รวม 10 กลยุทธ์ อยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน ให้เป็นมิตรที่ดีต่อกันไปนานๆ - room life

รวม 10 กลยุทธ์ อยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน ให้เป็นมิตรที่ดีต่อกันไปนานๆ

HARMONY LIFE WITH NEIGHBOURS  : กลยุทธ์ อยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน

อยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน ด้วยรูปแบบการอยู่อาศัยในเมืองของผู้คนยุคนี้ ทำให้ทางเลือกในการหาที่พักคงหนีไม่พ้นทาวน์โฮม คอนโดมิเนียม หรือบ้านจัดสรรซึ่งมีเนื้อที่ไม่มากนักทำให้เราต้องอยู่อาศัยใกล้ชิดกับเพื่อนบ้านยิ่งกว่ายุคไหน ๆ จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าในความเป็นเพื่อนบ้านย่อมต้องมีกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่เพื่อไม่ให้บานปลายจนต้องแก้ปัญหากันด้วยข้อกฎหมาย การเอาใจเขามาใส่ใจเราน่าจะเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด เพื่อให้คุณกับเพื่อนบ้านเป็นมิตรที่ดีต่อกันไปนาน ๆ

อยู่ร่วมกับเพื่อนบ้าน

01 จอดรถขวางหน้าบ้าน
เมื่อบ้านหนึ่งหลังมีจำนวนรถมากกว่าที่จอด ทำให้หลายคนต้องจอดรถหน้าบ้าน ซึ่งบางทีอาจมีหัวหรือท้ายเลยไปถึงบ้านหลังอื่น หรือขวางทางเข้า – ออก เป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญใจ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาจึงจำเป็นต้องมีการพูดคุยตกลงกัน หรือประชุมร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านขอทำการวางที่กั้นหน้าบ้านแบบชั่วคราว

 

02 ต้นไม้รุกล้ำข้ามกำแพง
ความร่มรื่นและร่มเงาที่มักมาพร้อมความขัดแย้งจากกิ่งก้านสาขาที่ยื่นล้ำและใบไม้ที่ร่วงหล่นไปยังบ้านข้างเคียงนั้น ตามกฎหมายสามารถแจ้งให้เพื่อนบ้านตัดแต่งกิ่งได้เบื้องต้นแต่หากยังเพิกเฉย เราสามารถตัดเองได้เลยทางที่ดีเจ้าของบ้านควรเลือกปลูกไม้ยืนต้นที่มีขนาดเหมาะสมกับพื้นที่ และหมั่นตัดแต่งกิ่งเองอย่างสม่ำเสมอ

 

03 ส่งเสียงดังรบกวน
ปัญหาคลาสสิกเมื่อบ้านต้องอยู่ใกล้กันคือเรื่องเสียง ไม่ว่าจะงานเลี้ยงสังสรรค์ เปิดเพลงเล่นดนตรี ฯลฯ แก้ปัญหาด้วยการเลือกบุผนังห้องด้วยวัสดุซับเสียงต่าง ๆ เพื่อกันเสียงไม่ให้ดังเล็ดลอดออกไปจนรบกวนเพื่อนบ้าน

 

04 ต่อเติมเพิ่มพื้นที่
ถ้าหากเป็นพื้นที่ครัว ทางที่ดีก่อนต่อเติมควรศึกษาข้อกฎหมายและบอกกล่าวเพื่อนบ้านเสียก่อน เพื่อไม่ให้ผิดใจกันในภายหลัง ไม่เช่นนั้นอาจโดนฟ้องร้องข้อหาผิดเทศบัญญัติที่สำคัญอย่าลืมดูเรื่องการระบายอากาศ แสงสว่างภายในบ้าน รวมถึงตำแหน่งปล่องควันท่อน้ำทิ้ง และพัดลมระบายอากาศในครัวด้วย

 

05 น้ำฝนล้นเอ่อ
ฝนตกทีไรน้ำฝนจากหลังคาเพื่อนบ้านชอบไหลมาลงในเขตบ้านของเราทุกที เป็นที่มาของปัญหาน้ำท่วมขังระบายไม่ทัน และทำให้สิ่งของเกิดความเสียหาย แนะนำให้เพื่อนบ้านทำรางระบายน้ำบนหลังคา เพราะไม่เช่นนั้นทางกฎหมายเรามีสิทธิ์เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนและฟ้องร้องค่าเสียหายได้

อ่านต่อหน้า 2  อีก 6 วิธี คลิก