พา เที่ยว 5 จุดไฮไลต์ “Chiang Mai Design Week 2023” - room

พา เที่ยว 5 จุดไฮไลต์มากกว่า 10 นิทรรศการ “Chiang Mai Design Week 2023”

สัมผัสบรรยากาศสร้างสรรค์ที่ เชียงงใหม่ ต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 ในธีม ‘Transforming Local: ปรับตัว ต่อยอด ท้องถิ่น เติบโต’ เตรียมตัวให้พร้อมหนาวนี้แอ่วเหนือเที่ยวเชียงใหม่ ในย่านสร้างสรรค์ “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2566” หรือ “Chiang Mai Design Week 2023” (CMDW2023) ซึ่งจัดระหว่างวันที่ 2 – 10 ธันวาคม 2566 ที่นำเสนอแนวคิดต่อยอดจากธีมงานปีที่แล้ว วันนี้ room พาเที่ยว 5 จุดไฮไลต์ห้ามพลาดชมงานเพลินอิ่มจุใจทุกจุด

เหนือชั้น (Upper Floor Project) นิทรรศการที่นำเสนอต้นแบบการใช้พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารที่ยังว่างอยู่และพื้นที่ชั้นบนที่ยังไม่ถูกใช้งาน (Existing Building and Space Utilization) ผ่านเนื้อหาหลัก 3 เรื่อง ที่จะกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ สร้างปฏิสัมพันธ์ และแบ่งปันประสบการณ์ตลอดพื้นที่ทั้ง 3 ชั้นและดาดฟ้าของโกดังมัทนา นิทรรศการนี้จะเป็นตัวกลางในการสื่อสารและเชื่อมต่อแนวความคิดระหว่างผู้ให้เช่าอาคารกับผู้ที่สนใจเช่า เพื่อให้มองเห็นความเป็นไปได้ในการลงทุนและศักยภาพของพื้นที่ว่าง ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับย่านสร้างสรรค์
เหนือชั้น (Upper Floor Project) นิทรรศการที่นำเสนอต้นแบบการใช้พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารที่ยังว่างอยู่และพื้นที่ชั้นบนที่ยังไม่ถูกใช้งาน (Existing Building and Space Utilization) ผ่านเนื้อหาหลัก 3 เรื่อง ที่จะกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ สร้างปฏิสัมพันธ์ และแบ่งปันประสบการณ์ตลอดพื้นที่ทั้ง 3 ชั้นและดาดฟ้าของโกดังมัทนา นิทรรศการนี้จะเป็นตัวกลางในการสื่อสารและเชื่อมต่อแนวความคิดระหว่างผู้ให้เช่าอาคารกับผู้ที่สนใจเช่า เพื่อให้มองเห็นความเป็นไปได้ในการลงทุนและศักยภาพของพื้นที่ว่าง ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับย่านสร้างสรรค์
Original Five ที่ห้องแถวห้าห้อง นิทรรศการนี้ต้องการเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงเอกลักษณ์ของการค้าขายในชุมชนแบบเก่า ผ่าน มุมมองแบบ ภาพถ่าย ผสมเทคนิค Photo Motion ที่ถ่ายทอดเรื่องราว ของกาลเวลาที่เปลี่ยนไป โดยใช้แนวความคิดของเทคนิคในการตีความวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามาในพื้นที่ หรือ เทรนด์กระแสนิยมรอบข้างของ ผู้คน ต่อการเปลี่ยนรูปแบบการค้าขายของ Generation ใหม่ๆ มาผสมผสาน ผ่านรูปแบบการจัดองค์ประกอบ ของ ตัวภาพกับพื้นที่ ( Site Specific Visual
Installation Design) ของห้องแถวห้าห้อง โดยยังคงทำให้ บทบาทของร้านค้าแบบนี้ในชุมชนยังอยู่และเป็นแรงบันดาลใจของชุมชนตลอดไป
นิทรรศการ Challenge the Talennt Talents นิทรรศการแสดงผลงานการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาจากหลายสถาบันและนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ 14 ทีม ที่จับคู่กันร่วมพัฒนาไอเดีย วิธีคิด และผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่องาน CMDW2023 โดยเฉพาะ

จุดที่ 1 TCDC เชียงใหม่
– นิทรรศการ Challenge the Talennt Talents นิทรรศการแสดงผลงานการทำงานร่วมกันระหว่างนักศึกษาจากหลายสถาบันและนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ 14 ทีม ที่จับคู่กันร่วมพัฒนาไอเดีย วิธีคิด และผลิตภัณฑ์ต้นแบบเพื่องาน CMDW2023 โดยเฉพาะ


– เปรี้ยว หวาน จากภูเขา (Minorrity Market) ซุ้มอาหารที่จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้วัตถุดิบและพืชพื้นถิ่น (Local Ingredients)

– หัตถกรรมร่วมรุ่น (Everyday Contem) นิทรรศการที่เกิดจากทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มนักสร้างสรรค์คืนถิ่น (Homecoming) และช่างฝีมือแขนงต่าง ๆ ในภาคเหนือ ชวนให้ผู้ชมได้ร่วมค้นหาแนวทางในการอยู่รอดและเติบโตของงานหัตถกรรม ผ่านเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน


– บ้าบอ โปรเจ็กต์ (MAD Project) การจัดแสดงผลงาน Installation Art สุดพิเศษจากศิลปินอิสระที่มีความพิเศษ (PDD NOS-Pervasive Developmental Disorders)

– Transforming Local นิทรรศการที่ชวนสำรวจปรากฏการณ์การเลือนหายไปของบทบาทและอัตลักษณ์ของงานหัตถกรรมพื้นบ้าน อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม และการพัฒนาอุตสาหกรรมในสังคมสมัยใหม่ (Modernization)

– Hyper Local: Reconnecting With our roots นิทรรศการผลงานจากนักออกแบบและผู้ประกอบการสร้างสรรค์ในภูมิภาค ผ่าน 4 กลุ่มแนวคิดคือ ภูมิใจในความจริงแท้ เพื่อเรา-เพื่อโลก เป็นต่อด้วยความร่วมสมัย และสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหา

จุดที่ 2 ตึกมัทนา ถ. ช้างม่อย
– นิทรรศการ สร้าง ผ่าน ซ่อม ( Persona of Things) นิทรรศการที่นำเสนอวิธีการใช้ทักษะฝีมือจากงานหัตถกรรม มาซ่อมแซมสิ่งของใช้แล้วต่าง ๆ ที่มีร่องรอยของความเสียหาย ให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง พร้อมเพิ่มมูลค่าและคุณค่าใหม่ โดยที่ยังคงไว้ซึ่งเรื่องราวในอดีตและการเดินทางของวัตถุแต่ละชิ้น โดยกลุ่มนักสร้างสรรค์คืนถิ่น (Homecoming)

– เหนือชั้น (Upper Floor Project) นิทรรศการที่นำเสนอต้นแบบการใช้พื้นที่ใช้สอยภายในอาคารที่ยังว่างอยู่และพื้นที่ชั้นบนที่ยังไม่ถูกใช้งาน (Existing Building and Space Utilization) ผ่านเนื้อหาหลัก 3 เรื่อง ที่จะกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ สร้างปฏิสัมพันธ์ และแบ่งปันประสบการณ์ตลอดพื้นที่ทั้ง 3 ชั้นและดาดฟ้าของโกดังมัทนา นิทรรศการนี้จะเป็นตัวกลางในการสื่อสารและเชื่อมต่อแนวความคิดระหว่างผู้ให้เช่าอาคารกับผู้ที่สนใจเช่า เพื่อให้มองเห็นความเป็นไปได้ในการลงทุนและศักยภาพของพื้นที่ว่าง ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจให้กับย่านสร้างสรรค์

เหนือชั้น (Upper Floor Project)
ธน-อาคาร

จุดที่ 3 ณ ธน-อาคาร
– Flavourscape นิทรรศการที่ชวนตั้งคำถามกับผู้เข้าชมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับผู้คนในภูมิศาสตร์ของชนบทและชุมชนเมือง ผ่านอาหารที่ไม่มีอยู่จริง ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘รีคอมมอนนิ่ง’ (Re-Commoning) ผ่านกิจกรรม Interactive ให้ทดลองปรับ สลับ จับคู่ อาหารกับภูมิศาสตร์ และสำรวจผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง

– Sound Moment by วิทยา จันมา นิทรรศการแนว Interactive ที่นำองค์ประกอบของ ภาพเคลื่อนไหวและแผ่นเสียง มารวมกันเป็น Vinyl Animation ทดลอง “เทคนิคภาพติดตา” โดยแผ่นเสียงแต่ละแผ่นมีเรื่องราวเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน แต่สามารถนำมารวมกันเพื่อสร้างเรื่องราวและประสบการณ์ใหม่ ๆ ตามอารมณ์และความคิดสร้างสรรค์ที่ผู้เล่นแต่ละคนจะจินตนาการได้

– เปิ้นสานฉัน งาน Projection Mapping โดยทีม DecideKit บอกเล่าเรื่องราวของชุมชนย่านช้างม่อยที่มีความเกี่ยวข้องกับงาน ‘จักสาน’ งานหัตถกรรมวิถีแบบไทย มาผสมผสานด้วยเทคนิคการนำเสนอดิจิทัลอาร์ตรูปแบบใหม่ เพื่อให้เกิดผลลัพท์เป็นงานศิลปะสุดสร้างสรรค์บนอาคารร่วมสมัยในย่านที่จะสามารถสื่อสารกับคนทั้งโลกได้ด้วยภาพโดยไม่มีกำแพงของภาษาเป็นอุปสรรค

จุดที่ 4 Pop Market พิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา
– ตลาดหัตถกรรมคัดสรร POP Market ตลาดที่รวบรวมร้านค้างานคราฟต์คัดสรรคุณภาพ งานดีไซน์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทั้งเสื้อผ้า เครื่องประดับ สินค้าไลฟ์สไตล์ ของตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ รวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม ที่คัดสรรมากว่า 120 ร้านค้า ภายในตลาดยังมีการเปิดพื้นที่การแสดงออกให้กับศิลปิน นักแสดงและนักดนตรี ทั้งระดับมืออาชีพและหน้าใหม่อีกด้วย

จุดที่ 5 ชมการจัดแสดงไฟ ห้องแแถวห้าห้อง และสะพานแดงข้ามคลองแม่ข่า
– Original Five ที่ห้องแถวห้าห้อง นิทรรศการนี้ต้องการเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงเอกลักษณ์ของการค้าขายในชุมชนแบบเก่า ผ่าน มุมมองแบบ ภาพถ่าย ผสมเทคนิค Photo Motion ที่ถ่ายทอดเรื่องราว ของกาลเวลาที่เปลี่ยนไป โดยใช้แนวความคิดของเทคนิคในการตีความวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามาในพื้นที่ หรือ เทรนด์กระแสนิยมรอบข้างของ ผู้คน ต่อการเปลี่ยนรูปแบบการค้าขายของ Generation ใหม่ๆ มาผสมผสาน ผ่านรูปแบบการจัดองค์ประกอบ ของ ตัวภาพกับพื้นที่ ( Site Specific Visual Installation Design) ของห้องแถวห้าห้อง โดยยังคงทำให้ บทบาทของร้านค้าแบบนี้ในชุมชนยังอยู่และเป็นแรงบันดาลใจของชุมชนตลอดไป

– Connecting bridge ที่สะพานแดงข้ามคลองแม่ข่า สะพานนี้เป็นสถานที่ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของชุมชนช้างม่อย โดยมีอาชีพเรื่องการจักสานตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันมาเป็นแรงบันดาลใจให้ศิลปินสร้างสัญลักษณ์บางอย่างที่เป็นอัตลักษณ์ของชุมชนนี้ ผ่าน Installation Art และ Lighting Design บนสะพานแดงข้ามคลองแม่ข่าที่ทุกคนใช้งานทุกวัน ให้เกิดประสบการณ์ใหม่ๆ กับคนในชุมชน และทำให้คนในชุมชนได้รู้สึกว่าตนเองได้เป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะชิ้นนี้ และเปิดโอกาสให้คนภายนอกได้เข้ามาสัมผัสสถานที่แห่งนี้

มาร่วม ‘Transforming Local: ปรับตัว ต่อยอด ท้องถิ่น เติบโต’ ไปกับ “เทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2566” หรือ “Chiang Mai Design Week 2023” (CMDW2023) ตั้งแต่วันที่ 2 – 10 ธันวาคม 2566 ณ ย่านกลางเวียง (อนุสาวรีย์สามกษัตริย์-ล่ามช้าง) และ ย่านช้างม่อย-ท่าแพ และพื้นที่อื่น ๆ เช่น ย่านหางดง – De Siam Antiques Chiangmai, ย่านสันกำแพง – MAIIAM Contemporary Art Museum ฯลฯ

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.chiangmaidesignweek.com

Facebook: Chiang Mai Design Week


ภาพ: กรานต์ชนก บุญบำรุง

เรียบเรียง: Lily J.