ในวันที่ผู้คนต่างตื่นตัวของกระแสรักษ์โลก กระจายไปทั่วทุกย่อมหญ้า ทุกวงการ ซึ่งต้องยอมรับว่าเรื่องนี้เป็นวาระสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมมือร่วมแรงกันอย่างจริงจัง ไม่เว้นแม้แต่วงการตกแต่งบ้านที่เหล่าสถาปนิก อินทีเรียร์ นักออกแบบในทุกแขนงต่างคิดคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ขบวนการออกแบบไปจนถึงขั้นตอนของการใช้งาน เช่นเดียวกับ PASAYA แบรนด์ผ้าเพื่องานตกแต่งที่แต่ละปีได้มีการออกคอลเลคชั่นใหม่อยู่เสมอ สร้างสีสันในรูปแบบต่างๆ ออกมาเป็นเวลานานกว่า 17 ปี
แต่สำหรับคอลเลคชั่นใหม่ปีนี้ แตกต่างไปจากปีที่ผ่านมาภายใต้คอนเซ็ปต์ Up-Cycling ผ้าเพื่องานตกแต่งบ้านที่ผลิตจากเส้นใยพลาสติกที่ผ่านกระบวนการ Up-cycling โดยความร่วมมือกับบริษัทพีทีที โกลบอล เคมีคอล จำกัด(มหาชน) หรือ GC
ความน่าสนใจของ Up-Cycling เป็นเสมือนการกรุยทางให้วงการออกแบบไปสู่กระบวนการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดขึ้น แนวคิดนี้เกิดขึ้นโดยคุณรติยา จันทรเทียร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เท็กซ์ไทล์ แกลลอรี่ จำกัด (PASAYA) ที่เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้และผลักดันให้เกิดคอลเลคชั่นที่เปลี่ยนขยะพลาสติกให้เป็นหนึ่งในความสวยงามภายในบ้าน เปลี่ยนขวดพลาสติกที่ไร้ค่า ให้เป็นผืนผ้าที่มีความสวยงาม ทนทาน สะอาด และใช้งานได้ดีเทียบเท่ากับผืนผ้าปกติ โดยไม่กลับไปเป็นขยะอีกครั้ง
“ที่จริงแล้วPASAYA ไม่ได้เพิ่งจะมาให้ความสนใจในเรื่อง Environment ในช่วงที่มีกระแสรักษ์โลกนี้เท่านั้น ตั้งแต่เราเริ่มก่อตั้ง 17 ปีที่แล้วเมื่อครั้งPASAYA กำเนิดขึ้น เราผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าที่ปลอดสารฟอร์มัลดีไฮด์อันเป็นสารพิษก่อมะเร็ง โรงงานของเรามีระบบจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเป็น Green Industry ที่จริงจังซึ่งได้รับรางวัลการันตีมามากมาย หรืออย่างปัจจุบันนี้เราได้มีการจัดแคมเปญงดรับกล่องพลาสติกบรรจุชุดผ้าปูที่นอนแลกกับส่วนลด on top พิเศษ แม้ว่าส่วนลดราคาซื้อจะมีมูลค่ามากกว่าต้นทุนกล่องบรรจุก็ตาม ซึ่งเราเล็งเห็นความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมมาตลอด จนเมื่อปีที่แล้วทาง GC ได้แนะนำให้รู้จักกับนวัตกรรมเส้นด้ายจากกระบวนการ Up-Cycling เป็นนวัตกรรมวัสดุใหม่โดยการนำขวดพลาสติกมาเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนรูปให้เป็นเส้นด้ายใช้แทนโพลีเอสเตอร์ สำหรับถักทอเป็นผ้าเพื่องานตกแต่งอย่างผ้าม่าน ผ้าบุ พรม ที่ต้องการความคงทนในการใช้งาน”
“อธิบายอีกนิดหนึ่ง คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่เข้าใจว่า Up-Cycling กับ Recycle ว่าแตกต่างกันอย่างไร สำหรับ Recycle ที่คนทั่วไปเข้าใจก็คือการเอาของที่ทิ้งแล้วมาใช้ใหม่อีกครั้ง แต่ของใหม่ที่ได้จะมีคุณภาพไม่ดีเท่าของเดิม แต่ Up-Cycling จะไม่ใช่แบบนั้น มันคือการ re-process วัสดุนั้นอีกรอบ จะได้วัสดุใหม่ที่มีคุณสมบัติเท่ากับของเดิมหรือใกล้เคียงกับของเดิมมาก เราสามารถนำเส้นด้ายจากกระบวนการ Up-Cycling มาทำเป็น ผ้าม่าน ผ้าบุเฟอร์นิเจอร์ และที่สำคัญคือยังคงปลอดภัยจากสารพิษฟอร์มาลดีไฮด์ ทนทาน สะอาด และปลอดภัย ซึ่งในอนาคตจะนำมาพัฒนาเป็นโปรดักส์อื่นๆ อีกต่อไป ”
คุณรติยา กล่าวเพิ่มเติมว่า หากมองด้วยตาเปล่าจะไม่สามารถบอกได้เลยว่า อันนี้เป็น Up-Cycling อันไหนเป็นออริจินัล มันเกือบจะเรียกว่าไม่มีความแตกต่างเลย เพราะเส้นด้ายที่ผ่านการวิจัยมานั้นมีคุณภาพและความสะอาดอยู่ในมาตรฐานที่สูงมาก ส่วนความคงทน แข็งแรงของผ้า Up-Cycling ก็ไม่ต่างจากผ้าโพลีเอสเตอร์ที่ผลิตขึ้นใหม่ แต่เหตุผลที่PASAYA ทำโปรเจ็คนี้เพราะคิดว่าวัสดุแต่ละอย่างในโลกนี้ควรถูกใช้งานนานๆ ไม่ควรที่จะกลับมาเป็นขยะในเวลาอันรวดเร็วPASAYA จึงพยายามคำนึงถึงเรื่องอายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์ทุกชิ้น ทุกคอลเลคชั่น ซึ่งปกติก็มีอายุการใช้งานยาวนานมากๆ อยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น Textile Art ซึ่งเป็นรูปภาพทอเส้นด้ายสามารถเก็บไว้นานมากๆ จะเป็นสิ่งที่มีคุณค่ากับผู้เป็นเจ้าของ รวมทั้ง พรม ผ้าม่าน ปลอกหมอน และชุดเครื่องนอนที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่คงทนและปลอดภัย”
” เทรนด์การตกแต่งบ้านที่น่าสนใจใหญ่ๆ สำหรับปี 2020 นี้ก็จะมี 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งก็จะเป็นเรื่องความเป็นธรรมชาติแบบ Original คือเป็นธรรมชาติจริงๆ ไม่มีเคมีเจือปน ส่วนอีกเทรนด์คือเรื่อง Up-Cycling ที่ทั่วโลกให้ความสนใจในเรื่อง Environment ซึ่งปัจจุบันเราจะต้องเจอกับปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก หรือขยะในมหาสมุทรที่ส่งผลต่อสัตว์ทะเล โดยคนจะตระหนักในเรื่องนี้และให้ความสำคัญกับที่มาที่ไปของวัสดุที่ใช้ผลิตสินค้านั้นๆ มากขึ้น เช่นเดียวกับPASAYA ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาตลอดระยะเวลากว่า 17 ปี ” ผู้บริหารกล่าวทิ้งท้าย
มาร่วมสัมผัสความเนียนนุ่มผ่านลวดลายอันสวยงามของเนื้อผ้าที่ผลิตจากกระบวนการ Up-cycling พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการรักษ์โลกโดยเริ่มต้นจากบ้านของเราได้แล้วที่PASAYA Flagship Store Siam Paragon ชั้น 3 ฝั่ง North ZoneและPASAYA OUTLET ทุกสาขา