10 พื้นที่ใต้ทางด่วน แปลงโฉมให้เป็น พื้นที่สาธารณะ

10 พื้นที่ใต้ทางด่วนแปลงโฉมให้เป็น พื้นที่สาธารณะ

The Bentway เมือง Toronto

เครดิต: https://www.facebook.com/thebentway/

พื้นที่กิจกรรมแห่งใหม่ของเมือง Toronto ประเทศแคนาดา เนรมิตพื้นที่ใต้ทางด่วน The Gardiner Expressway ให้กลายเป็นลานสเก็ต อีกหนึ่งกีฬายอดนิยมของผู้คนในเมือง ออกแบบบานสเก็ตให้เป็นเส้นโค้งเหมือนรูปทรงเลข 8 วนลูปในระยะกว่า 220 เมตร เป็นแนวโค้งแทรกไปตามโครงสร้างเสาใต้ทางด่วน พื้นที่แห่งนี้มีศักยภาพเป็นพื้นที่โปร่งโล่ง ที่อยู่ใต้ทางรถวิ่งโดยมีความสูงจากพื้นถึงโครงสร้างกว่า 12 เมตร เหมาะแก่สร้างสเปซส่วนกลางสำหรับกิจกรรม โดยต้องการให้พื้นที่แห่งนี้เป็น พื้นที่สาธารณะสำหรับการเฉลิมฉลองในฤดูหนาว ซึ่งผู้คนในเมืองจะออกมาเพื่อหากิจกรรมนอกบ้านพร้อมกับการเล่นสเก็ตหิมะ และนอกจากนี้ยังมีเวทีแสดงดนตรี กิจกรรมสันทนาการ และการฉายภาพยนตร์กลางแจ้งได้อีกด้วย

เครดิต: https://www.facebook.com/thebentway/

Underpass Art Parks รัฐ Washington D.C.

เครดิต: https://dc.curbed.com/2018/1/5/16854340/noma-underpass-public-art-light
เครดิต: https://dc.curbed.com/2018/1/5/16854340/noma-underpass-public-art-light

พื้นที่สาธารณะที่มีความสวยงามและมีชีวิตชีวา โดยเน้นการตกแต่งจากแสงไฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะ NoMa Public Realm Design Plan ของบริษัท NoMa ซึ่งไฮไลท์ของการปรับปรุงพื้นที่ใต้ทางยกระดับให้เป็นสเปซงานศิลป์นั่นคือบริเวณ The Rain Room ในอุโมงค์ใต้ถนนซึ่งเป็นพื้นที่มืด พื้นที่แห่งนี้จึงถูกสร้างสรรค์ให้กลายเป็นอุโมงค์แห่งแสง โดย Thurlow Small Architecture of Pawtucket, Rhode Island และ NIO of Rotterdam ออกแบบพื้นที่ด้วยการประดับแสงไฟด้วยหลอดโพลีคาร์บอเนตขนาดเล็กห้อยลงมาจากโครงสร้างด้านบน และแสง LED ที่ไล่ระดับสีให้ดูเหมือนมีความเคลื่อนไหว เพื่อจำลองประสบการณ์ในการเดินผ่านฝักบัวอาบน้ำ เปรียบเสมือนสายฝนเรืองแสงท่ามกลางความมืด โดยติดตั้งไฟตลอดระยะทางเดินของคน

เครดิต: https://vimeo.com/125269784

Sabine Promenade เมือง Houston

เพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองการออกแบบด้วยเส้นทางสาธารณะใต้ทางยกระดับ บริเวณอุทยาน Buffalo Bayou โดย SWA Group ได้ทำการปรับปรุงพื้นที่สวนสาธารณะแนวยาวกว่า 60 ไร่ โดยจะช่วยลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติอย่างพายุ ที่ก่อให้เกิดน้ำท่วม ให้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจของคนเมือง โดยการออกแบบคำนึงถึงสภาพและบริบทของพื้นที่เดิม ปรับปรุงเส้นทางการเข้าถึง มุมมองต่างๆ รวมถึงการช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน และป้องกันปัญหาน้ำท่วม โดยขยายถนนและเพิ่มบันไดเข้าสู่เส้นทาง และปรับเปลี่ยนฟังก์ชันของพื้นที่ อาทิ การสร้างเส้นทางปั่นจักรยาน, ท่าเรือ, ไฟถนนประดับตามมุมและจุดนั่งพักผ่อนริมทางเดินในสวน, แลนด์มาร์คบริเวณจุดๆต่างของพื้นที่ด้วยงานประติกรรมแบบ Shelter รูปทรงเรือคว่ำ รวมถึงสะพานข้ามคลองระหว่างพื้นที่สวนสาธารณะ เป็นต้น

10 Kilometers จ.กรุงเทพฯ ประเทศไทย

เครดิต: Shma Company Limited

โครงการพัฒนาพื้นที่ริมถนนทางเดินในกรุงเทพมหานคร ออกแบบโดย Shma Company Limited มีจุดมุ่งหมายในการเชื่อมเครือข่ายทางสัญจรและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมือง (Green Corridor) โดยเชื่อมต่อจากจุดต่างๆในเมืองที่มีความสำคัญทางระบบคมนาคมได้แก่ จตุจักร คลองบางซื่อ คลองประปา อุรุพงษ์ สถานีรถไฟหัวหมาก และสะพานปลา

เครดิต: Shma Company Limited

Lankila Pat2 (ลานกีฬาพัฒน์ 2) จ.กรุงเทพฯ ประเทศไทย

เครดิต: Shma SoEn

ลานกีฬาพัฒน์ 2 ใต้ทางด่วนอุรุพงษ์ ถนนพระราม 6 พื้นที่สาธารณะของชุมชนเพื่อชุมชน โดยคิดวิเคราะห์เพื่อให้ได้พื้นที่ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนและพัฒนาชุมชน จากพื้นที่รกร้างกลายมาเป็นพื้นที่เพื่อชุมชนภายใต้แนวความคิด “ลานบ้าน ลานดิน” ประกอบด้วยพื้นที่อเนกประสงค์ทั้ง ลานกีฬา ลานศิลปวัฒนธรรม พื้นที่ปลูกผักและ สวนสาธารณะ ออกแบบโดย Shma Soen Company Limited

เครดิต: Shma SoEn

อ่านต่อเรื่อง งานภูมิสถาปัตยกรรมไทยกับรางวัล IFLA Asia-Pacific Award 2017 คลิก


เรื่อง: Bundaree D.