โมเดิร์นสามพราน เปลี่ยนภาพลักษณ์สมุนไพรแบรนด์ไทยสู่เวทีโลกผ่านงานออกแบบ
เมื่อกระแสโลกหมุนเร็ว จนการทำแบรนด์รูปแบบเดิมดูเหมือนจะไม่ทันกับความต้องการของตลาด ที่ความเร็วและภาพลักษณ์ กลายเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจเป็นอันดับแรก เช่นเดียวกับ ‘แบรนด์สมุนไพรวังพรม’ ที่เข้าใจและเล็งเห็นความเป็นไปได้ในตลาดสากล โดยมีกำลังสำคัญอย่าง คุณแต้ว-วัชรีภรณ์ วังพรม และ คุณเฟอร์-กณพ สุทธะพินทุ เจนเนอร์เรชั่นรุ่นที่ 2 ที่มีวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์ให้ทันสมัย ร่วมมือกับผู้ออกแบบฝีมือดีจาก APOSTROPHYS ที่รับหน้าที่ดูแลภาพรวมในเรื่องของงานออกแบบ เพื่อภาพลักษณ์ที่ทันสมัยขึ้นแต่ก็ยังคงมีกลิ่นอายของ ‘วังพรม’ อยู่อย่างเต็มเปี่ยม
ความน่าสนใจของการเปลี่ยนภาพลักษณ์ของแบรนด์สมุนไพรแห่งนี้คือการเลือกที่จะรีโนเวต ‘โรงงานเก่า’ ของทางครอบครัวเพื่อเปลี่ยนเป็น ‘สำนักงานวังพรม’ เพื่อลดต้นทุนและยังได้พื้นที่ใช้สอยที่มากขึ้น โดยฟังก์ชั่นที่ได้ต้องการนอกจากจะเพื่อเป็นสำนักงานแล้ว ยังต้องการให้เป็นพื้นที่รับรองลูกค้าชาวต่างชาติ ไปจนถึง ‘นิเวศวังพรม’ คอมมูนิตี้แห่งใหม่ของอำเภอสามพรานที่นำเอาสมุนไพรต่อยอดไปเป็นผลิตภัณฑ์ รวมถึงการจัดจัดอีเวนต์หรืองานแฟร์ในพื้นที่ตลอดทั้งปี เพื่อสื่อสารถึงสรรพคุณของสมุนไพรไทยให้เป็นที่รู้จักในระดับสากล
ในส่วนของงานรีโนเวตนั้น เนื่องจากอาคารเดิมเป็นโรงงานเก่า ผู้ออกแบบจึงออกแบบโดยนำกลิ่นอายของบ้านในท้องถิ่นของอำเภอสามพราน มาเป็นบริบทของพื้นที่สำนักงาน ซึ่งทางผู้ออกแบบนิยามสไตล์นี้ว่า ‘โมเดิร์นสามพราน’ และด้วยพื้นที่ที่มีเพียง 250 ตร.ม. จึงต้องออกแบบให้สำนักงานรู้สึกโปร่งโล่ง และไม่ให้บรรยากาสศรู้สึกเหมือนเป็นสำนักงาน แต่ให้รู้สึกให้เหมือนบ้านมากที่สุด โดยดึงลักษณะพิเศษของบ้าน โรงแรม คาเฟ่ ไปจนถึงสปา ซึ่งเป็นสถานที่พักผ่อนแบบไทยๆ มาใช้ในการออกแบบ เพื่อให้ผู้ใช้พื้นที่รู้สึกผ่อนคลายมากที่สุด อีกทั้งยังจัดวางเฟอร์นิเจอร์ให้แต่ละคนสามารถมองเห็นกันละกันได้ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นพาทิชั่น ที่สามารถกั้นพื้นที่สำหรับจัดเป็นพื้นที่ใช้งานอเนกประสงค์ของผู้ใช้งานในอนาคต
นอกจากนั้น ผู้ออกแบบยังเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ ที่ถูกออกแบบโดยได้แรงบันดาลใจจากยุคสมัยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ที่สั่งผลิตขึ้นมาเพื่อโครงการนี้โดยเฉพาะ โดยใช้เน้นเป็นเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว อย่างโต๊ะสำนักงาน หรือเฟอนิเจอร์ในสำนักงานจะพยายามทำให้ “ล่องหน” หรือ “ลอยได้” ผ่านการใช้ “กระจก” ที่ถูกนำมาใช้เป็นขาเฟอนิเจอร์ลอยตัวต่างๆ เพื่อให้พื้นที่ดูเบาและดูกว้างมากขึ้น รวมถึงชิ้นส่วนต่างๆที่นำมาตกแต่ง ก็พยายามใช้ของ “ท้องถิ่นไทย” งานฝีมือหัตกรรม งานฝีมือ (Craft) แบบไทยๆ ให้ได้มากที่สุด
สำนักงานแห่งนี้ ถือเป็นโครงการนำร่องก่อนที่จะมีอีกหลายๆ โครงการตามออกมา ที่พยายามเอานำความคิดสร้างสรรค์ ระหว่าง “ท้องถิ่นไทย” กับ “ธุรกิจ” มาแปรรูป เพื่อพลักดันให้กับสินค้าสมุนไพรไทย ไปยืนอยู่ในเวทีโลกให้รู้จักสมุนไพรไทยจากสามพราน
ออกแบบ Apostrophys Group Co.,Ltd. ,
www.apostrophys.com, 02-193-9144, 086-992-3280
เรื่อง Ektida N.
ภาพ เอกสารประชาสัมพันธ์
เรียบเรียง Parichat K.