กลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค ชนะการประกวดออกแบบ โครงการก่อสร้าง อาคารผู้โดยสาร หลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

กลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค เป็นผู้ชนะการประกวดออกแบบ Suvarnabhumi Airport Terminal II

สรุปข่าวครึกโครมในแวดวงออกแบบไทยเมื่อวานนี้ (22 ส.ค. 61) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ได้มีการประกาศให้ กลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค เป็นผู้ชนะการประกวดออกแบบ “โครงการก่อสร้าง อาคารผู้โดยสาร หลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ”

ภายหลังจาก ทอท. เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้เข้าร่วมการประมูลการออกแบบอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ซึ่งมีมูลค่าการก่อสร้างราว 35,000 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นค่าออกแบบราว 329 ล้านบาท ซึ่งกลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค แม้จะได้คะแนนสูงเป็นลำดับที่ 2 แต่ก็ได้รับการพิจารณาให้เป็นผู้ชนะ เนื่องจากกลุ่ม เอส เอ ที่ได้คะแนนสูงสุด ถูกคณะกรรมการจัดหาพัสดุงานจ้างสำรวจออกแบบโครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ปรับแพ้โดยอัตโนมัติ เนื่องจากขาดการแนบเอกสารสำคัญอย่าง ต้นฉบับใบเสนอราคา มาตามที่ ทอท.ระบุไว้ใน TOR ข้อ 13.3.1 ซึ่งระบุว่า “ผู้เสนองานต้องใช้ต้นฉบับใบเสนอราคาที่ได้รับจาก ทอท.นี้เท่านั้น ใบเสนอราคานอกเหนือจากนี้จะไม่รับพิจารณาโดยเด็ดขาด”

ทั้งนี้กลุ่ม เอส เอ ยืนยันว่าพวกเขายังไม่เคยได้รับเอกสารต้นฉบับใบเสนอราคาจากทาง ทอท.มาก่อน พร้อมเรียกร้องให้มีการพิจารณาผลการประมูลใหม่อีกครั้ง โดยอ้างอิงจากการที่พวกเขาชนะด้วยคะแนนข้อเสนอด้านเทคนิค ประกอบกับแบบที่ส่งประกวดอยู่ภายใต้มูลค่าการก่อสร้างที่ ทอท. กำหนดไว้ อีกทั้งวัตถุประสงค์ของเอกสารต้นฉบับใบเสนอราคา ใช้เพียงเพื่อป้องกันการฮั้วประมูลราคางานจัดซื้อจัดจ้างเท่านั้น

อาคารผู้โดยสาร หลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
Suvarnabhumi Airport Terminal II / Design Proposal by DBALP Consortium ภาพภายนอกอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (ภาพ https://vimeo.com/241361785/fc2a7b63f9)
Suvarnabhumi Airport Terminal II / Design Proposal by DBALP Consortium ภาพสวนเขตร้อนชื้นภายนอกอาคาร (ภาพ https://vimeo.com/241361785/fc2a7b63f9)

สำหรับกลุ่มเอกชนผู้เข้าร่วมยื่นซองประมูลครั้งนี้ประกอบด้วยกัน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 นิติบุคคลร่วมทำงาน ดีบีเอแอลพี-นิเคนเซกเก-อีเอ็มเอส-เอ็มเอชพีเอ็ม-เอ็มเอสเอ-เออาร์เจ หรือกลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค,

กลุ่มที่ 2 กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท เดอะโบว์มอนท์ พาร์ทเนอร์ส จำกัด, บริษัท อินเด็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป จำกัด, บริษัทอีจิสเรล (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัทซีอีแอล เอ็นจิเนียส์ จำกัด, บริษัท ซีอีแอล อาร์คิเทคส์ แอนด์ เอ็นไวรอนเม้นท์ จำกัด, บริษัท อลานา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด, EGIS AVIA และ EGIS RAIL S.A.,

กลุ่มที่ 3 กลุ่มที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท วาร์ดา แอสโซซิเอทส์ จำกัด, บริษัท ไวสโปรเจ็คคอลซัลติ้ง จำกัด และบริษัท จงลิม อาร์คิเทกเจอร์ จำกัด

และกลุ่มสุดท้าย กลุ่มที่ 4 กลุ่มบริษัทที่ปรึกษา บริษัทร่วมทำงาน เอส เอ ได้แก่ บริษัท สแปน คอนซัลแตนท์ จำกัด (SPAN Consultants Co.,Ltd.), บริษัทไชน์-เทค เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (Sign-Tech Engineering Consultant Co.,Ltd.), บริษัท อะซูซาเซคเคอิ จำกัด และบริษัทสกายปาร์ตี้ จำกัด

สุดท้ายหากผลการพิจารณายังเป็นไปตามที่ ทอท.ประกาศ กลุ่มดวงฤทธิ์ บุนนาค จะต้องทำการออกแบบอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จากแรงบันดาลใจ “ป่าไม้” ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคน/ปี ให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 10 เดือนนับจากนี้ ก่อนเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาหาผู้รับเหมาต่อไป เป็นที่คาดหมายกันว่าโครงการนี้จะเริ่มต้นก่อสร้างจริงได้ในช่วงปลายปี 2562 เป็นต้นไป โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 30 เดือน และจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงกลางปี 2565 เป็นอย่างเร็วที่สุด

อาคารผู้โดยสาร หลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
Suvarnabhumi Airport Terminal II / Design Proposal by DBALP Consortium จุดรับส่งผู้โดยสารด้านหน้าอาคาร (ภาพ https://vimeo.com/241361785/fc2a7b63f9)
Suvarnabhumi Airport Terminal II / Design Proposal by DBALP Consortium (ภาพ https://vimeo.com/241361785/fc2a7b63f9)
อาคารผู้โดยสาร หลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
Suvarnabhumi Airport Terminal II / Design Proposal by DBALP Consortium เลานจ์ผู้โดยสารภายในอาคาร (ภาพ https://vimeo.com/241361785/fc2a7b63f9)
อาคารผู้โดยสาร หลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
Suvarnabhumi Airport Terminal II / Design Proposal by DBALP Consortium จุดจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี (ภาพ https://vimeo.com/241361785/fc2a7b63f9)

โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดย DBALP Consortium ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือระหว่าง DBALP / NIKKEN / EMS / MHPM / MSE / ARJ / AMJ CONSORTIUM ออกแบบภายใต้แนวคิด “ป่าไม้” เสาอาคาร (wood pillar) เป็นโครงสร้างเหล็กหุ้มผิวไม้ พร้อมมีระบบนิเวศช่วยกักเก็บน้ำฝนไว้ใช้หมุนเวียน

โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ประกอบด้วย อาคารผู้โดยสารแบบ Multi-Terminal พื้นที่ประมาณ 348,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคน/ปี แบ่งออกเป็นผู้โดยสารภายในประเทศ จำนวน 12 ล้านคน/ปี และผู้โดยสารระหว่างประเทศ จำนวน 18 ล้านคน/ปี พร้อมปรับปรุงลานจอดอากาศยานให้สอดคล้องกับอาคารผู้โดยสารโดยมีหลุมจอดอากาศยาน จำนวน 14 หลุม รวมถึงงานก่อสร้างปรับปรุงอาคารเทียบเครื่องบิน A, B และ C, อาคารบริการท่าอากาศยานครบวงจร (Airport Multiplex Building: AMB) ด้านทิศใต้ของอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ พื้นที่อาคารประมาณ 84,000 ตารางเมตร สามารถจอดรถยนต์ในอาคารได้ประมาณ 1,000 – 1,500 คัน และมีลานจอดรถยนต์ภายนอกอาคารอีกประมาณ 1,500 – 2,000 คัน

นอกจากนี้ยังมีงานระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติแบบรถไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางของผู้โดยสารระหว่างอาคารผู้โดยสารหลัก (MTB) และอาคารเทียบเครื่องบิน Aในปัจจุบัน ไปยังอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 และเชื่อมต่อการเดินทางจากอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 กับสถานีรถไฟฟ้า Airport Rail Link มีระยะทางรวมทั้งระบบยาวประมาณ 2.5 กิโลเมตร งานระบบลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสาร เชื่อมต่อกับระบบของอาคารผู้โดยสารหลังปัจจุบัน งานก่อสร้างระบบถนนภายในท่าอากาศยานเพื่อใช้เป็นเส้นทางเข้า-ออกอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 และ งานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคเพื่อให้สอดคล้องกับโครงการฯ

โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดย DBALP Consortium
โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดย DBALP Consortium
โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดย DBALP Consortium
โครงการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดย DBALP Consortium

ชมแบบประกวดอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่หน้าถัดไป