IBOBI SUPER SCHOOL โรงเรียนอนุบาลที่จะทำให้เด็กๆ ร้องอยากจะไปเรียนรู้ วิ่งเล่น เจอเพื่อน แบบลืมพ่อแม่ไปเลย
IBOBI SUPER SCHOOL โรงเรียนอนุบาลแห่งนี้ตั้งอยู่ที่เมือง Dachong ศูนย์เทคโนโยลีในเซินเจิ้น ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวมของบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำต่างๆ มีความหนาแน่นของประชากรและอัตราส่วนที่ดินสูง พ่อแม่ของที่นี่จึงหวังให้ลูกๆ ได้มีโรงเรียนอนุบาลที่สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางความหนาแน่น วุ่นวายของเมืองนี้ โดยพื้นที่โครงการตั้งอยู่บนชั้นสองของห้างสรรพสินค้า บริเวณเทอเรซซึ่งเป็นพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ขนาดใหญ่ไม่กี่ที่ในเมือง
ฟังก์ชั่นที่ยืดหยุ่นสู่ความคิดที่ไม่มีที่สิ้นสุดทีมผู้ออกแบบต้องการใช้พื้นที่เอ๊าต์ดอร์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเทียบเป็นสัดส่วนที่เยอะของพื้นที่ทั้งหมด นำมาสู่การตั้งคำถามว่า พื้นที่เรียนรู้เอ๊าต์ดอร์แบบไหนที่เด็กๆ ต้องการ? ต้องการเชื่อมต่อกับธรรมชาติ? ต้องการที่วิ่งเล่น? หรือต้องการเครื่องเล่นที่น่าตื่นเต้น?
ทีมจึงกลับมาคิดทบทวนถึงการเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่เอ๊าต์ดอร์กับเด็กๆ โดยพยายามหาความเป็นไปได้ใหม่ๆระหว่าง “สนามเด็กเล่น” “สนามกีฬา” “สวน” และ “ห้องเรียน
เริ่มต้นจากหาความเป็นไปได้ในการบรรจุกิจกรรมกลางแจ้งอย่าง กีฬา ศิลปะและคลาสคราฟต์ การแสดงกลางเเจ้ง กิจกรรมสำหรับงานโอเพ่นเฮ้าส์ งานปาร์ตี้ตอนกลางคืน งานเทศกาลอาหารสำหรับเด็ก และ งานเทศกาลศิลปะสำหรับเด็ก กิจกรรมทั้งหมดนี้สามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ กีฬากลางแจ้ง ห้องเรียนกลางแจ้ง และเทศกาลกลางแจ้ง แต่จะทำอย่างไรได้บ้างหากเราไม่ต้องการแบ่งกิจกรรมเหล่านี้ออกเป็นสามโซน ทั้งยังมีพื้นที่ไม่เพียงพอสำหรับการแยกฟังก์ชั่นขนาดนั้น ทางออกคือการผสานทุกฟังก์ชั่นเข้าไว้ด้วยกัน
เวลาที่เด็กๆ ต้องการแข่งขันทางกีฬา พื้นที่ทั้งหมดสามารถใช้เป็นที่วิ่งเล่น ซึ่งถูกคิดเผื่อเรื่องความปลอดภัยไว้แล้วและความยืดหยุ่นในการปรับให้เข้ากับการเล่นกีฬาประเภทต่างๆ หรือในช่วงที่โรงเรียนต้องการจัดงานอีเว้นต์ “big tree platform” จะถูกเปลี่ยนเป็นเวที และ “gardening area” จะกลายเป็นทางเดิน
เมื่อพื้นที่ใช้งานถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นแล้ว ก็มุ่งหวังให้ความคิดของเด็กๆ ไม่ถูกตีกรอบเช่นกัน พื้นที่จึงไม่ได้ออกแบบเหมือนสนามเด็กเล่นทั่วไป แต่ให้เด็กๆ ได้จินตนาการเองแบบเปิดกว้าง เช่น ส่วนของสวนที่สามารถเป็นพื้นที่ลื่นไถล หุ่นยนต์ในส่วนวิทยาศาสตร์เป็นทั้งมาสคอตสุดน่ารักและรังนกไปในตัว ที่นั่งบางโซนสามารถใช้แทนการเล่น “single-plank bridges” หรือ “boating game” เราต้องการกระตุ้นเด็กๆ ให้เกิดความสงสัยและพร้อมที่จะหาคำตอบ
การออกแบบใช้พื้นฐานของ Bloom’s Taxonomy of Educational Objectives by Benjamin Bloom เราพยายามฝึกทฤษฎีจิตที่เสนอโดยปรัชญาการออกแบบของเบนจามินในการออกแบบพื้นที่สำหรับเด็ก อุปกรณ์สนามเด็กเล่นได้รับการออกแบบอย่างมืออาชีพและเข้มงวดเพื่อให้การทำงานและประสบการณ์เป็นสัญลักษณ์ทางสายตา เพื่อให้เด็กๆ สามารถจินตนาการในการสำรวจและทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมได้
ส่วนของห้องครัวออกแบบให้เป็นหน้าต่างโปร่งใสที่เด็กๆ สามารถมองเห็นข้างในได้เพื่อให้สามารถสำรวจอาหารที่พวกเขาต้องกินในทุกวัน ถัดไปจากครัวจะเป็น “Children’s Kitchen” ที่ที่เด็กๆ สามารถปรุงอาหารได้ด้วยตัวเองและพื้นที่นั่งรับประทานอาหารแบบเปิดโล่ง
ขอบเขตระหว่างห้องเรียนในอาคารและพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ถูกทำให้เลือนลางด้วยเฉลียง ที่สามารถเดินเข้า-ออกได้อย่างอิสระแม้ว่าจะมีอากาศที่แตกต่างกัน ทางเดินถูกปรับให้อยู่ในระดับเดียวกันกับห้องเรียนเพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย ไม่เกิดอันตราย.นอกจากนี้ยังพยายามเพิ่มต้นไม้ในส่วนของพื้นที่เอ๊าต์ดอร์ แต่เนื่องจากพื้นที่ตั้งอยู่บนระเบียงชั้นสองทำให้ไม่สามารถปลูกต้นไม้เหมือนอยู่บนดินได้ จึงปรับเป็นการปลูกไม้ดอกกระจายตามที่ต่างๆ เพื่อเพิ่มความสดชื่นแทน แทรกไว้ด้วยหญ้าสีเงินที่ชวนให้คิดถึงบรรยากาศแบบชนบท
ออกแบบ: VMDPE design
ภาพ: ZC STUDIO
เรียบเรียง: BRL