TIDA Awards 2019 รางวัลการออกแบบตกแต่งภายใน ประจำปี - บ้านและสวน

TIDA Awards 2019 13 รางวัล กับ 11 ผลงานออกแบบตกแต่งภายในที่ดีที่สุดของเมืองไทย

TIDA Awards กลับมาอีกครั้งกับการประกาศรางวัลการออกแบบตกแต่งภายใน ประจำปี พ.ศ. 2562 โดยสมาคมมัณฑนากรแห่งประเทศไทย ซึ่งได้ เริ่มจัดขึ้นมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2553 เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางของสมาคมฯในการสร้างสรรค์ความเจริญงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ เพื่อรักษาอารยธรรมของชาติ ทั้งเสริมสร้าง และสนับสนุน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคลากรสายวิชาชีพทั้งในและนอกสมาคมฯ

อ่าน : 10 MUST VISIT PLACES IN TAIWAN

และแน่นอนที่ room ไม่พลาดจะนำผลงานน่าสนใจทั้ง 11 ผลงาน จาก 13 รางวัล มาอวดโฉมให้ผู้อ่านทุกท่านได้ชมกัน มีทั้งร้านอาหารและโรงแรมที่น่าสนใจมากมาย รวมทั้ง Office Space ดี ๆ หลากหลาย จะมีที่ใดบ้าง เลื่อนไปดูกันต่อได้เลย

Best of Residential Design

“Twisted House “

by Architect 49 House Design (A49HD)

บ้านชานเมืองในรูปทรงเลขาคณิตที่แวดล้อมไปด้วยต้นฉำฉา และได้นำเอา “การบิดตัว” ของต้นฉำฉามาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้าง Circulation ของบ้าน นั่นก็คือบันไดวนซึ่งเป็นแกนหลักของบ้านที่เชื่อมต่อไปยังส่วนต่างๆซึ่งใช้รูปทรงกล่องลูกบาศก์ นำมาวางซ้อนเหลื่อมกันและบิดตัวไปตามเข็มนาฬิกาเพื่อหลบแนวต้นไม้ใหญ่หน้าบ้านจนเกิดเป็นภาพซ้อนในแบบรูปทรงเลขาคณิต
อ่าน : การได้ทำงานคือความสุข และความสนุกทำให้ A49 ไม่หยุดนิ่ง


Best of Small Residential Design

“JB House”

By Idin Architects

บ้านขนาดเล็กที่ออกแบบให้กับคู่รักที่ไม่มีแผนจะมีบุตรซึ่งฝ่ายชายรักในการถ่ายภาพและทำขนมในขณะที่ฝ่ายหญิงรักในการเขียน อ่านหนังสือ และวาดภาพ การออกแบบพื้นที่ในบ้านหลังนี้จึงเป็นการผสมเอาความแตกต่างให้เชื่อมโยงเข้าหากันโดยเชื่อว่าพื้นที่ทางสถาปัตยกรรมจะสามารถช่วยพัฒนาความสัมพันธ์ของคนทั้งสองที่แตกต่างให้แนบแน่นได้มากขึ้นเมื่ออาศัยในบ้านหลังนี้

อ่าน : Studio Visit : IDIN Architects


Best of Hotel Design

“Bangkok Marriot Hotel The Surawongse”
by PIA Interior

บ้านสุรวงศ์สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2500 ในสมัยรัชกาลที่ 5 และสิ่งนี้ก็ได้กลายมาเป็นแนวคิดหลักในการออกแบบ โรงแรมแมริออทสุรวงศ์ นั่นก็คือการนำเอาจิตวิญญาเดิมของบ้านสุรวงศ์ สอดแทรกเข้าไปในองค์ประกอบการตกแต่งภายในโรงแรม ซึ่งมีการประยุกต์ใช้วัสดุและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัย เช่น กระบวนการทอผ้าไทยที่นำมาใช้กับวัสดุโลหะผสมกับผ้าไทยพื้นเมือง ทำให้เกิดกลิ่นอาย ‘ความเป็นไทยสากล’ ที่สอดคล้องกับโรงแรมซึ่งบริหารโดยแบรนด์ระดับนานาชาติ

งานศิลป์ที่โดดเด่นถูกนำเสนอหลากรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นผ้าทอ งานเขียน จิตรกรรมฝาผนัง งานแกะสลักเขียนมือ งานปูนปั้น รวมถึงงานประติมากรรมโดย อาจารย์เขียน ยิ้มศิริ ทั้งหมดล้วนสะท้อนความเป็นไทยในรูปแบบร่วมสมัย Thai Contemporary และสะท้อนถึงอัตลักษณ์ของผู้ออกแบบเอง

อ่าน : PIA Interior


Best of Small Hotel Design

“Navakitel Design Hotel”

By Junsekino Architect and Design

โรงแรมนาวากีเทลดีไซน์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยสถาปนิกและเจ้าของโครงการตั้งใจสร้างเรื่องราวให้กับโรงแรมผ่าน Local Craftman งานฝีกมือของช่างเหล็ก ช่างไม้ และช่างปูน ผู้ออกแบบลงศึกษาทักษะการทำงานของช่างท้องถิ่นเอง เพื่อดูว่ามีวิชาชีพด้านใดบ้างที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในผลงาน ลดขั้นตอนการทำงานของช่างลง และดึงเอกลักษณ์ของนครศรีธรรมราชมารวมอยู่ในโครงการนี้ อีกทั้งมีการใช้เหล็กแผ่นในการออกแบบเพื่อลดความทึบตันของอาคารให้เกิดมิติที่น่าสนใจ

อ่าน : JUNSEKINO ARCHITECT AND DESIGN สถาปนิกที่ขอแข่งกันช้าในโลกยุคดิจิตอล


Best of Resort and Spa Design

“Dii Wellness Med Spa”

By Department of Architecture Co.

เปลี่ยนผ่านไปสู่พื้นที่อีกดินแดนที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับความขาวโพลนของห้างสรรพสินค้า พื้นที่ส่วนต้อนรับของ Dii Wellness วางตัวอยู่ในพื้นที่สีดำเงาและกลุ่มเกลียวแท่งปริซึมที่พุ่งจากพื้นจรดเพดาน เงาสะท้อนของเกลียวปริซึมสร้างความลึกบนพื้นดำเงาพุ่งขึ้นไปไร้จุดสิ้นสุดบนเงาสะท้อนของเพดาน ลวงตาให้พื้นที่ขยายออกไปคล้ายไร้ขอบเขต ซึ่งเกลียวปริซึมนี้เป็นตัวแทนของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี DNA ของ Dii Wellness Med Spa อีกด้วย

อ่าน : Department of Architecture


Best of Restaurant Design

“Chouifong Tea Café 2”
By IDIN Architects

แนวคิดในการออกแบบ Chouifong Tea Café 2 ถูกขยายความมาจากงานที่ IDIN ได้เคยทำไว้ใน Chouifong Tea Café 1 เพื่อให้ตอบรับกับการใช้งานได้มากขึ้น โดยให้ทุกที่นั่งสามารถรับวิวได้โดยไม่บังกัน มีทางลาดให้สามารถเข้าถึงทุกพื้นที่ได้แม้จะเป็นรถเข็น และมีหลังคาที่ทำหน้าที่เป็นกันสาดบังแดดกันฝนไปในตัว ออกแบบให้ดูบีบคล้ายถ้ำก่อนจะขยายในส่วนที่นั่งด้านใน ใช่ช่องแสงส่องสว่างด้วยแสงธรรมชาติเพิ่มความโดดเด่นให้กับลายไม้เกิดเป็นกราฟิกดูมีชีวิตชีวา

อ่าน : Studio Visit : IDIN Architects


Best of Creative Eatery Design

“Crimson Room”
by Paradigm Shift +

โจทย์เริ่มต้นคือ เพลลิสต์ชุดหนึ่งของเพลงสวิงแจ๊ส ผู้ออกแบบจึงตีความออกมาเป็นโรงละคนแนววินเทจ หรูหรา ตระการตาด้วยม่านสีแดงกำมะหยี่ และคอนเซ็ปต์ของการทำงานก็คือ ‘year 1920 – The Roaring Twienties’ โดยออกแบบ Main Bar ให้คล้ายกับเป็นจุดขายตั๋วโรงละครในสมัย 1920 ซึ่งมองเห็นโถงกลางของบาร์ที่เปิดกว้าง เห็นถึงความอลังการของคอนเซ็ปต์ในการออกแบบ

อ่าน : CRIMSON ROOM บาร์ลับกับห้องม่านแดง ที่จะปลุกความเป็นแกสบี้ในตัวคุณ


Best of Cultural and Educational Space Design

“Dharmashram”

By Deca Atelier

แกนหลักของแนวคิดที่เป็นธงนำสำคัญในการทำงานการออกแบบ ก่อสร้าง และใช้อาคาร “ธรรมาศรม” ของแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุด คือความตั้งใจที่จะรับใช้และเยียวยาสังคม โดยการหลีกเลี่ยงที่จะเบียดเบียนธรรมชาติและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด แนวคิดเหล่านี้จึงนำมาสู่การออกแบบผนังภายนอกอาคารให้มากกว่าแค่เปลือกหุ้ม แต่ยังมีลวดลายที่หลากหลายโดยหลากศิลปินที่ทำหน้าที่สร้างความโดดเด่นให้กับอาคาร พื้นที่ต่าง ๆ นั้นแบ่งเป็นพื้นที่ธรรมชาติบำบัด พื้นที่ฝึกหัดภาวนา พื้นที่จัดกิจกรรมอาสา พื้นที่จัดนิทรรศการ และสวนสมุนไพร ทุกส่วนถูกจัดวางอย่างลงตัวเย็นสบายได้โดยไม่ต้องปรับอากาศ เกิดเป็นรูปธรรมของการไม่เบียดเบียนธรรมชาติ

อ่าน : คุยกับ สมชาย จงแสง ถึงการเปลี่ยนแปลงของ DECA ATELIER ในวันนี้


Best of Workspace Design

“Boon Rawd Brewery Headquaters”

By PBM

สำนักงานใหญ่แห่งใหม่ของบริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ ที่นิยามผ่านคำว่า “คนสิงห์” และ “เมื่อตำนานผสานนวัตรกรรม” เพื่อใช้เป็นแนวคิดหลักของการออกแบบภายใน และแสดงออกผ่านเส้นสายเรียบง่าย มั่นคง แต่แฝงไว้ด้วยความเป็นไทยในเส้นสาย เคาน์เตอร์ต้อนรับหินควอทซ์สะท้อนลายผิวน้ำบนพื้นหลังสีดำ ออกแบบผนังระบบ Kinetic Wall ที่ขยับเขยื้อนได้คล้ายผิวน้ำซึ่งได้ลวดลายมาจากตัวสิงห์สื่อถึงความเป็นไทย พื้นที่ทำงานบนชั้น 40 ออกแบบให้ยืดหยุ่นต่อวิถีการทำงานสมัยใหม่ และการประสานการร่วมมือที่มากขึ้นแบบ Smart Office


Best of Retail Design

“O&B Flagship Store”

By Trimode Studio

เพื่อเนนย้ำภาพลักษณ์ของแบรนด์ นั่นคือการเป็น Working Women ซึ่งมีทั้งความหวานและเข้มแข็งในแบบฉบับ Girl Boass ให้ชัดเจน ผู้ออกแบบจึงได้สร้างสรรค์คงานตกแต่งภายในด้วยแนวคิด “Blooming Postal” และถ่ายทอดออกมาผ่านองค์ประกอบอย่างซุ้มโค้งดอกไม้หน้าร้าน ที่จะมีการปรับเปลี่ยนในทุก ๆ สามเดือนเพื่อความสดใหม่ของลุค คล้ายๆกับการที่สาว ๆ เลือกเปลี่ยนสีของรองเท้าเป็นประจำ ในขณะที่ “Postal” หรือตู้ไปรษณีย์นั้น ถูกใข้เพื่อเน้นย้ำพื้นที่ของร้านไปเชื่อมโยงกับ Online Store ให้มีความรู้สึกถึงคนที่คอยดูแลสินค้า และบริการหลังการขายนั้นมีตัวตนอยู่จริง

อ่าน : แก่นแท้ทางความคิด และสนามซ้อมใหญ่ของ TRIMODE


Best of Renovation Design

“Kloem Hostel”

By Intregrated Field (IF)

ท่ามกลางพัฒนาอย่างรวดเร็วของย่านพญาไท ยังคงมีบ้านไม้สองชั้น 2 หลัง ที่ยังคงไม่ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นอาคารคอนกรีต และปัจจุบันได้กลายมาเป็นโฮสเทลที่นำเสนอเรื่องราววันวานของกรุงเทพฯ แก่แขกผู้มาเยือน ผู้ออกแบบได้มุ่งเน้นในการเก็บโครงสร้างเดิมของอาคารไว้ โดยเลือกทำการซ่อมแซมผนังไม้ด้านในทั้งหมด นำมาขัดและทาสีใหม่เพื่อความแข็งแรง ช่องหน้าต่างและกรอบบานต่าง ๆ ได้รับการเก็บรักษาไว้อย่างดี นอกจากนี้ยังเพิ่มบานกรุกระจกเพื่อให้แสงธรรมชาติสามารถลอดผ่านเข้ามาภายในได้ ทั้งยังสร้างอาคารเหล็กขึ้นมาเพิ่มเติมในพื้นที่ว่างระหว่างอาคารทั้งสองเพื่อใช้เป็นชายบ้านและสวนต้อนรับของโฮสเทล

อ่าน : IF Integrated Field


Best of the Best Award
“Bangkok Marriot Hotel The Surawongse”
by PIA Interior


Emerging Interior Design Firm Award

“Crimson Room” by Paradigm Shift +


Life Time Achievement Award

“Vipavadee Patponpibul”

คุณวิภาวดี พัฒนพงศ์พิบูล เป็นบุคคลที่มีความโดดเด่น ทั้งการวิชาชีพและการบริหารองค์กร เป็นนักออกแบบตกแต่งภายในที่มีความคิดสร้างสรรค์และเชี่ยวชาญด้านการนำวัฒนธรรมและบุคลิกโดดเด่นจองพื้นที่โครงการต่าง ๆ มาสร้างสรรค์ ทั้งยังมีความเป็นผู้นำในการบริหารจัดการและนำพาบริษัทมัณฑนากร P49 Design ก้าวผ่านกาลเวลาเติบโตจนเป็นบริษัทออกแบบตกแต่งภายในแถวหน้าที่มีรางวัลมากมายเป็นที่ประจักษ์ในทุกวันนี้


เรียบเรียง : Wuthikorn Sut
ภาพ : TIDA

อัพเดตโลกดีไซน์ทุกวันที่ : facebook.com/roomfan