REUSE REPAIR UPCYCLE แนวคิดการนําวัสดุเหลือใช้กลับมา ออกแบบสำนักงาน

แม่คะนิ้งครีเอทีฟ นําวัสดุเหลือใช้กลับมาออกแบบออฟฟิศในแนวคิด REUSE REPAIR UPCYCLE

จากความประทับใจวัยเด็กสู่งาน ออกแบบสำนักงาน ที่เชื่อมโยงระหว่างวันวานและจิตสํานึกที่มีต่อส่ิงแวดล้อม กลายเป็นท่ีมาของอาคารทรงลูกบาศก์ปกคลุมด้วยฟาง มีหน้าจั่วสามเหลี่ยมโดดเด่น ตกแต่งแลนด์สเคปรอบๆ ด้วยทุ่งหญ้า ชวนให้นึกถึงกระท่อมกลางทุ่งนา ซึ่งเป็นธีมหลักของการออกแบบอาคารนี้

ด้วยประสบการณ์การออกแบบสํานักงานเก่า เมื่อได้พื้นที่ใหม่ จึงคิดถึงเรื่องวัสดุที่สามารถนํากลับไปใช้ใหม่ได้ และความสะดวกสบายเมื่อต้องโยกย้ายเปลี่ยนแปลง คุณอาร์ท- รณชัย ขันปัญญา สถาปนิกจากบริษัทแม่คะนิ้งครีเอทีฟ จำกัด จึงนําแนวคิดการนําวัสดุเหลือใช้กลับมาออกแบบออฟฟิศหลังใหม่ของตัวเอง โดยใช้หลัก Reuse Repair Upcycle

REUSE REPAIR UPCYCLE

ด้วยประสบการณ์การออกแบบสํานักงานเก่า เมื่อได้พื้นที่ใหม่ จึงคิดถึงเรื่องวัสดุที่สามารถนํากลับไปใช้ใหม่ได้ และความสะดวกสบายเมื่อต้องโยกย้ายเปลี่ยนแปลง คุณอาร์ท- รณชัย ขันปัญญา สถาปนิกจากบริษัทแม่คะนิ้งครีเอทีฟ จำกัด จึงนําแนวคิดการนําวัสดุเหลือใช้กลับมาออกแบบออฟฟิศหลังใหม่ของตัวเอง โดยใช้หลัก Reuse Repair Upcycle

Reuse คือ การนําของที่ยังใช้ได้มาใช้ซ้ำอีกคร้ัง

Repair คือ การซ่อมแซมของท่ีเสียหรือไม่ใช้แล้วให้นํากลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม

Upcycle คือ การนําวัสดุที่กําลังจะกลายเป็นขยะมาออกแบบเป็นของใช้ใหม่ ซึ่งยังไม่ถึงกับรีไซเคิล เพราะรีไซเคิลคือการแปรรูปวัสดุ เช่น การนําไปหลอมใหม่ แล้วนํามาผลิตเป็นของใช้อีกคร้ัง

“ตอนแรกออฟฟิศเก่าอยู่แถวในคูเมืองแถววัดเจดีย์หลวง เป็นพื้นที่เล็กๆสร้างใหม่แต่ว่าท่ีจอดรถไม่สะดวก พอดีมีเพื่อนมาชวนแชร์พื้นท่ีตรงนี้ ซึ่งเป็นย่านที่เราอยากอยู่อยู่แล้วด้วย เพราะชอบท่ีมีต้นไม้เยอะและชอบบรรยากาศ แต่ว่าพื้นที่นี้ต้องเช่าเขา เลยไม่อยากทําอาคารที่ดูถาวรเกินไป จึงคิดออกแบบอะไรที่รื้อถอนง่ายแต่ก็ต้องดูดีด้วย เป็นการดีไซน์ด้วยเทคนิคการก่อสร้างที่ช่วยประหยัดงบ คิดว่าถ้าเราต้องย้าย บรรดาวัสดุหรือของตกแต่งต่างๆ เราสามารถนํามาใช้ใหม่ได้อีก หรือถ้าต้องรื้อโครงสร้างออก ทุกอย่างก็ยังนําไปขายได้”

REUSE REPAIR UPCYCLE
กรุกระจกเข้ากับโครงเหล็กที่ตีเป็นช่องเพื่อประหยัดค่าวัสดุ เพราะกระจกแผ่นใหญ่จะมีราคาสูง นอกจากประหยัดแล้ว ยังได้รูปทรงช่องสี่เหลี่ยมที่สัมพันธ์กับโครงสร้างโดยรวมอีกด้วย
REUSE REPAIR UPCYCLE
เฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่ใช้ของเดิมจากออฟฟิศเก่า นํามาจัดวาง ในตําแหน่งท่ีเหมาะสม และมีรูปแบบท่ีหลากหลายดูไม่น่าเบื่อ

โครงสร้างภายในคล้ายกระโจม ใช้เหล็กกล่องทั้งเส้นความยาว 6 เมตรมาต่อกันเป็นหน้าจั่วให้ได้ความสูงที่พอดี และเหลือเศษน้อยที่สุด ที่จั่วด้านหน้าตีโครงเหล็กเป็นช่องแล้วกรุกระจกลงไป ส่วนผนังอาคารภายนอกทั้งหมด ออกแบบเป็นช่องสี่เหลี่ยมมุงด้วยหญ้าคาที่นํามาจัดระเบียบใหม่โดยตัดปลายให้เรียบเสมอกันเสมือนเป็นฉนวนกันความร้อนให้อาคารด้านใน ท้ังยังช่วยประหยัดพลังงาน ไม่ต้องเปิดเครื่องปรับอากาศท้ังวัน และช่วยกรองเสียงไปในตัว ผนังด้านในกรุเมทัลชีท การสร้างอาคารนี้จึงเหมือนเป็นการทดลองไปในตัว

“วัสดุท่ีใช้เป็นวัสดุง่าย ๆ หาได้ในท้องถิ่นอย่างหญ้าคา ผมเห็นว่าท่ีเขาทํากันทั่วไปนั้นน่าจะนํามาทําให้สวยและดูเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ โดยใช้เทคนิคในการก่อสร้างเข้ามาช่วย อยากลองนําวัสดุท่ีคนมองว่ามูลค่าต่ำมาทําให้เกิดคุณค่าและความงาม เป็นวัสดุท่ีถูกที่สุดในการก่อสร้าง แต่ก็เป็นตัวชูโรงช่วยให้อาคารหลังน้ีดูโดดเด่นดึงดูดสายตา ผู้พบเห็นนอกเหนือจากรูปทรงท่ีน่าสนใจ ผมรู้สึกประสบความสําเร็จในเรื่องนี้พอสมควร โดยไม่จําเป็นต้องไปใช้วัสดุนําเข้าราคาแพง ผมอยากให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้ลองค้นหาวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นซึ่งมีให้เลือกใช้มากมายมาใช้ในงานออกแบบดูบ้าง”

ส่วนงานตกแต่งและเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่เน้นวัสดุที่เรียบง่าย เช่น นำไม้อัดมาทำเป็นชั้นวางของ นําบานประตูเก่ามาทําเป็นเคาน์เตอร์บาร์เลื่อนได้ ความต้ังใจของคุณอาร์ท คืออยากให้ที่นี่เป็นยูนิเวอร์ซัลสเปซ เฟอร์นิเจอร์จึงสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามการใช้งาน เป็นได้ทั้งท่ีทํางาน กินข้าว หรือทําครัวก็ได้

“ผมคิดไลฟ์สไตล์ใหม่หมด ต่างจากการออกแบบออฟฟิศแบบเดิมๆ เช่น การจัดวางโต๊ะทํางานให้ได้บรรยากาศสบาย ๆ เหมือนกําลังทํางานอยู่ท่ีบ้านหรืออยู่ท่ีร้านกาแฟชิลๆ โดยเริ่มคิดก่อนว่าทําไมเราชอบไปนั่งทํางานในร้านกาแฟ ถ้าอย่างนั้น ทําไมเราไม่ออกแบบที่ทำงานให้เป็นแบบนั้นเสียเลย ได้ทดลองว่าการทํางานแบบสบายๆนั้น ส่งผลดีทั้งกับงานและชีวิตด้านอื่นด้วย”

REUSE REPAIR UPCYCLE
นําบานประตูเก่ามาทําเป็นเคาน์เตอร์บาร์เลื่อนได้ของโต๊ะอเนกประสงค์ ตอบโจทย์ยูนิเวอร์ซัลสเปซท่ีเฟอร์นิเจอร์หนึ่งชิ้นสามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตลอด เป็นได้ทั้งโต๊ะทํางาน กินข้าว หรือทําครัวก็ได้
REUSE REPAIR UPCYCLE
ผนังเมทัลชีทเป็นฉนวนกันความร้อนชั้นท่ี 2 ยิ่งพื้นที่ระหว่างผนังห้องกับฉนวนด้านนอกมีมาก ยิ่งช่วยให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทดี อุณหภูมิภายในออฟฟิศไม่ร้อน
04ท็อปโต๊ะจากแผ่นกระจกของเก่าท่ีไม่ใช้แล้ว นํามาต่อขาใหม่ด้วยภูมิปัญญาช่าง จนได้โต๊ะใหม่ที่ยึดด้วยล่ิมและเดือย 05ช้ันวางของทําจากวัสดุท่ีเรียบง่ายอย่างไม้อัดไม่ทําสี โชว์พื้นผิวของวัสดุ และที่แขวนของจากหูจับ 06บันไดสําหรับปีนข้ึนชั้นลอยที่ใช้เก็บของ หากไม่ใช้สามารถนํามาเป็นช้ันวางของได้
(ซ้าย) ท็อปโต๊ะจากแผ่นกระจกของเก่าท่ีไม่ใช้แล้ว นํามาต่อขาใหม่ด้วยภูมิปัญญาช่างจนได้โต๊ะใหม่ที่ยึดด้วยลิ่มและเดือย (กลาง) ช้ันวางของทําจากวัสดุท่ีเรียบง่ายอย่างไม้อัดไม่ทําสีโชว์พื้นผิวของวัสดุ และที่แขวนของจากหูจับ (ขวา) บันไดสําหรับปีนข้ึนชั้นลอยที่ใช้เก็บของ หากไม่ใช้สามารถนํามาเป็นช้ันวางของได้

สวนหน้าอาคารทําเป็นพื้นที่นั่งเล่น ดื่มกาแฟ จัดวางโต๊ะที่ทําจากแกนเก็บสายเคเบิล (Cable Spool) ส่วนแลนด์สเคปเน้นปลูกพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก และอยากให้เข้ากับธีมกระท่อมกลางทุ่งนา คุณอาร์ทจึงเลือกใช้หญ้าน้ําพุมาปลูกไว้รอบ ๆ ส่วนทางเดินออกแบบให้เป็นทางเดินโค้ง ลัดเลาะจนไปถึงตัวอาคารชวนให้นึกถึงยามวิ่งเล่นในทุ่งนาที่มีคันนาจริง ๆ “ผมว่าคนทุกคนปรารถนาชีวิตชนบท ในเมืองเชียงใหม่เดี๋ยวนี้ก็มีแต่ตึก ต้นไม้มีน้อยลง อากาศร้อนขึ้น ผมจึงชอบเวลาที่ได้มาทํางานเพราะมีต้นไม้เยอะ”

จากฟังก์ชันทั้งหมด ที่นี่สามารถทําเป็นบ้านได้สบายๆ เพราะมีฟังก์ชันหลักครบครัน ประหยัดวัสดุ ประหยัดค่า ก่อสร้าง และประหยัดพลังงาน ถือเป็นการออกแบบที่เอื้อต่อสิ่งแวดล้อมและผู้อยู่อาศัยมากทีเดียว ยิ่งคิดเยอะ ย่ิงประหยัด น่าจะเป็นหลักท่ีนักออกแบบควรยึดถือไว้เลย ออฟฟิศนี้จึงเป็นอีกที่หนึ่งที่น่ามานั่งทํางานอย่างท่ีคุณอาร์ทว่าจริง ๆ

REUSE REPAIR UPCYCLE
พื้นท่ีด้านนอกหน้าอาคาร ใช้เป็นท่ีนั่งเล่นพักผ่อนดื่มกาแฟ โดยนําแกนเคเบิลมาทําเป็นโต๊ะประดับหญ้าน้ําพุท่ีดูแลง่าย และให้ความรู้สึกเหมือนนั่งเล่นกลางทุ่ง