สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP6 : COHOUSING ชุมชนรวมบ้าน

สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP6 : COHOUSING ชุมชนรวมบ้าน

ความเปลี่ยนแปลงทางสังคมรวมถึงการขยายตัวของเมืองอย่างต่อเนื่องในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้ชาวเมืองใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวขึ้นเรื่อย ๆ และนั่นอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ผู้คนยุคนี้ต้องการสร้างชุมชนของตัวเองและใช้ชีวิตอย่างพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้นสักพักใหญ่แล้วที่เราได้ยินคำว่า Co-living ในฐานะของ สเปซ สุดฮิปสำหรับอาศัยร่วมกัน และแนวโน้มการรวมบ้านนี้ก็เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ทั่วโลกโดยเฉพาะในฝั่งโลกตะวันตก

ผู้คนในอนาคตจะกลายเป็นคนไร้บ้าน” JamesScott ตัวแทนของ TheCollective ผู้พัฒนาอาคารพักอาศัยแบบ Co-living ในลอนดอนได้กล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์กับ dezeen.com เขามองว่าคนรุ่นใหม่อาจไม่ได้ต้องการ กรรมสิทธิ์ หรือความเป็นเจ้าของบ้านเท่ากับคนรุ่นพ่อแม่ของเรา คนเจนวายมีครอบครัวช้าและให้ความสำคัญกับประสบการณ์ชีวิตมากขึ้น ที่พักอาศัยในยุคหน้าจึงอาจเป็นเรื่องของ การให้บริการที่อยู่อาศัย มากกว่าการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์

Housing
พื้นที่ส่วนกลางของ The Collective Old Oak ในลอนดอน (thecollective.co.uk)

TheCollectiveOldOakคือตัวอย่างหนึ่งของอาคารที่รวมบ้านพัก ร้านอาหาร คาเฟ่ โรงยิม Co-working Space ไว้ในอาคารเดียวกลางกรุงลอนดอน และเปิดบริการให้เช่าอยู่อาศัยในระยะยาวไม่ต่างจากการผสาน “หอพัก” และ “โรงแรม” เข้าด้วยกัน

นอกจากนี้การอยู่อาศัยในรูปแบบ Cohousing ก็กำลังได้รับความนิยมด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นชุมชนผู้สูงอายุที่ไม่ต้องการอยู่บ้านพักคนชรา Cohousing ของศิลปินหรือชาวฟรีแลนซ์ที่เป็นทั้งที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำงานร่วมกัน หรือชุมชนที่มีสมาชิกหลากหลายทั้งคนโสด ครอบครัว ผู้สูงอายุ ผู้พิการเพื่อพึ่งพาอาศัยกันตั้งแต่ 6 ครอบครัวไปถึงหลายสิบครอบครัว

Housing
OWCH Cohousing สำหรับผู้สูงอายุหญิงแห่งแรกในลอนดอน (architectsjournal.co.uk)

Cohousing เกิดขึ้นครั้งแรกในเดนมาร์กในช่วงยุค 60 ภายใต้ชื่อ Sættedammen เป็นการรวมกลุ่มของหลาย ๆ ครอบครัวที่มีความต้องการตรงกันมาอาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันจนกลายเป็นชุมชนขนาดย่อม โดยแต่ละครอบครัวมีพื้นที่บ้านส่วนตัว แต่จะแชร์พื้นที่ส่วนกลางและสาธารณูปโภคซึ่งแบ่งสรรปันส่วนกันรับผิดชอบ โดยไม่มีนิติบุคคลมาคอยดูแลเก็บค่าส่วนกลาง ดังนั้นรูปแบบการบริหารจัดการและกิจกรรมภายในชุมชนจึงเป็นสิ่งที่สมาชิกทุกคนสนใจจริง ๆ Cohousing ส่งผลต่อรูปแบบงานสถาปัตยกรรมรวมไปถึงการวางผังที่ต้องหลอมรวมพื้นที่อยู่อาศัยพื้นที่ส่วนกลาง เช่น ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร สนามหญ้าและสนามเด็กเล่น และระบบสาธารณูปโภคเข้าด้วยกันเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานโดยรวม

Housing
LILAC Cohousing ชุมชนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (lilac.coop)

และด้วยรูปแบบของการแชร์พื้นที่ส่วนกลางและสาธารณูปโภค Cohousing จึงช่วยสร้างความยั่งยืนด้านการใช้ทรัพยากรทั้งด้านการก่อสร้างและค่าบำรุงรักษาพื้นที่ส่วนกลางที่ทุกคนช่วยกันรับผิดชอบ นอกจากนี้การใช้พลังงานร่วมกันยังช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในระยะยาว แนวคิดนี้จึงเป็นอีกหนึ่งความหวังที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดเพื่อช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยในหลาย ๆ เมือง รวมถึงการสร้างชุมชนเพื่อตอบรับสังคมผู้สูงอายุในอนาคตอันใกล้ จึงอยู่ที่ว่าทั้งภาครัฐและเอกชนจะกระตุ้นให้การก่อตั้งและก่อสร้าง Cohousing เกิดขึ้นในรูปแบบใดและจะบริหารจัดการในระยะยาวอย่างไร


อ่านทั้งหมดของเรื่อง สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP1 : READY TO LIVE IN สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน

สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP2 : MADE IN WAR กำเนิดจากซากปรักหักพัง

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP3 : AFTER DISATERS ความหวังหลังภัยพิบัติ

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP4 : NEAVE BROWN สถาปนิกผู้บุกเบิก

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP5 : SUSTAINABILITY เคหะยั่งยืน

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP6 : COHOUSING ชุมชนรวมบ้าน

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP7 : GENTRIFICATION หรือคนจนไม่ควรอยู่ในเมือง

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP8 : LAST SHELTER ราคาของวาระสุดท้าย

Housingสถาปัตยกรรมพร้อมอาศัย EP9 : HOUSES FOR EVERYONE บ้านสำหรับทุกคน


เรื่อง : Monosoda, กรกฏา


TOTAL NEW LOOK! พบ room โฉมใหม่ฉบับราย 2เดือน ได้ 1 พ.ย. นี้ เล่มนี้ว่ากันด้วยเรื่องราวของ The Annual Property Issue ที่รวบรวมความเคลื่อนไหวในเชิงดีไซน์ในวงการอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจที่สุดตลอดทั้งปีที่ผ่านมาไว้ให้คุณที่นี่ที่เดียว

Design Cases 

– Residential : Riz Carlton Residences Bangkok ห้องพักหรูระฟ้าบนตึกมหานคร
– Bar : Soi 16 บาร์เปิดใหม่กลางเมืองพัทยา โดดเด่นด้วยคาแร็คเตอร์กลิ่นอายสไตล์ไทย
– Restaurant : Nowhere ร้านอาหารสไตล์โมเดิร์นบนรูฟท๊อปสุดเท่

Theme 

– Design Documentary : สถาปัตยกรรมพร้อมอาศัยในวันที่ “บ้าน” ไม่เพียงพอสำหรับทุกคน

– Special Scoop : 20 Best Design housing of 2017 รวมโครงการอยู่อาศัยที่เราว่าเจ๋งที่สุดประจำปีนี้

Home

– TRIANGLE HOUSE เรื่องราวของรูปสามเหลี่ยมกับงานดีไซน์สนุก ๆ นอกกรอบ ผลงานโดย Ganna design บริษัทสถาปนิกสัญชาติไต้หวั

– READY-TO-PAINT CANVAS อิสระในการอยู่อาศัย เติมเต็มชีวิตให้บ้านไม่ต่างจากงานศิลปะของคุณรักกิจ ควรหาเวช และคุณพิชญา ศรีระพงษ์

– HUAMARK 09 บ้านมิกซ์ยูสรวมฟังก์ชันออฟฟิศ บ้านพักอาศัย และสตูดิโอออกแบบเข้าด้วยกัน ของคุณอินทนนท์ และคุณธริศราย์ จันทร์ทิพย์

Inspiration 

Product
– Ong-Orn แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ไม้ เข้าถึงตัวตนผู้ใช้ด้วยการผลิตแบบ Custom – Made
Material
– แนะนำพรมรุ่นใหม่จาก Express Carpet ตอบโจทย์ดีไซน์ที่หลากหลายของบ้านคุณ
Event
– Dyson Singapore Technology Centre ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีของไดสันประจำสิงคโปร์

สอบถามสั่งซื้อนิตยสาร Room ได้ที่ช่องทางต่อไปนี้
1. ฝ่ายสมาชิกนิตยสาร Room: โทร 02-423-9889
2. ID Line : @naiinfanclub
3. Inbox FB : www.facebook.com/messages/t/150967806418
4. Website naiin.com : naiin.com/category?magazineHeadCode=RM&product_type_id=2