global design update Archives - room

Botanica Meditation Center สงบและสมดุลกลางละอองหมอก

ศูนย์ฝึกสมาธิ Botanica Meditation Center ตั้งอยู่ย่านชานเมืองเหอเฟย์ (Hefei) เมืองหลวงของมณฑลอานฮุย (Anhui) สาธารณรัฐประชาชนจีน เหอเฟย์เป็นเมืองเก่าที่มีการพัฒนา และเติบโตอย่างรวดเร็วตลอด 30 ปีที่ผ่านมา จากเดิมที่ทุกอย่างกระจุกตัวอยู่ใจกลางเมือง ก็กลายเป็นเมืองที่มีศูนย์กลางความเจริญกระจายในหลายจุด นับเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ปรากฎการณ์นี้ มิได้เกิดขึ้นเฉพาะที่เหอเฟย์เท่านั้น แต่ยังพบได้ในเมืองใหญ่ทั่วทุกภูมิภาคของจีน สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวครั้งใหญ่สำหรับชาวจีน ทั้งในด้านชีวิตการทำงาน และการใช้ชีวิตส่วนตัว ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น Botanica Meditation Center เป็นพื้นที่สวนเปิดโล่งขนาด 230 ตารางเมตร เจ้าของโครงการนี้ทำงานในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องเผชิญแรงกดดันทางวิชาชีพมหาศาล เมื่อความหลงใหลในพรรณไม้และธรรมชาติ ผนวกกับความฝันที่จะสร้างสวนพฤกษศาสตร์สาธารณะกลางชุมชนที่พักอาศัย จึงเกิดโครงการนี้ขึ้น ด้วยความตั้งใจให้ทุกคนได้มีโอกาสฝึกสมาธิ โยคะ ไทชิ และคลาสพัฒนาจิตวิญญาณอื่นๆ เพื่อพาผู้คนมารู้จักกับความงดงามของ “ชีวิตเนิบช้า” ท่ามกลางความเร่งรีบของสังคมเมือง จากโจทย์ข้างต้น HAS design and research ได้เริ่มทำการวิจัยเชิงลึก และพบว่าสวนพฤกษศาสตร์แบบดั้งเดิมนั้นมักมีถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ แม้จะเหมาะสำหรับระบบให้น้ำต้นไม้ภายในสวน แต่ขณะเดียวกัน ถังเก็บน้ำก็เป็นเหมือนองค์ประกอบที่แบ่งพื้นที่ภายในสวนออกเป็นสองส่วนอย่างสิ้นเชิง คือพื้นที่งานระบบ และพื้นที่สวน ในการออกแบบโครงการนี้ ผู้ออกแบบจึงพยายามรักษาวิธีการดั้งเดิมไว้ […]

รีโนเวท ตึกเก่า

MAISON826 จากพื้นที่ใต้ตึกที่เคยปล่อยร้าง ถูกปลุกให้ฟื้นเป็นคอนเซ็ปต์สโตร์สุดเท่

ภายใต้โครงสร้างที่เหมือนจะยังสร้างไม่เสร็จดีนัก แท้ที่จริงแล้วนั้นเกิดจากความตั้งใจของ Nuno Ferreira Capa ผู้ออกแบบที่เข้ามา รีโนเวท ฟื้นคืนชีพพื้นที่ใต้ตึกมีอายุ ที่ครั้งหนึ่งเคยปิดเอาไว้โดยไม่ถูกใช้งาน ให้กลับมามีชีวิตใหม่เป็นพื้นที่มัลติฟังก์ชันดีไซน์เรียบเท่ ที่นี่คือ Maison826 ร้านทำผม ส่วนจัดแสดงดนตรี และคอนเซ็ปต์สโตร์ แบรนด์เสื้อผ้าและเครื่องประดับของแฮร์สไตลิสต์หนุ่ม Pedro Remy ซึ่งตั้งอยู่บนชั้น G ของตึกคอนกรีตอายุหลายสิบปีที่สร้างขึ้นตั้งแต่ยุค 70’s ในย่านใจกลางเมืองบราก้า ประเทศโปรตุเกส ภายใต้พื้นที่ใช้สอยรวมทั้งหมด 250 ตารางเมตร ที่ได้รับการ รีโนเวท ขึ้นมาใหม่ จนเรียกได้ว่าเปลี่ยนบรรยากาศไปเลยไก้อย่างไม่น่าเชื่อ บ้างถูกห่อหุ้มด้วยวัสดุปิดผิวให้ดูเรียบร้อย บ้างยังคงปล่อยเปลือยให้ปรากฏร่องรอยกระด้างดิบของเนื้อคอนกรีตบนผิวผนังและโครงสร้าง อีกทั้งด้วยลักษณะของพื้นที่ที่มีระดับต่างกันไป คล้ายกับชั้นหนึ่งชั้นถูกแบ่งย่อยออกเป็นชั้นเล็ก ๆ อีก 4 ระดับ จนดูซับซ้อน กลับดูน่าสนใจและมีเสน่ห์ในแบบฉบับของมันเองอย่างน่าประหลาด แม้ว่าในแต่ละสเปซจะมีฟังก์ชันที่ถูกกำหนดการใช้งานออกมาต่างกันก็ตาม เพราะด้วยช่องเปิดอาคารและหน้าต่างแต่ละบานที่มีจำนวนมากพอ ประกอบกับผู้ออกแบบจัดการรื้อผนังที่เป็นส่วนเกินรบกวนสเปซบางส่วนออกไป จึงทำให้สเปซต่างระดับเกิดความต่อเนื่องกันและมองเห็นกันได้ ผู้ออกแบบอธิบายว่า แนวคิดทางสถาปัตยกรรมของ Maison826 เกิดขึ้นพร้อมกับการหยุดชะงักไปในระหว่างกระบวนการปรับปรุงรื้อถอน ประกอบกับการคำนึงถึงความเหมาะสมของสเปซกับโปแกรมใหม่ที่จะถูกกำหนดลงบนสเปซเดิมทั้ง 4 ระดับ ซึ่งส่วนแรกถัดจากประตูทางเข้าถูกกำหนดฟังก์ชันเป็นส่วนเซอร์วิส จากจุดนี้สามารถก้าวขึ้นไปสู่ส่วนร้านทำผม ที่มีมุมสระผมและทำสีที่ออกแบบให้เกิดความเป็นส่วนตัวสำหรับลูกค้า เชื่อมกับห้องทรีตเมนต์ที่มีจุดสังเกตเป็นโต๊ะทำงานไม้ยาว […]

HOT WIRE EXTENSIONS เฟอร์นิเจอร์จากผงพลาสติกเหลือทิ้งใน 3D PRINTING

Hot Wire Extensions แบรนด์ของนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรง Fabio Hendry นำเสนอคอลเล็กชั่นเฟอร์นิเจอร์ ที่เกิดจากการรีไซเคิลผงพลาสติกไนลอนเหลือทิ้งในกระบวนการพิมพ์สามมิติ การออกแบบที่ผสานนวัตกรรมเข้ากับหัตถกรรม นำไปสู่ความเป็นไปได้ใหม่ไม่รู้จบอันเกิดขึ้นจากการคิดค้นวัสดุ และกระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ พร้อม ๆ กับแนวคิดที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จุดเริ่มต้น Hot Wire Extensions ให้ความสำคัญกับการออกแบบเพื่อความยั่งยืน และมุ่งมั่นผสมผสานนวัตกรรมวัสดุ และการทดลองทางวิศวกรรมเข้ากับงานออกแบบ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตรูปแบบใหม่ จุดเริ่มต้นของคอลเล็กชั่นนี้มาจากความพยายามในการสร้างกระบวนการรีไซเคิล เพื่อลดปริมาณผงไนลอนเหลือทิ้งที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพิมพ์แบบสามมิติ โดยผงไนลอน (Nylon) หรือผงพลาสติกพอลิเอไมด์ (Polyamide, PA) นั้นคือวัตถุดิบหลักของกระบวนการพิมพ์สามมิติแบบ SLS ซึ่งเป็นการยิงแสงเลเซอร์พลังงานสูง ไปยังผงวัสดุให้เกิดการหลอมเหลวแล้วยึดติดกันเป็นเนื้อเดียวเพื่อขึ้นรูปชิ้นงาน ซึ่งผงไนลอนเหล่านี้ สามารถนำมาใช้ใหม่ได้เพียง 20-50% เท่านั้น และยังไม่ได้รับการรีไซเคิลอย่างจริงจังในอุตสาหกรรมหลักที่ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติแบบ SLS กระบวนการผลิตรูปแบบใหม่ ด้วยแรงบันดาลใจจากการเติบโตของเถาวัลย์ที่พันรัดรอบต้นไม้ Hendry สร้างสรรค์กระบวนการผลิตใหม่ โดยใช้วิธีการขึ้นรูปทรงของชิ้นงานด้วยลวดนิโครม (Nichrome) และติดตั้งในภาชนะที่ประกอบด้วยส่วนผสมของผงไนลอนเหลือทิ้ง และทรายซิลิกาบริสุทธิ์ เมื่อส่งผ่านกระแสไฟฟ้าผ่านเส้นลวด ความร้อนจะหลอมไนลอนโดยรอบ ทำให้ส่วนผสมแข็งตัวไปตามแนวโครงลวดเกิดเป็นรูปทรงใหม่ ทรายทำหน้าที่เป็นทั้งวัสดุฟิลเลอร์ตัวนำความร้อน และป้องกันไม่ให้ผงไนลอนหลุดออกจากลวด โดยความหนาของชิ้นงานจะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้า คอลเล็กชั่น หลากหลายคอลเล็กชั่นที่นำเสนอประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ ทั้งเฟอร์นิเจอร์ […]