รวม 7 ไอเดียสร้างสรรค์พื้นที่ด้วย "บล็อกแก้ว" ให้เป็นมากกว่าผนัง - room

รวม 7 ไอเดียสร้างสรรค์พื้นที่ด้วย ” บล็อกแก้ว ” ให้เป็นมากกว่าผนัง

หลากหลายไอเดียออกแบบพื้นที่ ด้วย ” บล็อกแก้ว ” ที่สามารถนำไปตกแต่งพื้นที่ได้ทั้งภายนอกและภายใน

ซึ่ง บล็อกแก้ว มาพร้อมคุณสมบัติด้านสีสัน และลวดลายที่สามารถนำมาผสมผสานกับองค์ประกอบอื่น ๆ ได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะนำไปใช้เป็นผนัง หรือพื้น ผ่านงานออกแบบทั้ง 7 ผลงาน ที่ room นำมาฝาก

 #ผนังบล็อกแก้ว สำหรับการติดตั้งบล็อกแก้วที่มีความสูงเป็นพิเศษ ผู้ออกแบบใช้เทคนิคการติดตั้งแบบแห้ง ซึ่งเป็นการติดตั้งบนโครงสร้างเหล็กแทนการใช้ปูนแบบปกติโดยแบ่งแบบโมดูลาร์ หนึ่งโมดูลาร์ประกอบด้วยบล็อกแก้ว 4 ก้อน เชื่อมแต่ละก้อนด้วยกาวซิลิโคนให้แน่น และรัดด้วยอะลูมิเนียมอีกที จากนั้นค่อยยกเรียงต่อกัน โดยเชื่อมแต่ละโมดูลาร์เข้ากับโครงสร้างเหล็กที่เตรียมไว้ วิธีนี้จะช่วยลดระยะห่างระหว่างบล็อกแก้วให้ดูแนบเนียนและสวยงาม ต่างจากปกติที่มักมีช่องว่างประมาณ 1 เซนติเมตร หากใช้ปูนในการประสานแบบทั่วไป
สามารถอ่านฉบับเต็มได้ใน WHERE’S HOUSE WAREHOUSE ในเล่ม Home Office / Home Studio

โดยกรณีศึกษาที่ room เลือกมาฝากนี้ ล้วนช่วยสร้างประสบการณ์ของพื้นที่ที่แตกต่างไปจากการใช้ผนังทึบได้อย่างน่าสนใจ ทั้งช่วยเรื่องแสงธรรมชาติที่นำมาสู่การรับรู้สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่แม้มีผนังกั้น และทางสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้เรื่องบรรยากาศธรรมชาติได้ดี นอกจากนี้ เรื่องการก่อสร้างบล็อกแก้ว ยังมีความแข็งแรง และปลอดภัยเกือบเทียบเท่าผนังอิฐ นับว่าบล็อกแก้วนั้นเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมเลยทีเดียว


บล็อกแก้วคืออะไร
บล็อกแก้ว (Glass Block) อีกหนึ่งวัสดุยอดนิยมที่นำมาใช้ในการตกแต่งบ้าน เป็นชิ้นแก้วหนา ทรงสี่เหลี่ยมใส โปร่งแสง โปร่งใส หรือมีลวดลายเฉพาะตามการออกแบบของผู้ผลิต มีคุณสมบัติโปร่งแสงทำให้แสงสว่างจากภายนอกสามารถทะลุผ่านได้ อีกทั้งมีประโยชน์ช่วยกันแดด กันฝน และเป็นองค์ประกอบของสถาปัตยกรรม เช่น ผนัง

ห้องทำงานกรุ ผนังบล็อกแก้ว เพื่อช่วยกรองความเข้มของแสง เพื่อให้แสงสว่างที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการใช้งาน ช่วยลดการเปิดไฟในช่วงกลางวันเพื่อประหยัดพลังงาน ทั้งยังรับบรรยากาศธรรมชาติเพื่อความผ่อนคลายระหว่างทำงานไปพร้อมกัน
สามารถอ่านฉบับเต็มได้ใน COFOUNNDER STUDIO ในเล่ม Home Office / Home Studio
นังบล็อกแก้วบริเวณเปลือกอาคารด้านหน้าเพื่อสร้างความรู้สึกส่วนตัวและช่วยกรองแสง โดยยังให้ความรู้สึกถึงการเชื่อมโยงระหว่างภายนอกกับภายใน ช่วยให้ไม่รู้สึกทึบตันจนเกินไป ทั้งยังช่วยสร้างความสงบเป็นส่วนตัวจากถนนใหญ่หน้าโครงการ
สามารถอ่านฉบับเต็มได้ใน SMILE DEPT. DENTAL CLINIC ในเล่ม Home Office / Home Studio

ประโยชน์
ประโยชน์ของบล็อกแก้วนอกจากใช้เป็นองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมแล้ว ยังมีข้อดีอื่น ๆ อีกมากมาย
บล็อกแก้วช่วยประหยัดไฟเนื่องจากมีลักษณะที่โปร่งใสทำให้แสงทุละผ่านได้ (แบบใส 75% แบบสี 40% ) หากนำมาใช้ก่อผนังจะช่วยทำให้บรรยากาศในห้องดูกว้างขึ้น และช่วยลดการเปิดไฟในช่วงเวลากลางวันได้อีกด้วย
– บล็อกแก้วมีความทนทานทั้งอุณหภูมิที่เปลี่ยนปลง ทนความร้อนได้เป็นอย่างดีช่วย (ปรับสภาวะแสงที่ส่องผ่านเข้ามา) ให้แสงที่ผ่านทะลุเข้ามานั้นมีความนุ่มนวลเหมาะสมกับการใช้งาน และบล็อกแก้วคุณภาพสูงยังช่วยเก็บเสียงหรือลดระดับเสียงที่รบกวนไม่ให้เข้าสู่ตัวบ้านได้โดยตรงอีกด้วย
– บล็อกแก้วเป็นวัสดุทที่ทำความสะอาดง่าย (และไม่ต้องการการจบ/ปิดผิว)เพียงเช็ดด้วยน้ำยาทำความสะอาด น้ำยาเช็ดกระจก หรือทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าเท่านั้นจึงเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อยกว่าวัสดุประเภทอื่น ๆ
– บล็อกแก้วช่วยรองรับแรงอัดได้มากถึง 7Mpa. ซึ่งมากกว่าอิฐมอญถึง 2.5 เท่า การตกแต่งบ้านด้วยบล็อกแก้วจึงแข็งแรงทนทานใช้งานได้ยาวนานสามารถใช้ทดแทนโดยไร้กังวลในแง่ของกฎหมายอาคารอีกด้วย

ไอเดียปูพื้นและกรุเคาน์เตอร์บาร์ด้วย บล็อกแก้ว พร้อมแสงไฟโทนสีน้ำเงินในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสื่อถึงบรรยากาศภูเขาน้ำแข็งของคาเฟ่ที่กระจายไอเย็นแสนหนาวเหน็บในอาคารโบราณแห่งนี้ภายใต้แนวคิดที่จะ “ฟรีซ” อาคารมรดกทางวัฒนธรรม เพื่อสะท้อนเรื่องราวในอดีตไปพร้อมๆกับบอกเล่าไลฟ์สไตล์ของปัจจุบันนและอนาคต
สามารถอ่านฉบับเต็มได้ใน THE RUNNING BEAN CAFÉ ในเล่ม 100 BEST DESIGN CAFE 2
ใช้ บล็อกแก้ว เป็นผนังกั้นห้องเพื่อประโยชน์การใช้งานระหว่างห้องนอนกับห้องน้ำ ช่วยให้ห้องขนาดเล็ก ยังคงความต่อเนื่องเชื่อมโยงเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ โปร่ง โล่ง กว่าผนังแบบอื่น
นำบล็อกแก้วมาออกแบบเป็นผนังทั้งส่วนหน้าบ้านและหลังบ้าน สำหรับทำหน้าที่กันแสงแดดและลดความร้อนให้บ้าน โดยยังยอมให้แสงสว่างส่องลึกเข้าไปยังตัวบ้านด้านในได้ ทั้งนี้พื้นที่ระหว่างเปลือกอาคารบล็อกแก้วกับพื้นที่ใช้งานภายในบ้าน สถาปนิกได้ออกแบบให้มีระเบียงขนาดใหญ่คั่นอยู่ตรงกลางเพื่อใช้พักผ่อน โดยการเว้นสเปซดังกล่าวนี้ เผื่อไว้ในเวลากลางคืนที่ความร้อนจะถูกปล่อยออกมาจากบล็อกแก้ว จึงไม่กระทบกับการอยู่อาศัยมากนัก ขณะเดียวกันห้องต่าง ๆ ที่หันหน้าไปยังหน้าบ้าน ก็จะรับแสงสว่างจากแสงธรรมชาติได้อย่างเพียงพอในช่วงกลางวัน จนแทบไม่ต้องสิ้นเปลืองพลังงานใด ๆ เลย
“Artisan” โดย ผศ.บุญเสริม ได้พัฒนารูปแบบตัวอาคารที่ใช้วัสดุธรรมชาติอย่าง ไม้ และเหล็ก ให้เดินทางมาเจอกับวัสดุที่ผลิตในระบบอุตสาหกรรมอย่าง “บล็อกแก้ว” (Glass Block) จำนวนกว่าสองหมื่นก้อน ให้สามารถเป็นทั้งผนังและโครงสร้างรับแรงที่ทนทานต่อสภาพลม ฝน และแดดกลางแจ้งได้อย่างถาวร ซึ่งต้องใช้การคำนวณรายละเอียดต่าง ๆ รวมถึงการปรับสเกลที่แตกต่างจาก Art4D Pavilion สถาปัตยกรรมชั่วคราว อันเป็นต้นกำเนิดที่เคยจัดแสดงในงานสถาปนิก’18 ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่กลางชุมชนเป็นสำคัญ


ผนังทึบที่ไม่ทึบ กับกฎหมายอาคารเกี่ยวกับบล็อกแก้ว
รู้หรือไม่ สำหรับกฎหมายอาคารแล้วบล็อกแก้วสามารถเป็นผนังทึบได้ เป็นการผ่อนปรนให้กับตึกแถวและบ้านที่ทำผนังใกล้เขตที่ดิน จึงกำหนดให้บล็อกแก้วถือเป็นผนังทึบได้เมื่อมีลักษณะตามที่กำหนด โดยระบุไว้ว่า “ผนังทึบ” หมายความว่า ผนังที่ไม่มีหน้าต่าง ประตู ช่องระบายอากาศ หรือช่องแสง และให้หมายความรวมถึงผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้วหนาไม่น้อยกว่า 9 เซนติเมตร โดยบล็อกแก้วต้องอยู่สูงกว่าระดับพื้นของห้องไม่น้อยกว่า 1.80 เมตร ทั้งนี้ผนังที่ก่อด้วยบล็อกแก้วต้องมีพื้นที่รวมกันไม่เกินร้อยละสิบของพื้นที่ผนังแต่ละชั้นในด้านนั้น ๆ จึงทำให้บล็อกแก้วนั้นเป็นวัสดุที่ช่วยให้อาคารที่ไม่สามารถออกแบบช่องเปิดได้ คลายความอุดอู้ทึบตันด้วยแสงธรรมชาติได้อย่างดี”
อ่านฉบับเต็มได้ที่ : https://www.baanlaesuan.com/…/glassblock-new-regulation
ทั้งนี้ก่อนการใช้บล็อกแก้วควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนจำหน่ายเพื่อการใช้งานที่เหมาะสมและตอบโจทย์การใช้งานของท่าน



เรียบเรียง: Lily J.

MINIMALIST CAFÉ ออกแบบ คาเฟ่มินิมอล ให้เด็ดขาดด้วยรายละเอียด