Building of the Year 2017 ปีนี้ เป็นประเพณีทุกปี ที่เว็บไซต์ด้านสถาปัตยกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก อย่าง Archdaily จะจัดมอบ รางวัลอาคารแห่งปี หรือ Building of the Year 2017 ให้กับอาคารผู้เข้าประกวด จากทั่วโลก จากทั้งหมด 3,500 โปรเจ็กต์ ถูกโหวตให้เหลือเพียง 80 โปรเจ็กต์ในรอบที่สองกับ 16 สาขา ก่อนจะโหวตอีกรอบ เพื่อหาผู้ชนะของแต่ละสาขา ซึ่ง ณ ขณะนี้ก็ดำเนินมาถึงรอบที่ 2 แล้ว และเป็นที่น่าภูมิใจ ที่งานสถาปัตยกรรมจากประเทศไทย ได้รับคะแนนเสียง มาถึงรอบชิงชนะเลิศ และกำลังรอคะแนนโหวตจากแฟนๆ เพื่อให้ถึงฝั่งฝัน หลังจากโหวตนางงามแล้ว ขอแบ่งใจมาโหวตให้สถาปัตยกรรมจากไทย ในเวทีโลกกันด้วยคน
สาขาสถาปัตยกรรมเชิงพาณิชย์ Commercial Architecture
THE COMMONS ออกแบบโดย Department of Architecture
คอมมูนิตี้มอลล์ใจกลางทองหล่อ กับคอนเซ็ปต์ “Wholesome Living” การใช้ชีวิตอย่างใส่ใจสุขภาพ พร้อมกับความตั้งใจที่จะเป็นพื้นที่สาธารณะ ให้คนได้ออกมาพบปะพูดคุยกัน คอมมูนิตี้แห่งนี้ จึงเน้นความเป็นชุมชน ด้วยการออกแบบอาคาร ให้มีช่องโปร่ง และทุกส่วนสามารถมองเห็นกันได้ทั้งหมด และที่ตอบโจทย์ความเป็นศูนย์รวมของชุมชนมากที่สุด นั่นก็คือบันไดส่วนหน้า ที่ทำหน้าที่เสมือนเป็นอัฒจันทร์ขนาดยักษ์ สำหรับสาธารณประโยชน์อย่างแท้จริง
อ่านต่อได้ที่ : THE COMMONS
ช่องทางการโหวต : http://boty.archdaily.com/us/2017/candidates/105899/the-commons-department-of-architecture
สาขาสถาปัตยกรรมงานบริการ Hospitality Architecture
YELLOW SUBMARINE COFFEE TANK ออกแบบโดย บริษัทสถาปนิกชั้นสอง
ร้านกาแฟกลางป่า ที่สร้างคาแร็กเตอร์ให้เป็นที่จดจำจากโจทย์ “การสร้างร้านกาแฟที่เพิ่มมูลค่าให้พื้นที่” สถาปนิกจึงได้ตีความโครงการ โดยให้สถาปัตยกรรมเกิดความสัมพันธ์ กับบริบทด้วยการเสียดสีกับคำว่า “เข้ากับบริบท” ผ่านมุมมองใหม่ด้วยการวางแนวอาคาร ที่มีแปลนเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ให้ขวางแนวความชัน (Contour) ของพื้นที่ สถาปัตยกรรมจึงสามารถพิสูจน์ตัวเองว่า การปฏิเสธบริบทก็เป็นอีกวิธี ในการนำเสนอตัวตน ให้ควรค่าแก่การจดจำ และบอกต่อ
อ่านต่อได้ที่ : YELLOW SUBMARINE
ช่องทางการโหวต : http://boty.archdaily.com/us/2017/candidates/104679/yellow-submarine-coffee-tank-secondfloor-architects
สาขาสถาปัตยกรรมภายใน Interior Architecture
HUBBA-TO ออกแบบโดย Supermachine Studio
Co-working Space ที่เป็นมากกว่าพื้นที่สำหรับนั่งทำงาน แต่คือพื้นที่ที่แวดล้อม ด้วยบรรยากาศสร้างสรรค์ พร้อมด้วยเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการทำงานคราฟต์ หลากประเภท ความโดดเด่นของพื้นที่คือ เส้นสายกราฟิกสีฟ้าสดที่เชื่อมโยงทุกพื้นที่ ให้เข้าหากันเป็นอันหนึ่งอันเดียว ผสานกับการใช้วัสดุแปลกใหม่ กรุผนังห้องประชุม อย่างพลาสติกสีแบบเดียวกับที่ใช้ในห้องเย็น ซึ่งเมื่อใช้นานเข้าพลาสติกก็จะขุ่นขึ้น จากความโปร่งใส แปรเปลี่ยนเป็นเพียงเงาที่เคลื่อนไหว รักษาความเป็นส่วนตัว แต่ก็ยังคงเชื่อมกับบรรยากาศภายนอกได้อย่างดี
อ่านต่อได้ที่ : HUBBA-TO
ช่องทางการโหวต : http://boty.archdaily.com/us/2017/candidates/105069/hubba-to-supermachine-studio
เรื่อง : skiixy
ภาพ : แฟ้มภาพนิตยสาร room