ตึกแดง-ตึกขาว สำนักงานอายุร้อยปีของ การรถไฟแห่งประเทศไทย - room
การรถไฟแห่งประเทศไทย

ตึกแดง-ตึกขาว สำนักงานอายุร้อยปีของการรถไฟฯ

เยี่ยมสองอาคารสำนักงานอายุแตะร้อยปีของ การรถไฟแห่งประเทศไทย อาคารพัสดุยศเส และอาคารตึกบัญชาการ ที่มักถูกเรียกกันในหมู่ชาวการรถไฟฯว่า “ตึกแดง” และ “ตึกขาว” ตามลำดับ

ปัจจุบันทั้งสองอาคารสำคัญนี้ยังคงเป็นที่ทำการหลักของการรถไฟฯ ตั้งอยู่เป็นส่วนหนึ่งใน ‘ย่านสถานีกรุงเทพ’ ก่อนที่บางส่วนจะเปลี่ยนถ่ายย้ายไปสู่ ‘สถานีกลางบางซื่อ’ ที่จะเปิดให้บริการจริงช่วงปลายปีนี้

ตึกแดง

ตึกแดง เป็นชื่อเรียกของ อาคารพัสดุยศเส ตั้งอยู่ติดกับสะพานยศเส ริมคลองผดุงกรุงเกษม สันนิฐานว่าก่อสร้างขึ้นในปี 2453 ซึ่งเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับการสร้างอาคารสถานีกรุงเทพ โดยสร้างขึ้นเพื่อใช้เก็บพัสดุจากการสร้างอุโมงค์ขุนตาน และการก่อสร้างทางรถไฟสายใต้

การรถไฟแห่งประเทศไทย

แต่เดิมอาคารฝั่งเหนือและใต้เป็นเพียงอาคาร 2 ชั้น พร้อมลิฟต์สำหรับขนพัสดุจำนวน 3 ตัว ก่อนจะมีการรื้อถอนและต่อเติมอาคารเพื่อให้สอดรับการใช้งานที่เพิ่มขึ้นหลายคราว นับตั้งแต่รัฐบาลในสมัยนั้นได้ควบรวมรวมกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงคมนาคมเข้าด้วยกัน

การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย

ข้อมูลอ้างอิงจากเอกสารประชาสัมพันธ์ โดยการรถไฟฯ ระบุว่า อาคารหลังนี้ออกแบบโดยหลวงสุขวัฒน์ ในสมัยที่พระยาสารศาสตร์ ศิริลักษณ์ เป็นผู้บัญชาการกรมรถไฟ เริ่มก่อสร้างใหม่เมื่อปี 2471 แล้วเสร็จในปี 2474 ก่อนได้รับการต่อเติมปีกอาคารฝั่งทิศเหนือและทิศใต้เป็นอาคาร 3 ชั้น เหมือนกับอาคารฝั่งตะวันตกในปี 2494 และกลายมาเป็นที่ทำการของกรมกรมพัสดุแห่งชาติ ซึ่งรัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นในเวลาต่อมา

การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย

ปัจจุบัน อาคารพัสดุยศเส หรือ ตึกแดง เป็นที่ทำการของฝ่าย/สำนักงานต่าง ๆ ของการรถไฟฯ ตัวอาคารมีลักษณะครึ่งอิฐครึ่งไม้จำนวน 3 ชั้น วางผังในลักษณะตัวยู (U) ซึ่งชื่อตึกแดง ที่มักเรียกกันติดปากนั้น ถูกเรียกตามลักษณะเด่นของแนวผนังอิฐบางบัวทอง ที่ใช้ก่อสร้างตัวอาคารนั่นเอง

การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย

อาคารพัสดุยศเส มีโครงสร้างอาคารเป็นระบบเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็ก อาคารชั้นล่างฝั่งตะวันตก และปีกอาคารก่อผนังอิฐตลอดแนวอาคาร ขณะที่ชั้น 2-3 ของอาคารฝั่งทิศตะวันตกเป็นผนังโครงและฝาไม้ เชื่อมต่อพื้นที่ทั้งหมดด้วยบันไดไม้สักโบราณ และระเบียงทางเดินตลอดแนวอาคารทั้งด้านหน้าและด้านหลัง

การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย

อาคารฝั่งทิศตะวันตกมุงหลังคาทรงปั้นหยา เสริมด้วยหลังคาทรงจั่วอีกหนึ่งชั้นเพื่อช่วยในการระบายอากาศ ส่วนอีกอาคารฝั่งทิศเหนือและทิศใต้เป็นหลังคาแบน (Flat Slab) จากคอนกรีต ผสมกับหลังคาปั้นหยา เสริมด้วยหลังคาจั่วอีกหนึ่งชั้นเพื่อช่วยในการระบายอากาศเช่นกัน

การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย

อาคารหลังนี้ได้รับการปรับปรุงและติดตั้งวัสดุอุปกรณ์อนุรักษ์พลังงาน ภายใต้โครงการอาคารของรัฐ โดยกองทุนเพื่อเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และดำเนินการโดยกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนมกราคม 2540 และได้รับการคัดเลือกจากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็นอาคารรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประเภทอาคารสถาบันและอาคารสาธารณะ ในปี 2549

ตึกขาว

การรถไฟแห่งประเทศไทย

ตึกขาว หรือ อาคารตึกบัญชาการ เดิมเป็นตึก 2 ชั้น ที่ตั้งอยู่ด้านเหนือสถานีหัวลำโพง ซอยริมคลอง ตรงข้ามกับวัดเทพศิรินทราวาส อาคารแห่งนี้คือที่ทำการกรมรถไฟ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สร้างขึ้นในปี 2433 ซึ่งขณะนั้นมี นาย เค เบธเก้ ชาวเยอรมันเป็นเจ้ากรม และเป็นเหตุผลให้ชาวรถไฟรุ่นเก่าเรียกที่ทำการรถไฟแห่งนี้ว่า “ตึกเบธเก้”

การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย

ต่อมาในปี 2460 ช่วงที่พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมกำแพงเพชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟฯ ซึ่งรวม กรมรถไฟสายเหนือและกรมรถไฟสายใต้เข้าด้วยกัน จึงได้มีการต่อเติมอาคารขนานกับทางรถไฟอีกข้างหนึ่ง และขนานกับลำคลองอีกด้านหนึ่ง เป็นรูปตัวยู (U) ก่อนที่ในเวลาต่อมาในปี 2482 ได้มีการก่อสร้างตึกที่ทำการกรมรถไฟตามรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างปี 2491 กรมรถไฟได้รับงบประมาณสร้างตึกบัญชาการบนฐานรากเดิมของตึก 2 ชั้นรูปตัวยู (U) โดยมีทางเข้าลอดตัวตึกเชื่อมอาคารทั้ง 2 เข้าหากัน กระทั่งในปี 2495 ได้เกิดไฟไหม้ที่ตึก 3 ชั้นทางทิศใต้ จึงมีการซ่อมแซมและต่อเติมตึกส่วนที่เชื่อม 2 ชั้น ทางด้านตะวันออกให้เป็น 3 ชั้น เหมือนกันหมดทุกด้าน และได้อัญเชิญตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5 ขึ้นติดตั้งที่หน้าตึกบัญชาการชั้น 3 และนำตราล้อปีกสัญลักษณ์ของกรมรถไฟติดตั้งที่ชั้น 2

การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย

ภาพอาคารสำคัญย่านสถานีกรุงเทพ (เพิ่มเติม)

การรถไฟแห่งประเทศไทย
โรงรถดีเซลรางกรุงเทพ
การรถไฟแห่งประเทศไทย
โรงรถดีเซลรางกรุงเทพ
การรถไฟแห่งประเทศไทย
โรงรถดีเซลรางกรุงเทพ
การรถไฟแห่งประเทศไทย
โรงรถดีเซลรางกรุงเทพ

สถานีกรุงเทพ หัวลำโพง ย่านสถานีกรุงเทพ การรถไฟแห่งประเทศไทย
บันทึกภาพ ‘สถานีรถไฟ กรุงเทพ’ ก่อนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ

เรียบเรียง: ND24 / เอกสารประชาสัมพันธ์ จากการรถไฟแห่งประเทศไทย
ภาพ: นวภัทร

อ้างอิง:
เอกสารประชาสัมพันธ์: ประวัติ ตึกแดง ตึกขาว หัวลำโพง จากหนังสือ 100 ปีรถไฟไทย โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย
และ http://www.docomomothailand.org/ebook/ebookThai.pdf