โรงน้ำแข็งเก่าอายุกว่าครึ่ งศตวรรษได้รับการแปลงโฉมสู่ Weave Artisan Society คราฟต์คอมมูนิตี้แห่งใหม่ของชาวเชี ยงใหม่ ที่เปิดกว้างสำหรับทุกกิจกรรมสร้ างสรรค์ของชุมชน
เมื่อราว 40 ปีก่อน ณ ถนนวัวลาย ย่านหั
จุดเริ่มต้น
Julian: “โครงการนี้เริ่มต้นมาเกื
อบสามปีแล้ว เป็นเส้นทางที่ยาวนาน และผ่านความท้าทายมามากมาย โดยจุดเริ่มต้นของที่นี่มาจากการที่ ผมได้มีส่วนร่วมในครีเอทีฟอีเว้ นท์ และเทศกาลการออกแบบหลายๆ งาน เช่น TEDxChiangMai หรือ Chiang Mai Design Week ในช่วงตลอดหลายปีที่ผ่านมา ผมจึงมีโอกาสได้พูดคุย ทำงานกับดีไซเนอร์และช่างฝีมื อท้องถิ่นมากมาย ผมรู้สึกว่าพวกเขาต้องการพื้นที่ สำหรับการแบ่งปันไอเดี ยและความรู้ และแม้ว่าเชียงใหม่จะถือได้ว่ าเป็นเมืองหลวงแห่งงานคราฟท์ ของไทย แต่ถ้าเราอยากจะไปถึงแหล่ งงานคราฟต์ เราก็ต้องไปให้ถึงสันกำแพงหรื อสันทราย ผมเลยคิดว่า จะดีกว่าไหมถ้าผมสร้างพื้นที่ หนึ่งขึ้นมาใจกลางเมือง เพื่อเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างผู้ คนที่สนใจกับชุมชนงานคราฟต์เหล่ านั้น”
คุณ Julian Huang อาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คือหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง และสถาปนิกหลั
Julian: “เดิมทีตรงนี้เป็นโรงน้ำแข็งเก่
าที่รกร้าง ทรุดโทรม ไม่มีหลังคา ด้านหลังก็เป็นป่ารก แต่ผมกลับรู้สึกได้ว่าที่นี่คื อสถานที่พิเศษไม่เหมือนใคร มีเรื่องราวมากมาย เราอยากทำอะไรกับที่นี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารนี้อยู่ ในบริบทของถนนวัวลาย ซึ่งเป็นชุมชนช่างเงินสืบต่อกั นมายาวนาน เราเลยคิดว่าเราสามารถสร้ างความเชื่อมโยง ‘อดีต’ ของที่นี่ เข้ากับ ‘อนาคต’ ของเราได้”
คุณ Julian Huang (ขวา) และ คุณกัญชพร ชูวงษ์ (ซ้าย)
สถาปัตยกรรมที่ไม่มีวันเสร็จสมบูรณ์
นอกจากคุณ Julian แล้ว คุณกัญชพร ชูวงษ์ คืออีกหนึ่งสถาปนิกหลักของโครงการ พวกเขาเรียกที่นี่ว่า A Process Driven Creative Destination ที่ซึ่งทีมงานของ Weave ใช้เวลาออกแบบและก่อสร้างที่นี่อยู่ประมาณหนึ่งปีครึ่ง เพื่อศึกษาและค้นหากระบวนการสร้างสรรค์ที่จะทำให้พื้นที่นี้สามารถเล่าเรื่องราวของตัวมันเองในอดีตไปพร้อมๆ กับเล่าเรื่องราวของชุมชนที่อยู่รอบๆ ด้วย ดังนั้นผลลัพธ์ของโครงการนี้ จึงน่าสนใจที่ “กระบวนการ” ที่เกิดขึ้นมากกว่าผลงานในเชิงรูปธรรม
Julian: “จริงๆ แล้ว ที่นี่คือ จุดหมายปลายทางที่ขับเคลื่อนด้วยกระบวนการสร้างสรรค์ เพราะเราเชื่อว่า “กระบวนการ” คือสิ่งสำคัญสำหรับงานคราฟต์และการออกแบบ เราตั้งคำถามเสมอว่าอะไรคือคุณค่าของงานคราฟต์ คือแค่ตัวผลิตภัณฑ์หรือเปล่า และพบว่าจริงๆ แล้วคุณค่าอยู่ในกระบวนความคิด ในกระบวนการสร้างสรรค์ ในความล้มเหลวทั้งหลาย ซึ่งนั่นคือสิ่งที่ผู้บริโภคไม่เคยเห็น เพราะเป็นกระบวนการเบื้องหลัง แนวคิดการออกแบบของที่นี่จึงคือการนำกระบวนการเบื้องหลังเหล่านั้นมาสู่เบื้องหน้าเพื่อให้ทุกคนได้เห็น”
กัญชพร: “เราจึงไม่สร้างให้พื้นที่นี้เสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่แรก แต่จะค่อยๆ พัฒนากระบวนการออกแบบไปพร้อมๆ กับผู้คนที่เข้ามาใช้งานในโครงการ และให้สเปซพัฒนาเข้ากับคน เราจะปรับพื้นที่ให้เข้ากับกิจกรรมในโซนนั้นๆ ให้เข้ากับผู้ใช้งาน ดังนั้นคนที่มาใช้พื้นที่จะพบว่าทุกอาทิตย์ที่เขามา พื้นที่จะเปลี่ยนแปลงไปหมดเลย บางทีต้นไม้ก็ย้ายไปข้างนอก ชั้นวางของต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปตามการใช้งานในช่วงนั้นๆ การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ส่วนใหญ่จึงออกแบบให้เคลื่อนย้ายได้ และพยายามใช้วัสดุดั้งเดิมในพื้นที่ เช่น ประตูไม้เก่าของห้องน้ำแข็งก็นำมาขัดทำเป็นโต๊ะ หรือพื้นหินขัดและผนังหินอ่อนสีชมพูของโรงน้ำแข็งเราก็คงไว้”
Julian: “สำหรับเรา Weave คือโปรเจ็คต์ที่ไม่มีวันเสร็จ มันเป็นโครงการที่จะมีกระบวนการพัฒนาไปเรื่อยๆ เราคิดว่าพื้นที่ที่สร้างสรรค์จริงๆ ควรยืดหยุ่น ไม่ควรเป็นการออกแบบที่ตายตัว ต้องสามารถเปลี่ยนแปลงได้ และสามารถปรับตัวเข้ากับบริบทและผู้ใช้งานได้ตลอดเวลา แม้ว่าเราจะอยู่ในอาคารทรงกล่องสี่เหลี่ยม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นภายในนี้ควรมีพลังความเคลื่อนไหว มีความยืดหยุ่นตลอดเวลา”
นิทรรศการคือหัวใจ
เนื่องจากที่นี่ ก่อตั้งขึ้นจากความตั้งใจที่ให้เป็นพื้นที่แห่งการสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงมีกิจกรรมมากมายต่อคิวตลอดทั้งปี
Julian: “ตอนนี้มีอีเว้นท์ที่น่าสนใจคือ เราร่วมงานกับสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และองค์กรจากสิงคโปร์ UR Field Lab ร่วมงานกับศิลปิน 15 คนจากทั่วโลก เพื่อสร้างผลงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับปัญหาน้ำท่วมในเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ย่านวัวลายเองก็เผชิญอยู่ นิทรรศการบอกเล่าถึงวิธีการที่ผู้คนใช้ชีวิตท่ามกลางปัญหาน้ำท่วมนี้ เช่น การศึกษาปัญหาในแง่มุมต่างๆ ไปจนถึงการออกแบบเฟอร์นิเจอร์เพื่อใช้ชีวิตในช่างน้ำท่วม”
“ส่วนช่วงปลายเดือนกรกฎาคมนี้เราจะมีเวิร์คช็อปที่ทำงานร่วมกับชุมชนในแม่แจ่มกับดอยอินทนนท์ ร่วมกันสำรวจความเป็นไปได้ใหม่ๆ เกี่ยวกับวัสดุไม้ไผ่ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ในแง่ของการใช้ก่อสร้าง แต่ยังรวมไปถึงในแง่ของวัสดุที่เราใช้งานได้ในชีวิตประจำวัน โดยจะมีนักออกแบบนานาชาติมาร่วมเวิร์คช็อปครั้งนี้ด้วย และจะนำผลงานมาจัดนิทรรศการ”
ความเชื่อมโยงกับชุมชน
Julian: “ทุกครั้งที่เราจัดงานเราจะชวนเด็กๆจากมูลนิธิที่อยู่ข้างเคียงหรือผู้คนในชุมชนมาร่วมงานด้วยอย่างในช่วงกันยายนนี้เราจะจัดงานที่ชวนช่างฝีมือในย่านนี้มาจัดเวิร์คช็อปงานฝีมือที่ใครๆก็เข้ามาร่วมได้เพื่อแบ่งปันวัฒนธรรมดั้งเดิมนี้ให้กับคนรุ่นใหม่ถ้าลองเดินดูจะพบว่ามีช่างฝีมืออยู่ในชุมชนมากมายบางทีไม่ได้มีหน้าร้านแต่เราได้ยินเสียงตอกโลหะอยู่ตลอด”
“ที่นี่เปิดรับผู้ที่สนใจมาจัดนิทรรศการซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือเรื่องราวของนิทรรศการนั้นๆเราไม่อยากยกพื้นที่นี้ให้นักออกแบบหรือศิลปินโดยตรงแต่จะเป็นรูปแบบของความร่วมมือที่เราจะร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆเพราะเราเชื่อในความร่วมมือ”
“Weave มาจากไอเดียของผืนผ้าที่เกิดจากการถักทอเส้นใยมากมายเข้าด้วยกัน เหมือนกับการที่เราสอดประสานความร่วมมือจากชุมชนท้อนถิ่นโดยรอบ”
ร้านค้าพันธมิตร
นอกเหนือไปจากพื้นที่แห่งความร่วมมือ ที่นี่ยังมีคาเฟ่และร้านดอกไม้ เพื่อช่วยสร้างสีสันและพลังความเคลื่อนไหวให้พื้นที่ได้อยู่ตลอด
Julian: “เนื่องจากเราไม่ได้ให้เช่าพื้นที่ ทุกร้านคือส่วนหนึ่งของ Weave เราเลือกจากร้านที่มีแนวคิดไปในทิศทางเดียวกับเรา อย่าง Taste Cafe Atelier ซึ่งมีแนวคิดการดำเนินธุรกิจไม่ต่างจากแนวคิดการออกแบบของเราซึ่งคือ Material Culture เราเลือกที่จะศึกษากระบวนการออกแบบกับวัสดุใดวัสดุหนึ่ง ซึ่งคาเฟ่นี้ก็เสิร์ฟเฉพาะเมนูกาแฟเรียบง่าย แต่คุณภาพดีมาก เจ้าของเขาเป็นคนที่รู้จักเมล็ดกาแฟ รู้จักกระบวนการชงกาแฟเป็นอย่างดี ให้ความสำคัญกับกระบวนการจากเมล็ดสู่แก้ว ซึ่งนั่นตรงกับปรัชญาการออกแบบของเรา”
Julian: “นอกจากนี้ เรารู้สึกว่าที่นี่ค่อนข้างกระด้างด้วยโครงสร้างและวัสดุต่างๆ ดังนั้น เราจึงอยากร่วมงานกับ Les Fleurs Fac เจ้าของเป็นคนที่หลงใหลในดอกไม้ ซึ่งจะช่วยสร้างความอ่อนโยนให้พื้นที่นี้ ร้านนี้เติบโตไปพร้อมๆ กับเรา เขาขายดอกไม้ตามฤดูกาล มีการเวิร์คช็อปจัดดอกไม้ ซึ่งพอดอกไม้สดกลายเป็นดอกไม้แห้ง เราก็ไม่โยนทิ้ง แต่นำมาตกแต่งบนผนังดอกไม้สร้างบรรยากาศที่อ่อนละมุนขึ้น ซึ่งตรงกับแนวคิดการออกแบบเพื่อความยั่งยืนของเราด้วย”
Weave Artisan Society
เทศบาลนครเชียงใหม่ 50100
เปิดทุกวัน เวลา 9.00-18.00 น.
Tastecafe Atelier เปิดเวลา 10.00 – 17.00 น.
www.weaveartisansociety.com
เรื่อง : monosoda
ภาพ : ศุภกร