Focus Archives - Page 2 of 10 - room

SWEEPER แม้ E-Sports ก็ควรต้องเท่าเทียม เมาส์ ใช้เท้าสำหรับผู้พิการทุพพลภาพ โดย LOGA x Dots design studio

เพราะทุกคนต้องเท่าเทียม แม้ใช้เท้า ก็ลากหัวคมๆได้! และนี่คือเมาส์ที่เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจที่ได้เห็นเกมเมอร์ท่านหนึ่งเล่นเกม VALORANT ด้วยเท้า เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ ทำให้ใช้แขนขวาไม่ได้ “เราอยากทำเมาส์สำหรับคนที่ใช้เท้าเล่นเกม” คือสิ่งที่ทีม LOGA ได้ยกหูโทรศัพท์หา Dots design studio และโปรเจ็กต์ดี ๆ จนกระทั่งเกิดการพัฒนาเมาส์ตัวนี้จึงเกิดขึ้นเมื่อครึ่งปีก่อน หัวใจสำคัญของการออกแบบเมาส์ตัวนี้คือ “ต้องไม่ให้ความรู้สึกของความเป็นผู้พิการ” แต่จะต้องรู้สึกเหมือนได้ใช้สิ่งที่เข้ามาเสริมการเล่นเกม เป็นอุปกรณ์ของบุคคลนั้นๆ ที่ไม่ทำให้ผู้ใช้รู้สึกด้อยค่า ส่วนตัวของเมาส์นั้นได้ใช้ต้นแบบมาจากรุ่น Garuda PRO+ ที่ได้เพิ่มแท่นแม่เหล็ก และสายรัดเพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะกับบุคคลได้เหมาะสม และหลากหลายยิ่งขึ้น การเลือกใช้โมเดล Garuda PRO+ นั้นไม่เพียงแค่เรื่องของประสิทธิภาพความละเอียดของเซนเซอร์เท่านั้น แต่ยังรวมถึงคุณลักษณะที่สามารถเปลี่ยนแบตได้ง่ายอีกด้วย ปัจจุบัน เมาส์รุ่นนี้ได้ไปชนะรางวัล DEmark,Design Award มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและดิจิทัล และกำลังเตรียมการที่จะวางจำหน่ายโดยทั่วไปในเร็ววัน ไม่ว่าคุณจะเป็นคนที่มีปัญหากับการใช้มือจับเมาส์ หรือเพียงแค่อยากลองเปลี่ยนการทำงานไปสู่การใช้เท้า Sweeper จาก Loga ก็น่าจะเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่เปิดประตูสู่การใช้งานใหม่ ๆ ได้ไม่มากก็น้อย หรืออย่างน้อยก็สำหรับผู้พิการทุพลภาพให้ได้มีสิทธิ์ในการเล่นเกม(หรือทำงาน)เทียบเท่า หรืออาจจะเก่งกว่าคนทั่วไปก็เป็นได้ #เกร็ดน่ารู้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) […]

room x Living Asean Design Talk 2023 URBAN FUSION / RURAL FLOURISH: Interweaving Urban and Rural Design งานเสวนาทางสถาปัตยกรรมที่ว่าด้วยการถักทอและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เมืองและชนบท

จบลงไปแล้วสำหรับกิจกรรม room x Living Asean Design Talk 2023 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2566 ในธีม URBAN FUSION / RURAL FLOURISH: Interweaving Urban and Rural Design งานเสวนาทางสถาปัตยกรรมที่ว่าด้วยการถักทอและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่เมืองและชนบท กิจกรรมหนึ่งในงานบ้านและสวนแฟร์ Midyear ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร และนี่คือเนื้อหาที่เกิดขึ้นภายในงาน รวมทั้งภาพบรรยากาศที่หลายคนน่าจะอยากเห็นกัน งานนี้ได้ 4 สถาปนิกจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ม.ล. วรุตม์ วรวรรณ จาก Vin Varavarn Architects Ltd. กรุงเทพฯ คุณศุภวุฒิ บุญมหาธนากร จาก JaiBaanStudio เชียงใหม่ สองตัวแทนจากประเทศไทย นอกจากนั้นก็ยังมี Shunri […]

เปิดแล้ว! LIXIL Experience Center  สัมผัสประสบการณ์ใหม่ของห้องครัวและห้องน้ำจากหลากแบรนด์ดัง

ลิกซิล (LIXIL) ผู้บุกเบิกผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดการน้ำและที่อยู่อาศัย เปิดตัว LIXIL Experience Center หรือ LEC โชว์รูมมิติใหม่ในสไตล์การตกแต่งเรียบหรูแบบญี่ปุ่น ที่จะมอบประสบการณ์การเข้าชมที่เรียกว่า multi-sensory experience ให้ผู้มาเยือนได้สัมผัสทั้งผลิตภัณฑ์จริง และผ่านโลกดิจิทัลด้วยตัวเองในรูปแบบที่ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อน LIXIL Experience Center ได้รับการออกแบบเพื่อปลุกเร้าทุกประสาทสัมผัสด้วยดีไซน์ เสียง และกลิ่นที่ล้ำสมัยและเป็นเอกลักษณ์  โดยผู้เข้าชมจะได้สัมผัสนวัตกรรมจากพาวเวอร์แบรนด์ของลิกซิล ได้แก่ โกรเฮ่ (GROHE) อเมริกันสแตนดาร์ด(American Standard) และ อิแน็กซ์ (INAX) ที่มาพร้อมดีไซน์ที่โดดเด่นและโซลูชันที่หลากหลาย เพื่อสร้างความเป็นไปได้แบบไร้ขีดจำกัด นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ทุกคนได้สัมผัสประสบการณ์พิเศษราวกับอยู่ในสปาส่วนตัวในพื้นที่จัดแสดง GROHE SPA ที่มาพร้อม GROHE AquaSymphony ที่แสดงการปรับเปลี่ยนฟังก์ชันน้ำตามความต้องการใช้งาน หรือชมการสาธิตนวัตกรรมการใช้น้ำ ณ  พื้นที่จัดแสดงพิเศษหลายจุดที่กระจายอยู่ทั่วทั้ง LEC ซาโตชิ โคนาไก (Satoshi Konagai) ลีดเดอร์ LIXIL Water Technology ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านเทคโนโลยีเพื่อการจัดการน้ำ ลิกซิลเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคกว่า 1 พันล้านคนทั่วโลก ความใกล้ชิดของเรากับผู้บริโภคทำให้ได้รู้ข้อมูลตลาดเชิงลึกในส่วนที่ไม่มีใครเข้าถึงมาก่อน ซึ่งเรามองว่าอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ในเอเชียแปซิฟิกกำลังเผชิญหน้ากับแนวโน้มระดับมหภาค (macro trends) ที่สำคัญสามด้าน ทั้งด้านสุขภาพและความเป็นที่อยู่ที่ดี ความยั่งยืน และการขยายตัวของสังคมเมือง LEC กรุงเทพฯ จะช่วยปูทางประสบการณ์ส่วนบุคคลให้ได้สัมผัสกับผลิตภัณฑ์หลากหลายหมวดหมู่ และจากหลากหลายแบรนด์ภายใต้ลิกซิล […]

นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul เสียงจากที่ไกล เสียงจากหัวใจที่ต้องการเพียง “สื่อสารกัน” ณ BACC

ฉับพลันที่เดินเข้ามาในห้องจัดแสดงของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร(BACC) ความวุ่นวายของแยกปทุมวันก็มลายหายไปทันใดที่ปิดประตู คงเหลือแต่สรรพเสียงที่เราไม่คุ้นชิน เสียงของธรรมชาติที่คล้ายแว่วมาจากที่ไกล เสียงของ “ชีวิต” ที่กำลังถูกใช้ในบริบทที่ไม่ใช่เมือง อาจจะเป็นป่าในภูเขาสักที่ เสียงที่กำลัง “พูด” ด้วยภาษาที่เราไม่คุ้นเคย “เสียง” ที่รับรู้ได้ แม้ไม่เข้าใจความหมาย แต่กลับสื่อสารกันเข้าใจ นี่คือ นิทรรศการที่กำลังจัดแสดงอยู่ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ในชื่อว่า “นิทรรศการเสียงจากกลุ่มชาติพันธุ์ Sound of the Soul” โดยความร่วมมือระหว่าง หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ร่วมด้วยกลุ่มศิลปิน Hear&Found, ศุภชัย เกศการุณกุล และ DuckUnit ซึ่งในวันนี้ เราได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณ ฟ้า กัณหรัตน์ เลี่ยมทอง หัวหน้าฝ่ายกิจกรรม และ ภัณฑารักษ์ (Curator) ของนิทรรศการในครั้งนี้ รวมทั้งศิลปินที่มาร่วมจัดแสดงทั้งสามกลุ่ม ถึงแนวคิดเบื้องหลัง และสิ่งที่แฝงอยู่ใน “เสียง” ที่พวกเขาเลือกนำมาจัดแสดง นำเสนอประเด็นปัญหาผ่านภาษาศิลปะ “ประเด็นด้านความเหลื่อมล้ำ เป็นความสนใจของตัวฟ้าเองอยู่แล้ว นั่นเป็นส่วนหนึ่งที่ตั้งใจสร้างให้เกิดเป็นนิทรรศการนี้ขึ้น แต่ในนิทรรศการนี้จะเลือกใช้ “เสียง” เป็นสิ่งแทนของผู้คนที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ มันเป็นสิ่งที่เรานึกถึงเมื่อต้องนำมาผูกโยงกับคำว่า […]

Black Chapel วิหารสีดำตัวแทน Serpentine Pavilion 2022

ทุก ๆ ฤดูร้อนตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา พื้นที่เล็ก ๆ ในมุมหนึ่งของสวน Kensington Gardens ใจกลางกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จะมีโอกาสได้ต้อนรับ Serpentine Pavilion สถาปัตยกรรมชั่วคราว เพื่อการพบปะและปะทะสังสรรค์ทางความคิด ในรูปแบบ และแนวความคิดที่ไม่ซ้ำเคยกัน และแน่นอนว่าในแต่ละปี สถาปนิกดาวรุ่งจากทั่วโลกจะได้รับเลือกให้เป็นผู้ออกแบบ และส่งสารผ่านสิ่งปลูกสร้าง ที่จะตั้งอยู่ในสวนยาวไปจนถึงช่วงสิ้นปี สัปดาห์ที่ผ่านมานี้เองที่ Serpentine Pavilion ได้เปิดพื้นที่ของผลงานชิ้นใหม่ในนาม “Black Chapel” ที่เรียกความสนใจจากผู้มาพักผ่อนหย่อนใจในสวน และผู้ตั้งใจมาเยี่ยมชมจากทั่วโลก โครงสร้างทรงกระบอกสีดำทะมึนอันเป็นเอกลักษณ์ของอาคารอ้างอิงจากรูปแบบโครงสร้างที่พบในหลายวัฒนธรรมในหลายพื้นที่ของโลก ไม่ว่าจะเป็นเตาเผารูปทรงคล้ายขวดในบรรดาโรงงานอุตสาหกรรมของเมือง Stoke-on-Trent ประเทศอังกฤษอันเป็นเอกลักษณ์ เตาเผาถ่านหินรูปทรงรังผึ้งที่พบได้ในทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ซุ้มวิหารทรงโดมขนาดเล็ก หรือ Tempietto ในโบสถ์ San Pietro ของเมือง Montorio กรุงโรม ประเทศอิตาลี บ้านดินโบราณของกลุ่มชาติพันธ์ Musgum ในประเทศแคเมอรูน รวมถึงอาคารฝังศพ Kasabi Tombs แหล่งมรดกโลกของเมือง Kampala ประเทศอูกันดา […]

Botanica Meditation Center สงบและสมดุลกลางละอองหมอก

ศูนย์ฝึกสมาธิ Botanica Meditation Center ตั้งอยู่ย่านชานเมืองเหอเฟย์ (Hefei) เมืองหลวงของมณฑลอานฮุย (Anhui) สาธารณรัฐประชาชนจีน เหอเฟย์เป็นเมืองเก่าที่มีการพัฒนา และเติบโตอย่างรวดเร็วตลอด 30 ปีที่ผ่านมา จากเดิมที่ทุกอย่างกระจุกตัวอยู่ใจกลางเมือง ก็กลายเป็นเมืองที่มีศูนย์กลางความเจริญกระจายในหลายจุด นับเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ปรากฎการณ์นี้ มิได้เกิดขึ้นเฉพาะที่เหอเฟย์เท่านั้น แต่ยังพบได้ในเมืองใหญ่ทั่วทุกภูมิภาคของจีน สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวครั้งใหญ่สำหรับชาวจีน ทั้งในด้านชีวิตการทำงาน และการใช้ชีวิตส่วนตัว ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น Botanica Meditation Center เป็นพื้นที่สวนเปิดโล่งขนาด 230 ตารางเมตร เจ้าของโครงการนี้ทำงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องเผชิญแรงกดดันทางวิชาชีพมหาศาล เมื่อความหลงใหลในพรรณไม้และธรรมชาติ ผนวกกับความฝันที่จะสร้างสวนพฤกษศาสตร์สาธารณะกลางชุมชนที่พักอาศัย จึงเกิดโครงการนี้ขึ้น ด้วยความตั้งใจให้ทุกคนได้มีโอกาสฝึกสมาธิ โยคะ ไทชิ และคลาสพัฒนาจิตวิญญาณอื่นๆ เพื่อพาผู้คนมารู้จักกับความงดงามของ “ชีวิตเนิบช้า” ท่ามกลางความเร่งรีบของสังคมเมือง จากโจทย์ข้างต้น HAS design and research ได้เริ่มทำการวิจัยเชิงลึก และพบว่าสวนพฤกษศาสตร์แบบดั้งเดิมนั้นมักมีถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ แม้จะเหมาะสำหรับระบบให้น้ำต้นไม้ภายในสวน แต่ขณะเดียวกัน ถังเก็บน้ำก็เป็นเหมือนองค์ประกอบที่แบ่งพื้นที่ภายในสวนออกเป็นสองส่วนอย่างสิ้นเชิง คือพื้นที่งานระบบ และพื้นที่สวน ในการออกแบบโครงการนี้ ผู้ออกแบบจึงพยายามรักษาวิธีการดั้งเดิมไว้ […]

Common Neglect Material เก้าอี้จากลังปลาเหลือทิ้ง

ชุดเฟอร์นิเจอร์สาธารณะจากขยะอุตสาหกรรมประมง ที่สะท้อนภาพเมืองชายฝั่งของญี่ปุ่นที่ถูกทิ้งร้าง ท่ามกลางความหวังจะชุบชีวิตย่านนี้ขึ้นมาใหม่ผ่านงานศิลปะที่สร้างการรับรู้ในวงกว้าง เมื่อทศวรรษก่อน ย่านคิชู (Kishu) ในจังหวัดมิเอะ (Mie) เมืองชายฝั่งทางภาคใต้ของญี่ปุ่น เคยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางอุตสาหกรรมประมงของชายฝั่งทางใต้ของญี่ปุ่น แต่ปัจจุบันประสบภาวะจำนวนประชากรที่ลดลง เช่นเดียวกับหลายพื้นที่ห่างไกลของญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมๆ กับการขยายตัวของสังคมผู้สูงอายุ เห็นได้จากหมู่บ้านชายขอบเล็กๆ มากมายที่ถูกทิ้งร้าง ผู้คนโยกย้ายเข้าไปสู่เมืองใหญ่ที่กระจุกตัวของความเจริญ ปล่อยบ้านเรือนให้ว่างเปล่า ประชากรที่ยังอยู่ก็ล้วนมีรายได้ต่ำ พื้นที่ตรงนี้จึงเหลือทิ้งไว้เพียงขยะจากอุตสาหกรรมประมง เมื่อ Takuto Ohta นักออกแบบชาวญี่ปุ่น ได้ลงพื้นที่สำรวจแถบ Kii, Miyama และ Owase ซึ่งเคยเป็นฐานอุตสาหกรรมประมงในย่านนี้ เขาได้พบกับตู้แช่ปลาจำนวนนับไม่ถ้วนบริเวณท่าเรือ ลังใส่ปลา แห อวน ทุ่น รวมถึงท่อพีวีซีที่ใช้ในฟาร์มปลากระเบนตลอดแนวชายฝั่ง ทั้งหมดนี้ถูกทิ้งร้างไร้เจ้าของมานานกว่า 12 ปี Common Neglect Material (CNM) จึงคอลเล็กชั่นเฟอร์นิเจอร์สาธารณะของ Ohta ที่ตั้งใจสร้างประโยชน์ใช้สอยใหม่ให้กับขยะอุตสาหกรรม วัสดุ และสิ่งของเหลือทิ้ง ที่พบในเมืองที่ถูกทิ้งร้างแห่งนี้ เพื่อสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ พร้อมฉายสปอตไลต์ให้กับพื้นที่ว่างเปล่าไร้ชีวิตชีวาแห่งนี้อีกครั้ง ลังใส่ปลาสีเหลืองสดใสได้รับการแปลงโฉมใหม่ให้กลายเป็นชุดเฟอร์นิเจอร์ขี้เล่น ที่มีทั้งเก้าอี้ ม้านั่ง สตูล […]

IKEA ชวนทุกคน เปลี่ยนชีวิตประจำวันสู่ความยั่งยืน

IKEA ได้เชิญชวน room ไปเยี่ยมชมพื้นที่ใหม่ๆ ณ IKEA BANGNA ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งเสริมถึงความยั่งยืนต่อโลกของเรา ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ Circular Shop พื้นที่โซนต้นไม้จริงใหม่ และ Sustainable Weekend Market โดย room Magazine ได้รับเกียรติจาก คุณวรันธร เตชะคุณากรผู้จัดการแผนก Inspiration & Communication อิเกียประเทศไทย มาเล่าให้ฟังถึงแนวคิดเบื้องหลัง และพาชมพื้นที่ของ IKEA จะเป็นอย่างไรนั้น ไปชมพร้อมๆกันได้เลย ในสายตาของ IKEA แล้ว ความยั่งยืนคืออะไร? “ที่ IKEA เรามองถึงความยั่งยืนตลอดมา เป็นหัวข้อสำคัญในใจอยู่แล้ว และในวันนี้เราก็อยากจะส่งผ่านความคิดเหล่านี้ออกไปให้กว้างยิ่งขึ้น เมื่อกล่าวถึงความยั่งยืนแล้ว หลายคนจะนึกไปถึงสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน อย่างเรื่องมลภาวะ เรื่องการจัดการขยะ หรือแม้แต่เรื่องของนวัตกรรมต่างๆ แต่แท้จริงแล้ว ความยั่งยืนนั้นสามารถเริ่มต้นได้ที่ตัวเรา ในชีวิตประจำวันหรือกิจวัตรของทุกๆคน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการใช้ชีวิต เรื่องของอาหาร หรือแม้แต่การอยู่อาศัยภายในบ้าน ซึ่ง “เราและโลกของเรา” ก็จะเป็นหนังสือที่จะมาเล่าเรื่องการสร้าง “ชีวิตที่ยั่งยืน” ในหลากรูปแบบมากกว่านั้น เริ่มต้นจากเรื่องเล็กๆในชีวิตของเราเอง เพราะอิเกียนั้นเชื่อว่าเมื่อทุกๆคนมีชีวิตที่ยั่งยืนได้แล้ว […]

พื้นที่แห่งความสุขที่สะท้อนออกมาจากภายใน ด้วยเฉดสีที่เลือกสรรโดย Tastespace

ณ ห้วงความคิดของการค้นหาความหมายในความสงบของจิตใจ เรามักพบความสุขเมื่อค้นลึกลงไปสู่ตัวตนภายใน ก่อนจะกลายเป็นความปิติยินดีเอ่อล้นออกมา การสร้างช่วงเวลาแห่งการแบ่งปัน จึงนับเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสร้างให้ความสุขนั้นคงอยู่ตลอดไป เช่นเดียวกับการทำงานของ Tastespace หนึ่งในออฟฟิศออกแบบที่ชำนาญการออกแบบร้านอาหาร คาเฟ่ และบาร์ ที่ใช้วิธีสร้างความสุขผ่านงานออกแบบ ในฐานะผู้ทำหน้าที่มอบบรรยากาศ และช่วงเวลาดี ๆ ให้เกิดขึ้นแก่ผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาแห่งการพบปะสังสรรค์ กินดื่ม และรับประทานอาหาร ภายในร้านต่าง ๆ ที่ Tastespace เป็นผู้ออกแบบ วันนี้ room ได้มีโอกาสมาพูดคุยกับคุณฮิม– กิจธเนศ ขจรรัตนเดช ดีไซน์ ไดเรกเตอร์ แห่ง Tastespace ถึงเคล็ดลับการออกแบบ และวิธีคิดในการเลือกสรรองค์ประกอบต่าง ๆ ให้แก่พื้นที่ สำหรับช่วงเวลาอันพิเศษเหล่านั้น “ยกตัวอย่าง ร้าน Maré Seafood ที่เชียงใหม่ เราเลือกช่วงเวลาอาทิตย์ตก ซึ่งมีภาพคนหาปลากำลังเดินเรือกลับเข้าสู่ฝั่งมาใช้เป็นธีมหลักในการสร้างสรรค์บรรยากาศ ด้วยความที่เป็นร้านอาหารทะเล การนำพาเรื่องราวจากทะเลสู่ฝั่ง ก่อนนำมาสู่จานอาหารตรงหน้า สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยสร้างบรรยากาศให้แก่ผู้มารับประทานอาหารทั้งสิ้น เพราะการรับประทานอาหารไม่ใช่แค่เรื่องของการกิน แต่ยังเป็นประสบการณ์ที่จะสร้างความทรงจำให้แก่ลูกค้าทุกคน โดยร้านนี้มีการเลือกใช้สีน้ำเงิน และสีทองแดง เป็นภาพตัวแทนของท้องทะเล และพระอาทิตย์ […]

LET’S (NOT) KICK BUTT เปลี่ยนก้นบุหรี่เป็นวัสดุใหม่ดั่งงานศิลป์

ก้นบุหรี่ ภัยร้ายที่น่ากลัวกว่าหลอดพลาสติก เชื่อหรือไม่ว่า ขยะที่ปนเปื้อนไหลลงทะเลนั้น มากกว่าหลอดพลาสติก มันคือก้นบุหรี่ที่เป็นขยะยากแก่การรีไซเคิล อาจจะดูเหมือนเป็นวัสดุนุ่มนิ่มที่น่าจะรีไซเคิลได้ไม่ยาก แต่แท้จริงแล้วก้นบุหรี่เหล่านี้ประกอบขึ้นจากพลาสติก ประเภทเซลลูโลสอะซีเตต (Cellulose Acetate) เป็นประเภทเดียวกับที่ใช้ทำแผ่นฟิล์มกันแสงจอโทรทัศน์ ฟิล์มถ่ายรูป และฝาครอบหลอดไฟ มีความเหนียว และทนทานต่อแรงกระแทก ซึ่งจะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี ในการย่อยสลายเลยทีเดียว และมักจะจบลงที่การนำไปฝังกลบ โดยเฉพาะก้นบุหรี่ใช้แล้วยังมีเศษยาสูบที่มีสารท็อกซิน นิโคติน สารหนู ยาฆ่าแมลง นิโคตินเหล็ก สารก่อมะเร็ง และเอทิลฟีนอล ซึ่งเป็นสารพิษที่จะตกค้างในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะเมื่อฝังกลบแล้ว อาจถูกพัดพาไป จนเป็นขยะทางทะเลในที่สุด ด้วยเหตุนี้เอง Sachi Tungare นักออกแบบชาวอินเดีย จึงเริ่มต้นโปรเจ็กต์ let’s (not) kick butt ตั้งแต่ปี 2019 โดยเป็นหนึ่งในโปรเจ็กต์ทางการศึกษาที่ Design Academy Eindhoven ประเทศเนเธอร์แลนด์ก่อน ซึ่งในโครงการนี้ก็คือการหาวิธีที่จะนำเอาเศษก้นบุหรี่เหลือทิ้ง มาขจัดสารพิษออกด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนจะผสมสีลงไปในวัสดุเพื่อให้ดูเป็นมิตร และน่านำกลับไปใช้มากขึ้น ก่อนจะทดลองการขึ้นรูปให้กลายเป็นชิ้นงานต่อไป อย่างไรก็ตามปัจจุบันการขึ้นรูปนั้นยังทำได้ในระดับหนึ่ง ผลลัพธ์ในตอนนี้จึงเป็นเหมือนกับผลงานศิลปะ […]

เปลี่ยนรังผึ้ง เป็นโหลน้ำผึ้ง ที่ทำมาจากขึ้ผึ้ง Bee Loop

ใช้เพียงขึ้ผึ้งร้อยเปอร์เซ็นต์ และเชือกลินินเท่านั้น เพื่อสร้างโหลใส่น้ำผึ้งนี้ขึ้นมา ด้วยเหตุนี้เองภาชนะใส่น้ำผึ้งจาก Bee Loop จึงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมร้อยเปอร์เซ็นต์เช่นกัน และมากกว่านั้นคือโหลน้ำผึ้งนี้ไม่เป็นพิษ สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ ต่อต้านเชื้อราและแบคทีเรีย มีความเป็นออร์แกนิกถึงขนาดที่ถ้าจะกินก็กินเข้าไปได้โดยปลอดภัย(แต่ไม่น่าอร่อย และเชือกที่มาด้วยกันน่าจะทานยาก) Bee Loop ได้สร้างเทคนิคการบรรจุและขึ้นรูปขึ้ผึ้งให้กลายเป็นภาชนะขึ้นมา โดยใช้สีและพื้นผิวของโหลในการแยกประเภทของน้ำผึ้งออกจากกันคือ สีเหลืองหม่นจะเป็นน้ำผึ้งป่า สีเหลืองเข้มสำหรับน้ำผึ้งบัควีท และสีเหลืองอ่อนสำหรับนึกปกติ บนภาชนะมีเพียงการปั้๊มโลโก้ของ Bee Loop ด้วยความร้อนเพียงเท่านั้น และฝั่งเชือกลินินไว้สำหรับรูดเปิดฝาที่ซีลไว้กับตัวภาชนะ(ฝาก็คือขี้ผึ้งที่หลอมเป็นชิ้นเดียวกันจากโรงงาน) ในท้ายที่สุดแล้ว ผู้ใช้อาจนำภาชนะที่เหลือไปใช้ทากระดาษเพื่อกันน้ำ ใช้จุดเป็นเชิงเทียน นำไปใส่ของ และอีกมากมาย หรือทิ้งไปตามธรรมชาติก็ย่อมได้ การออกแบบนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าหลักการ Zero Waste เกิดขึ้นได้จริง และ Circular Economy นั้น สามารถเกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้หากเราค่อยปรับวิถีชีวิตของเราให้ดีต่อโลกมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ต้องกังวลไปนะครับ เพราะงานออกแบบที่ดีจะช่วยให้คุณค่อย ๆ ปรับตัวไปกับวิถีที่ดีต่อโลกได้ในทุกวันแน่นอน ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.beeloop.lt ออกแบบโดย: Pencil and Lion (fb.com/pencilandlion) ภาพ: Bee Loop เรียบเรียง: Wuthikorn […]

พระพิฆเนศ ปางประทานพร รุ่นต้านโควิด

ผลงานศิลปะสะท้อนความเชื่อในยุคโควิด-19 จะเป็นอย่างไรหากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพและยึดเหนี่ยวจิตใจอย่าง “พระพิฆเนศ” จะเปลี่ยนไป ด้วยชุด PPE แบบเต็มยศ แถมยังถือวัคซีนไว้ในมือ สะท้อนให้เห็นว่าในสถานการณ์โรคระบาดที่ย่ำแย่ ความหวังของผู้คนอาจไม่ได้พึ่งเพียงการกราบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือไหว้พระให้พ้นภัยเพียงอย่างเดียว เพราะคงไม่บ่อยนักที่เราจะได้เห็นองค์ พระพิฆเนศ ทรงเครื่องชุด PPE เต็มยศเช่นนี้ แถมยังถือวัคซีนเอาไว้ในมือ ประหนึ่งทรงเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผู้นำความหวังมาสู้มวลมนุษย์ อย่างไม่รอช้า room จึงยกหูหาดีไซเนอร์ผู้ออกแบบในทันที “เราต้องการแสดงความเคารพและยกย่องแก่พระสงฆ์ บุคลากรการแพทย์ จิตอาสา ผู้สวมชุดPPE ทุกท่านเพื่อยอมอุทิศชีวิตเพื่อผู้อื่น ซึ่งเวลาที่เราได้เห็นข่าวเหล่านั้นมันทำให้เรามองว่าเขาเป็นเหมือนเทพที่มาช่วยคนที่กำลังลำบากเลยนะ” คุณซัน – รตนพรรณ์ เสน่ห์งามเจริญ ศิลปินผู้ออกแบบได้เล่าให้เราฟัง “เราเองก็บูชาพระพิฆเนศอยู่แล้ว เพราะท่านเป็นเทพแห่งปราชญ์ เป็นผู้มีปัญญาเป็นเลิศมีความรอบรู้ในศิลปวิทยาทุกแขนง และในหลากหลายตำราก็กล่าวถึงท่านในแง่ของความมีคุณธรรม คอยช่วยเหลือปกป้องสิ่งชั่วร้าย และเป็นยอดกตัญญู เราจึงแทบให้ท่านเป็นเหมือนตัวแทนของฮีโร่ทุกคนในสถานการณ์การระบาดนี้นั่นเอง” “ในอีกทางหนึ่งเราก็หวังว่าประติมากรรมชิ้นนี้จะเป็นเหมือนสิ่งเตือนใจให้ทุกคนลุกขึ้นมาช่วยกัน ช่วยในส่วนของตัวเองก็ได้ เพราะสถานการณ์ตอนนี้มันก็ต้องร่วมมือร่วมแรงกันไม่มากก็น้อย ส่วนหนึ่งประติมากรรมนี้ก็เหมือนเป็นสิ่งเตือนใจ อีกส่วนหนึ่งก็จะนำรายได้ไปช่วยสมทบให้กับหน่วยกู้ภัยที่ทำงานช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบเช่นกัน” องค์พระพิฆเนศปางประทานพรนี้ สูง 16 กว้าง 15 ลึก 10 เซนติเมตร(หน้าตัก 5 นิ้ว) วัสดุเนื้อหินอ่อนเทียม […]

พาส่องงานออกแบบพื้นที่ภายใน “ศูนย์ฯสิริกิติ์” ใหม่ “จากผ้าไทย สู่ดีไซน์ร่วมสมัยที่แตกต่าง”

“ศูนย์ฯสิริกิติ์” หรือในชื่อเต็ม ๆ ว่า ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ (Queen Sirikit National Convention Center – QSNCC) เป็นศูนย์การประชุมตั้งอยู่บริเวณถนนรัชดาภิเษก ติดกับสวนเบญจกิติ และโรงงานยาสูบเดิม “ศูนย์ฯสิริกิติ์” นับได้ว่าเป็นศูนย์การประชุมระดับนานาชาติตามมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทย สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2532 เพื่อรองรับการจัดประชุมประจำปีของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศครั้งที่ 46 ณ กรุงเทพมหานคร และมีการใช้งานอย่างเนืองแน่นตลอดมากว่า 30 ปี จนกระทั่งได้ปิดปรับปรุงไปในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา เพื่อยกระดับงานออกแบบศูนย์ฯสิริกิติ์ใหม่ทั้งหมด ให้รองรับกับความต้องการการใช้งานที่เปลี่ยนไป รวมทั้งขยายพื้นที่เพื่อรองรับและเชื่อมโยงกับการใช้งานที่หลากหลายยิ่งขึ้น โดยเฉพาะจากบริบทเมืองที่เปลี่ยนไป โดยมีพระราชดำรัส “สืบสาน รักษา ต่อยอด” เป็นคอนเซ็ปต์ในการออกแบบ “ศูนย์ฯสิริกิติ์” ในครั้งนี้นั่นเอง วันนี้เราได้รับโอกาสจาก คุณออ-อริศรา จักรธรานนท์ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง ONION สำนักงานสถาปนิกที่โดดเด่นเป็นอย่างมากในด้านการออกแบบ “ความเป็นไทย” ให้ “ร่วมสมัย” ดังเช่นผลงานที่ผ่านมาอย่าง SALA Ayutthaya หรือร้านอาหารบ้านป้อมเพชร ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนกระทั่งถึงผลงานล่าสุด […]