CityFresh คอมมูนิตี้ ช็อปคนรักสุขภาพ ที่เหมือนยกเรือนเพาะชำมาไว้กลางกรุง!

CityFresh คอมมูนิตี้ ช็อปคนรักสุขภาพ ที่เหมือนยกเรือนเพาะชำมาไว้กลางกรุง!

CityFresh – Fruit lovers’ community คอมมูนิตี้ แบรนด์ผลไม้ที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีความตั้งใจที่จะเปิดหน้าร้านที่ให้ความรู้สึกเหมือนได้เดินเข้าไปในไร่ผลไม้เสิร์ฟความสดใหม่และความสดชื่น หน้าร้านแฟล็กชิปสโตร์แห่งแรกของ CityFresh ตั้งอยู่บนโลเคชั่นดีๆ อย่างปรีดีพนมยงค์ 26 บนอาคารพาณิชย์ 3 คูหาที่รีโนเวทใหม่เพื่อคนรักสุขภาพและผลไม้ที่แท้จริง!

คอมมูนิตี้ ช็อปคนรักสุขภาพ


คอมมูนิตี้ ผลไม้นี้ออกแบบโดย SPACY architecture จึงใช้เรือนเพาะชำ เรือนแก้วกลาสเฮ้าส์ เป็นแนวคิดและนำมาประยุกต์ใช้กับรูปแบบสถาปัตยกรรม วัสดุปิดผิว โครงสร้างจนถึงการรับรู้ของผู้ใช้งาน และยังใช้ความโดดเด่นเอกลักษณ์ของผลไม้ อย่างความโค้งมนของรูปทรงผลไม้มาใช้ในการออกแบบพื้นที่ภายใน

คอมมูนิตี้ ช็อปคนรักสุขภาพ


#รีโนเวทจัดสรรพื้นที่แต่ละชั้น
ทางโครงการรีโนเวทโดยใช้พื้นที่ทุกชั้นของคูหา แต่ละชั้นจะมีการใช้งานที่แตกต่างกันไป ฟังก์ชันพื้นที่การใช้งานหลักของชั้น 1 เป็นพื้นที่ช็อปขายสินค้าผักและผลไม้ มีไฮไลต์คือพื้นที่ตรงกลางที่ปลูกผักไฮโดรโปนิกที่สามารถให้ลูกค้าเลือกซื้อเพื่อนำทำเมนูน้ำสมูทตี้ของโซนคาเฟ่ได้ตามความต้องการ

คอมมูนิตี้ ช็อปคนรักสุขภาพ

เมื่อขึ้นมาบริเวณชั้น 2 จะเน้นเป็นพื้นที่นั่งหลากหลายรูปแบบให้บริการ ไม่ว่าจะมาคนเดียว เป็นคู่ หรือมากับแก๊งเพื่อน ครอบครัว อีกทั้งออกแบบดับเบิ้ลสเปซที่สูงโปร่งเชื่อมกับพื้นที่ชั้น 1เพื่อสร้างบรรยากาศดื่มด่ำกับพื้นที่มากขึ้น ด้านหน้ายังมีระเบียงที่มีพื้นที่สีเขียวเป็นบัฟเฟอร์ต้นไม้สร้างความส่วนตัวบ้างเล็กน้อย แต่ก็ยังสามารถเห็นวิวถนนได้

ชั้น 3 เพิ่มความส่วนตัวมากขึ้น เพราะออกแบบมาสำหรับพื้นที่กิจกรรมไพรเวตจัดกิจกรรมเวิร์กชอป หรืออีเว้นต์ต่าง ๆ เมื่อเข้ามาจะเจอกับพื้นที่สตูดิโอสำหรับทำอาหารที่สามารถปรับเปลี่ยนได้อย่างยืดหยุ่นตามการใช้งานสำหรับกิจกรรมพิเศษ เช่นเชิญเชฟมาทำอาหาร การสอนเวิร์กชอป พื้นที่ไพรเวตไดนิ่ง และพื้นที่โชว์คิทเช่นที่ออกแบบมาไว้เพื่อสำหรับการใช้ทำอาหาร เสริมบรรยากาศที่ดีด้วยวิวใหญ่อย่างต้นหลิวที่อยู่ตรงกลาง

คอมมูนิตี้ ช็อปคนรักสุขภาพ

ชั้น 4 เป็นส่วนออฟฟิศ พื้นที่ทำงาน ห้องประชุม รองรับพนักงานประมาณ 10 คน และมีส่วนดับเบิ้ลสเปซจากชั้น 3 ที่มองเห็นต้นหลิวได้เช่นกัน สามารถเดินออกไปสูดอากาศบริเวณระเบียงใกล้ชิดกับต้นไม้ เพิ่มความรู้สึกผ่อนคลายจากการทำงานได้ดี

ในแต่ละชั้นผู้ออกแบบตั้งใจเชื่อมพื้นที่ด้านหน้าด้วยพื้นที่สีเขียว และเจาะพื้นที่เปิดของเปลือกอาคาร (façade) ตามขนาดพื้นที่การใช้งาน อย่างพื้นที่ชั้น 1-2 เป็นพื้นที่ส่วนกลางที่เปิดบริการเป็นทั้ง ช็อป คาเฟ่ พื้นที่นั่งก็จะเปิดพื้นที่ให้โล่งมากกว่าชั้น 3-4 ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น เจาะเปิดพื้นที่เปลือกอาคารตามความเหมาะสมของพื้นที่ และใช้ต้นไมเมาเป็นบัฟเฟอร์ให้กับพื้นที่ภายใน ให้ความเป็นส่วนตัวกับผู้ใช้งานได้ดี

วัสดุที่ใช้เลือกในการออกแบบตัวเปลือกอาคาร( façade) คือไฟเบอร์กลาสสีขาว มีเท็กเจอร์พื้นผิววัสดุเป็นลอนให้มุมมองที่แปลกใหม่ ช่วยให้สินค้าอย่าง ผัก และผลไม้ที่มีสีสันมีความโดดเด่นมากขึ้นออกจากตัวสถาปัตยกรรมและให้รีเฟล็กซ์ของตัวแสงที่เปลี่ยนไปตามสภาพอากาศอีกด้วย

คอมมูนิตี้ ช็อปคนรักสุขภาพ

ถึงแม้ว่าเป็นโครงสร้างอาคารพาณิชย์เก่า ผู้ออกแบบได้ช่วยสานต่อความตั้งใจของแบรนด์ที่อยากส่งต่อความเป็นคอมมูนิตี้ผ่านพื้นที่สถาปัตยกรรมเชื่อมภายในสู่ภายนอกให้มากที่สุด เพราะคอมมูนิตี้นั้นจะเกิดขึ้นได้ก็เพราะมีมาจากกิจกรรม จึงอยากให้คนภายนอกนั้นมองเห็นพื้นที่กิจกรรมภายในให้มากที่สุด เพื่อให้ตัวสถาปัตยกรรมดึงดูดคนเข้าไปเติมเต็มพื้นที่ได้อย่างสมบูรณ์


ที่ตั้ง: 63/4 ปรีดีพนมยงค์26 กรุงเทพฯ
พิกัด: https://goo.gl/maps/cSBB3HJdC9HHLdrp7


ออกแบบ: SPACY architecture



ภาพ: Rungkit Charoenwat
เรื่อง: Lily J.

P.Sherman The Enjoyable Ground คอมมูนิตี้ เพื่อนบ้านย่านฝั่งธนฯ