“ไปภูเก็ต…พักที่ไหนดี” เป็นคำถามยอดฮิตที่ผมมักโดนน้องๆที่ออฟฟิศถามอยู่เสมอ ผมก็จะถามกลับไปว่าต้องการพักแบบไหนล่ะ เพราะว่าไลฟ์สไตล์ของผู้ถามแต่ละคนไม่เหมือนกัน โรงแรมพราว ภูเก็ต
ถ้าแบบผมก็ต้องเงียบสงบ มีความเป็นส่วนตัว ใกล้สนามบิน คือมาพักผ่อนจริงๆ มีออกไปเดินชายหาดบ้าง เดินเล่นใกล้ๆที่พักได้บ้าง ซึ่งหากใครต้องการแค่นี้ ผมมีที่พักอยู่ที่หนึ่งครับ ราคาไม่แพงมาก มีครบสูตรตามที่บอกเลย นั่นคือ โรงแรมพราว ภูเก็ต ตั้งอยู่ทางเข้าหาดในยาง ติดกับสนามบินภูเก็ตเลยครับ
ชมคลิปบรรยากาศโรงแรมแบบ
ที่นี่เป็นบูติกโฮเทลที่มีรูปแบบการตกแต่งสไตล์ชิโน – ภูเก็ต (Sino – Phuket) ผสมผสานความเก่าใหม่ของสถาปัตยกรรมและการตกแต่งภายในเอาไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ทั้งยังได้กลิ่นอายความเป็นเปอรานากัน (Peranakan) อันสะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมท้องถิ่นของครอบครัวคนภูเก็ตที่มีเชื้อสายจีนผสมมลายู ที่เห็นได้ชัดเจนเลยคือ เครื่องแต่งกายของพนักงานที่ตัดเย็บจากผ้าปาเต๊ะท้องถิ่นสีสันสดใสและผ้าลูกไม้ภูเก็ต
ทุกเรื่องราวของการออกแบบในโรงแรมจึงเน้นการนำเสนอวัฒนธรรมพื้นถิ่น การนำลวดลายประดิษฐ์จากสถาปัตยกรรมเก่ามาใช้ในการออกแบบ เปรียบเหมือนเป็นตัวแทนของคนภูเก็ตที่คอยต้อนรับนักเดินทางด้วยไมตรีจิต อันเป็นความภูมิใจโดยแท้ของ คุณพ่อสุวัฒน์และคุณแม่เพ็ญนภา สมนาม ซึ่งทั้งสองท่านเป็นชาวภูเก็ตโดยกำเนิด
ห้องพักแต่ละห้องออกแบบไว้อย่างประณีตและปรากฏภาพดอกพุดภูเก็ตประดับประดาตามมุมต่างๆ ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์ของโรงแรม เพื่อเป็นการส่งมอบความห่วงใยความอบอุ่นให้ทุกการพักผ่อนของคุณมีความสุขที่สุด ยิ่งหากใครชื่นชอบการถ่ายรูปแล้วละก็ ที่นี่มีมุมให้ถ่ายภาพเยอะมาก เช่น ฝ้าเพดานฉลุลายนกฟีนิกซ์รายล้อมด้วยดอกโบตั๋นบริเวณโถงเช็กอิน หรือเดินลึกเข้าไปด้านในก็มีมุมกำแพงหินที่มีน้ำตกไหลรินเพิ่มความสดชื่นเย็นสบาย
ระยะหลังมานี้เวลาที่ผมมีโอกาสได้พักจริงๆ ผมจะชอบใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในโรงแรม อาจเป็นเพราะว่าก่อนหน้านี้เราเคยเดินเล่นในเมืองมามากพอแล้ว ก็เลยรู้สึกว่าต้องการการพักผ่อนแบบจริงๆ เอาเป็นว่ามาชมภาพบรรยากาศแห่งการพักผ่อนในโรงแรมแห่งนี้กันดีกว่าครับว่าจะดีงามสักแค่ไหน
โรงแรมพราว ภูเก็ต 135 ซอยในยาง 2 หาดในยาง ตำบลสาคู อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
โทรศัพท์ 0-7638-0499
www.proudphuket.com
www.facebook.com/proudphukethotel
เรื่อง: ไตรรัตน์ ทรงเผ่า
ภาพ: อนุพงษ์ ฉายสุขเกษม
l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l l