ภาพงานสถาปัตยกรรมภาพหนึ่งอาจจุดประกายความ สนใจหรือสะกิดต่อมความสงสัยใคร่รู้ถึงแนวคิดของ สถาปนิก แรงบันดาลใจของเจ้าของบ้าน ไปจนถึงวัสดุ หรือกระบวนการสรรค์สร้าง แต่บางครั้งเรากลับลืมนึกถึง ผู้สร้างสรรค์ภาพถ่ายภาพนั้น ๆ
“ นักถ่ายภาพสถาปัตยกรรม ” อาจไม่ใช่อาชีพหรือ ตำแหน่งที่คุ้นเคยของใครหลายคน หากแต่เป็นนัก สร้างสรรค์อีกแขนงที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าช่างภาพ แขนงอื่น ๆ สถาปัตยกรรมที่เรา “เห็น” ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ตึก หรืออาคาร พวกเขา “มอง” ว่าเป็นมากกว่าสิ่ง ก่อสร้าง ความงามในบางแง่มุมกลายเป็นสิ่งน่าหลงใหล ชวนให้ต้องแบกกล้องออกไปเก็บภาพ ณ ห้วงวินาทีที่แสงและเงาทอดผ่าน ให้อยู่ในรูปแบบของความทรงจำ สองมิติที่เรียกว่า “ภาพถ่าย”
หลาย ๆ ครั้งนักถ่ายภาพสถาปัตยกรรมก็คล้ายเป็น ส่วนหนึ่งในทีมสถาปนิก เพราะเขาคือผู้ที่เข้าใจ และสามารถถ่ายทอดกระบวนความคิดของสถาปนิกออกมาให้ ผู้ที่ไม่มีโอกาสไปเยือนสถาปัตยกรรมแห่งนั้นได้รับรู้อย่างครบถ้วน โดยช่างภาพแต่ละคนอาจถ่ายทอดบ้านหลังเดียวกันออกมาเป็นภาพที่แตกต่างกัน เพราะนอกเหนือไปจากการนำเสนอความจริงของสิ่งก่อสร้าง พวกเขายังต้องใส่มุมมองความงามอันเป็นปัจเจกของตนเข้าไปด้วย
เพื่อพิสูจน์แนวคิดดังกล่าว room จึงชวนนักถ่ายภาพ มาบันทึกความจริง ภายใต้โจทย์ที่เรียบง่าย ตรงไปตรงมา ที่สุด “Truth to Materials” กับการนำเสนอความจริง ของวัสดุในสถาปัตยกรรม ความจริงที่อาจไม่ได้มีเพียง มุมมองเดียว
TRUTH TO MATERIALS : ความจริงของวัสดุ
“ถ้าพวกคุณพูดกับอิฐ”
“อิฐ…นายอยากเป็นอะไร”
หลุยส์ คาห์น (Louis Kahn) สถาปนิกในตำนาน ผู้ล่วงลับชวนนักเรียนของเขาตั้งคำถามในชั้นเรียน
“พวกคุณพูดกับอิฐ ‘อิฐ…นายอยากเป็นอะไร’” แล้วก้อนอิฐตอบคุณ “ฉันอยากเป็นโครงสร้างโค้ง” แล้วถ้าคุณตอบกลับไป “คืออย่างนี้นะ…จะทำโครงสร้าง โค้งนั้นแพงและสิ้นเปลือง ถ้าฉันเรียงนายเป็นเส้นตรง ด้วยปูนแทน นายจะว่าไง” อิฐตอบ “ฉันอยากเป็น โครงสร้างโค้ง”…คุณเห็นหรือเปล่า การให้เกียรติวัสดุ ที่คุณใช้คือสิ่งสำคัญ คุณให้เกียรติอิฐ ให้ความเคารพมัน แทนที่จะสบประมาทศักยภาพของมัน”*
หลุยส์ คาห์น ปรมาจารย์ด้านสถาปัตยกรรมของ โลก เขาได้รับการยกย่องมาตั้งแต่ทศวรรษ 1950 ในฐานะ ของผู้ที่ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านแสง เงา ที่ว่าง วัสดุของงาน สถาปัตยกรรมได้อย่างลึกซึ้ง
“อิฐ” ในความหมายของเขานั้น น่าจะหมายถึง วัสดุใด ๆ ก็ตามที่สามารถสื่อสารกับผู้สร้างได้ มีความ ต้องการของตัวเอง มีเกียรติ มีความคิด และมีสิ่งที่ ต้องการ นั่นคือสิ่งที่เขาเชื่อ และเป็นวิธีสร้างสรรค์ของเขา
การสร้างงานสถาปัตยกรรมด้วยความเข้าใจวัสดุ อย่างลึกซึ้งถึงแก่นนี้เอง จึงทำให้งานของหลุยส์ คาห์น กลายเป็นต้นแบบ และชื่อของเขาก็ส่งอิทธิพลต่อสถาปนิก ทั่วโลก
ในฐานะสิ่งห่อหุ้มและก่อร่างสิ่งแวดล้อมรอบตัว เรา อาจเพิกเฉยต่อ “วัสดุ” ใกล้ตัวมากกว่าที่คิด
เพราะเมื่อสิ่งที่อยู่รอบตัวเราต้องการสื่อสาร ใคร จะทันสนใจดูหรือฟัง เสียงตะโกนหรือเสียงกระซิบ ไม่ว่า เรื่องนั้นจะสลักสำคัญมากน้อยเพียงใด
นอกจากผู้ที่เฝ้ามองมันอย่างใจจดจ่อ
*ที่มา จากภาพยนตร์สารคดี เรื่อง “My Architect : A Son’s Journey,” โดย Nathaniel Kahn ปี 2003
”If you think of Brick, you say to Brick, ‘What do you want, Brick?’ And Brick says to you, ‘I like an Arch.’ And if you say to Brick, ‘Look, arches are expensive, and I can use a concrete lintel over you . What do you think of that, Brick?’ Brick says, ‘I like an Arch.’ And it’s important, you see, that you honor the material that you use. / [..] You can only do it if you honor the brick and glorify the brick instead of short-changing it.”
9 รูป – 9 เรื่อง
9 ภาพถัดไปนี้คือเรื่องเล่าจาก “นักถ่ายภาพ สถาปัตยกรรม” 9 ท่าน ภาพถ่ายที่ได้รับการถ่ายทอด อย่างลึกซึ้งด้วยภาพภาพเดียว แต่กลับบอกเล่าเรื่องราวของ สถาปัตยกรรม ประวัติศาสตร์ บริบท และปฏิสัมพันธ์ ระหว่างวัสดุกับผู้คนและสิ่งแวดล้อมได้อย่างแยบยล โดย เล่าเรื่องแตกต่างกันออกไปตามความคิดของผู้อยู่หลังเลนส์ แต่ละท่าน
นอกจากจะเป็นสาระของสถาปัตยกรรมที่เรากำลังจะ ได้เห็น เชื่อว่าพวกเขาน่าจะทำให้เราเริ่มรู้จักตั้งคำถาม เริ่มสนใจสิ่งที่แวดล้อมรอบตัว
และเริ่มรู้จักที่จะฟังได้ดียิ่งกว่าผู้ใด
ชื่อภาพ : คอนกรีตเปลือยผิว (Exposed Concrete)
“สัจวัสดุในงานสถาปัตยกรรม นอกจากจะแสดงถึงพื้นผิวแล้ว ยังแสดงถึงโครงสร้างและเทคนิคการก่อสร้างแบบไม่มีการปรุงแต่งได้อย่างชัดเจน” ซึ่งหลาย ๆ ครั้งเราพบว่า สิ่งเหล่านี้เป็นการสร้างประสบการณ์และความสวยงามของงานสถาปัตยกรรมในอีกรูปแบบหนึ่ง
– กฤษฎา บุญเฉลียว –
facebook.com/joya49
ชื่อภาพ : อิฐ
สุดยอดพ่อครัวทำอาหารสุดอร่อยขึ้นมาจากเครื่องปรุงและส่วนผสมธรรมดาได้ฉันใด
สุดยอดสถาปนิกก็สร้างงานสถาปัตยกรรมชั้นยอดขึ้นมาจากวัสดุที่สุดแสนธรรมดาได้ฉันนั้น
– วิสันต์ ตั้งธัญญา –
W Workspace – wisont.wordpress.com
ชื่อภาพ : Marble says
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการแสดงสัจวัสดุคือการสื่อความหมาย โดยหินอ่อนคือตัวแทนของความเปราะบางแต่สวยงาม ด้วยความที่หินอ่อนรับน้ำหนักมากไม่ได้จึงได้รับการนำมาใช้ในงานสถาปัตยกรรมเพื่อแสดงออกถึงความสง่างาม และความละมุนละไมในเวลาเดียวกัน
– ภิรักษ์ อนุรักษ์เยาวชน –
Spaceshift Studio – spaceshiftstudio.com
ชื่อภาพ : Shadow of 1974
วัสดุที่ผมกำลังสนใจเป็นพิเศษตอนนี้คือคอนกรีต แม้จะเป็นวัสดุที่เกิดขึ้นมานานแล้ว แต่กลับมีเสน่ห์ข้ามกาลเวลา ชวนมองได้อย่างไม่รู้เบื่อ โดยเฉพาะคอนกรีตของอาคารเก่ายุคโมเดิร์นที่มักจะออกแบบฟาซาด (Façade) ของอาคารให้โดดเด่นกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
– วีระพล สิงห์น้อย –
Beersingnoi Photography – beersingnoi.com, instagram.com/foto_momo
ชื่อภาพ : นก
ที่นี่มีนกเป็นสัญลักษณ์ ก่อนเริ่มงานทุกเช้าพนักงานจะทำท่าอะไรบางอย่างหน้าที่ทำงานของพวกเขา และอาคารนั่นก็ดูเหมือนปีกนกที่หุ้มวัสดุคล้ายปีกเครื่องบินเอาไว้ ซึ่งเทคโนโลยีทั้งสองอย่างการสร้างอาคารและเครื่องบินล้วนมาจากตะวันตก ที่ที่สัจวัสดุมาพร้อมแสงในงานสถาปัตยกรรมทางศาสนาที่ชวนให้นึกถึงพระเจ้าองค์เดียวของพวกเขา แต่กับพนักงานที่อุดรธานี สัจวัสดุคืออะไร ผมเดาว่าตอนที่อยู่ในท่ากางปีกนั้นเขาคงคิดถึงปีกนกที่กำลังโบยบิน
– ศุภกร ศรีสกุล –
behance.net/soopakornsrisakul
ชื่อภาพ : ปิดและเปิด
ความวุ่นวายของบริบทในเมืองส่งผลให้สถาปัตยกรรมต้องทำหน้าที่ป้องกันมลภาวะต่าง ๆจากภายนอก ในขณะเดียวกันก็ห่อหุ้มความเป็นส่วนตัวไว้ภายใน การเลือกใช้วัสดุแบบปิดทึบ โปร่งแสง หรือเปิดบางส่วน นอกจากจะตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้ใช้งานแล้ว ยังสร้างความน่าสนใจให้ตัวสถาปัตยกรรมในเวลาเดียวกัน
– เฉลิมวัฒน์ วงษ์ชมภู –
sofography.com
ชื่อภาพ : Outspoken Architecture
การใช้วัสดุแบบเปลือยผิวในงานสถาปัตยกรรม เป็นเหมือนบทสนทนาที่ตรงไปตรงมาระหว่างนักออกแบบ ผู้ใช้งาน และบริบทที่อยู่รอบ ๆ
– ดำรง ลี้ไวโรจน์ –
gridline-studio.com
ชื่อภาพ : ป่าในป่า
จากบ้านสวนป่าในอุทัยธานี เมื่อโรงแรมไม้ถูกสร้างขึ้นทีหลังป่า จึงถูกออกแบบให้แทรกซ้อนกลมกลืนไปกับต้นไม้เดิม วัสดุไม้จริงที่ปรากฏในบริบทของป่าซึ่งดูราวกับเป็นแหล่งกำเนิดของมัน ขับเน้นเนื้อแท้ของไม้ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น
– เกตน์สิรี วงศ์วาร –
facebook.com/Opak.photo, instagram.com/photo.ketsiree.wongwan
ชื่อภาพ : ไม้
หากวัสดุพูดได้และสัจจะมีอยู่จริง คงไม่ใช่สิ่งที่เราเห็นจากภายนอกเสมอไป แต่อาจเป็นการบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของตัววัสดุ ดังเช่นการตีซ้อนเกล็ดไม้บนผนังของอาคารพิพิธภัณฑ์ The Jim Thompson House เดิม ที่ถูกนำมาตีความในงานออกแบบใหม่โดยปรับเปลี่ยนจากไม้เป็นหินอ่อน เพื่อเล่ารากความคิดเดิมของอาคารในช่วงเวลาที่อาคารพร้อมก้าวไปสู่บทบาทใหม่
– Flashdiamond –
behance.net/noirsigner
อ่านต่อ:
http://www.baanlaesuan.com/39758/design/instagram-architect/
http://www.baanlaesuan.com/64653/design/parallel/
http://www.baanlaesuan.com/51619/design/5-legends-leica
http://www.baanlaesuan.com/62097/design/take-pic-like-pro/
เรื่อง กรกฎา / foryeah!