สร้างบ้านอย่างไรให้พร้อมรับภัยน้ำท่วม! - room magazine

สร้างบ้านอย่างไรให้พร้อมรับภัยน้ำท่วม!

ปฏิเสธไม่ได้ว่า ภัยน้ำท่วมในประเทศไทยเกิดบ่อยครั้ง รุนแรงและใกล้ตัวมากขึ้น ยิ่งช่วงนี้เริ่มเข้าสู่หน้าฝนแล้วจึงต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ทำให้หลายคนตื่นตัวเรื่องการสร้างบ้านเพื่อรับมือภัยพิบัติกันมากขึ้น และไม่ใช่แค่ในพื้นที่เสี่ยงเท่านั้น

เมื่อพูดถึงการเตรียมบ้านให้แข็งแรงทนทาน สามารถต้านทานน้ำท่วมได้จริง คนส่วนใหญ่ก็จะอาจจินตนาการไปถึง บ้านที่มีโครงสร้างใหญ่ๆ หรือบางคนอาจจินตนาการไปไกลถึงบ้านที่ลอยน้ำ หรือลอยอยู่ในอากาศ หรือเต็มไปด้วยเทคโนโลยีล้ำๆ เหมือนหนัง Sci-fi แต่จริงๆแล้วสามารถทำได้ด้วยการออกแบบโครงสร้างและเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสม room ขอยกตัวอย่าง อาคารหรือบ้านที่หน้าตาเรียบง่าย และธรรมดา แต่สามารถต้านทานภัยธรรมชาติอย่างน้ำท่วมได้อย่างไม่น่าเชื่อ

บ้านรับมือน้ำท่วมที่ว่านี้ ได้บริษัทเหล็กสยามยามาโตะ จำกัด หรือ SYS ผู้ผลิตเหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนได้ร่วมกับกองทัพเรือ สร้างและมอบบ้านโครงสร้างเหล็กเอชบีม (H-Beam) ให้ผู้ประสบภัยจำนวน 5 หลังในจังหวัดชุมพร จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในภาคใต้ตั้งแต่ปลายปี 2559 จนถึงต้นปี 2560โดยบ้านทั้ง 5 หลังนี้ ได้รับการออกแบบใต้ถุนให้สูงขึ้น และโครงสร้างหลักๆ สร้างด้วยโครงสร้างเหล็กเอชบีม (H-Beam) ของเหล็กสยามยามาโตะ ทำให้บ้านจะมีความแข็งแรงคงทน สามารถรับน้ำหนักได้ดี ประกอบกับการออกแบบตัวบ้านให้ลดการปะทะจากแรงลม และกระแสน้ำไหลหลาก พร้อมกับมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น และมีความรวดเร็วในการสร้าง จึงช่วยเยียวยาผู้ประสบภัยได้อย่างทันท่วงที และยังสามารถป้องกันการเสียหายได้ในระยะยาวอีกด้วย

TIPS

  • ยืมภูมิปัญญาไทยอย่างการยกใต้ถุนบ้านมาประยุกต์ใช้กับบ้านสมัยใหม่โดยยกตัวบ้านให้อยู่เหนือระดับน้ำที่เคยท่วมสูงสุดและให้ดูความเหมาะสมกับสัดส่วนของตัวบ้าน อีกทั้งยังสามารถมีพื้นที่ใช้สอยบริเวณใต้ถุนบ้านได้อีกด้วย
  • โครงสร้างฐานรากใช้แบบตอม่อและควรหล่อตอม่อยกตัวโครงสร้างเหล็กให้อยู่สูงจากระดับพื้นดิน เพื่อป้องกันความชื้นจากดิน
  • เลือกใช้โครงสร้างเหล็กเนื่องจากมีน้ำหนักเบาเมื่อเกิดแผ่นดินไหว จะทำให้อาคารได้รับความเสียหายน้อยกว่าโครงสร้างที่มีน้ำหนักมาก เช่น พวกโครงสร้างคอนกรีต อีกทั้งโครงสร้างคอนกรีตยังมีความเปราะ หากเกิดการสั่นไหวจะทำให้มีการแตกร้าวและพังลงมาได้ง่ายกว่าโครงสร้างเหล็ก
  • เลือกทำโครงสร้างบ้านจากโครงเหล็กกล้าและเคลือบป้องกันสนิมเพื่อให้ใช้งานได้ในระยะยาว
  • รอยเชื่อมและข้อต่อระหว่างเสากับคานควรมีการถ่ายเทน้ำหนักได้ดีโดยใช้รอยต่อแบบขันสลักเกลียวเพื่อความแข็งแรงและรวดเร็วในการก่อสร้าง
  • งานอาคารหากต้องการความรวดเร็วในการก่อสร้าง และวัสดุก่อสร้างที่มีน้ำหนักเบาแนะนำเป็นผนัง Smart board ที่มีความยืดหยุ่น ทนความชื้นและแข็งแรง

 บ้านโครงสร้างเหล็ก

 

Did you Know ?

H-Beam  คือเหล็กที่มองจากหน้าตัดแล้วจะเป็นรูปตัว เอช (H) ตั้งตะแคง (ปีกเหล็กจะยาวและเป็นเส้นตรง) นิยมใช้ทำเสาและคานสำหรับโครงสร้างขนาดย่อมๆ เช่น บ้าน หรืออาคารขนาดเล็กเนื่องจากสามารถนำมาดัดแปลง ต่อเติม รื้อถอนได้ง่าย และยังสามารถนำกลับมาใช้งานใหม่ได้อีกครั้ง โดยปกติแล้ว นิยมใช้เหล็ก   เอชบีม หรือที่เรียกกันติดปากว่า “ไวด์แฟลงก์” เพื่อลดขนาดความลึกของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก ยิ่งไปกว่านั้นหากนำคานเหล็กเอชบีม ไวด์แฟลงก์ มาเปรียบเทียบกับคานคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วไปที่มีขนาดเท่ากัน จะพบว่าคานเหล็กเอชบีม ไวด์แฟลงก์ สามารถรับน้ำหนักได้มากกว่า

ดังนั้นจึงมั่นใจได้ในการเลือกเหล็ก H -Beam สำหรับงานโครงสร้างที่แข็งแรง ทนทาน จะเกิดแผ่นดินไหว พายุพัดกระหน่ำหรือภัยน้ำท่วม ก็จะไม่ถล่มลงมาแน่ๆ

 

 

ขอขอบคุณข้อมูล
บริษัทเหล็กสยามยามาโตะ จำกัด (SYS)
ชั้น 7 อาคารสำนักงานใหญ่ 2 เลขที่ 1 ถนนปูนซิเมนต์ไทย เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ
โทร. 0-2586-7777 แฟกซ์ 0-2586-2687

E-Mail : [email protected], www.syssteel.com
Facebook : @syssteel , Line@ : @syssteel

 

อ่านต่อตัวอย่างบ้านโครงสร้างเหล็ก :

http://www.baanlaesuan.com/53498/ideas/steel-structure-tips/

http://www.baanlaesuan.com/12960/ideas/daily-idea-steel-structure/

http://www.baanlaesuan.com/52902/design/earthquake-resistant-school-buildings/