“ทุกคนโปรดยกมือที่จับสมาร์ทโฟนขึ้น ตอนนี้ทุกอย่างได้อยู่ในการควบคุมของอินเตอร์เน็ตหมดแล้ว”
“ด้วยปัจจัยแวดล้อมพื้นฐานของสังคมเมืองที่ไม่สมประกอบ ผู้พัฒนาโครงการอสังหาฯ จึงพยายามยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกบ้าน ทั้งในด้านการออกแบบและนำนวัตกรรมทันสมัยเข้ามาช่วยแก้ปัญหาร่วมกัน โดยผสานความสะดวกสบายของที่อยู่อาศัย พื้นที่ส่วนกลาง และนวัตกรรมเป็นส่วนเสริมให้สามารถใช้งานพื้นที่เหล่านี้ได้ง่ายขึ้น”
สำหรับนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยที่เริ่มสังเกตได้ว่า ปัจจุบันมีบริษัทผู้พัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์หลายแห่งปรับตัวให้ทันยุคและไม่เพิกเฉยต่อความเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยริเริ่มนำนวัตกรรมทันสมัยเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องมือที่เอื้อเฟื้อให้ผู้อยู่อาศัยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ตระหนักถึงการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมล้ำสมัย ที่มนุษย์สามารถพึ่งพาอุปกรณ์อิเลกทรอนิคส์ในการดำเนินชีวิตได้อย่างสมบูรณ์แบบ เมื่ออุปกรณ์เหล่านั้นเชื่อมต่อกับโครงข่ายอินเตอร์เน็ต มนุษย์ก็สามารถควบคุมหรือสั่งการเปิด-ปิดอุปกรณ์อิเลกทรอนิคส์ผ่านโครงข่ายอินเตอร์เน็ตได้ทุกที่แบบ Machine to Machine หรือ M2M
ยกตัวอย่างนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัย ที่เข้ามาเปลี่ยนชีวิตให้ง่ายขึ้นในกรณีล่าสุดจาก อนันดา ดีเวลลอปเมนท์ฯ ตอกย้ำความเป็น UrbanTech ในวงการอสังหาฯของเมืองไทยกับครั้งแรกที่มีการนำนวัตกรรม Solar Fresh Air System ซึ่งมีส่วนช่วยประหยัดพลังงานการใช้ไฟฟ้าผ่านการใช้งานด้วยแอพลิเคชั่น มาใช้ในทุกยูนิตของโครงการ ไอดีโอ โมบิ พระราม 4 คอนโดมิเนียมที่ผสานแนวคิดความทันสมัยมาหลอมรวมกับธรรมชาติหรือ Future – Nature
นอกจากนี้ยังมีแสนสิริ ที่เป็นบริษัทพัฒนาด้านอสังหาฯเจ้าแรกในประเทศไทยที่ริเริ่มนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้สำหรับส่งพัสดุภายในโครงการ เดอะ ไลน์ สาทร ตามแนวคิด Lifestyle Innovation เพื่อตอบโจทย์การใช้ชีวิตแบบ Smart Life ตามสไตล์คนเมืองยุคใหม่ โดย Smart Services หรือบริการส่งพัสดุถึงหน้าประตูห้องด้วยหุ่นยนต์ที่มีชื่อว่า “แสนดี” หรือ “SAN:DEE Delivery Bot” ซึ่งมีระบบเซ็นเซอร์รอบตัว สามารถเดินขึ้น-ลงลิฟต์ หรือเดินไปทั่วพื้นที่ของอาคารได้ด้วยตัวเอง ด้วยการสื่อสารผ่านช่องทาง WIFI พร้อมการแจ้งเตือนเพื่อตรวจสอบสถานะการส่งพัสดุผ่านแอพลิเคชั่น Sansiri Home Application หรือจะรวมไปถึงการเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ เพียงแค่มี Digital Key Code ที่ใช้แล้วไม่สามารถใช้ซ้ำ สร้างขึ้นเพื่อคอยอำนวยความสะดวกให้กับเพื่อนหรือแขกคนสำคัญ สามารถผ่านเข้าถึงห้องพักของตัวคุณเองได้โดยที่ตัวคุณเองไม่ต้องลงไปรับหรือรีบกลับมาเปิดห้องให้ก่อนให้เสียเวลา
ก่อนหน้านี้ไม่นานในโครงการบ้านกลางเมือง CLASSE เอกมัย – รามอินทรา ก็เป็นโครงการแรกของ AP ที่สร้างนิยามการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ซึ่งเรียกว่า “AP Digital Community” เข้ามาส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับลูกบ้านยุคใหม่ โดยนำแนวคิด IoT (Internet of Things) มาเป็นเครื่องมือสอดผสานไปกับการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ที่มีการติดตั้งระบบสมองกลอัจฉริยะคอยควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อิเลกทรอนิคส์ทุกชิ้นผ่านการสั่งงานด้วยเสียง โดยที่สมองกลอัจฉริยะตัวนี้ยังฉลาดจนสามารถส่งเสียงตอบโต้กับเจ้าของบ้านได้ด้วย
สำหรับคนเมือง เรื่องที่พักอาศัยเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เราอาจจะเคยได้ยิน “ไม่มีที่ไหนสุขใจเท่าบ้าน” คำนี้จนชินหู โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางสภาพสังคมเมืองกรุงเทพฯ ที่นับวันยิ่งบิดเบี้ยวและเต็มไปด้วยปัญหาร้อยแปด นอกจากปัญหารถติดเป็นทุนเดิมที่ยังจะติดต่อไปแบบไม่มีทีท่าจะหยุด ยังมีปัญหาน้ำท่วมผิวทางจราจรอันเกิดจากขยะไปอุดท่อระบายน้ำเพิ่มมาอีก ไหนจะปัญหาทางเดินเท้าที่เป็นงานภูมิสถาปัตยกรรมพื้นฐานของเมืองแท้ๆ แต่บ่อยครั้งถูกรถมอเตอร์ไซต์อาศัยช่องโหว่ของกฏหมายใช้เป็นทางด่วนในชั่วโมงเร่งรีบ ไหนจะปัญหาระบบการคมนาคมสาธารณะขั้นพื้นฐานยังคงพบปัญหารถเมล์แข่งกันซิ่ง บ้างจอดไม่ตรงป้าย หรือแม้กระทั่งรถไฟฟ้าที่ยังขัดข้องบ่อยครั้ง ทั้งๆ ที่เพิ่งจะปรับอัตราค่าโดยสารเพิ่มขึ้นไปได้ไม่นาน ยังไม่รวมเมืองที่เต็มไปด้วยป้ายโฆษณา แต่ป้ายบอกรถบอกราตัวเล็กอ่านยาก หรือความเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยตึกสูงระฟ้าแต่ต้นไม้กลับไม่เคยสูงเกินกว่าเสาไฟ หรือยังพบเห็นการตัดต้นไม้ด้วยข้ออ้างที่ฟังดูมักง่ายอยู่บ่อยๆ
เมื่อปัจจัยแวดล้อมพื้นฐานของเมืองไม่สมประกอบ หลายโครงการบ้านและคอนโดฯ จึงพยายามยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกบ้าน ด้วยการนำดีไซน์และนวัตกรรมทันสมัยเข้ามาช่วยแก้ปัญหาตรงนี้ด้วยวิธีการที่ทั้งเหมือนและแตกต่างกันไป
“การเก็บรักษาต้นไม้ใหญ่ไว้ในโครงการนอกจากจะเป็นการช่วยอนุรักษ์ต้นไม้ให้กับเมืองแล้วยังเป็นเหมือนการให้ของขวัญชิ้นสำคัญให้กับผู้อยู่อาศัยในคอนโดให้ได้มีพื้นที่สีเขียวแบบส่วนตัวไว้สำหรับพักผ่อนเติมความสดชื่นให้กับร่างกายและจิตใจ”
– ดำรง ลี้ไวโรจน์ บรรณาธิการบริหาร Room –
ถึงกระนั้นการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีมีวิธีการหลากหลาย ที่อยู่อาศัยอาจเป็นเพียงปัจจัยหนึ่ง โดยมีนวัตกรรมเป็นส่วนเสริม แน่นอนว่านวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยในยุค Internet of Things สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าได้จริง แต่สุดท้ายเราก็ยังเชื่ออยู่ว่าปัจจัยสำคัญของการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ต้องไม่ลืมการเริ่มต้นจากทัศนคติและแนวคิดดีๆ ที่ตัวของคุณเองก่อนเป็นลำดับแรกด้วยเช่นกัน
จากนั้นจะลองทำบ้านให้น่าอยู่ ซึ่งไม่ได้หมายถึงบ้านที่ใหญ่โตโออ่า หรือมีนวัตกรรมล้ำหน้าไปเสียทุกสิ่ง ไม่ว่าพื้นที่เหล่านั้นจะมีขนาดเท่าใด อาจเป็นห้องเช่า หรือเป็นตึกแถว หากมีการจัดระเบียบพื้นที่ให้เป็นสัดส่วน รู้จักใช้ประโยชน์พื้นที่ที่มีให้คุ้มค่า คุณภาพชีวิตดีๆ ที่ว่าก็สามารถเกิดขึ้นและมีความสุขได้เช่นเดียวกัน
เหนื่อยจากอะไรมา คงไม่มีที่ไหนจะเยียวยารักษาความเหนื่อยกายและจิตใจได้ดีเท่ากับ “บ้าน” ที่เพียบพร้อมและน่าอยู่ จริงไหมครับ
เรื่อง : Nawapat D.
ภาพ : นันทิยา, เอกสารประชาสัมพันธ์
TOTAL NEW LOOK! พบ room โฉมใหม่ฉบับราย 2เดือน ได้ 1 พ.ย. นี้ เล่มนี้ว่ากันด้วยเรื่องราว
Design Cases
– Residential : Riz Carlton Residences Bangkok ห้องพักหรูระฟ้าบนตึกมหานคร
– Bar : Soi 16 บาร์เปิดใหม่กลางเมืองพัทยา
– Restaurant : Nowhere ร้านอาหารสไตล์โมเดิร์นบนรู
Theme
– Design Documentary : สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวัน
– Special Scoop : 20 Best Design housing of 2017 รวมโครงการอยู่อาศัยที่เราว
Home
– TRIANGLE HOUSE เรื่องราวของรูปสามเหลี่ยมก
– READY-TO-PAINT CANVAS อิสระในการอยู่อาศัย เติมเต็มชีวิตให้บ้านไม่ต่า
– HUAMARK 09 บ้านมิกซ์ยูสรวมฟังก์ชันออฟ
Inspiration
Product
– Ong-Orn แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไม้ เข้าถึงตัวตนผู้ใช้ด้วยการผ
Material
– แนะนำพรมรุ่นใหม่จาก Express Carpet ตอบโจทย์ดีไซน์ที่หลากหลายข
Event
– Dyson Singapore Technology Centre ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีของไดสั
สอบถามสั่งซื้อนิตยสาร Room ได้ที่ช่องทางต่อไปนี้
1. ฝ่ายสมาชิกนิตยสาร Room: โทร 02-423-9889
2. ID Line : @naiinfanclub
3. Inbox FB : www.facebook.com/messages/
4. Website naiin.com : naiin.com/