสถานีอีกหลายครั้งเพื่อให้เพียงพอต่อการรองรับจำนวนผู้โดยสารทั่วประเทศที่เพิ่มมากขึ้น เช่น การขยายความยาวของชานชาลา การสร้างชานชาลา และหลังคาคลุมชานชาลาเพิ่มเติม ปรับปรุงห้องจำหน่ายตั๋วโดยแยกเป็นห้องจำหน่ายตั๋วประจำวัน และห้องจำหน่ายตั๋วล่วงหน้า ตลอดจนสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก รวมถึงร้านค้าต่างให้บริการผู้โดยสารและมาใช้บริการ

นอกจากนี้ อาคารสถานีกรุงเทพ ยังเชื่อมต่อกับสถานีรถไฟฟ้ามหานคร หรือรถไฟใต้ดิน MRT และเป็นท่ารถโดยสารประจำทางอีกหลายสาย ทำให้ผู้โดยสารสามารถเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทยสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย

ชานชาลาที่ไม่เคยเงียบเหงา

ปัจจุบันอาคารสถานีรถไฟกรุงเทพ มีทั้งหมด 12 ชานชาลา โดยแต่ละวันจะมีขบวนรถไฟกว่า 234 ขบวน เข้าออกตั้งแต่เวลาประมาณตี 4 ไปจนถึงรถขบวนสุดท้ายออกจากสถานีในเวลาเกือบเที่ยงคืน

ภาคเหนือให้บริการถึงสถานีเชียงใหม่ และสถานีสวรรคโลก ภาคใต้ ให้บริการถึงสถานีสุไหงโกลก และสถานีปาดังเบซาร์ ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟของประเทศมาเลเซีย เพื่อเดินทางต่อไปยังประเทศสิงคโปร์ สถานีกันตัง และสถานีนครศรีธรรมราช

ส่วนภาคตะวันออก ให้บริการถึงสถานีรอรัญประเทศ และสถานีรถไฟบ้านพลูตาหลวง ในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้บริการถึงสถานีอุบลราชธานี และสถานีหนองคาย ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับทางรถไฟของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

และภาคตะวันตก ให้บริการถึงสถานีรถไฟน้ำตก และสถานีสุพรรณบุรี

สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทยสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทยสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย

การปรับโฉมอาคารสถานีกรุงเทพครั้งใหญ่

ภายหลังการรถไฟทำการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในและภายนอกตัวอาคารใหม่ทั้งหมด ปัจจุบันเราจะสามารถสังเกตเห็น หลังคาที่ได้รับการปรับปรุงและต่อเติมใหม่ อาทิ หลังคาแบบแรงดึงสูงที่คลุมบริเวณชานชาลาด้านนอก การทาสีตัวอาคาร การติดตั้งเครื่องปรับอากาศระบบประหยัดพลังงานในโถงกลางสถานี เรื่อยไปจนการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณลานน้ำพุหัวช้าง และอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวง

พื้นผิวถนนบริเวณสถานีก็ได้รับการปรับปรุงให้อำนวยต่อการเดินทาง รวมถึงจัดพื้นที่สำหรับการเข้าถึงของผู้พิการตามหลักอารยสถาปัตย์สากล พร้อมติดตั้งจอ LED บอกเวลาขบวนรถ และระบบ CCTV ทั้งภายในและภายนอกสถานี  และเปิดให้บริการห้องจำหน่ายตั๋วโดยสาร สำหรับให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ

แม้อีกไม่นาน “สถานีกรุงเทพ” หรือ “สถานีรถไฟ กรุงเทพ” จะไม่ได้เป็นสถานีหลักของการคมนาคมโดยรถไฟไทยอีกต่อไป ถึงกระนั้นที่นี่ก็ยังได้ชื่อว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ทั้งทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม และการคมนาคมขนส่งที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เพื่อให้สมกับเป็นอาคารอนุรักษ์ศิลปะสถาปัตยกรรมดีเด่น จากสมาคมสถาปนิกสยามฯ ไม่ว่ามันจะเปลี่ยนไปเป็นพื้นที่สาธารณะหรือพื้นที่เชิงพาณิชย์ก็ตาม

สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทยสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทยสถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย

รอติดตาม Photo Essay ตอนที่ 2 ตึกแดง ตึกขาว และอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับการรถไฟแห่งประเทศไทยแบบเข้มข้น จาก National Geographic Thailand และ บ้านและสวน Baanlaesuan.com เร็ว ๆ นี้

การรถไฟแห่งประเทศไทย

ตึกแดง-ตึกขาว สำนักงานอายุร้อยปีของการรถไฟฯ


เรื่อง: นวภัทร (เขียน/เรียบเรียง) / เนื้อหาด้านประวัติบางส่วนจากเอกสารประชาสัมพันธ์ โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย
ภาพ: นวภัทร

อ้างอิง: เอกสารประชาสัมพันธ์ ประวัติ ตึกแดง ตึกขาว หัวลำโพง จากหนังสือ 100 ปีรถไฟไทย โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย