WHY PANTONE ? - ทำไมต้อง 'โทน' ไม่เข้าใจ - room

WHY PANTONE? – ทำไมต้อง ‘โทน’ ไม่เข้าใจ

WHY PANTONE? – ทำไมต้อง ‘โทน’ 

ทุกต้นเดือนธันวาคม เป็นเวลาที่เหล่าดีไซน์เนอร์ตั้งตารอคอยว่า PANTONEผู้มีอิทธิพลต่อเทรนด์สีทั่วโลก จะนำพาสีใดมาขึ้นแท่นสี(ที่ต้อง)ฮิตในปีใหม่ ซึ่งในปี 2559 นี้ได้แก่ สีเขียว Greenery 15-0343 สีเขียวเฉดที่เรียกความสดใสในฤดูใบไม้ผลิจากยอดใบไม้อ่อนที่พึ่งแตกหน่อหลังจากหลับใหลในฤดูหนาว

PANTONE
ภาพ : https://web.facebook.com/PantoneColor

คำถามแรกคือ PANTONEเป็นใคร?

PANTONEเป็นชื่อของบริษัทอุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์ที่คิดค้นระบบการจับคู่สีเป็นของตัวเอง (หรือPantone Color Matching System – PMS) เพื่อทำให้เป็นมาตรฐานเดียวกันตั้งแต่หน้าจอจนออกมาบนแผ่นกระดาษ ซึ่งพิเศษตรงที่ให้ค่าสีเฉดอื่นที่แตกต่างจากมาตราของ CMYK จะทำได้ อย่างสีนีออน หรือเมทัลลิก โดยทางแพนโทนจะมีคัมภีร์ของตัวเองที่ปรินท์บนกระดาษแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปเทียบดูกับสีจริงที่จะออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

ภาพ : http://www.pantone.com/

แน่นอนว่าแต่ละปีย่อมจะมีบริษัทที่พยากรณ์เทรนด์สีมาแรงเป็นของตนเอง แล้วทำไมทุกคนถึงเชื่อค่าสีของแพนโทนล่ะ?

นั่นเพราะเขาใข้กรรมการถึง 10 คนซึ่งจับตามองผู้คนทั่วโลก จากไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวัน ครอบคลุมตั้งแต่สตรีตอาร์ตยันเรื่องความเป็นอยู่และการเมือง ร่วมกันเก็บข้อมูลนำมาเข้าที่ประชุมซึ่งจัดรวมพลปีละ 2 ครั้ง เพื่อโหวตหาสีที่ชนะเลิศ ซึ่ง Leatrice Eiseman กรรมการบริหารของแพนโทนได้เคยกล่าวไว้กับนิตยสาร Glamour ว่า สีจากแพนโทนไม่ได้เป็นสีที่ทันสมัยที่สุด แต่คือสีที่แสดงอารมณ์และทัศนคติของผู้บริโภคในช่วงเวลานั้น

15337387_10154725864237629_717540026775557546_n

ภาพสีที่แพนโทนหยิบมาประกาศในแต่ละปี ภาพ: http://www.pantone.com/
ภาพสีที่แพนโทนหยิบมาประกาศในแต่ละปี ภาพ: http://www.pantone.com/

 

ทุกปีหลังจากแพนโทนประกาศสีแห่งปีออกมา แน่นอนว่าตลาดงานดีไซน์ก็จะเริ่มคึกคักไปด้วยโปรดักต์สีเหล่านั้น นัยหนึ่งเพื่อเป็นการกำหนดทิศทางตลาดสำหรับเกื้อหนุนนักออกแบบ เหมือนเป็นการการันตีแบบย่อมๆ ว่าสีนี้ขายได้แน่นอน แต่อีกนัย กับคนที่ไม่อยากทำงานเหมือนใคร ก็จะรู้ทิศทางในการแหกคอกเพื่อสร้างคาแร็กเตอร์ของตัวเองได้เหมือนกัน

PANTONE COLOR OF THE YEAR 2017 - Greenery 15-0343

จากซ้าย : , Emilio Pucci, spring 2017; Michael Kors, spring 2017; and Balenciaga, spring 2017. ที่มา : Credit Valerio Mezzanotti for The New York Times; Hiroko Masuike/The New York Times; Valerio Mezzanotti for The New York Times
จากซ้าย : , Emilio Pucci, spring 2017; Michael Kors, spring 2017; and Balenciaga, spring 2017. ที่มา : Credit Valerio Mezzanotti for The New York Times; Hiroko Masuike/The New York Times; Valerio Mezzanotti for The New York Times
From left: Firstview; Giuseppe Cacace/Agence-France Presse --- Getty Images; Firstview
จากซ้าย: Robert Geller, spring 2017; Prada, spring 2017; and Gucci, spring 2017. ที่มาภาพ จากซ้าย : Firstview; Giuseppe Cacace/Agence-France Presse — Getty Images; Firstview
Haute House Tiffany Damask Chair. ภาพ :http://www.nytimes.com/
Haute House Tiffany Damask Chair. ภาพ :http://www.nytimes.com/

เรื่อง skiixy
ภาพประกอบ Parichat K.