Design Archives - Page 2 of 36 - room

อาคารชีวานามัย ออกแบบอาคารจัดการขยะอย่างไร? ให้เป็นมิตรต่อบริบทเมือง

อาคารจัดการขยะ? เป็นมิตรต่อพื้นที่โดยรอบได้จริงหรือ? นี่คือตัวอย่างการออกแบบอาคารจัดการขยะที่เป็นมิตรต่อหน่วยงานโดยรอบ ทั้งยังมีความโดดเด่นในแง่ของรูปลักษณ์ที่สดใส และมีต้นไม้ช่วยปรับทัศนียภาพ รวมทั้ง การออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดกลิ่นรบกวนออกไป และทำให้ขยะแห้งไวขึ้น ซึ่งหมายถึงการจัดการขยะที่ง่ายขึ้น กับ “อาคารชีวานามัย” โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย Waste Management Building, King Chulalongkorn Memorial Hospital, Bangkok โดย ARCHITECTS 49 LIMITED โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย มีขยะที่เกิดขึ้นและต้องจัดการในปริมาณที่มากถึง 16 ตันต่อวัน และมีปริมาณถังขยะหมุนเวียนมาทำความสะอาด ตากถังขยะ และส่งออกไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของโรงพยาบาลมากถึง 600 ถังต่อวัน รวมทั้งมีการปฏิบัติงานภายในอาคารตลอด 24 ชั่วโมง และเนื่องจากพื้นที่อาคารจัดการขยะเดิม มีพื้นที่ไม่เพียงพอต่อการจัดการ จึงมีความต้องการจัดสรรพื้นที่ และอาคารหลังใหม่ที่มีการออกแบบให้จัดการขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยพื้นที่จัดการขยะทั่วไป ขยะติดเชื้อ ขยะพิษ ขยะรีไซเคิล มีพื้นที่สำนักงาน พื้นที่พักผ่อน สำหรับเจ้าหน้าที่ พื้นที่เก็บพัสดุของหน่วยงานต่าง ๆ ของโรงพยาบาล […]

มีอะไรใน Villa Savoye? พาตามรอยข้ามโลกไปชมบ้านหนึ่งหลังที่สถาปนิกทุกคนต่างรู้จักดี

9,444 กิโลเมตร คือระยะห่างของกรุงเทพฯ – ปารีส ทำไม? ใคร ๆ ต่างเดินทางค่อนโลก เพื่อไปพบ “บ้านหนึ่งหลัง” ที่ชื่อ Villa Savoye และเราจะพาทุกคนออกเดินทางไปเพื่อไปพบกับวิลล่าซาวอย บ้านที่ทรงอิทธิพลที่สุดหลังหนึ่งในวงการสถาปัตยกรรมยุคโมเดิร์น นี่คือบ้านที่ในชีวิตสถาปนิก และเด็กถาปัตย์ฯ คนไหนก็ตาม ต้องเคยได้ยินชื่อ เพราะเป็นชื่อที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาในชั้นเรียนประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมตลอดเวลา แม้จะผ่านเวลามากว่า 95 ปีแล้ว “วิลล่าซาวอย” (Villa Savoye) ก็ยังเป็นบ้านที่เป็นหมุดหมายสำคัญให้ต้องไปเยือนสักครั้งในชีวิต บ้านหลังนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ.1931 หนึ่งในผลงานชิ้นเอกของสถาปนิกชาวสวิส-ฝรั่งเศส เลอ กอร์บูซิเยร์ (Le Corbusier 1887-1965) แม้จะเป็นเพียงบ้านหลักเล็กขนาด 480 ตารางเมตร แต่วิลล่าซาวอยกลับทำหน้าที่ต้อนรับแขกผู้มาเยือนประมาณปีละ 40,000 คน โดยอยู่ใต้การบริหารจัดการของรัฐบาลฝรั่งเศสที่เปิดให้คนธรรมดาอย่างเรา ๆ สามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้ #อะไรที่ทำให้บ้านหลังนี้เป็นหมุดหมายของคนทั่วโลก ดูจากแค่รูปบ้าน บ้านหลังนี้มีรูปลักษณ์ภายนอกที่อาจดูไม่ได้พิเศษอะไรไปกว่าบ้านหลังอื่น ๆ ที่เราเห็นทั่วไปในยุคปัจจุบัน เรียกว่าธรรมดาเสียจนอาจรู้สึกว่าเหมือนบ้านหน้าปากซอยในยุคนี้ แต่สิ่งที่ทำให้เราต้องข้ามน้ำข้ามทะเลมาดูเป็นเพราะถ้าเราลองจินตนาการเพื่อพาตัวเองย้อนกลับไปเมื่อ 95 ปี ที่แล้ว […]

Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) เปลี่ยนพื้นที่รกร้าง เป็นสถานแห่งงานศิลป์แบบเต็มพิกัด!

หอศิลป์เปิดใหม่! รีโนเวทจากอาคาร โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช ที่ใครต่อใครต่างรู้จักกันดีในย่านเยาวราช ซอยนานา (ถ้าไม่คุ้นก็ดรุณศึกษาที่เราเคยอ่านกันนั่นไง) วันนี้ ตึกเก่าอายุกว่า 60 ปี ทั้ง 3 หลังจะได้รับการปรับปรุงให้กลายเป็นพื้นที่สุดพิเศษสำหรับการจัดแสดงงานศิลปะ และอีเวนต์ที่เกี่ยวข้องอีกมากมายในอนาคต ในนาม Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) โดยผู้ขับเคลื่อนโปรเจ็กต์นี้ก็คือคุณ มาริษา เจียรวนนท์ ผู้อยู่เบื้องหลังโปรเจ็กต์ศิลปะมากมาย เช่น การพา “เจ๊ไฝ” ไปแสดงศิลปะการทำอาหารในต่างประเทศ แผนขั้นสมบูรณ์ของ Bangkok Kunsthalle (บางกอก คุนสตาเล่อ) นั้นจะกลายเป็นพื้นที่ศิลปะขนาดหลายพันตารางเมตร โดยมีงานศิลปะใหญ่ 4 ครั้งต่อปี มีสเตฟาโน ราโบลลี แพนเซรา อดีตผู้อำนวยการแกลเลอรี Hauser & Wirth จากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ มาเป็นภัณฑารักษ์ แม้ว่าโครงการทั้งหมดยังไม่แล้วเสร็จ แต่วันนี้ทุก ๆ คนก็สามารถแวะไปชมนิทรรศการพิเศษที่ชั้นล่างของอาคารได้แล้วกับงานแรกนี้ Nine Plus Five โดยศิลปินมิเชล โอแดร์ […]

Accent Lighting แสงสร้างมิติ ไอเดีย ออกแบบแสงสว่าง ในบ้าน

หากต้องการสร้างบรรยากาศให้มุมใช้งานภายในบ้าน หรือคอนโดมิเนียมมีความพิเศษโดดเด่นขึ้น หรือแค่อยากเน้นบางมุมให้มีความรู้สึกถึงการใช้งานที่เฉพาะเจาะจง วันนี้ room ได้รวบรวม การออกแบบแสงสว่าง เพิ่มมิติด้วยแสงไฟมาฝาก โดยเป็นวิธีการใช้แสงไฟเพื่อเน้นจุดสนใจ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า Accent Lighting นับเป็นไอเดีย การออกแบบแสงสว่าง ในการช่วยสร้างความพิเศษ และความสวยงามให้กับมุมใดมุมหนึ่งของบ้าน หรือคอนโดมิเนียมให้มีมิติสวยงามมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิคแบบซ่อนไฟที่ทำได้ทั้งบนฝ้าเพดาน และเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน ไฟซ่อนฝ้าหลืบ มีลักษณะเป็นหลืบฝ้าติดผนังฝั่งใดฝั่งหนึ่ง โดยส่วนมากมักซ่อนไฟเพื่อเน้นพื้นที่ผิวผนัง หรือเน้นผลงานศิลปะและยังสามารถทำเป็นหลืบไฟซ่อนรางม่าน โดยเพิ่มไฟให้แสงส่องลงมาที่ม่านช่วยให้ดูไม่ทึบ สามารถเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ หรือ LED T8 แทน LED Stripe Light ได้ โดยวางหลอดให้เหลื่อมกันเพื่อไม่ให้เกิดเงาระหว่างหลอด เพิ่มมิติให้มุมนั่งเล่น ด้วยการตกแต่งไฟเพิ่มแสงสว่างบริเวณรางม่าน และผนังด้านข้างขับบรรยากาศให้ยิ่งอบอุ่นเจ้าของ : คุณกฤษณะพันธ์ วกิณิยะธนีออกแบบ : Ham Architects โทร. 09-1829-6356ภาพ : W Workspace เนื้อหาฉบับเต็ม https://www.baanlaesuan.com/241364/design/living/aree-condo ไฟซ่อนในเฟอร์นิเจอร์บิลท์อิน นอกจากแสงไฟที่เฟอร์นิเจอร์จะช่วยทำให้ห้องดูมีมิติสวยงามแล้ว ยังช่วยเรื่องการมองเห็นในเวลากลางคืนอีกด้วย เช่น การติดตั้งไฟซ่อนบริเวณหัวเตียง หรือการติดตั้งไฟหลืบใต้เตียงที่เอื้อประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ […]

“ที่ว่างอาคาร” และ “ระยะร่น” เรื่องควรรู้ก่อนสร้างบ้าน

ไม่ว่าจะเป็นบ้านในเขตเมือง หรือบ้านต่างจังหวัด ก่อนสร้างบ้านเราต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะข้อกฎหมายที่ว่าด้วยเรื่องระยะร่น และที่ว่างอาคารที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างจากบ้านของเพื่อนบ้าน ระยะร่นจากถนน และแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อการอยู่อาศัยที่ดี การสร้างอาคารให้มีระยะร่น หรือที่ว่างระหว่างอาคาร จะช่วยให้อากาศและลมถ่ายเทได้สะดวก สร้างสุขอนามัยที่ดี ทั้งยังง่ายต่อการซ่อมแซมตัวบ้าน ไปจนถึงการต่อเติมอาคาร โดยไม่ไปรบกวนเพื่อนบ้านและมีความเป็นส่วนตัว ที่สำคัญยังช่วยป้องกันเหตุอันไม่คาดฝันได้หลายเหตุการณ์ อาทิ เหตุอัคคีภัย คลื่นเซาะแนวตลิ่ง ฯลฯ ส่วนจะมีข้อมูลอะไรบ้างที่เราต้องคำนึงถึงนั้น room มีข้อมูลมาฝากดังนี้ สำหรับการสร้างที่อยู่อาศัย ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 อาคารอยู่อาศัยและอาคารอยู่อาศัยรวมต้องมีที่ว่างไม่น้อยกว่า 30% และบ้านสามารถใช้พื้นที่ 70 % ของผืนที่ดินทั้งหมด ในลักษณะใดก็ได้ ระยะห่างที่เหมาะสมภาพบน – ช่องเปิดต้องอยู่ห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 2 เมตร และสำหรับบ้าน 3 ชั้น หรือสูง 9 เมตร ขึ้นไป ต้องห่างจากเขตที่ดินอย่างน้อย 3 เมตรภาพล่าง – สามารถสร้างบ้านชิดที่ดินได้ไม่เกิน 50 เซนติเมตร ถ้าชิดกว่านั้นต้องมีหนังสือยินยอมจากเพื่อนบ้าน […]

ถอดบทเรียน 10 ข้อจากเสวนา BACC circle หัวข้อ “20 ปีแห่งการเดินทาง การสร้างเขตวัฒนธรรมเกาลูนตะวันตก  WEST KOWLOON ให้อะไร?” ต่อคุณและวงการศิลปะไทย

West Kowloon Cultural District Authority พื้นที่สำหรับประชาชน และความเป็นไปได้ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งศิลปะ ในการที่ศิลปินท้องถิ่นจะไม่ถูกทอดทิ้ง และการขยับเข้าสู่ระดับโลกคือสิ่งเป็นไปได้ นี่คือ 10 บทเรียนที่ คุณเบอร์นาร์ด ชาญวุฒ ชาญ รองประธานและคณะกรรมการของ West Kowloon Cultural District Authority พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการศิลป์และประธานบริหาร บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ มาร่วมถ่ายทอดให้เราฟัง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 ที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 นอกจากการพูดคุยที่สนุกสนาน คุณเบอร์นาร์ด ชาญวุฒ ชาญ รองประธานและคณะกรรมการของ West Kowloon Cultural District Authority พร้อมด้วยศาสตราจารย์ ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ผู้อำนวยการศิลป์และประธานบริหาร […]

เยือน TAIWAN DESIGN WEEK เปิดชุมชนนักสร้างสรรค์ อัปเดตดีไซน์ไต้หวันทศวรรษนี้

ตาม room ไปเยือน TAIWAN DESIGN WEEK ครั้งแรก เข้าใจความเป็นไต้หวันในทศวรรษนี้ผ่านแง่มุมดีไซน์ เยี่ยมชุมชนนักสร้างสรรค์ พร้อมร่วมพิธีมอบรางวัลด้านการออกแบบที่ยิ่งใหญ่ระดับเอเชีย Taiwan Design Week ครั้งแรกจัดขึ้นที่ Songshan Cultural and Creative Park กลางกรุงไทเป มาในธีม Elastic Bridging นำเสนอแนวโน้มงานออกแบบของนักออกแบบรุ่นใหม่ ที่ล้วนบอกเล่าเรื่องราวการแลกเปลี่ยน เชื่อมโยง และการร่วมมือระหว่างไต้หวัน และสากลได้อย่างยืดหยุ่น และมีสมดุล เพื่อนำไปสู่การก้าวข้ามกรอบจำกัด เปิดความเป็นไปได้ใหม่ และสร้างแพลตฟอร์มรองรับการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในแวดวงสร้างสรรค์ เนื่องจากไต้หวันเป็นเกาะ จึงมีลักษณะภูมิประเทศ และสภาพภูมิอากาศเฉพาะ รวมถึงมีประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ที่มีเอกลักษณ์ชัดเจน แต่เมื่อมองจากภาพรวมงานออกแบบยุคนี้จะพบว่า นักออกแบบไต้หวันรุ่นใหม่ต่างปรับตัวอย่างยืดหยุ่น และพยายามเชื่อมโยงภูมิปัญญาเข้ากับงานออกแบบหลากหลายสาขา เพื่อมุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสังคมในภาพรวม โดยยังคงสอดแทรกเอกลักษณ์ทางความคิด หรือวัฒนธรรมไว้ได้อย่างน่าสนใจ Theme Exhibition นิทรรศการภายใต้ธีมหลักของงาน Elastic Bridging จัดแสดงผลงานการออกแบบของนักออกแบบไต้หวันรุ่นใหม่ 54 ทีม รังสรรค์ขึ้นโดย curator ไฟแรงอย่าง […]

วางผัง ออกแบบบ้าน ให้ถูกทิศทางแดดและลม

จะดีแค่ไหนถ้าการ ออกแบบบ้าน สักหลัง สามารถทำให้เราเข้าถึงความรู้สึกของการได้พักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม วันนี้ room Design Tips ขอนำความรู้เรื่อง “ทิศทางแดด-ลม” และ “รูปทรง” ของบ้าน ที่มีศักยภาพในการเปิดรับแสง-ลมได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานในการออกแบบบ้านที่จะมีผลต่อการวางผังการใช้งานว่าจะทำอย่างไรให้บ้านมีสภาวะน่าสบาย เหมาะกับการอยู่อาศัย เพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถใช้เวลาและใช้ชีวิตในบ้านได้อย่างมีความสุข วางผังบ้านให้ถูกทิศแดดและลม ทิศเหนือ เป็นทิศที่ร่มเย็นที่สุดตลอดวัน เหมาะกับเป็นพื้นที่พักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง ๆ ทิศตะวันออก เป็นทิศที่ได้รับแสงในตอนเช้า ไม่สะสมความร้อนช่วงบ่าย ทำให้ตอนกลางคืนเย็นสบาย เหมาะจะทำเป็นห้องนอน ทิศตะวันตก-ใต้ เป็นทิศที่ได้รับปริมาณแสงแดดมากตลอดทั้งวัน แต่มีลมพัดผ่าน จึงเหมาะเป็นห้องครัว ห้องน้ำ หรือส่วนบริการอื่น ๆ ที่ต้องการแสงแดด และการระบายอากาศที่ดี ทิศตะวันตก เป็นทิศที่ค่อนข้างร้อนตลอดวัน จึงควรจัดสรรเป็นพื้นที่ที่ต้องการแดดและลม เช่น ทางเดินระเบียง เพื่อกันไม่ให้พื้นที่ใช้งานภายในบ้านได้รับความร้อนโดยตรง ทิศทางลมแต่ละฤดู ฤดูร้อน เดือนมีนาคม – พฤษภาคม ลมพัดมาทางทิศใต้ช่วยคลายร้อน ฤดูฝน เดือนมิถุนายน – พฤศจิกายน ลมพัดจากทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ฤดูหนาว เดือนธันวาคม […]

resort-nan

Patamma resort ฟื้นฟูป่า ริมน้ำน่าน สู่ รีสอร์ท แบบวิลล่าพื้นถิ่นร่วมสมัย

ป่าทำมา รีสอร์ท แบบวิลล่าริมแม่น้ำน่าน สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่ตีความให้ความร่วมสมัย ในพื้นที่ที่ตั้งใจสร้างเป็นป่าของชุมชน DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: IF (Integrated Field)  เริ่มจากแนวคิดตั้งต้นในการฟื้นคืนป่าให้พื้นที่ริมน้ำ โดยมีอาจารย์จุลพร นันทพานิช แห่งป่าเหนือสตูดิโอ สถาปนิกผู้ทำงานออกแบบที่มุ่งเน้นความสอดคล้องกับธรรมชาติ ช่วยเข้ามาปรับสภาพที่ดินในส่วนที่ติดกับริมแม่น้ำ ทั้งการปลูกต้นไม้ทุกชนิดใหม่จากต้นกล้า ไม่ใช้วิธีล้อมต้นใหญ่มาปลูก เพื่อปล่อยให้ธรรมชาติร่วมทำงาน รอเวลาให้ต้นไม้ค่อยๆ เติบโต ให้ป่าฟื้นฟูตัวเองนานนับปี จากนั้น IF (Integrated Field) จึงเข้ามาออกแบบอาคาร รีสอร์ท ไปพร้อมกับการสร้างป่าแห่งนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น วางอาคารเปิดรับวิวแบบพานอรามา ทีมสถาปนิกจาก IF (Integrated Field) เข้ามาคิดผังการวางอาคารในพื้นที่ริมน้ำที่ถูกปรับเป็นป่า โดยวางอาคารหลัก แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ อาคารส่วนต้อนรับ มีห้องอาหาร “ป่ากำกิ๋น” เป็นภาษาเหนือแปลว่าป่าของกิน ทรงอาคารมีที่มาจากรูปทรงของหินที่พบได้บริเวณริมแม่น้ำ รายละเอียดแทบทุกจุดของโครงการ เกิดจากการลงพื้นที่ชุมชนของทีมออกแบบ นำไปสู่การต่อยอดสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเป็นงานร่วมสมัยที่น่าสนใจ ซ่อนอยู่ในดีไซน์ของตัวอาคาร ทรงหลังคา เฟอร์นิเจอร์ รวมถึงวัสดุ เรียกได้ว่าทุกองค์ประกอบมารวมตัวกันก่อตัวเป็น “ป่าทำมา” ที่ถูกทำขึ้นมาอย่างตั้งใจ และพอดี […]

เทคนิคทำผิวสนิมให้สวยทน โชว์เสน่ห์อินดัสเทรียลลอฟต์

การโชว์ให้เห็นสภาพจริงของผิววัสดุ เป็นนิยามความดิบที่มีเสน่ห์ของสไตล์อินดัสเทรียลลอฟต์มักเลือกใช้ โดยเฉพาะวัสดุอย่าง “เหล็ก” ที่มักเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการตกแต่ง เพื่อแสดงถึงความแข็งแกร่ง ดุดัน และความมีตัวตน และจะยิ่งมีเสน่ห์มากขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อปรากฏสีส้มสนิมที่สวยงามแปลกตา สำหรับใครที่หลงใหลในเสน่ห์แห่งความไม่สมบูรณ์ของวัสดุ สู่ความงามของเนื้อแท้ งานเหล็กสีสนิมจึงนับเป็นอีกลูกเล่นหนึ่งที่คาเฟ่ หรือร้านอาหารหลาย ๆ แห่งเลือกนำมาใช้ตกแต่งสถานที่ วันนี้ room จึงมี เทคนิคทำผิวสนิม ให้สวยทนทานมาฝากว่ามีขั้นตอน และวิธีการอย่างไร เพื่อคงสภาพสีสันตามอย่างที่ต้องการไว้ให้คงทนยาวนาน เริ่มจากทำการล้างผิววัสดุ แล้วเคลือบด้วยกรดเกลือ (กรดไฮโรคลอริก HCI) ทิ้งไว้ เพื่อให้เกิดปฏิกิริยาการกัดกร่อนระหว่างสารเคมีกับเหล็ก เสร็จแล้วล้างออก วิธีนี้จะทำให้วัสดุเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามธรรมชาติ เมื่อทิ้งไว้นาน ๆ กลายเป็นสีส้มสนิมที่สวยงามแปลกตา แล้วจึงค่อยทาน้ำยาเคลือบเพื่อหยุดปฏิกิริยาของการเกิดสนิมและคงสภาพสีสันแบบแผ่นเหล็กที่ชอบ หรือหากพื้นผิวเป็นไม้ละ เราก็สามารถตกแต่งสีให้ดูเหมือนสนิมได้เช่นกัน ด้วยการเพ้นต์สีโครเมียม หรือโลหะลงไปบนพื้นผิว จากนั้นใช้แปรงชุบสีเทาและดำปัดไปมาให้เกิดเส้นทีแปรงบาง ๆ สีสันไม่สม่ำเสมอกัน เป็นเสน่ห์ดิบ ๆ ให้พื้นผิวส่วนต่าง ๆ ของบ้านได้ นอกจากสีสนิมเหล็กแล้ว สีสนิมเขียว สนิมทองแดง สีแตกลายงาต่าง ๆ เราก็สามารถใช้สเปรย์พ่นเฉพาะจุดให้เกิดสีสนิมประเภทต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย […]

ประกาศแล้ว! รางวัล SIDA 2023 Singapore Interior Design Awards

รางวัลที่สุดแห่งวงการออกแบบภายในของสิงคโปร์ Singapore Interior Design Awards (SIDA) 2023 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 7 ประกาศรายชื่อผู้ชนะรางวัลทั้งหมด 260 โครงการ SIDA 2023 รางวัลด้านการออกแบบภายในที่มีชื่อเสียงที่สุดของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประกาศรางวัลของปีนี้ พร้อมด้วยรางวัลพิเศษอีก 3 สาขา ได้แก่ “Young Designer of the Year” “Design Educator of the Year” และ “Lifetime Achievement Award” โดยมีนักออกแบบจากหลากหลายประเทศที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ อาทิ สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง และไต้หวัน Ms Low Yen Ling รัฐมนตรีแห่งรัฐ กระทรวงวัฒนธรรม ชุมชน และเยาวชน และกระทรวงการค้า และอุตสาหกรรม ของสิงคโปร์ กล่าวว่า “งานมอบรางวัลนี้ […]

Office-rice-local-chiangmai

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออฟฟิศริมทุ่งนา ที่ออกแบบอย่างถ่อมตน

ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อาคารที่รองรับกิจกรรมการทำงานของคนที่หลากหลาย ตั้งแต่นักวิจัยพันธุ์ข้าวในห้องแล็บ พนักงานในออฟฟิศ และชาวนาที่มาติดต่อ ส่งมอบเมล็ดพันธุ์ หรือใช้ลานอเนกประสงค์เป็นลานตากข้าว DESIGNER DIRECTORYออกแบบ: Hanabitate Architect ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา แห่งนี้ เป็นการออกแบบที่สถาปนิกจาก Hanabitate Architect ต้องทำความเข้าใจ และโอบรับผู้ใช้งานเข้าเป็นส่วนหนึ่งโดยไม่ทิ้งใครเอาไว้ เพื่อให้อาคารถูกใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพตามที่ตั้งใจ ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา คือ พื้นที่ทำงานวิจัยพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคเหนือ เพื่อให้เกษตรกรใช้ประโยชน์ และต่อยอดให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงพัฒนาข้าวสายพันธุ์บนดอยที่มีความแข็งแรง ลงมาใช้ปลูกในพื้นที่ราบ เป็นหน่วยงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ออกแบบเป็นอาคาร 2 ชั้น ชั้นล่างเปิดโล่งแบบใต้ถุน ส่วนชั้นบนเป็นโซนสำนักงาน และห้องทดลองของนักวิจัย วางอาคารตามวิถีคนปลูกข้าว ผังอาคารออกแบบจากพฤติกรรมของผู้ใช้งานจริง คือ ชาวนาที่ต้องขับรถแทร็คเตอร์เข้ามาติดต่อ ก็ยกอาคารชั้นล่างให้สูงโปร่งเป็นที่จอดรถได้ ชั้นล่างทำเป็นลานโล่งไว้สามารถปรับเปลี่ยนใช้งานได้หลากหลาย เพราะงานวิจัยข้าวไม่ได้ทำเฉพาะในห้อง แต่ต้องออกมาที่หน้างาน พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับชาวบ้านด้วย จึงออกแบบพื้นที่ไว้อย่างหลวมๆ เพื่อรองรับการใช้งานหลายรูปแบบ เช่น เป็นลานตากข้าว เป็นจุดนัดพบระหว่างนักวิจัย และชาวนา ออกแบบอาคารอย่างถ่อมตนเพื่อคนทุกกลุ่ม “การออกแบบอาคารที่ผู้ใช้งานเป็นคนหลากหลายกลุ่ม ต้องนึกภาพเวลาคนกลุ่มต่างๆ […]