สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP3 : AFTER DISASTERS ความหวังหลังภัยพิบัติ

สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP3 : AFTER DISASTERS ความหวังหลังภัยพิบัติ

 

ค่ายอพยพจากภัยพิบัติใดก็ตามเป็นสิ่งปลูกสร้างที่นำมาซึ่งปัญหาตั้งแต่ระดับคุณภาพชีวิตไปจนถึงความมั่นคงภายในของประเทศ เพราะค่ายที่ควรจะ ชั่วคราว กลับยิ่ง ถาวร ขึ้นเรื่อย ๆ ตามปัญหาที่นานวันกลับยังไม่ได้รับการสะสาง 

็Housing
Zaatari Refugee Camp ในปี ค.ศ. 2013 (wikipedia.com)

จากค่ายสู่นคร

เลิกคิดเสียทีว่าค่ายผู้อพยพนั้นเป็นเพียงสถานที่พักชั่วคราว นี่เป็นคำกล่าวของ KilianKleinschmidt อดีตหนึ่งในกรรมการของ UNHCR นอกจากนี้เขายังกล่าวถึงทัศนคติที่มีต่อผู้ประสบภัยว่าเป็นเพียง เหยื่อ ที่รอการช่วยเหลือ ขาดการมองว่าเป็น มนุษย์ ที่มีกำลังและความรู้ นำมาซึ่งปัญหาทางสังคมที่ค่อย ๆ บานปลายและไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืน

หลังจากที่คีเลียนเข้าไปพัฒนา ค่ายผู้ประสบภัยสงครามZAATARI ที่ประเทศจอร์แดน โดยร่วมมือกับคนในชุมชน แค่ 2 ปีที่นั่นก็กลายเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งที่มีทั้งถนน ไฟฟ้า จานดาวเทียม และการค้าขายย่อย ๆ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจอร์แดนได้ในเวลาต่อมา

Housing
Zaatari Refugee Camp ในปี ค.ศ. 2013 (wikipedia.com)

การให้ความสำคัญกับผู้คนและการ ให้โอกาส อย่างที่คีเลียนทำยังเห็นได้จากสถาปัตยกรรมของ ShigeruBan สถาปนิกรางวัลพริตซ์เกอร์ เขาได้สร้างบ้านเพื่อผู้ประสบภัยสึนามิที่ประเทศศรีลังกา ด้วยแนวคิดการนำวัสดุท้องถิ่นอย่าง ดิน มาก่อสร้างบ้านในรูปแบบที่เรียบง่าย โดยให้ผู้อยู่อาศัยเป็นผู้ลงมือก่อสร้างเองเพื่อให้พวกเขารู้สึกรักและหวงแหนสถานที่นั้น ๆ

Housing
Post-Tsunami Housing ที่ศรีลังกา
โดย Shigeru Ban Architects (archdaily.com)

จากค่ายสู่สังคม

มีคนถึง12สัญชาติรวมตัวกันที่นี่ นี่คือคำพูดของ MuhammedMuheisen ช่างภาพสารคดีรางวัลพูลิตเซอร์ ซึ่งไม่ได้พูดถึงค่ายอพยพในถิ่นทุรกันดารที่ไหน แต่เขากำลังพูดถึงที่อยู่ของผู้อพยพใน คุก กลางกรุงอัมสเตอร์ดัม ที่เขาได้เข้าไปเก็บภาพบรรยากาศและความเป็นอยู่ของผู้อพยพที่พักอาศัยอยู่ภายในเรือนจำBijlmerbajes

Housing
เรือนจำ Bijlmerbajes ในกรุงอัมสเตอร์ดัม (nationalgeographic.com)

เนเธอร์แลนด์แก้ปัญหาผู้ลี้ภัยด้วยการเปิดประเทศรับพวกเขา โดยให้พักอาศัยอยู่ในบรรดาห้องขังที่ว่างเปล่า เพราะที่นี่รวมถึงเรือนจำอีกหลาย ๆ แห่งแทบไม่มีการคุมขังนักโทษเนื่องจากปัญหาอาชญากรรมมีแนวโน้มลดลงจนแทบจะเป็นศูนย์ ทว่าแทนที่จะรู้สึกหดหู่ ที่นี่กลับเต็มไปด้วยสีสันของผู้คนหลากหลายที่มา ภายในพรั่งพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย เพื่อให้ผู้อพยพมีสภาพความเป็นอยู่ที่สบาย นอกจากนั้นลานกว้างของเรือนจำยังได้กลายเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับผู้คนทั้งภายในและภายนอกสามารถมาใช้งานร่วมกันได้ด้วย


อ่านทั้งหมดของเรื่อง สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP1 : READY TO LIVE IN สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน

สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP2 : MADE IN WAR กำเนิดจากซากปรักหักพัง

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP3 : AFTER DISATERS ความหวังหลังภัยพิบัติ

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP4 : NEAVE BROWN สถาปนิกผู้บุกเบิก

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP5 : SUSTAINABILITY เคหะยั่งยืน

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP6 : COHOUSING ชุมชนรวมบ้าน

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP7 : GENTRIFICATION หรือคนจนไม่ควรอยู่ในเมือง

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP8 : LAST SHELTER ราคาของวาระสุดท้าย

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP9 : HOUSES FOR EVERYONE บ้านสำหรับทุกคน


เรื่อง : Monosoda, กรกฏา


TOTAL NEW LOOK! พบ room โฉมใหม่ฉบับราย 2เดือน ได้ 1 พ.ย. นี้ เล่มนี้ว่ากันด้วยเรื่องราวของ The Annual Property Issue ที่รวบรวมความเคลื่อนไหวในเชิงดีไซน์ในวงการอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจที่สุดตลอดทั้งปีที่ผ่านมาไว้ให้คุณที่นี่ที่เดียว

Design Cases 

– Residential : Riz Carlton Residences Bangkok ห้องพักหรูระฟ้าบนตึกมหานคร
– Bar : Soi 16 บาร์เปิดใหม่กลางเมืองพัทยา โดดเด่นด้วยคาแร็คเตอร์กลิ่นอายสไตล์ไทย
– Restaurant : Nowhere ร้านอาหารสไตล์โมเดิร์นบนรูฟท๊อปสุดเท่

Theme 

– Design Documentary : สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน

– Special Scoop : 20 Best Design housing of 2017 รวมโครงการอยู่อาศัยที่เราว่าเจ๋งที่สุดประจำปีนี้

Home

– TRIANGLE HOUSE เรื่องราวของรูปสามเหลี่ยมกับงานดีไซน์สนุก ๆ นอกกรอบ ผลงานโดย Ganna design บริษัทสถาปนิกสัญชาติไต้หวั

– READY-TO-PAINT CANVAS อิสระในการอยู่อาศัย เติมเต็มชีวิตให้บ้านไม่ต่างจากงานศิลปะของคุณรักกิจ ควรหาเวช และคุณพิชญา ศรีระพงษ์

– HUAMARK 09 บ้านมิกซ์ยูสรวมฟังก์ชันออฟฟิศ บ้านพักอาศัย และสตูดิโอออกแบบเข้าด้วยกัน ของคุณอินทนนท์ และคุณธริศราย์ จันทร์ทิพย์

Inspiration 

Product
– Ong-Orn แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไม้ เข้าถึงตัวตนผู้ใช้ด้วยการผลิตแบบ Custom – Made
Material
– แนะนำพรมรุ่นใหม่จาก Express Carpet ตอบโจทย์ดีไซน์ที่หลากหลายของบ้านคุณ
Event
– Dyson Singapore Technology Centre ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีของไดสันประจำสิงคโปร์

สอบถามสั่งซื้อนิตยสาร Room ได้ที่ช่องทางต่อไปนี้
1. ฝ่ายสมาชิกนิตยสาร Room: โทร 02-423-9889
2. ID Line : @naiinfanclub
3. Inbox FB : www.facebook.com/messages/t/150967806418
4. Website naiin.com : naiin.com/category?magazineHeadCode=RM&product_type_id=2