โครงสร้างเหล็ก อีกทางเลือกของคนรักบ้านอินดัสเทรียล นอกจากความแข็งแรง แล้วยังสื่อลุกเท่ๆ ของเจ้าของได้อย่างดี เหมือนกับ บ้านโครงเหล็ก 10 หลังนี้ที่รูมนำมาฝาก
โฮมสตูดิโอขนาด 3 ชั้นที่สะกิดความทรงจำเราตั้งแต่แรกเห็นด้วยเส้นสายง่าย ๆ และหลังคาทรงจั่วถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากวัสดุเก่าที่รวบรวมไว้อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นไม้สักเก่า เหล็กเก่า ออกแบบตัวอาคารให้เปิดรับแสงธรรมชาติมากที่สุด ด้วยการติดตั้งบานกรอบเหล็กเป็นช่องสี่เหลี่ยมแล้วกรุกระจกใสเต็มผนังทั้งผืน และออกแบบพื้นที่ภายในอาคารเป็นโถงสูงแบบดับเบิ้ลสเปซเชื่อมต่อมุมมองทางสายตาทำให้ทุกคนสามารถชมงานศิลปะได้จากทุกมุม
เจ้าของ ตกแต่ง : คุณเหิร – ต่อลาภ ลาภเจริญสุข
อ่านต่อ : HERN’S STUDIO – A HANDMADE HOME บ้านทำมือของต่อลาภ ลาภเจริญสุข
ด้านหน้าอาคารออกแบบให้เกิดตัดกันของความโปร่งใสของผนังกรุกระจกใสตั้งแต่ชั้น 1 ถึงชั้น 3 บวกกับงานเหล็ก H Beam สีดำสนิทที่ช่วยขับเน้นให้เส้นสายเท่ๆ ของอาคารให้ดูคมชัด แต่เบาลอย กับความทึบของเปลือกอาคารขาวสะอาดในมุมมองเดียว เช่นเดียวกับความตัดกันระหว่างความเก่าของตึกแถวโดยรอบ และความทันสมัยของตัวอาคารที่ชวนมองจากทุกมุม
ออกแบบ : Anonym www.anonymstudio.com
อ่านต่อ : BAAN KANOM CHAN – สตูดิโอทำขนมหวาน และบ้านเรียบเท่แสนสงบ
บ้านรูปทรงสุดยูนีคหลังนี้ ทุกเส้นสายของบ้านหลังนี้ส่วนใหญ่เป็นเส้นที่ต่อเนื่องมาจากฟังก์ชันซึ่งได้รับการคิดขึ้นมาอย่างละเอียด เช่น เส้นเซาะร่องที่ผนังนั้นเกิดจากแนวคาน ส่วนคานเหล็กที่เหมือนกรอบสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ก็เป็นโครงสร้างสำหรับการต่อเติมบ้านในอนาคต และเป็นส่วนของห้องนอนที่ ล้อมรอบสวนสีเขียวไว้ตรงกลาง เมื่อตื่นนอนตอนเช้าจึงสามารถมองเห็นวิวยอดไม้สีเขียวผ่านผนังกระจกใส
เจ้าของ : คุณพาณ วงศ์บุญสิน, คุณอรณิชา ดุริยะประพันธ์, คุณพัชระ วงศ์บุญสิน
ออกแบบ – ตกแต่ง และแลนด์สเคป : คุณอรณิชา ดุริยะประพันธ์, คุณพัชระ วงศ์บุญสิน บริษัทพอ สถาปัตย์ จำกัด
ออกแบบโครงสร้าง : เบสิก ดีไซน์
ออกแบบไลติ้ง : Gooodlux Design Consultancy Co., Ltd. www.gooodluxdesign.com
อ่านต่อ : FORM FOLLOWS FUNCTION – บ้านที่ไม่ได้สร้างมาเพื่อถ่ายรูป
บ้านโชว์โครงเหล็ก หลังนี้ ตัวบ้านที่ออกแบบให้เป็นรูปตัวแอล (L) ทุกมุมของบ้านจึงสามารถมองเห็นสวนหย่อมได้ ภายใต้โครงเหล็กบรรจุระแนงสีขาวทำจากอะลูมิเนียม ดัดแปลงจากเหล็กดัดแบบเดิม ๆ ให้ดูทันสมัยเหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์น สามารถเลื่อนเปิดเมื่อต้องการเห็นวิวอย่างเต็มที่ และเลื่อนปิดได้เพื่อความปลอดภัย
เจ้าของ : คุณพิษณุ กุศลวงศ์ และคุณวาณี ชาติเศรษฐกานต์
ออกแบบ : คุณอยุทธ์ มหาโสม
อ่านต่อ : UNIQUELY ORDINARY เต็มเปี่ยมไปด้วยความสุข
ใช้โครงสร้างเหล็กรองรับตัวบ้านที่ยกมาจากตู้คอนเทนเนอร์ การวางผังบ้านโดยเลือกยกใต้ถุนด้านล่างเล็กน้อย ก่อนขึ้นพื้นบ้านชั้นแรก ด้านหนึ่งเป็นห้องสําหรับพี่สาวกับลูกชาย ส่วนอีกด้านเป็นใต้ถุนเปิดโล่งใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ จัดวางโต๊ะกลางและแขวนชิงช้าสําหรับพักผ่อน ก่อนขึ้นไปถึงชั้นสองที่เป็นห้องน้องชาย และของเจ้าของเอง
เจ้าของ – ออกแบบ : คุณวัลลภ ประสพผล
อ่านต่อ : CONTAIN CREATIVE LIVING บ้านบรรจุความสนุก
เสน่ห์ของเส้นสายแนวตั้งและแนวนอนของบ้านโครงสร้างเหล็ก รูปทรงกล่องสี่เหลี่ยมที่ทอดตัวยาวมีผนังตะแกรงเหล็กฉีกสีเทา – ดำ เป็นผนังอีกชั้น (Double Skin) ช่วยกันความร้อนไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้าน อีกทั้งช่วยกรองแสงแดดได้อีกชั้นหนึ่ง
เจ้าของ-ออกแบบ : คุณวสันต์-แพทย์หญิงกาญจนา ติรางกูร
ออกแบบ-ตกแต่ง : คุณจูน เซคิโน Junsekino Architect and Design
อ่านต่อ : TINMAN HOUSE
เหล็กคือวัสดุหลักที่เหมาะนำมาต่อเติมทาวน์เฮ้าส์ เพราะขนส่งสะดวกและนำมาก่อสร้างได้ง่ายกว่าการใช้คอนกรีตซึ่งเป็นวัสดุที่ต้องใช้น้ำเป็นตัวผสม ทำให้เปียกเปรอะเปื้อนง่าย อีกทั้งราคาก็ยังถูกกว่าการใช้ไม้คุณภาพสูง
เจ้าของ – ออกแบบตกแต่ง : คุณสุริยะ อัมพันศิริรัตน์ Walllasia., Ltd.
อ่านต่อ : BEYOND THE (BLACK) BOX นอก “กรอบ” ด้วย “แก่น”
บ้านโชว์โครงสร้างจากวัสดุเรียบง่ายอย่างโครงเหล็กและเสาคอนกรีตไปจนถึงหลังคาทรงจั่ว โดยมีสระว่ายน้ำและสวนหย่อมมาช่วยลดทอนความแข็งให้ดูซอฟต์ลง ชานบ้านด้านนอกใช้เป็นพื้นที่นั่งเล่นตามแบบฉบับบ้านไทย ส่วนชั้นสองก็มีระเบียงยื่นออกไปเพื่อใช้นั่งเล่นรับลมเย็น ๆ เช่นกัน เด่นที่ผนังกรุกระเบื้องดินเผาสีส้มอิฐตัดกับสีของพื้นปูนและโครงเหล็ก
เจ้าของ : คุณสุรัฐชัย – คุณนุตร์ เชนยวณิช
ออกแบบ : คุณนุตร์ เชนยวณิช และคุณจิรายุทธ ชัยจํารูญผล
อ่านต่อ : Stay Home, Stay Happy ครอบครัวสุขสันต์กับฟังก์ชันน่าอยู่
บ้านโชว์โครงเหล็ก หลังนี้ ออกแบบให้มีเสาเหล็กแบน(FlatBar) ประกบแผ่นไม้เพื่อรับน้ําหนักชายคากระจก และสร้างเส้นสายที่น่าสนใจให้แก่สเปซ
เจ้าของ : ครอบครัวนรเศรษฐกร
ออกแบบ – ตกแต่ง : คุณพีรเดช และคุณกิตติธัช นรเศรษฐกร
อ่านต่อ : UNFINISHED BUT COMPLETE
หัวใจหลักของความยืดหยุ่นของบ้านหลังนี้น่าจะเป็น “โครงสร้างเหล็ก” ที่สามารถรองรับการปรับเปลี่ยนได้ดีกว่าโครงสร้างคอนกรีตทั่วไป สถาปนิกขอให้วิศวกรออกแบบโครงสร้างให้มีคานในแนวขวางระหว่างชั้นน้อยที่สุด และใช้ระบบผนังเบาแทนผนังก่ออิฐฉาบปูน หากในอนาคตจะมีการเพิ่มเติมระบบท่อ และสุขภัณฑ์สำหรับห้องน้ำ หรือย้ายตำแหน่งผนังก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องแก้ไขโครงสร้างหลักแต่อย่างใด
เจ้าของ – ออกแบบ : คุณอรพรรณ สาระศาลิน – David Schafer แห่ง Studio Make
อ่านต่อ : บ้านสตูดิโอ ที่ทั้งอยู่อาศัยและเป็นโฮมออฟฟิศ
และสำหรับใครที่สนใจข้อมูลการใช้โครงสร้างเหล็กรูปพรรณรีดร้อน คลิกเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.syssteel.com หรือ ติดต่อ
บริษัท เหล็กสยามยามาโตะ จำกัด
โทร. 0-2586-7777
เรียบเรียง : Parichat K.