THE MAKER & THE NEW AGE OF CRAFT เมคเกอร์ กับงานทำ "มือ" ยุคใหม่

THE MAKER & THE NEW AGE OF CRAFT เมคเกอร์ กับงานทำ “มือ” ยุคใหม่

สักพักใหญ่แล้ว ที่เราได้เห็นกระแส “เมคเกอร์” มาพร้อม ๆ กับความนิยมงานคราฟต์ CRAFT เซรามิกคราฟต์ วู้ดคราฟต์ หรือแม้กระทั่งคราฟต์เบียร์และคราฟต์คอฟฟี่ที่แทรกซึมเข้ามาใน ไลฟ์สไตล์คนเมืองพร้อมๆกับกระแสสโลว์ไลฟ์ กลุ่มเมคเกอร์เจเนอเรชั่นใหม่เร่ิมสนุกกับการ “ลงมือ” สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ด้วยตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นงานทํามือ DIY ง่าย ๆ ที่สร้างสีสันให้วันหยุดสุดสัปดาห์ ไปจนถึง DIY สไตล์ไฮเทคของผู้ชื่นชอบ สายเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์

กระแสนี้ดูเหมือนจะต่อเนื่องมาถึง “คราฟเตอร์ตัวจริง” ด้วยเช่นกัน ช่างฝีมือยุคเก่าบางกลุ่ม รวมถึงทายาทของพวกเขาพยายามที่จะปรับตัวเพื่อให้งานฝีมือดั้งเดิมเข้ากับยุคสมัยปัจจุบันมากขึ้น แม้แต่ดีไซเนอร์ไม่น้อยที่เคยพึ่งพาอุตสาหกรรมเป็นหลัก ก็อ้าแขนรับกระบวนการของงานคราฟต์ CRAFT ให้เป็นส่วนหนึ่งของงานออกแบบร่วมสมัยเช่นกัน

เราอาจคุ้นเคยกับงานฝีมือหรือหัตถกรรมซึ่งเป็นเรื่องใกล้ตัวมานานจนอาจละเลยกันไป เมื่อหันกลับมามองอีกที ความหมายของคําว่า “คราฟต์” ในปัจจุบันดูเหมือนจะได้รับการปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของโลก และครอบคลุมความหมายที่กว้างขึ้นกว่าเดิม จนบางครั้งเราก็เผลอเรียก “อะไรก็ตามที่ทําด้วยมือ” ว่าคราฟต์ไปแล้ว

 


คราฟต์ยุคเก่า

รูปแบบของงานหัตถกรรมดั้งเดิม (tournamdinh.com/ everythingneat.wordpress.com)
รูปแบบของงานหัตถกรรมดั้งเดิม (tournamdinh.com/ everythingneat.wordpress.com)

 

“งานฝีมือ” หรือ “งานคราฟต์” คืองานที่สร้างสรรค์ขึ้นด้วยมือมนุษย์ โดยใช้เครื่องมือพื้นฐาน ซึ่งต้องมาพร้อมทักษะที่ฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ งานคราฟต์แต่โบราณน้ันอยู่ในรูปของงานหัตถกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการด้านปัจจัยสี่ของมนุษย์ ช่างฝีมือยุคนั้นผลิตผลงานเพื่อแลกเปลี่ยนกับอาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ก่อนที่ระบบเงินตราจะถือกําเนิดเสียอีก

เมื่อยุคสมัยผ่านไป งานฝีมือเพื่อการใช้สอยดำรงชีพก็ยังคงส่งต่อทักษะจากรุ่นสู่รุ่นต่อไป แต่ในอีกด้านหน่ึงงาน ฝีมือชั้นสูงเร่ิมได้รับการหลอมรวมเข้ากับงานศิลปะ จนกลายเป็นงานศิลปะตกแต่ง (Decorative Art) ที่นํามาออกแบบประดับประดาข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้วิจิตรบรรจงยิ่งขึ้น

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17 หรือยุคเรอเนซองซ์ตอนปลายนั้น งานศิลปะตกแต่งเริ่มได้รับการแบ่งแยกหมวดหมู่ออกจากศิลปะบริสุทธิ์ (Fine Art) อย่างชัดเจน และเมื่อมา ถึงในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 หลังปฏิวัติอุตสาหกรรมไม่นานนัก Arts and Crafts Movement ซึ่งเป็นผลพวงจากการต่อต้านสินค้ายุคอุตสาหกรรมเฟื่องฟูที่ไร้คุณภาพและจิตวิญญาณก็ปลุกให้งานคราฟต์กลับมามีบทบาทอีกครั้ง หลาย ๆ ครั้งที่ศิลปะร่วมสมัยผสมผสานกับงานฝีมือโบราณอย่างกลมกล่อมลงตัว และงานศิลปะตกแต่งก็คาบเกี่ยวกับศิลปะบริสุทธิ์จนบางคร้ังแยกกันไม่ออก ซึ่งหลายๆแนวคิด ของ Arts and Crafts Movement ก็มีอิทธิพลต่อศิลปิน ดีไซเนอร์ และช่างศิลป์ต่อมาอีกหลายยุคสมัย

the-maker-01
วอลล์เปเปอร์ลวดลาย Snakeshead และ Acanthus โดย William Morris ดีไซเนอร์ผู้ทรงอิทธิพลในช่วงหลังของยุควิคตอเรีย งานของเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากยุคกลางและงานพรมในยุคกอทิก (wikipedia.org)

 


คราฟต์ร่วมสมัย

the-maker-04
(ซ้าย) “Marble Machine” กล่องเพลงยักษ์ที่ บรรเลงเพลงด้วย กลไกการตกกระทบของลูกแก้วโลหะ ฝีมือเมคเกอร์ที่เป็น ท้ังนักประดิษฐ์ และนักดนตรี (wintergatan.net) (ขวา) “Pixel” แจกันหินอ่อนที่ถูกตัดเป็นผิวสัมผัสพิกเซล สามารถกะเทาะบางพิกเซลออกเพื่อสร้างลวดลายไม่เหมือนใครตามแนวคิดแบบ Personalisation (paoloulian.it)

 

จวบจนปัจจุบัน อีกคร้ังที่เราอยู่ในจุดที่ศาสตร์ต่างๆถูกแบ่งด้วยเส้นบางๆ ที่เบลอจนแทบมองไม่เห็น ไม่ใช่แค่ศิลปะตกแต่ง หรือศิลปะบริสุทธิ์ แต่เป็นแนวคิดการทํางานสร้างสรรค์แบบ “สหวิทยาการ” (Interdisciplinary) หรือ “การเปลี่ยนผ่านวิทยาการ” (Transdisciplinary) ผสมผสานระหว่างงานฝีมือ ศิลปะ ดีไซน์ หรือแม้แต่วิทยาศาสตร์ จนบางทีเราก็ไม่สามารถแบ่งแยกว่าชิ้นงานเหล่าน้ีเกิดขึ้นมาจากทักษะความ เชี่ยวชาญด้านใดเป็นพิเศษ

ศิลปะจึงไม่ได้ถูกจํากัดด้วย “วัสดุ” หรือ “วิธีการ” อีกต่อไป งานคราฟต์ดั้งเดิมได้รับการนำเสนอคุณค่าใหม่ในแบบร่วมสมัย ไม่ว่าจะเป็นในรูปของงานศิลปะบริสุทธิ์หรืองาน ดีไซน์สมัยใหม่ท่ีมีประโยชน์ใช้สอยเข้ามาเก่ียวข้อง เสน่ห์ของงานคราฟต์ได้รับการนํามาประยุกต์ให้เป็นส่วนหนึ่งของแมสโปรดักต์ในระบบอุตสาหกรรมได้อย่างน่าสนใจ ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะในเมื่องานคราฟต์ก็มีจุดกำเนิดมาจากการตอบสนองสัญชาตญาณการใช้ชีวิตของมนุษย์เช่นกัน

เส้นทางท่ีเคยแยกออกจากกันอย่างชัดเจนระหว่าง “ช่างฝีมือ” กับ “ดีไซเนอร์” คนหน่ึงใช้มือ อีกคนใช้สมอง ถึงตอนน้ีการ “คิด” เพียงอย่างเดียวอาจไม่พอ อาจถึงเวลาท่ีดีไซเนอร์ต้องลงมือเป็น “เมคเกอร์” เพื่อสะท้อนความคิดของตัวเองไปพร้อมๆกับสร้างความแตกต่าง ทักษะการเย็บ ปักถักร้อย ปั้นดิน ตีเหล็ก ลงรักปิดทอง อาจเป็นจุดเร่ิมต้นของงานดีไซน์หรืองานศิลปะระดับมาสเตอร์พีซ ข้ึนอยู่ว่าจะเลือกใช้ทักษะนั้น ๆ ในการสร้างสรรค์แบบไหน

“A Second Life” ภาชนะดินเผาฉลุลายปรุเรียบง่าย เกิดเป็นฟังก์ชันใหม่เมื่อภาชนะแตก ชิ้นส่วนวงกลมที่แตกออกยังนำมาต่อกันเป็นภาชนะใหม่ได้ (paoloulian.it)
“A Second Life” ภาชนะดินเผาฉลุลายปรุเรียบง่าย เกิดเป็นฟังก์ชันใหม่เมื่อภาชนะแตก ชิ้นส่วนวงกลมที่แตกออกยังนำมาต่อกันเป็นภาชนะใหม่ได้ (paoloulian.it)

 


ดิจิทัลคราฟต์ & เมคเกอร์เทรนด์

หาก “คราฟต์” หมายถึงงานฝีมืออันเป็นรูปธรรที่เกิดจากทักษะการใช้มือ และเครื่องมือพื้นฐานแล้ว ถ้าหากเครื่องมือนั้นไม่ใช่สิ่วหรือค้อนเหมือนเคย แต่เป็นเครื่องมือจากเทคโนโลยีดิจิทัล เราจะนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานคราฟต์ได้หรือไม่

“Kinematics Dress” เกิดจากชิ้นส่วนของเครื่องพิมพ์สามมิติกว่าพันชิ้น เช่ือมกันด้วยข้อต่อ ทําให้เคลื่อนไหวแนบไปกับร่างกาย พร้อมสั่งทําแบบคัสตอมไมซ์ได้ (n-e-r-v-o-u-s.com)
“Kinematics Dress” เกิดจากชิ้นส่วนของเครื่องพิมพ์สามมิติกว่าพันชิ้น เช่ือมกันด้วยข้อต่อ ทําให้เคลื่อนไหวแนบไปกับร่างกาย พร้อมสั่งทําแบบคัสตอมไมซ์ได้ (n-e-r-v-o-u-s.com)

 

ถ้าจะบอกว่าดิจิทัลคราฟต์สามารถปฏิวัติวงการคราฟต์ ได้ก็คงไม่ผิด เพราะงานคราฟต์ยุคใหม่ที่เกิดจากระบบดิจิทัล ล้วนเหนือความคาดหมาย รายละเอียดบางอย่างที่ฝีมือของ มนุษย์ไม่อาจทําได้หรือต้องใช้เวลานาน เทคโนโลยีสามารถช่วยกําจัดข้อแม้นี้ลงได้อย่างน่าเหลือเชื่อ และท่ามกลางนวัตกรรมมากมายท่ีถูกคิดค้นขึ้นทุกวัน เทคโนโลยีชั้นสูงอย่าง “เครื่องพิมพ์สามมิติ” อาจมีราคาถูกลงเรื่อย ๆ จนผู้คนสามารถเข้าถึงได้ จุดกระแสให้เหล่าเมคเกอร์สายไฮเทค ลุกข้ึนมารวมกลุ่มกันสร้างสรรค์ “งานทํามือดิจิทัล” กันอย่างจริงจัง

 

Maker Movement

จริงอยู่ที่ “Maker” ไม่ได้มีขอบเขตจํากัดว่างานของพวกเขาจะต้องเป็นงานทํามือประเภทไหน แต่ผู้นําในกระแสนี้ ดูจะเป็นเหล่าดีไซเนอร์ นักประดิษฐ์อิสระที่หลงใหลในวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรม แขนงต่างๆ พวกเขาเป็นเหมือนส่วนผสมระหว่างคอมพิวเตอร์ แฮคเกอร์และช่างฝีมือยุคเก่า พวกเขาสนุกกับการลงมือสร้างสิ่งประดิษฐ์ทางวิศวกรรม ไม่ว่าจะเป็นซอฟต์แวร์ หุ่นยนต์ หรืองานดีไซน์จากเครื่องพิมพ์สามมิติด้วยตัวเอง โดยผสมผสานเทคนิคเชิงช่างฝีมือเข้าไปด้วย ทั้งงานเหล็กและงานไม้ แทบไม่ต่างอะไรกับงานคราฟต์ งานแฮนด์เมด และงาน DIY หากแต่เป็นการเปลี่ยนงานดีไซน์เชิงดิจิทัลให้กลายเป็นรูปธรรม และผลงานที่ออกมามักมีกลิ่นอายนวัตกรรมในเชิงเทคโนโลยีที่พวกเขาหลงใหล

ศูนย์รวมเมคเกอร์รุ่นใหม่ จุดกําเนิดของดาวเด่นวงการ เทคโนโลยีนับไม่ถ้วน (futureofstorytelling.org)
ศูนย์รวมเมคเกอร์รุ่นใหม่ จุดกําเนิดของดาวเด่นวงการเทคโนโลยีนับไม่ถ้วน (futureofstorytelling.org)

 

ศูนย์กลางของ Maker Culture ที่ทรงอิทธิพลแห่งหนึ่ง น่าจะหนีไม่พ้นสหรัฐอเมริกาซึ่งถือเป็นผู้นําเทคโนโลยีโลก แต่กระแสเมคเกอร์ก็กําลังขยายตัวไปตามมุมต่าง ๆ ของโลก มีเมคเกอร์สมัครเล่นมากมายในทุกเพศทุกวัยที่เฝ้าคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ หรือส่ิงประดิษฐ์เจ๋ง ๆ แบบไม่จํากัดสถานที่ท้ัง ในห้องนอนหรือโรงรถที่บ้าน และอีกหนึ่งลักษณะพิเศษของเหล่ามนุษย์เมคเกอร์ คือการเชื่อมต่อเครือข่ายเพื่อแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน ส่ิงน้ีเองท่ีทําให้องค์ความรู้ต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและมีการต่อยอด อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น Makerspace, Techshop, Fab Lab พื้นที่สําหรับรวมกลุ่มสังสรรค์ของเหล่าเมคเกอร์ซึ่งมีหลายสาขาท่ัวโลก พรั่งพร้อมด้วยบริการและอุปกรณ์สร้างช้ินงาน ไม่ว่าจะเป็นเครื่อง CNC เครื่องตัดเลเซอร์ เครื่องพิมพ์สามมิติ เครื่องตัดไม้ เครื่องเย็บ ฯลฯ และเมื่อกระบวนการสร้างสรรค์เป็นผลสําเร็จ Maker Faire ก็คืองานแฟร์ที่เปิดโอกาสสําหรับการแสดงผลงานได้อย่างอิสระ

ว่ากันว่า เมคเกอร์คือคนทํางานมือยุคใหม่ เป็นกลุ่มบุคคลผู้อาจเปลี่ยนแปลงโลกไปอีกขั้นด้วยส่ิงประดิษฐ์ในมือ ท่ีช่วยจุดประกายนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ท่ีช่วยสร้างงาน สร้างแหล่งรายได้ให้แก่ชุมชน เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกได้ในแบบที่คุณนึกไม่ถึง

ผลงานของ Amit Zoran และ Leah Buechley เมื่อแจกันโบราณถูกซ่อมแซมด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี (amitz.co)
ผลงานของ Amit Zoran และ Leah Buechley เมื่อแจกันโบราณถูกซ่อมแซมด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี (amitz.co)
มิติใหม่ในการก่อสร้างสะพานข้ามคลองในกรุงอัมสเตอร์ดัมด้วยหุ่นยนต์เครื่องพิมพ์สามมิติ โดย MX3D (mx3d.com)
มิติใหม่ในการก่อสร้างสะพานข้ามคลองในกรุงอัมสเตอร์ดัมด้วยหุ่นยนต์เครื่องพิมพ์สามมิติ โดย MX3D (mx3d.com)

 


“ไทยคราฟต์” โดย “ไทยเมคเกอร์”

ย้อนกลับมาที่ประเทศไทยเราบ้าง นอกจากกระแสดิจิทัลเมคเกอร์ซึ่งได้รับอิทธิพลจากโลกตะวันตกแล้ว ในด้านของศิลปหัตถกรรมไทยดั้งเดิมก็จําต้องปรับประยุกต์ตามรูปแบบ การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ช่างฝีมือรุ่นเก่าอาจมองว่าการปรับเปลี่ยนรูปแบบทักษะดั้งเดิม คือการทําลายรากเหง้าของสิ่งที่เราสืบทอดกันมาทีละน้อย ในขณะที่เมคเกอร์สัญชาติไทยรุ่นใหม่ก็อาจมองไม่เห็นประโยชน์อะไรที่จะอนุรักษ์งานฝีมือไว้ โดยไม่มีการพัฒนาองค์ความรู้ให้เข้ากับยุคสมัย ในเมื่องานหัตถกรรมนั้นคิดค้นขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การใช้สอยในชีวิตประจําวัน ถ้ารูปแบบชีวิตเปลี่ยนแปลงไป ทําไมรูปแบบหัตถกรรมจะเปลี่ยนตามไม่ได้ หลายๆครั้งช่างฝีมือจึงติดอยู่ในความลังเลระหว่างคําว่า “อนุรักษ์” และ “พัฒนาต่อยอด”

อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้การอนุรักษ์เกิดขึ้นควบคู่ไปกับการนํามาประยุกต์ใช้อยู่ตลอดเวลา ความสําคัญจึงอาจไม่ได้อยู่ที่รูปแบบงานสร้างสรรค์ว่าจะคงรูปแบบดั้งเดิมไว้ได้หรือไม่ แต่น่าจะอยู่ที่เราจะจัดการองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างไรให้กลายเป็นพื้นฐานสําหรับการสร้างสรรค์นวัตกรรมในอนาคต

น่าดีใจที่หน่วยงานหลายแห่งเริ่มให้ความสนใจงานศิลปหัตถกรรมดั้งเดิมในเชิงอนุรักษ์ อาทิ ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT องค์กรที่รับหน้าที่หลักในการสืบสานความเป็นไทยสู่สากลผ่านงานศิลปหัตถกรรม และนำมาพัฒนาต่อยอดสร้างมูลค่าเชิงพาณิชย์

ชุดโคมไฟ “Sarn” โดย Thinkk Studio
ชุดโคมไฟ “Sarn” โดย Thinkk Studio

 

นอกจากการอนุรักษ์องค์ความรู้ดั้งเดิมด้านงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน รวมถึงการสนับสนุนทายาทรุ่นใหม่ของช่างศิลปหัตถกรรมในแขนงต่างๆ SACICT ยังดูแลในส่วนของงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ และรูปแบบการใช้งาน เพื่อให้เหมาะสมกับตลาดสินค้าในปัจจุบัน และพร้อมสําหรับการ ขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศ ในจุดนี้เองที่งานดีไซน์และเทคโนโลยีได้เร่ิมเข้ามามีบทบาทผสมผสานเข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ

นํามาสู่การจัดงาน “เทศกาลนวัตศิลป์นานาชาติ” หรือ International Innovative Craft Fair เรียกง่ายๆ ว่า IICF ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานเมคเกอร์แฟร์ฉบับไทยๆ จัดแสดงสินค้าด้านหัตถกรรมท่ียิ่งใหญ่ระดับอาเซียน ท้ังยังมี “โครงการประกวดหัตถกรรมเชิงสร้างสรรค์” หรือ Innovative Craft Award (ICA) เวทีประกวดที่ SACICT เปิดโอกาสให้ “ดีไซเนอร์ไทยหัวใจเมคเกอร์” ได้แสดงฝีมือ กระตุ้นให้ช่างฝีมือ ตลอดจนนักออกแบบไทยหันมาให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาไทย และนําไปสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อช่วยต่อยอดสร้างงาน สร้างรายได้ทางการค้า ซึ่งถือเป็นเวทีช่วยสร้างนักออกแบบรุ่นใหม่ที่เข้าใจ และเห็นคุณค่าของงานหัตถกรรมไทยอย่างแท้จริง

(ซ้าย) ตู้เหล็กโปร่งฉลุลาย “Kiki Shelf” (LUX by SACICT โดย Plus Sense) (กลาง-ขวา) ชุดโต๊ะเก้าอ้ีเหล็ก ที่นั่งกระเบื้องเคลือบ “Chuan Lhong” (LUX by SACICT โดย Yothaka)
(ซ้าย) ตู้เหล็กโปร่งฉลุลาย “Kiki Shelf” (LUX by SACICT โดย Plus Sense) (กลาง-ขวา) ชุดโต๊ะเก้าอี้เหล็ก ที่นั่งกระเบื้องเคลือบ “Chuan Lhong” (LUX by SACICT โดย Yothaka)

 

ในยุคท่ีใคร ๆ ก็ลงมือสร้างสรรค์ผลงานออกแบบได้อิสระ จากที่เคยอยู่แต่ในโลกของผู้บริโภคมาตลอด หลาย ๆ คนคงอยากลองกลับมาเป็นผู้ผลิตดูบ้าง ภายใต้กระแสความนิยมที่กําลังผ่านมานี้ บางทีถ้ามีความเข้าใจและเห็นความสําคัญของงานคราฟต์ซึ่งเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมในรูปแบบต่าง ๆ ดีพอ เหล่าเมคเกอร์รุ่นใหม่นี่แหละ คือบุคคลที่สามารถเปลี่ยนให้มรดกทางวัฒนธรรมกลายเป็นส่วนหนึ่งในนวัตกรรมดิจิตทัลของยุคสมัยแห่งอนาคตได้อย่างงดงามกลมกลืน

 


เรื่อง : MNSD
ภาพ : สํานักพิมพ์บ้านและสวน, เอกสารประชาสัมพันธ์
คอลัมน์ : Design We Love
room magazine : April No.158