รายละเอียดผลงาน คลิกที่ภาพ!










10 ผลงานที่ร่วมจัดแสดงบริเวณ ซุ้มทางเข้า Archway นี้ ล้วนคือวัสดุที่น่าสนใจ ซึ่งสนับสนุนนิทรรศการโดย Starmark Interior ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเฟอร์นิเจอร์ Built-in มานานถึง 41 ปี และ room ยังได้คัดสรรผลิตภัณฑ์งานออกแบบโดยความร่วมมือกับ D&O ( The Design & Objects Association) หรือ สมาคมผู้ผลิตผลิตภัณฑ์แนวดีไซน์ ในการเลือกเฟ้นชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์ จากหลากมุมมองกลไกด้านความยั่งยืน มาเป็นตัวอย่างที่ดีที่จะสร้างความเข้าใจในมุมมองความยั่งยืนแบบ Regenerative กัน และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ทุกคน
โดย นิทรรศการนี้จะพาทุกคนมองไปสู่อนาคตของความยั่งยืนกันอีกขั้น เมื่อการเยียวยา ระบบนิเวศน์ให้กลับคืนสู่สมดุลได้นั้นเป็นเรื่องสำคัญ และนี่คือ 5 งานดีไซน์ และ 5 วัสดุ ที่มีกลไกเชื่อมโยงไปถึงชุมชน เทคโนโลยีอันน่าสนใจ หรือวิถีชีวิตดั้งเดิม บางชิ้นอาจเป็นมรดกวัฒนธรรมที่น่าสนใจ บางชิ้นคือการพลิกแนวคิดจากวัตถุดิบพื้นบ้านพื้นถิ่น และบางชิ้นก็เกิดขึ้นจากการทดลองเพื่อหาความเป็นไปได้ใหม่ๆที่ยั่งยืนมากขึ้นสำหรับเรา

เพียงยั่งยืน อาจไม่เพียงพอ อีกต่อไป
ตลอดทศวรรษที่ผ่านมา วิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ จากโลกร้อน สู่โลกเดือด ส่งผลกระทบโดยตรงต่อทุกมิติของชีวิตมนุษย์ทั่วโลกอย่างชัดเจน และมิใช่แค่เพียงปัญหาสภาพภูมิอากาศ โลกยังต้องเผชิญกับความท้าทายที่ซับซ้อน ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ สงคราม ปัญหาการลี้ภัย มลภาวะ การขาดแคลนพลังงาน ความมั่นคงทางอาหาร ฯลฯ ท่ามกลางความไม่แน่นอนเหล่านี้ แม้เราจะคุ้นชินกับเรื่องราวด้านความยั่งยืนแค่ไหน เราก็ไม่อาจเพิกเฉยรอให้การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเอง และจำเป็นต้องลงมือแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ด้วยแนวคิดที่ไม่ใช่แค่การลดผลกระทบเชิงลบ แต่ต้องสามารถฟื้นฟูและสร้างผลลัพธ์เชิงบวกกลับคืนสู่โลกได้ไปพร้อมกัน

Sustainable Design สู่ Regenerative Design
ในหลากหลาย บริบท “การออกแบบ” คือหนึ่งในเครื่องมือต่อสู้กับความท้าทายด้านความยั่งยืนเหล่านี้ ที่ผ่านมา แนวคิดด้านความความยั่งยืนมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาทีละส่วน เช่น ลดการใช้ทรัพยากร การรีไซเคิล และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้ได้น้อยที่สุด แต่ในยุคที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมถึงจุดวิกฤต เพียงการ “ลด” ผลกระทบ หรือแก้ปัญหาไปทีละส่วนตามความเกี่ยวเนื่องของแต่ละผู้คนนั้นไม่เพียงพออีกต่อไป
Sustainablity มักมุ่งเน้นการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่งในขอบเขตการทำงานการทำงานที่เกี่ยวเมืองกับตัวเอง แต่บ่อยครั้งที่การใส่แก้ปัญหา นั้นไม่สามารถผลักดันความยั่งยืนในภาพรวมได้จริง หรืออาจก่อให้เกิดปัญหาใหม่ขึ้นระหว่างทางที่ส่งผลกระทบในส่วนอื่นๆได้ ในขณะที่ Regenerative มุ่งเน้นการเชื่อมโยงวิธีการเพื่อมุ่งสู่ความยั้งยืนเข้าหากัน และสร้างเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันอย่างเกื้อกูล
Regenerative Design หรือ การออกแบบเชิงฟื้นฟู จึงกลายเป็นอีกหนึ่งแนวทางใหม่ที่ไม่ได้แค่ลดผลกระทบ แต่มีเป้าหมายที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมและสังคมดีขึ้นกว่าเดิม เช่น สถาปัตยกรรมที่ช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ วัสดุชีวภาพที่ไม่เพียงแค่รีไซเคิลได้ แต่อาจเกิดขึ้นจากวัสดุท้องถิ่น สามารถสร้างงาน พัฒนาความชำนาญได้ในวงกว้าง หรือ วัสดุก่อสร้างจากเชื้อรา (Mycelium-based Materials) ที่สามารถงอกใหม่และย่อยสลายได้เอง แต่สิ่งสำคัญคือเป็นแนวทางให้คนอื่นๆ ที่สนใจมาร่วมกันต่อยอดนวัตกรรมที่ใกล้ตัวอย่างไม่น่าเชื่อเหล่านี้ร่วมกันได้

หนึ่งในตัวอย่างแสดงออกถึงแนวคิด Regenerative ได้อย่างดีคือผลงานของ Naature ที่ได้ใช้กระบวนการออกแบบสู่การพัฒนาให้มรดกภูมิปัญญาในการผลิตเกลือกาลัมมานิชของพื้นที่ปัตตานีสามารถต่อยอดสู่ตุลาดการค้าปัจจุบันได้ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนารสชาติเกลือหวานดังเดิม ให้ทัดเทียมเครื่องปรุงรสแบบ Finedine ที่ทวีมูลค่ากลับคืนสู่ชูมชนหรือการทดลองการทำ “อิฐเกลือ” ที่มีข้อได้เปรียบในด้านการผลิตคาร์บอนตำเพราะใช้กรรมวิธีผลิตด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ และไม่มีเศษเหลือที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมเมือเทียบ กับการสร้างผลิตภัณฑ์ด้วยการรีไซเคิลพลาสติก ซึ่งการผลิตทั้งหมดนั้นยังช่วยส่งเสริมวิชาชีพการผลิตเกลือของปัตตานีให้มีทางไปต่อได้อย่างดีอีกด้วย
ในยุคที่ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การออกแบบไม่ควรเป็นเพียงเครื่องมือในการลดผลกระทบเชิงลบ แต่ต้องเป็นกลไกที่ช่วยฟื้นฟูและสร้างอนาคตที่ดียิ่งขึ้น ถึงเวลาแล้วที่เราต้องกลับไปมองที่รากฐานของการออกแบบ มองหาความร่วมมือผ่านความชำนาญของทุกคน และตั้งคำถามว่ายังมีอะไรที่เรามองข้ามไปหรือไม่ เพื่อค้นหาวิธีแก้ปัญหาที่แท้จริงและยั่งยืนในระยะยาว
THE NEW BASICS: พลิกมุมคิด เรียบง่าย แต่ไม่ธรรมดา
แนวคิดนี้สะท้อนอยู่ในงาน บ้านและสวนแฟร์ Select ภายใต้ธีม “THE NEW BASICS” ที่ชวนทุกคนกลับไปตั้งคำถามกับสิ่งพื้นฐานในชีวิตประจำวัน สิ่งที่เคยถูกมองข้ามอาจเป็นกุญแจสำคัญสู่อนาคตที่ดีกว่า บางทีสิ่งที่เรียบง่ายที่สุดนั้น เมื่อมองมุมต่าง เราก็สามารถสร้างสรรค์สู่สิ่งใหม่ที่ชาญฉลาด และสร้างผลกระทบเชิงบวกได้มากกว่าที่คิด

“THE NEW BASICS” คือการกลับไปมองแก่นแท้ขององค์ความรู้ “พลิกมุมคิด” ทบทวนสิ่งที่เราคุ้นเคย ผ่านการมองหาความเป็นไปได้ร่วมกันจากบุคคลในแต่ละวิชาชีพ เพื่อการแก้ปัญหาอย่างรอบด้าน และเกื้อกูล เกิดการตั้งคำถามใหม่ ผ่านความ “เรียบง่าย” ที่ลดทอนให้เหลือแค่สิ่งที่จำเป็นและมีคุณค่าที่สุด เพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้เป็นโซลูชั่นที่น่าสนใจแต่ “ไม่ธรรมดา” สำหรับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน

PET-ECO SURFACES
by Starmark Interior
อนาคตที่ปลอดมลพิษ (A Toxic-Free Environment) เป็นหนึ่งแนวทางสำคัญของการปรับตัวสู่ความยั่งยืนอย่างรอบด้าน ด้วยการตระหนักรู้ถึงความรับผิดชอบที่มากขึ้นของผู้ผลิต ผลักดันสู่การดำเนินธุรกิจอย่างมุ่งมั่นในการเลือกสรรวัสดุที่คำนึงถึงสุขภาพชีวิตของผู้ใช้งาน
วัสดุปิดผิว PET-ECO Surfaces by STARMARK จึงนับเป็นนวัตกรรมวัสดุที่ช่วยยกระดับความปลอดภัยสู่การใช้ชีวิตในบ้านและ สิ่งแวดล้อม ด้วยมาตรฐานระดับ FOOD GRADE เป็นมิตรต่อผู้ใช้ไปจนถึงสิ่งแวดล้อม
มากกว่าความสวยงามคือความปลอดภัย เพราะสุขภาวะในบ้านเป็นเรื่องสำคัญ PET-ECO Surfaces ผลิตจากวัสดุที่มีฟอร์มัลดีไฮด์ต่ำปลอดสารพิษ สารโลหะหนัก และสารก่อภูมิแพ้ แต่ยังคงไว้ซึ่งคุณลักษณะ ที่สำคัญของวัสดุตกแต่งที่ดี นั่นคือความทนทาน ทำความสะอาดง่าย ต่อต้านแบคทีเรีย และรอยนิ้วมือ ทั้งยังลงตัวกับงานออกแบบด้วยหน้าบาน ที่สวยงามหลากสีสัน พร้อมบานโปรไฟล์ที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน
Starmark
Facebook: Starmark Interior
Instagram: @starmarkkitchen
Website: www.starmark.co.th
โทร: 065-909-4242

Mycelium Material
by Spirulina Society
ใครจะเชื่อว่าเราสามารถปลูกวัสดุเพื่อสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ หรืองานออกแบบต่าง ๆ ได้เองที่บ้าน กับวัสดุทดแทนที่มีชื่อเรียกว่า ไมซีเลียม (Mycelium) นับเป็นวัสดุ หรือวัตถุดิบแนวคิดรักษ์โลกที่มีโครงสร้างเส้นใยมาจากเห็ดรา เพาะขึ้นจากเศษเหลือทิ้งในภาคอุตสาหกรรมและขยะจากเศษอาหาร เช่น ขี้เลื่อย ฟาง ขุยมะพร้าว กากกาแฟ ฯลฯ ด้วยการนำมาผสมเข้ากับหัวเชื้อเห็ด เพื่อให้เกิดเส้นใยของเห็ดราเติบโตขึ้นช้า ๆ ในแบบหล่อ ก่อนจะหลอมรวมกลายเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทาน สามารถขึ้นรูปเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย
วัสดุชนิดนี้ จึงนิยมนำไปประยุกต์ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ หรือผลิตภัณฑ์ตกแต่งภายใน เช่น โคมไฟ อิฐตกแต่ง แผ่นตกแต่งผนัง และแผ่นดูดซับเสียง โดยมาพร้อมคุณสมบัติทนไฟ กันน้ำ มีน้ำหนักเบา และมีประสิทธิภาพในการเป็นฉนวนกันความร้อนได้อย่างดี
ปัจจุบัน Spirulina Society นักพัฒนาและผู้ผลิตวัสดุทางเลือกเพื่องานออกแบบ ได้ทดลองต่อยอดการใช้งานไมซีเลียมในหลากหลายรูปแบบอย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการทดลองทำเป็นก้อนอิฐสำหรับก่อสร้าง วัสดุแพ็คเกจจิ้ง หรือแม้แต่เป็นเฟอร์นิเจอร์ เช่น โคมไฟที่นำมาจัดแสดงในนิทรรศการนี้ และเฟอร์นิเจอร์รูปแบบอื่น ๆ
หรือนี่คือความยั่งยืนจากการต่อยอดขยะจากเศษอาหาร แปรเปลี่ยนสู่ความมั่นคงทางวัสดุที่น่าจับตามองในอนาคต
Spirulina Society
Facebook: Spirulina Society
Instagram: @spirulinasociety
Website: spirulinasociety.xyz

Salt Brick
by NAATURE (Natural Agriculture & Architecture Trust for Urban & Rural Ecologies)
อิฐเกลือพลังงานแสงอาทิตย์ คือทางเลือกใหม่ที่น่าสนใจของวัสดุก่อสร้างคาร์บอนต่ำเพราะไร้ซึ่งสารพิษ ทั้งยังใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติในการผลิต แต่เชื่อหรือไม่ว่า แท้จริงแล้วจุดเริ่มต้นของโครงการอิฐเกลือโดย NAATURE กลุ่มนักพัฒนางานออกแบบและสถาปัตยกรรมเพื่อความยั่งยืน เกิดจากความต้องการฟื้นฟูวิถีชีวิตชุมชนนาเกลือในจังหวัดปัตตานี รวมไปถึงการฟื้นฟูอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำ “เกลือหวาน” หรือ การัม มานิส (Garam Manis) เกลือขึ้นชื่อของจังหวัดที่ถูกหลงลืมให้กลับมาอยู่ในความสนใจอีกครั้ง
กระแสการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทำให้ภูมิปัญญาเกลือท้องถิ่น และชุมชนผู้ผลิตเกลือ การัม มานิส ในจังหวัดปัตตานี ต้องซบเซาลง แต่ด้วยความไม่ต้องการทิ้งถิ่นฐานของผู้คน ผสมกับความชำนาญดั้งเดิม ปัจจุบันชุมชนนาเกลือในปัตตานี จึงเริ่มกลับมาได้รับความสนใจจากหน่วยงานต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อผลักดันให้เกลือการัม มานิส กลายเป็นเกลือผสมเครื่องเทศแบบ “การัม มาซาล่า” หรือเครื่องปรุงที่เกิดจากการผสมเครื่องเทศต่าง ๆ ซึ่งมักพบในอาหารอินเดีย โดยจะใช้เกลือดั้งเดิมเป็นตัวผสานเครื่องเทศต่าง ๆ เข้าด้วยกัน นับเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับ NAATURE ช่วยกันพัฒนานวัตกรรมอิฐเกลือให้สามารถนำมาใช้งานได้จริงกับอาคารในอนาคต
หรือที่แท้จริงแล้ว ความยั่งยืนคือการกลับไปทำความเข้าใจกับมรดกภูมิปัญญาในท้องถิ่น แล้วหาวิธีนำพาสิ่งดีงามเหล่านี้ไปสู่อนาคตร่วมกัน ?
NAATURE
Facebook: Natural Agriculture & Architecture Trust for Urban & Rural Ecologies

Rice Straw Brick
by Mflex factory x PHTAA living design
Rice Straw Brick อิฐบล็อกช่องลมผสมฟางข้าว ได้รับการพัฒนาโดย mflex บริษัทผลิตอิฐช่องลมแนวคิดใหม่ จากการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่าง ฟางข้าว ที่เหลือทิ้งเป็นจำนวนมากมาประยุกต์ใช้ เพราะถึงแม้จะนำไปใช้ต่อในหลายรูปแบบ เช่น ปุ๋ยหมัก เยื่อกระดาษ หรือเชื้อเพลิงชีวภาพ แต่วัสดุนี้กลับยังมีปริมาณเหลือจากการเก็บเกี่ยวอีกมหาศาล
สิ่งนี้จึงนำมาสู่แนวคิดการนำฟางข้าวมาผสมในอิฐบล็อกช่องลมคอนกรีต เพื่อเป็นทางเลือกในการใช้ประโยชน์จากวัสดุ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยเสริมความเหนียวแน่นของเนื้อวัสดุ ลดน้ำหนักของอิฐ และสร้างพื้นผิวสัมผัสใหม่ นอกจากนี้ อิฐบล็อกช่องลมยังช่วยกรองแสงแดด ลดความร้อนที่จะเข้าสู่อาคารโดยตรง จึงเป็นวิธีการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงานและความเย็นภายในอาคารได้อีกทางหนึ่ง
หรือการพลิกมุมคิดสู่การผสมผสานข้ามศาสตร์อาจจะทำให้เราค้นพบทางออกใหม่ ๆ ของความยั่งยืนได้อย่างน่าสนใจ?
mFlex
Facebook: Mflex Factory
Instagram: @mflexfactory
Website: www.mflexfactory.com
โทร: 088-281-3734

SeaMix
by THINKK Studio
วัตถุดิบเศษเหลือของอุตสาหกรรมประมงและอุตสาหกรรมอาหารทะเลอย่าง เศษกระดองปู เปลือกหอยนางรม และเปลือกหอยแมลงภู่ มีขยะล้นเหลือเป็นปริมาณมากในแต่ละวัน นักออกแบบแนวคิดใหม่จาก THINKK Studio จึงเลือกนำวัสดุเศษเหลือเหล่านี้ มาขัดแต่งและเคลือบผิวใหม่ จนนำมาซึ่งชิ้นงานที่มีลักษณะคล้ายหินขัด หากไม่บอกว่า นี่คือเศษเปลือกหอยเปลือกปูละก็ แทบดูไม่ออกเลยว่าทำมาจากวัสดุอะไร
วัสดุใหม่ที่ได้นี้สามารถนำไปพัฒนาเป็นของตกแต่งบ้านและข้าวของเครื่องใช้เล็ก ๆ ต่าง ๆ แสดงออกถึงตัวอย่างการพลิกมุมคิดเกี่ยวกับความยั่งยืนและคุณค่าของวัสดุ ด้วยวิธีคิดและการเลือกใช้คุณลักษณะเด่นของวัตถุดิบที่เคยถูกมองไม่เห็นคุณค่า ให้กลับมาเป็นสิ่งที่มีมูลค่าได้อย่างไม่น่าเชื่อ
จึงถือตัวอย่างอันดีในการสร้างระบบนิเวศของการเวียนใช้วัสดุให้เกิดขึ้นได้จริง เพราะมูลค่าปลายทางที่เกิดขึ้นจากงานดีไซน์ จะทำให้เกิดการรับซื้อ นำพามาซึ่งกลไกการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ทั้งยังส่งผลต่อความตระหนักรู้ในการร่วมกันจัดการปัญหาขยะและมลภาวะที่ดีได้ในที่สุด
หรือความจริงแล้วปัญหาขยะนั้นอาจแก้ได้ด้วยความคิดสร้างสรรค์ที่ตรงจุด ?
THINKK STUDIO
Facebook: THINKK Studio
Instagram: @thinkkstudio
Website: www.thinkkstudio.com
โทร: 02-075-3323

ไม้ไผ่ และไม้ตาล คือไม้พื้นบ้านที่ใครหลายคนอาจมองว่าเป็นไม้ที่มีคุณสมบัติไม่เทียบเท่าไม้เนื้อแข็งต่าง ๆ แต่ด้วยวิธีคิดใหม่ และการทำความเข้าใจถึงอัตลักษณ์งานฝีมือช่างไทยที่หลายชาติหลงใหล AmoArte จึงเป็นอีกแบรนด์ที่พลิกคุณค่าวัสดุพื้นถิ่นให้กลับมามีมูลค่าได้อย่างน่าสนใจ
AmoArte คือแบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่เน้นการสร้างคุณค่าของวัสดุพื้นถิ่นผ่านการเดินทางของงานออกแบบ โดยเน้นการทำงานเพื่อสะท้อนถึงที่มาของวัสดุและวิถีชีวิตในแนวทางยั่งยืน ด้วยการเลือกใช้ “ไม้ไผ่-ไม้ตาล” วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นและมักถูกมองข้าม มาทำให้กลายเป็นเฟอร์นิเจอร์และงานตกแต่งระดับลักชัวรี่ในรูปแบบภาษาสากล
นอกจากนี้ AmoArte ยังมีความตั้งใจที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับช่างฝีมือไทยและสืบทอดภูมิปัญญานี้ต่อไป ผ่านผลงานของเฟอร์นิเจอร์จากไม้ไผ่และไม้ตาลไปพร้อมกัน
AmoArte
Facebook: AmoArte.brand
Instagram: @amoarte.brand
Website: www.amo-arte.com
โทรศัพท์: 086-898-4635

แบรนด์เฟอร์นิเจอร์ที่โดดเด่นด้วยงานหัตถกรรมร่วมสมัย เกิดขึ้นจากความตั้งใจจุดประกายสังคมให้ตั้งคำถามและกระตุ้นให้คนหันกลับมามองคุณค่าความเป็นไทยที่เรามีอีกครั้ง รวมถึงเพื่อเป็นการต่อยอดงานหัตถกรรมพื้นบ้าน และส่งต่อศิลปะชนเผ่าออกไปในมุมกว้าง
กลิ่นอายของความคุ้นชิน ลวดลาย และสีสันที่ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของงานออกแบบร่วมสมัย รวมถึงความรู้สึกอบอุ่น คุ้นเคย ในขณะเดียวกันก็เต็มไปด้วยความสนุกสนานโลดโผน อันถือเป็นเอกลักษณ์เด่นของ Kitt.Ta.Khon ที่ไม่เพียงสร้างแสงสว่างให้ส่องย้อนกลับไปถึงมรดกทางวัฒนธรรมของไทย แต่ยังเป็นแบรนด์ที่ตั้งใจเชิดชูงานฝีมือหัตถกรรมไทยสู่เวทีโลกได้อย่างไม่น้อยหน้าใครเลยทีเดียว
Kitt.Ta.Khon
Facebook: Kitt.Ta.Khon
Instagram: @kitt.ta.khon
Website: www.kitt-ta-khon.com
โทรศัพท์: 081- 629-3699

เริ่มต้นจากการกลับบ้าน แต่ปลายทางคือคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของชุมชนช่างฝีมือ “Thorr’s” คือแบรนด์ที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจของผู้ก่อตั้งซึ่งจบการศึกษาด้านงานออกแบบ ก่อนจะย้อนกลับไปหารากเหง้าของตนที่บ้านเกิด และค้นพบว่า “หัตกรรมจักสานเสื่อกก” ยังมีเพดานให้ไปต่ออย่างน่าสนใจ
ด้วยการผสมผสานภูมิปัญญาดั้งเดิมกับการสร้างแบรนด์ในวิถีดีไซน์ปัจจุบัน แบรนด์ Thorr’s จึงขยับขยายจากชุมชนเล็กๆ กลายเป็นการสร้างงานระหว่างชุมชนหัตถกรรมอื่น ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง อาจกล่าวได้ว่า Thorr’s เป็นเสมือนแพลตฟอร์มการนำพาหัตกรรมจักสานไปสู่ตลาดใหม่ สร้างงานและรายได้ให้คนในชุมชนท้องถิ่นได้อย่างน่าสนใจ
เพียงพลิกมุมมองต่อความชำนาญดั้งเดิม ความเป็นไปได้ใหม่อาจอยู่ใกล้เรามากกว่าที่คิด
THORR’S
Facebook: THORR’s
Instagram: @thorrs.th
Website: www.thorrliving.com
โทรศัพท์: 065-959-4354

เตยปาหนัน วัสดุพื้นถิ่นของจังหวัดตรัง ที่หลายคนอาจเคยได้ยิน แต่อาจไม่เคยสัมผัส Sarnsard คือแบรนด์ที่เลือกจะเรียนรู้วัสดุนี้ แล้วทำงานร่วมกับครอบครัวชาวมุสลิมในจังหวัดตรังกว่า 40 ชีวิต เพื่อพัฒนาเป็นงานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ตั้งใจให้คนรู้จักวัสดุนี้มากขึ้น
ไร้เสี้ยน สัมผัสเรียบเนียน พร้อมผิวเงางาม คือคุณสมบัติที่ไม่สามารถแสดงออกได้ผ่านภาพถ่าย แต่เมื่อได้ลองจับแล้วทุกคนจะรู้สึกได้ถึงความโดดเด่นของเตยปาหนัน ซึ่งนี่คือสิ่งที่ทำให้ Sarnsard เลือกที่จะใช้ความชำนาญด้านงานออกแบบของตนเองมาช่วยสร้างตลาดใหม่ ๆ ให้กับชุมชนที่สานเตยปาหนันรูปแบบดั้งเดิมมาอย่างยาวนาน
ด้วยความเชื่อที่ว่า ใครจะทำสิ่งเหล่านี้ได้ดีไปกว่าคนที่อยู่กับวัตถุดิบท้องถิ่นมากว่าศตรรวษ การออกแบบและการสร้างกลไกการทำงานใหม่ จึงได้รับการยึดโยงกับพื้นที่ปลูกเตยปาหนันและชุมชนท้องถิ่นเจ้าของวัตถุดิบเป็นสำคัญ
ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ของ Sarnsard ได้ขยายไปสู่วัสดุตกแต่งสำหรับงานลักชัวรี่มากขึ้น นั่นหมายถึงมูลค่าและผลกำไรที่ตอบกลับไปเป็นความยั่งยืนให้กับชุมชนผู้ผลิตโดยตรงด้วยนั่นเอง
Sarnsard
Facebook: Sarnsard
Instagram: @sarnsard
Website: www.sarnsard.com
โทรศัพท์: 094-636-4542

เชื่อหรือไม่ว่า เสื้อผ้าที่เราสวมใส่กันทุกวัน จะกลายเป็นขยะในแต่ละปีปริมาณ 300,000 ตัน แต่กลับมีการนำไปรีไซเคิลใหม่เพียง 24% เท่านั้น นี่จึงเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นความสนใจของ “The ReMaker” ในการตั้งตัวเป็นแบรนด์ที่นำเสนอแนวคิดเพื่อสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับสินค้า Fast Fashion
เช่น เจ๊คเก็ตหนังที่ถูกส่งมาขายมากมายในประเทศไทย จะมีสักกี่คนที่ใส่เสื้อหนังสุดเท่เหล่านี้ แล้วเดินทอดน่องไปตามท้องถนนในเมืองร้อนตลอดเวลา สุดท้ายแล้วเสื้อหนังเหล่านี้ก็จะจบอายุขัยลง ด้วยการนำไปเป็นขยะฝังกลบที่ไม่ได้นำไปสู่ที่ใด และมีแต่จะเพิ่มพูนมากขึ้นเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา
แต่เมื่อพิจารณาคุณสมบัติของเจ๊คเก็ตหนังเหล่านี้แล้ว พบว่าหลายตัวเป็นหนังที่มีคุณภาพ เพียงแต่ถูกใช้ได้ไม่คุ้มค่า The ReMaker จึงนำวัสดุหนังมาอัพไซคลิ่งใหม่ ต่อยอดเป็นสินค้าแฟชั่นอื่น ๆ ที่ใช้งานได้บ่อยและยาวนาน โดยดึงเสน่ห์ของแพตเทิร์นและสีสันเดิมของวัสดุมาสู่สินค้าใหม่อย่างน่าสนใจ
นอกจากนี้ The ReMaker ยังมีผลงานศิลปะจากหนังเหล่านี้ มาจัดแสดงในหลากนิทรรศการอย่างต่อเนื่องอีกด้วย เพื่อร่วมสร้างความตระหนักในการจัดการขยะด้วยความคิดสร้างสรรค์ให้แก่ทุกคน
The ReMaker
Facebook: The ReMaker
Instagram: The ReMaker
Website: www.theremaker.com
โทรศัพท์: 091-415-3695