แม่แจ่มโมเดลพลัส x room หยุดปัญหาหมอกควันภาคเหนือ งานออกแบบ - room

แม่แจ่มโมเดลพลัส x room หยุดปัญหาหมอกควันภาคเหนือ ด้วยงานออกแบบ

แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ได้นำพาให้ทีมงานของ “บ้านและสวน” ไปลงพื้นที่ถึงอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำความเข้าใจการแก้ไขปัญหาฝุ่นควันและไฟป่าควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเรื่องสิทธิของชาวบ้านในการจัดการป่าไม้และที่ดิน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่ และเฟอร์นิเจอร์ที่น่าสนใจ ที่ทุก ๆ คนจะได้พบใน บ้านและสวนแฟร์ select 2021

แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ร่วมกับ room ในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่

เริ่มต้นด้วยการ “ทำความเข้าใจ”

วันแรกของการเดินทาง เราหมดไปกับการทำความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นที่แม่แจ่ม ผ่าน “คนทำงาน” ที่อยู่ในพื้นที่ นำทีมโดยคุณ เดโช ไชยทัพ ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) ที่มาอธิบายให้เราฟังถึง ต้นตอของปัญหาหมอกควันที่เกิดขึ้นที่นี่

หากกล่าวโดยสรุปก็คือ ปัญหาหมอกควันเหล่านี้ จะไปโทษเกษตรกรชาวไร่ข้าวโพดว่าบุกรุกผืนป่าก็ไม่ได้ เพราะรากของปัญหานี้มันลึกลงไปกว่านั้น “ปัญหาเรื่องสิทธิในการจัดการป่าไม้และที่ดิน” ของชาวบ้านนั้นเกิดข้อจำกัดขึ้นหลังการประกาศกฎหมายป่าสงวน พวกเขายังอาศัยทำกินอยู่บนที่ดินเดิม แต่สิทธิของพวกเขาได้หายไป

กาลเวลาผ่านไป การพัฒนาเกิดขึ้นอย่างเชื่องช้า ไม่ทันโลก และไม่ทันปากท้อง การเลือกปลูกพืชที่ขายได้อย่างแน่นอนจึงเป็นทางออกของพวกเขา และข้าวโพดอาหารสัตว์ พืชเชิงเดี่ยวที่ปลูกแล้วแทบไม่ต้องดูแลเป็นคำตอบของสิ่งที่เกิดขึ้น

สุดท้ายทางออกของหนึ่งปัญหาก็กลายเป็นปัญหาใหม่เมื่อความอุดมสมบูรณ์ของดินนั้นเสื่อมสลายไป การใช้สารเคมีต่าง ๆ จึงเป็นคำตอบ รวมถึงการแผ้วถางเตรียมพื้นที่เพื่อทำการเพาะปลูกเช่นกัน และนั่นคือปลายทางที่เรา ๆ ต่างรู้กันในชื่อของ “ปัญหาหมอกควันภาคเหนือ”

การแก้ปัญหาที่ถูกต้องจึงต้องลงไปที่ต้นตอ นั่นคือเปลี่ยนการปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพดอาหารสัตว์เพียงอย่างเดียว ให้เกิดเป็นกลไกของการปลูกพืชที่ยั่งยืน

ปัญหา แก้ได้ ด้วยต้นตอ

ถ้าปัญหานี้เกิดจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากจนเกินไป ถ้าอย่างนั้นเราก็เพิ่มพืชแบบอื่นเข้าไปให้กลายเป็นเกษตรผสมผสานเสีย และนี่ก็คือหนึ่งจากสองยุทธศาตร์ที่แม่แจ่มโมเดลพลัสได้เริ่มลงมือไปแล้ว

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างระบบน้ำสำหรับรูปแบบเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ซึ่งเกิดเป็นผลสำเร็จไปแล้วด้วยการวางท่อลำเลียงน้ำที่มาจากแหล่งต้นน้ำของดอยอินทนนท์ครอบคลุมพื้นที่ถึง 1,300 ไร่

ยุทธศาสตร์ที่ 2 คือการค่อย ๆ ผลักดันพืชทางเลือกอื่น ๆ เข้าไปเป็นการเปลี่ยนจากพืชเชิงเดี่ยวเป็นพืชทดแทน ซึ่งปัญหาใหญ่ของยุทธศาสตร์นี้ก็คือ “ตลาด” เพราะถ้าจะมองหาตลาดขนาดใหญ่อย่าง “ข้าวโพด” ก็คงยังไม่มีตลาดใดเทียบได้ และนั่นหมายถึงความเสี่ยงในปากท้องของเกษตรกรเอง เหตุนี้เองที่ทำให้ ไผ่ และเกษตรแบบ Organic Farm ได้เข้ามาเติมเต็ม

ไผ่ คำตอบของวันพรุ่งนี้ที่แม่แจ่ม

ไผ่คือพืชพื้นถิ่นโตเร็วที่มากด้วยความเป็นไปได้ในการใช้งาน ด้วยเหตุนี้เอง ในบรรดาพืชทดแทนหลากหลายชนิดพันธุ์ ‘ไผ่’ ถูกหยิบขึ้นมาเป็นไม้เบิกนำของแม่แจ่มโมเดลพลัส สำหรับให้ชาวบ้านปลูกผสมผสานร่วมกับพืชพรรณชนิดอื่น ๆ รวมถึงข้าวโพดในไร่เดิมของตนเอง

เหตุผลหลักก็คือความโตไว โตง่าย โดยไม่ต้องการการดูแลที่มากนัก เหตุผลต่อมาคือไผ่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลายในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน ทั้งเป็นอาหาร เครื่องใช้ จนไปถึงเฟอร์นิเจอร์นิเจอร์และโครงสร้างอาคาร การปลูกไผ่จึงเป็นประโยชน์ตั้งแต่เริ่มปลูกแล้ว ยังไม่นับว่านำไปขายได้หากปลูกอย่างจริงจัง

นอกจากนี้ประโยชน์ทางอ้อมของไผ่ก็คือการที่เป็นพืชที่สามารถกักเก็บน้ำได้ดี ทำให้ดินชุ่มชื้น รากไผ่ที่ช่วยยึดหน้าดินและตรึงไนโตรเจนให้ดินมีคุณภาพ ทั้งใบก็สามารถนำไปหมักเป็นปุ๋ยได้

ไผ่ จึงเป็นเเหมือนพืชทางออกที่สามารถนำมาปลูกแซมไปกับไร่ข้าวโพดได้อย่างกลมกลืน และส่งเสริมกัน โดยแม่แจ่มโมเดลพลัสนั้นมีไผ่ที่ทดลองปลูกอยู่หลากหลายตามการใช้งานต่าง ๆ แต่ที่เน้นเป็นพิเศษคือพันธุ์ “ฟ้าหม่น” ที่เป็นพันธ์ุพื้นเมืองจากอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ เพราะสามารถปลูกใช้ได้ภายใน 2-3 ปี แปรรูปได้หลากหลายทั้งของใช้ เฟอร์นิเจอร์ และโครงสร้างอาคาร

ปัจจุบันอำเภอแม่แจ่มมีพื้นที่ต้นไผ่แล้วประมาณ 2,000 ไร่ โดยแทรกอยู่ตามพื้นที่ไร่ข้าวโพด โดยแผนหลังจากนี้คือขยายพื้นที่เพาะปลูกต่อไปเรื่อย ๆ และภายใน 3 ปี จะปลูกเพิ่มพื้นที่ปลูกไผ่เป็น 20,000 ไร่ ให้ได้

โรงงาน(ไผ่)สร้างป่า
ตลาดที่ยั้งยืนของพืชทดแทน

“โรงงานสร้างป่า” หนึ่งในประตูสู่กระบวนการสร้างมูลค่าใหม่ให้กับการเกษตรที่แม่แจ่ม โรงงานไผ่แห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับ “ไผ่” จากชาวบ้านเพื่อแปรรูปให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายออกไปสู่ตลาด

โรงงานที่ได้มาตรฐานที่ดี จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ดีพอในตลาดสากล ที่โรงงานแห่งนี้เริ่มต้นตั้งแต่การแช่น้ำยาเพื่อป้องกันปลวกและทำให้ไผ่มีความคงทนขึ้น โรงตากที่เหมือนเป็นโรงเก็บสต๊อกไม้ไผ่ และ โรงแปรรูปที่มีเครื่องมือหลากหลาย สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมทุกการใช้งานและรูปแบบที่จะต้องถูกพัฒนาในอนาคต

เมื่อมีตลาดรองรับ ชาวบ้านก็จะมีทางออกให้กับผลิตผลที่ได้จากการปลูกไผ่ ทำให้เกษตรกรเริ่มยอมรับการปลูกพืชทดแทนเพิ่มเติมนอกเหนือไปจากไร่ข้าวโพดที่เริ่มไม่ใช่ทางออกและกลไกยุทธศาสตร์ที่ได้วางไว้จึงเริ่มทำงาน อย่างน้อยก็สบายใจได้ว่าไผ่ที่ปลูกจะมีคนรับซื้อ

แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ร่วมกับ room ในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ร่วมกับ room ในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ร่วมกับ room ในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ร่วมกับ room ในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ร่วมกับ room ในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ร่วมกับ room ในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ร่วมกับ room ในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่

ทวีมูลค่าด้วย “งานออกแบบ”

แต่แค่ขายได้ อาจจะยังไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุด เพราะผลิตภัณฑ์ที่ดีต้องทวีมูลค่าได้ด้วยตัวเอง หลักใหญ่อีกข้อของ “โรงงานไม้ไผ่” จึงเป็นสิ่งที่ถูกคิดมาเพื่อ “เพิ่มมูลค่า” ให้กับไม้ไผ่ด้วย “งานออกแบบ” และนี่คือสาเหตุที่บ้านและสวน รวมทั้ง room ได้ขึ้นไปหาชาวแม่แจ่มในครั้งนี้เช่นกัน

เมื่อมีวัตถุดิบที่ดีแล้ว การนำไปทวีมูลค่าจึงเป็นหน้าที่ของนักออกแบบ ในวันนี้โรงงานไม้ไผ่แห่งนี้อาจยังไม่ได้มีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น แต่ในอนาคตอีกไม่นานเราน่าจะได้เห็นงานออกแบบดี ๆ ที่ส่งออกไปยังตลาดสากล โดยคนแม่แจ่มเองในที่สุด

แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ร่วมกับ room ในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ร่วมกับ room ในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่
แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ร่วมกับ room ในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่

จากแม่แจ่ม สู่เมือง เพื่อกลับคืนสู่ชุมชน

จากฝีมือและแรงงานจากชาวชุมชนที่แม่แจ่มเอง บ้านและสวน และ roomได้เข้าไปร่วมพัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงาน “บ้านและสวนแฟร์” ได้เป็นผลสำเร็จ นั้นก็คือ “Partition ไม้ไผ่” ที่ทุกท่านจะเห็นได้ในหลายๆส่วนของงานในครั้งนี้ รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ไม้ไผ่อันหลากหลายกระจายอยู่ในทุกพื้นที่

ซึ่งผลงานทั้งหมดนี้ สุดท้ายแล้วจะกลายเป็นสะพานเชื่อมดีไซเนอร์ไม่ไผ่จากชาวแม่แจ่มทั้งหลายสู่ตลาดเมือง อันจะเป็นผลให้การพัฒนาครั้งนี้ยั่งยืนและเกิดผลลัพธ์ในวงกว้างไปในอนาคต

นิทรรศการ ใน room Showcase

เพราะปีนี้ room Showcase ในบ้านและสวนแฟร์ select 2021 ดีไซน์แฟร์แรกของปีนี้ รวมถึงพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆได้เลือกใช้งานออกแบบจากไม้ไผ่ที่มาจากแม่แจ่ม ซึ่งนอกจากจะมีชิ้นงานการออกแบบของชุมชนมาจัดแสดง ทีมงานบ้านและสวนแฟร์ยังได้ทำร่วมกับทีมแม่แจ่มโมเดลพลัส ออกแบบชิ้นงานไม้ไผ่จากชุมชนและหน่วยงานในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อใช้เป็นส่วนตกแต่งบู๊ธ และโซนอื่น ๆ ภายในงาน ด้วยแนวคิดที่จะพัฒนาความสามารถของชุมชนที่เป็นแหล่งผลิตอีกด้วย ซึ่งทุกท่านจะได้พบกับนิทรรศการบอกเล่าที่มาของผลิตภัณฑ์จากไผ่แม่แจ่มโดยละเอียดในโซนนิทรรศการของ room Showcase อย่างแน่นอน

ไม้ไผ่ชุดนี้อาจจะเป็นเพียงส่วนตกแต่งในนิทรรศการของงาน “บ้านและสวนแฟร์” แต่มากกว่านั้นคือทางเลือกใหม่ ๆ ที่จะทำให้ชาวแม่แจ่มได้มองเห็นการสร้างรายได้ และการทำเกษตรกรรมที่รักษ์โลกมากกว่าที่เคย

แล้วพบกันที่บ้านและสวนแฟร์ select 2021 วันที่ 17-21 มีนาคม 2564 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา
#บ้านและสวนแฟร์ #บ้านและสวนแฟร์select2021

แม่แจ่มโมเดลพลัส โครงการที่เป็นตัวอย่างของการแก้ปัญหาป่าไม้และที่ดินบนดอย แม่แจ่ม  ร่วมกับ room ในการรังสรรค์ผลิตภัณฑ์ไม้ไผ่

เรื่อง : Wuthikorn Sut
ภาพ : อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม

ส่องไฮไลต์ งานบ้านและสวนแฟร์ Select 2021